600. "ครูของสตีฟ"


วันนี้เป็นตอนที่ 4 แล้ว ที่ผมเขียนวิเคราะห์หนังเรื่อง Jobs อัจฉริยะเปลี่ยนโลก  ดูๆไปจะเห็น สตีฟ มีความสุดยอดใน                                 

หลายด้าน ที่แม้จะเป็นคนที่มีความชอบ ระดับหลงใหลคลั่งไคล้กับอิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่เด็กๆ แต่สิ่งที่สตีฟหลงใหลไม่แพ้กันก็คือเรื่องการออกแบบครับ.. คลั่งมากๆ คุณจะเห็นสตีฟใส่ใจกับรายละเอียด แม้กระทั่งการจัดวางของวงจรภายในเครื่อง ก็ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เอาว่าจุกจิกเลยหล่ะ ชนิดที่ว๊อซเนี๊ยก เพื่อนรักถึงกับหงุดหงิดว่าทำไมต้องสนใจอะไรที่ลูกค้ามองไม่เห็นด้วย ตลอดเรื่องจะเห็นสตีฟพยายามผลักดันและผสมผสานงานเทคโนโลยีกับงานออกแบบ เข้าด้วยกันอย่างสุดๆ ... และเราก็เห็นครับอุปกรณ์ทุกชิ้นของ Apple เด่นด้วยเทคโนโลยีและสวยด้วยงานออกแบบที่ล้ำหน้าคนอื่นไปนานนับปี อาจเรียกว่านับปีแสงก็ได้... เรียกว่าเป็นผู้นำไปหมด ทั้งเทคโนโลยีและศิลปะ

แน่นอนถ้าคุณเคยอ่านประวัติสตีฟจะค้นพบว่า สตีฟได้แรงบันดาลใจจากการไปลงเรียนการออกแบบตัวอักษรที่มหาวิทยาลัย ทำให้สตีฟเกิดแรงบันดาลใจ และรักในศิลปะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่เมื่อไปดูหนังผมเห็นตอนหนึ่งสั้นๆ ประมาณไม่ถึงวินาที เป็นตอนที่สตีฟได้ลาออกแล้ว คือเลิกเรียนไปเลย เพราะรู้สึกไม่ชอบบรรยากาศการเรียนในมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังเดินไปเดินมาในมหาวิทยาลัยกับแฟนและเพื่อนๆ

                                                     

ในวันหนึ่งขณะที่สตีฟเดินอยู่ ก็มีศาตราจารย์เดินมาสะกิดสตีฟ แล้วถามว่า "ทำไมไม่ไปเรียนล่ะ" สตีฟบอกว่า "ไม่ชอบครับ ไม่อยากเรียนแล้ว และผมก็ไม่ใช่นักศึกษาแล้ว".. อาจารย์บอกว่า "ต่อให้คุณไม่ได้ลงทะเบียน ผมก็ยังมองคุณเป็นนักศึกษา มีอะไรให้ผมช่วยไหม".. “เอ๊สังเกตว่าคุณถือสมุดสเก๊ตรูปไปมา จริงๆ แล้วอาจสนใจศิลปะนะ ทำไมไม่ไปลงเรียนในชั้นเรียนศิลปะล่ะ...” น่ีครับ สตีฟมองหน้าอาจารย์ แล้วไม่ตอบอะไร แต่สตีฟก็ลองไปลงเรียนวิชาออกแบบตัวอักษร ที่เกิดชอบขึ้นมา กลายเป็นความชอบเรื่องออกแบบ ซึ่งมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมของ Apple ทุกอย่างตั้งแต่ตั้งอักษร ถึงฮาร์ดแวร์...”

ในมุมมองของผม "เกินครึ่งหนึ่ง" ของความสำเร็จของสตีฟ มาจากอาจารย์ท่านนั้น ที่ได้เป็นกัลยาณมิตร ทีี่เสนอตัวมาแนะนำ ชี้แนะให้กับเด็กนักศึกษาที่ดูต่อต้านสังคม แถมหมดสภาพความเป็นนักศึกษาไปแล้ว และเพียงไม่กี่นาทีที่สตีฟได้รับคำแนะนำ โลกของสตีฟก็เปลี่ยนไปตลอดกาลผมอยากชี้ให้เห็นครับว่า "ครู" มีบทบาทสำคัญมากๆ กับความสำเร็จของยอดคนคนนี้ และอยากชี้ให้เห็นเรื่องราวหนึ่งคือ ในมุมมองของการพัฒนาองค์กรคุณครูของสตีฟได้โค้ชสตีฟไปครับ จากมุมมองของ Heron คุณครูใช้การ Supporting (แสดงออกถึงการให้การสนับสนุน) และการให้ข้อมูล (Informing) ซึ่งถือเป็นการโค้ชโดยใชเทคนิดดึง (Facilitative Style) กับดัน (Authoritative Style).. ดูการวิเคราะห์นี้ให้ดีครับ อย่ากระพริบตา

                             

คุณจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที ด้วยการใช้การสนับสนุนและการให้ข้อมูล ครูทำให้สตีฟสนใจอะไรที่เป็นทิศทางใหม่นั่นคืองานออกแบบ... การที่คุณครูบอกว่า "..ถึงคุณจะไม่ได้ลงทะเบียนและหมดสภาพความเป็นนักศึกษาไปแล้ว ผมก็ยังถือว่าคุณเป็นนักศึกษาา...” นี่ไงครับ เป็น Supporting ครับ ..แล้ววินาทีติดๆกันต่อมา ครูก็พูดว่า .. “เห็นถือสมุดสเก็ตภาพไปมา ดูคุณสนใจศิลปะนะ ทำไมไม่ลองไปเรียนศิลปะดูล่ะ".. นี่ไงครับ เป็น Informative ชัดๆ... สองสามวินาทีนั้นได้เปลี่ยนสตีฟไปตลอดกาล...เรียกว่าครูจองสตีฟใช้เทคนิด "ดึง"กับ "ดัน" ครับ ภายในไม่กี่วินาที สตีฟก็ค้นพบตนเอง และนำมาสู่การค้นพบที่เปลี่ยนโลกไปตลอดกาลในเวลาต่อมา...อ้อส่วนคุณครูที่สอนออกแบบ แกก็สอนไปครับ ไม่ว่าสตีฟด้วยคือ Supporting อย่างเดียว ไม่ลงทะเบียนก็ไปนั่งเรียนได้ครูไม่ว่า.. จริงแล้วผมว่าสองสามวินาทีนั้น แทบจะอธิบายความสำเร็จในช่วงชีวิตทีเหลือของสตีฟได้เลย

วันนี้ผมเขียนเป็นตอนที่ 600 ก็อยากบอกให้ทุกคนระลึกถึงคุณครูของคุณ.. ลองดูความสำเร็จของคุณในวันนี้ การันตีได้ว่า "ครู" ของคุณมีส่วนสำคัญอย่างแน่นอน..ส่วนท่านที่กำลังพัฒนาองค์กรอยู่ผมอยากให้เพิ่มทักษะการโค้ชไปมากๆ ครับ.. มีหลากวิธี หาเรียนได้ไม่ยาก ฝึกกันเถอะครับ เป็นอะไรที่คุ้มค่ามากๆ ใช้พลังงานไม่มาก คุณครูท่านนั้นใช้พลังงานไป ถ้าเทียบแล้วก็กินข้าวไม่ถึงสองคำ) แต่กลับสร้างการเปลี่ยนแปลงได้สููงอย่างคาดไม่ถึง .. ลองหาเรียนกันนะครับ ผมเองก็ทำมาเกือบ 10 ปี เห็นอะไรดีๆมากมายครับ และชีวิตนี้ก็เป็นหนี้คุณครูหลายท่านจริงๆ ไม่มีท่าน ไม่มีผม ไม่มี AI ในวันนี้ครับ..

 

ตอนนี้เป็นตอนที่ 600 จึงขออุทิศให้คุณครูทุกคนในโลกนี้ครับ และในฐานะครูก็จะฝึกปรือฝีมือการโค้ชต่อไปครับ

 

วันนี้จบแล้ว เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

หมายเหตุสำหรับผู้สนใจทำงานพัฒนาองค์กร:

การให้การสนับสนุน (Supporting) และการให้ข้อมูล (Informing) เป็น สองวิธีการโค้ชตามแนวคิด Heron Six Categories of Intervention การโค้ชนี้แบ่งออกเป็นแนวทางหลักได้สองแนวคือ Authoritative Style (ดัน) และ Facilitative Style (ดึง) :

เริ่มเลยครับ

Authoritative Style ตรงนี้บางครั้งเราเรียกว่า "ดัน" ประมาณจัดเต็มอาศัยมีความรู้ มีอำนาจหรือเห็นอะไรบางอย่าง ก็จัดเต็มเลย มีสามแนวทางย่อย

1.Confronting หรือการเผชิญหน้า จัดโหด อันนี้ลุยเลย ประมาณถามเลยว่าที่ทำอยู่่ทำไปเพื่ออะไร เป็นต้น

2.Prescribing อันนี้เหมือนการสั่งยา ประมาณเราไปหาหมอ หมอให้ทำอะไรก็ทำตาม

3.Informing อันนี้ให้ข้อมูล เดี๋ยวคิดได้เอง

Facilitative Style ประมาณว่า "ดึง" ขึ้นครับ ประมาณค่อยเป็นค่อยไป จัดไปเบาๆ ให้เขาคิดเอง เราอำนายความสะดวก นี่ก็มีสามแนวทางย่อย

4.Cathartic ตรงนี้เน้นให้ค้นหา เผชิญกับความรู้สึกลึกๆ ประเภทไม่เคยสำรวจมาก่อน เช่นความกลัว

5.Catalytic เน้นให้ค้นพบกลไกของอะไรบางอย่าง หาที่มาที่ไป

6.Supporting ให้การสนับสนุนไปเลย

 

ใครอยู่ในกรุงเทพง่ายมากครับ แนะนำกลุ่ม Thai Coach กลุ่มโค้ชใจดี ฝีมือเยี่ยม ที่นั่นทุกท่านพร้อมต้อนรับทุกท่านครับ

 

สำหรับเรื่อง Henron ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mindtools.com/CommSkll/HeronsCategories.htm

Reference:

The first picture retreived September 20, 2013 from http://www.heavy.com/tech/2013/03/steve-jobs-movie-funny-or-die-justin-long/

The second picture retreived September 20, 2013 from http://www.edibleapple.com/2009/12/15/photos-of-a-young-steve-jobs/

The third picture retreived September 20, 2013 from http://www.empowernetwork.com/robwhaley/blog/the-amazing-steve-jobs-movie/

 

หมายเลขบันทึก: 548779เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2013 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2013 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นแรงบันดาลใจมากมายเลยครับอาจารย์

เชื่อว่าบันทึกต่างๆของอาจารย์ที่มีคนเข้ามาอ่านไปแล้ว ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการ"เปลี่ยนโลก"ของหลายๆคนได้แล้วนะคะ ขอบคุณค่ะ

อ่านทุกตอนของสตีฟ แล้วเห็นภาพที่ชัดเจนมากๆ ขอบคุณค่ะอาจารย์โญ สนุกมากๆ

อ่านแล้วนึกถึงครูทุกคนในชีวิต แว๊บมาในหัวภายใน 5 วินาที รู้สึกสำนึกบุญคุณครูมากเลยคะ ขอบคุณสำหรับบทความนะคะอาจารย์

Password : Animal

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท