สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๐


สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๐

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองโดยประชาชน

เพื่อประชาชน และของประชาชน

รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทำหน้าที่แทนประชาชนทั้งประเทศในการออกกฎหมายและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี และรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ และได้บัญญัติเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ในมาตรา ๘๓-๑๐๖ ดังนี้

มาตรา ๘๓ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก จํานวน ๕๐๐ คน (ห้าร้อยคน) ดังนี้

(๑) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวน ๓๕๐ (สามร้อยห้าสิบคน)

(๒) สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง จํานวน ๑๕๐ (หนึ่งร้อยห้าสิบคน)

ในกรณีที่ตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่

ในกรณีมีเหตุใดๆ ที่ทําให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีจํานวนไม่ถึง

หนึ่งร้อยห้าสิบคนให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

มาตรา ๘๔ ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งถึง

ร้อยละเก้าสิบห้าของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดแล้ว หากมีความจําเป็นจะต้องเรียกประชุมรัฐสภาก็ให้ดําเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้โดยให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่แต่ต้องดําเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจํานวนตามมาตรา ๘๓ โดยเร็ว ในกรณีเช่นนี้ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวอยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่

มาตรา ๘๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่ง

เขตเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละหนึ่งคน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียง

ลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละหนึ่งคะแนนโดยจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด หรือจะลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเลยก็ได้

ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุด และมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้ง การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยกฎหมายดังกล่าวจะกําหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องยื่นหลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินได้ประกอบการสมัครรับเลือกตั้งด้วยก็ได้

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว

มีเหตุอันควร เชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีจํานวนไม่

น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของ เขตเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้อง

ตรวจสอบเบื้องต้นและประกาศผลการเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า

หกสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้ การประกาศผลดังกล่าวไม่เป็น การตัดหน้าที่และ

อํานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะดําเนินการสืบสวน ไต่สวนหรือวินิจฉัยกรณีมี

เหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําการทุจริตในการเลือกตั้งหรือการเลือกตั้งไม่เป็นไปโดย

สุจริตหรือเที่ยงธรรม ไม่ว่าจะได้ประกาศผลการเลือกตั้งแล้วหรือไม่ก็ตาม

มาตรา ๘๖ การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี

และการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดําเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ใช้จํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มี การเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามร้อยห้าสิบคน จํานวนที่ได้รับให้ถือว่า เป็นจํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

(๒) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตาม (๑) ให้มีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

(๓) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจํานวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์

จํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

(๔)เมื่อได้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม(๒)และ(๓) แล้ว ถ้าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสามร้อยห้าสิบคน จังหวัดใดมีเศษ

ที่เหลือจากการคํานวณตาม (๓) มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มี

เศษที่เหลือจากการคํานวณนั้นในลําดับรองลงมาตามลําดับจนครบจํานวน

สามร้อยห้าสิบคน

(๕)จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่ง

เขตจังหวัดออกเป็น เขตเลือกตั้งเท่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยต้องแบ่ง

พื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจํานวนราษฎรในแต่

ละเขตใกล้เคียงกัน

มาตรา ๘๗ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

ต้องเป็นผู้ซึ่งพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกส่งสมัครรับเลือกตั้งและจะสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขตมิได้

เมื่อมีการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะถอน

การสมัครรับเลือกตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เฉพาะกรณีผู้สมัคร

รับเลือกตั้งตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้าม และต้องกระทําก่อน

ปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง

มาตรา ๘๘ ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แจ้งรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งและให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และให้นําความในมาตรา ๘๗ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมพรรคการเมืองจะไม่เสนอรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้

มาตรา ๘๙ การเสนอชื่อบุคคลตามมาตรา ๘๘ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ โดยมีรายละเอียดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด

(๒) ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะ

เป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา ๑๖๐ และไม่เคยทําหนังสือยินยอมตาม (๑) ให้พรรคการเมือง

อื่นในการเลือกต้งคราวนั้น การเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าไม่

มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น

มาตรา ๙๐ พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้มีสิทธิ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้

การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมืองจัดทําบัญชีรายชื่อ

พรรคละหนึ่งบัญชี โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองต้องไม่ซ้ำกัน

และไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าว

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การจัดทําบัญชีรายชื่อตามวรรคสอง ต้องให้สมาชิกของพรรคการเมืองมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย โดยต้องคํานึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่างๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง

มาตรา ๙๑ การคํานวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑)นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็น

จํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร

(๒)นําผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรค

การเมืองแต่ละพรรค ที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่ง

เขตเลือกตั้งทุกเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่

พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้

(๓) นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (๒) ลบ

ด้วยจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้น

ได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี

รายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ

(๔)ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือสูงกว่าจํานวนสมาชิก

สภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ให้พรรคการเมืองนั้น มี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจํานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และ

ไม่มีสิทธิได้รับ การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นําจํานวน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มี

จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่ํากว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ตามอัตราส่วน แต่ต้อง ไม่มีผลให้

พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (๒)

(๕) เมื่อได้จํานวนผู้ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง

แล้ว ให้ผู้สมัคร รับเลือกตั้งตามลําดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดตายภายหลังวันปิดรับสมัครรับเลือกตั้งแต่ก่อนเวลาปิดการลงคะแนน ในวันเลือกตั้ง ให้นําคะแนนที่มีผู้ลงคะแนนให้มาคํานวณ

ตาม (๑) และ (๒) ด้วยการนับคะแนน

หลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณ การคิดอัตราส่วน และ

การประกาศผลการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๙๒ เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่า คะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และมิให้นับคะแนนที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนได้รับไปใช้ในการคํานวณตามมาตรา ๙๑ ในกรณีเช่นนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดําเนินการให้มีการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิม ทุกรายไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่นั้น

มาตรา ๙๓ ในการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าต้องมีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในบางเขต หรือบางหน่วยเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่มีการประกาศ ผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้งไม่ว่าด้วยเหตุใด การคํานวณจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละ พรรคการเมืองพึงมี และจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองพึงได้รับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่ผลการคํานวณตามวรรคหนึ่งทําให้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองใดลดลง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นในลําดับท้าย ตามลําดับพ้นจากตําแหน่ง

มาตรา ๙๔ ภายในหนึ่งปีหลังจากวันเลือกตั้งอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดขึ้นใหม่ เพราะเหตุที่การเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมให้นําความในมาตรา ๙๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตําแหน่งที่ว่างไม่ว่าด้วยเหตุใดภายหลังพ้นเวลาหนึ่งปี นับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป มิให้มีผลกระทบกับการคํานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีตามมาตรา ๙๑

มาตรา ๙๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(๑) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ

ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี

(๒)มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีในวันเลือกตั้ง

(๓)มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งหรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร จะขอลงทะเบียน เพื่อออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ณ สถานที่ และตามวันเวลา วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยมิได้แจ้งเหตุอันสมควรตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อาจถูกจํากัดสิทธิบางประการตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๙๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(๑) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(๒) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(๔) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

มาตรา ๙๗ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง

(๓)เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียว

เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้งเว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ระยะเวลาเก้าสิบวันดังกล่าวให้ลดลงเหลือสามสิบวัน

(๔)ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดง

ต่อไปนี้ด้วย

(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น

เวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา

(ง) เคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งแล้วแต่กรณีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี

มาตรา ๙๘ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ

(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(๓) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

(๔) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ (๑) (๒) หรือ (๔)

(๕) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(๖) ต้องต้องคําพิพากษาให้จําคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(๗) เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ใน

ความผิด อันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๘) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อ

หน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

(๙) เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

เพราะร่ํารวยผิดปกติหรือเคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกเพราะกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(๑๐) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือ

ต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของ

พนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐหรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง

ประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออกหรือผู้ค้า

กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานักกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน

(๑๑) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง

(๑๒) เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํานอกจากข้าราชการการเมือง

(๑๓) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๑๔) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี

(๑๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

(๑๖) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(๑๗) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(๑๘) เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม

มาตรา ๙๙ อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกําหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎรจะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้

มาตรา ๑๐๐ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง มาตรา ๑๐๑สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ

(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(๒) ตาย

(๓) ลาออก

(๔) พ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๙๓

(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙๗

(๖) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘

(๗) กระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๔ หรือมาตรา ๑๘๕

(๘) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก

(๙) พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกตามมติของพรรค

การเมืองนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการ

บริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น

ในกรณีเช่นนี้ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นมิได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่พ้นสามสิบวันดังกล่าว

(๑๐) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นั้นเป็นสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีคําสั่ง ยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดหกสิบวันนั้น

(๑๑) พ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม

(๑๒) ขาดประชุมเกินจํานวน ๓๐ วัน หรือหนึ่งในสี่ของจํานวนวันประชุมในสมัย

ประชุมที่มีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธาน

สภาผู้แทนราษฎร

(๑๓) ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกแม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอ

การลงโทษ ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐาน

หมิ่นประมาท

มาตรา ๑๐๒ เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตรา พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ

การเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๐๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป

การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา และให้กระทําได้เพียงครั้งเดียว ในเหตุการณ์เดียวกัน

ภายในห้าวัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับ ให้

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษาซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ

วันเลือกตั้งนั้นต้องกําหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

มาตรา ๑๐๕ เมื่อตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงเพราะเหตุอื่นใด

นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภา

ผู้แทนราษฎร ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้

๑. ในกรณีที่เป็นตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตําแหน่งที่ว่างเว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และให้นําความในมาตรา ๑๐๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๒. ในกรณีที่เป็นตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกาศให้ผู้มีชื่ออยู่ในลําดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนตําแหน่งที่ว่าง โดยต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตําแหน่งนั้นว่างลงหากไม่มีรายชื่อเหลืออยู่ในบัญชีที่จะเลื่อนขึ้นมาแทนตําแหน่งที่ว่างให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนตาม (๑) ให้เริ่มนับแต่วันเลือกตั้ง แทนตําแหน่งที่ว่าง ส่วนสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนตาม (๒) ให้เริ่มนับแต่ วันถัดจากวันประกาศชื่อในราชกิจจานุเบกษา และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนตําแหน่งที่ว่างนนั้ อยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่

การคํานวณสัดส่วนคะแนนของพรรคการเมืองสําหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเมื่อมีการเลือกตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างให้เป็นไปตามมาตรา ๙๔

มาตรา ๑๐๖ ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว

พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจํานวนสมาชิกมากที่สุดและสมาชิก มิได้ดํารงตําแหน่ง

รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธาน

สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่พรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง มีสมาชิกเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นําฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตําแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีเหตุ ตามมาตรา ๑๑๘ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นําฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎรแทนตําแหน่งที่ว่าง

ประเทศไทยจะได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วหลังจากที่

พระราชบัญญัติประกอบการเลือกตั้งได้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

แล้ว คงไม่นานประมาณปลายปี ๒๕๖๑ น่าจะมีการเลือกตั้งแล้ว และการเลือกตั้งที่จะ

มีมาถึง คาดหวังว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งก็ดี และผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งก็ดีคงจะเปลี่ยน

กระบวนทัศน์ใหม่ๆ เพื่อนำพาชาติไทยไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่ได้ตั้งเจตจำนง

ในการปฏิรูปประเทศได้คาดหวังไว้ ถ้าคนไทยเราพร้อมใจเพื่อจะทำให้ชาติบ้านเมืองไป

ในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆแล้ว พวกเราจำต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับ

การเลือกตั้ง นั้นคือ ผู้จะสมัคร ส.ส. ก็มีความจริงใจที่จะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย

เข้าไปทำหน้าที่ตัวแทนที่ดี ทำเพื่อชาติบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ใจซื่อมือสะอาด ส่วนผู้เลือกตั้ง ก็ทำหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคนดีเข้าสภา พรรคการเมืองเป็นตัวจักรสำคัญในการส่ง

ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคุณภาพให้ประชาชนได้เลือกตั้ง การจะได้ ส.ส.ดีมีคุณภาพนั้น

การคัดกรองเริ่มจากพรรคการเมืองนั้นๆ เป็นสำคัญ จากนั้น ประชาชนก็จะเลือกคนดีเข้าสภาก็จะทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนที่มีคุณภาพทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุม

การบริหารประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป โดยมีสมาชิกวุฒิสภาทำหน้าที่คอยกลั่นกรอง

กฎหมายและร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการตรวจสอบการบริหารประเทศชาติร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

---------------------------------

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/...







หมายเลขบันทึก: 629039เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2017 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2017 01:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท