ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๙๘. “อ่าน” หนังสือพิมพ์


 

บนเครื่องบินการบินไทยไปขอนแก่น เช้าวันที่ ๒๒ ส.ค. ๕๖ ผมอ่าน นสพ. The Wall Street Journal ฉบับวันที่ ๒๒ ส.ค. ๕๖   ซึ่งข่าวเด่นที่สุดที่หน้า ๑ คือ Media Savvy Is Bo’s Wild Card at Trial   ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักการเมืองดาวเด่นของจีน นายโบซิหลาย โดนจับและขึ้นศาลในคดีคอรัปชั่น

 

 

ดีที่ นสพ. ฝรั่งเขาลงชื่อผู้เขียนบทความด้วย   บทความนี้คนเขียนชื่อ Jeremy Page   ในขณะที่ นสพ. ไทยมักปกปิดผู้เขียนข่าว   ดังกรณีที่ตัวผมเองโดนไทยรัฐเขียนข่าวที่ผู้เขียนนั่งเทียนเขียนเล่นงาน ๕ วัน   เมื่อขอคุยกับบรรณาธิการและให้ข้อมูล โดยผมขอให้ผู้เขียนข่าวร่วมคุยด้วย   เขาบอกว่าเขาไม่มีนโยบายให้ผู้เขียนข่าวเผยตัว  

 

 

บทความเกี่ยวกับคดีนายโบซิหลายบทความนี้ผมอ่านระหว่างบรรทัดว่า ผู้เขียนเขียนด้วยมุมมองให้คนคิดว่า เป็นเรื่องการ ต่อสู้แย่งอำนาจกันทางการเมือง   ไม่ได้มองเน้นที่ประเด็นคอรัปชั่นว่าเป็นอย่างไร   ผมไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่ฝรั่ง พยายามบั่นทอนชื่อเสียงของประเทศจีนหรือไม่

 

บทความชี้ว่า นายโบซิหลายมีความสามารถในการใช้สื่อ ปลุกปั่นมวลชน หรือสร้างภาพให้แก่ตนเอง    โดยที่ระหว่างการพิจารณาในศาลตนเองจะทำไม่ได้มาก เพราะทางการจีนคุมเข้ม   แต่เขาอาจใช้ญาติพี่น้อง หรือพรรคพวกที่มีอยู่มาก เป็นผู้ทำ

 

เรื่องที่ซับซ้อนแบบนี้ ผมอ่าน นสพ. แบบฟังหูไว้หู   และตระหนักว่าวงการ นสพ. ยึดหลักขายข่าว    จริงเท็จค่อยว่ากันทีหลัง    มีข่าวก็เขียนไปก่อน เพื่อให้ขายได้    ไม่แคร์ว่าหากเป็นข่าวเท็จจะสร้างความเสียหายให้คนในข่าว    คือวงการสื่อมีจริยธรรมในระดับนี้   โดยผมพบกับตัวเองกรณีไทยรัฐเมื่อราวๆ ปี ๒๕๓๘   ที่เป็นจริยธรรมที่ต่ำกว่านั้น คือนั่งเทียนเขียนด่าทีเดียว   

 

โปรดอ่าน ข่าวนี้ จะเห็นว่า วงการสื่อตกเป็นเหยื่อของธนาธิปไตยอย่างไร 

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ส.ค. ๕๖

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 548781เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2013 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2013 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คนที่เชื่อข่าวโดยไม่พิจารณาสิ่งอื่นประกอบนั้นไม่สมควรแก่การใส่ใจค่ะ แต่คนแบบนั้นก็มักจะเป็นผู้ที่ช่วยให้เรื่องราวที่อาจมีความจริงน้อยมากแพร่สะพัดไปได้ด้วยเหมือนกัน น่าเป็นห่วงสังคมไทยเราที่มีคนแบบนี้ค่อนข้างมาก ทำให้การรับรู้ข่าวสารใดๆยิ่งต้องใช้วิจารณญาณมากยิ่งขึ้น คิดให้มาก พิจารณาให้มากก่อนจะตัดสินใจ เชื่อหรือไม่เชื่อก็เรื่องหนึ่ง การบอกต่อเรื่องราวที่เราไม่ใช่เจ้าของเรื่องเองก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้านักวิชาการที่อบรมสั่งสอนคนทำข่าวจะเข้มข้นเรื่องนี้ให้มากๆน่าจะช่วยได้นะคะ

ข่าวหนังสือพิมพ์และข่าวออนไลน์โดดเด่นเป็นพิเศษในความรวดเร็วของการแพร่กระจาย แต่ขาดความเที่ยงตรงอย่างยิ่ง

เราต้องสอนคนในเรื่องการคิดอย่างมีวิจารณญาน(critical thinking) ให้จริงจัง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท