การพัฒนาการศึกษาของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ารพัฒนาการศึกษาของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4


ประเทศไทย ภาคเอกชนกำลังตื่นตัวในการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
โดยเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นายกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่ง
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๗/๒๕๖๐
เรื่อง การพัฒนาการศึกษาของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดยที่รัฐบาลได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรม จึงจําเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาของประเทศเพื่อยกระดับการศึกษาไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางของนโยบายดังกล่าว ซึ่งการเพิ่มช่องทางการจัดการศึกษาโดยสถานศึกษาเอกชน ที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศให้สามารถเข้ามาจัดการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสเข้าศึกษา ในสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงดังกล่าว อันเป็นเครื่องมือและกลไกสําคัญในการผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานและมีความสําคัญต่อการรองรับการขยายตัวของระบบ เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีจะกําหนด อันจะนําไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ รวมทั้ง เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการดําเนินการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการศึกษาและด้านเศรษฐกิจ ตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ได้รับความเห็นชอบจากประชามติ
ได้บัญญัติไว้

อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ ประกอบกับ มาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ “สถานศึกษาที่มีศักยภาพสูง” หมายความว่า
สถานศึกษาเอกชน ที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศซึ่งมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน
ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข้อ ๒ การจัดการศึกษาโดยสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูง ให้ดําเนินการได้
ในเขตพื้นที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)
ตามคําสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๐
เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

(๒) เขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นที่คณะรัฐมนตรีประกาศกําหนดให้เป็น
พื้นที่จัดตั้งสถานศึกษา ที่มีศักยภาพสูงตามคําสั่งนี้

ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอํานาจพิจารณาสรรหา อนุมัติ และจัดทํา
ข้อตกลงกับ สถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ
เพื่อเข้ามาดําเนินการจัดการศึกษาในประเทศไทย โดยให้คํานึงถึงคุณภาพและมาตรฐาน
การศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะหนึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งต้ังอีกไม่เกินหกคนเป็นกรรมการ ทําหน้าที่พิจารณา กลั่นกรอง และเสนอรายชื่อสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่เหมาะสม รวมทั้งจัดทําข้อตกลงกับสถานศึกษาที่มี ศักยภาพสูงเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาการดําเนินการ การกํากับดูแล และการเลิกกิจการของสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกําหนด

ข้อ ๔ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูง ให้ผู้จัดการศึกษาเสนอรายละเอียด เกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(๑) โครงการและแผนการดําเนินงาน

(๒) หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา

(๓) อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น

(๔) คุณสมบัติ อัตราเงินเดือน ค่าสอน ค่าชดเชย ค่าตอบแทน หลักเกณฑ์การจ้างและ เลิกจ้างและสวัสดิการของผู้สอนและ
บุคลากรทางการศึกษา

ข้อ ๕ สถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดการศึกษาในประเทศไทยตามคําสั่งนี้
ให้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎ ดังต่อไปนี้

(๑) กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

(๒) กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ เฉพาะบุคลากรชาวต่างชาติ
ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการสอนและการบริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูง

(๓) กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามคําสั่งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใดอีกได้สถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงอาจได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนก็ได้

ข้อ ๖ ให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสํานักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
มีหน้าที่รับผิดชอบ และกํากับดูแลการดําเนินการของสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูง
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย

ข้อ๗ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ให้เป็นไปตามคําวินิจฉัย
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อ๘ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้
คณะรักษาความสงบ แห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้

ข้อ๙คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


แหล่งข้อมูล














หมายเลขบันทึก: 628889เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2017 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2017 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท