พลังกลุ่ม พลังสุข : Retreat NKPH ๒๕๖๐ สสจ.หนองคาย (๓)


หลังจากท่านรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายราเชนทร์ พิเชฐพันธุ์ นายบัน ยีรัมย์ และนายแพทย์ชัชวาลย์ ฤทธิ์ฐิติ

สรุปผลงาน ประเด็น Gap และแนวทางพัฒนาแต่ละยุทธศาสตร์ตาม Goal setting ทั้ง ๕ กลุ่มฉบับย่อแล้ว

พักรับประทานอาหารกลางวันสายย่อเช่นกัน ตามด้วยกิจกรรมนับเลขบริหารร่างกาย นำโดย คปสอ.เมืองหนองคาย

แล้วจึงถึงช่วงถักทอความสุข และ Success happiness story (ความสุขและความสำเร็จ)

วิทยากรกระบวนการหลัก ๔ คน ทพ.วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์ นางจิตติพร ดิษฐสร้อย สสจ.หนองคาย

ทพญ.ธิรัมภา ลุพรหมมา และนางวัชราภรณ์ ผิวเหลือง โรงพยาบาลสระใคร

ประชุมเตรียมจัดกระบวนการเรียนรู้ ๑ ครั้ง และสื่อสารทาง mail ร่วมกับวิทยากรประจำกลุ่ม คณะผู้จัดการประชุมและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย

วันนี้จัด ๖ กลุ่ม ตาม Goal setting กลุ่ม Management แบ่งอีก ๒ กลุ่มย่อย เป็นกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จ

^_,^

สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วดีงามเสมอ

ครูบาอาจารย์สายเรียนรู้ด้วยหัวใจ สายเหนี่ยวนำระดมจิตใจ (Mind storming : MS) สาย KM (Knowledge Management) ที่จัดการความรักก่อนจัดการความรู้ หรือแม้แต่ครูพักลักจำสายจัดการความรู้คู่ความสุข (GotoKnow นี่เอง)

AAR ของทีมจัดกระบวนการบ่าย ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นี้แล้ว ได้ความว่า

๑. ลืมเตรียมทีม Facilitator ประจำกลุ่มอีกครั้ง ก่อนเข้าเวทีจริง อย่างน้อยมีเวลาภาคค่ำ ๒๓ พค. ๖๐ ที่อาจใช้เวลาซักซ้อมความเข้าใจไม่เกินชั่วโมง ย้ำเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เขียนบัตรคำตัวโต อ่านง่าย ด้วย Keyword ที่จับประเด็นมา ตามแนวนอนของกระดาษ โดยใช้ปากกาเมจิกเส้นใหญ่ที่เตรียมให้เพียงพอ ย้ำเทคนิคการจับประเด็น การถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการหาความเชื่อมโยง / รูปแบบ / ความสัมพันธ์ จากความรู้แฝง (Tacit knowledge) ในเรื่องเล่า

๒. อาจารย์ MS คงร้องไห้ ไม่ได้ทดสอบระบบเสียงด้วยตัวเองก่อนวันจัดกระบวนการ พื้นและผนังห้อง ระบบดูดซับเสียง ควรต้องพูดช้าลง เว้นวรรคนานขึ้น เพื่อสื่อและส่งพลังได้ทั่วถึงทุกคน เสาเยอะมาก ซอกหลืบเยอะมาก จำนวนคนเยอะมาก ยังสามารถเอาโต๊ะออกนอกห้องได้อีก วัตถุกั้นการสื่อสารด้วยหัวใจเยอะเหลือเกิน

กระนั้น พลังแรงใจที่ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคายส่งไว้ในภาคเช้า พลังจากสภาวะธรรมที่ได้ตักบาตร พลังร่างกายที่แข็งแรงจาก Smart ราชนาวี พลังความดีที่สะสมมาให้พวกเราพร้อมใจกันมาที่นี่ อุปสรรคแค่นี้เล็กน้อยเหลือเกิน

ชาวสาธารณสุขหนองคายจึงเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข ส่งแรงบันดาลใจให้ใจบันดาลแรงเพิ่มทวีซึ่งกันและกัน

อย่าเพิ่งเชื่อนะคะ ... โปรดอ่านต่อให้จบ อิ อิ

^_,^

ภาพที่ ๑. พี่ ๆ คปสอ.เมืองหนองคาย นำกิจกรรมขยับกายด้วยการนับเลข


ภาพที่ ๒ - ๓. คุณหมอล่า ทพ.วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์ สสจ.หนองคาย นำทีมแนะนำทีมวิทยากรกระบวนการกลาง ทพญ.ธิรัมภา ลุพรหมมา นางวัชราภรณ์ ผิวเหลือง โรงพยาบาลสระใคร และนางจิตติพร ดิษฐสร้อย สสจ.หนองคาย

ขออภัยคุณน้องจิตอย่างแรง เป็นตากล้องบางเวลา จึงไม่ค่อยมีภาพ


ภาพที่ ๔ - ๖ พี่ตุ๊ก วัชราภรณ์ พาน้อมนำใจให้กลับมาที่บ้านที่เรือนใจของเรา ได้ยินเสียงระฆังแห่งสติ ขอให้สงบเงียบ ให้ใจเรารวมร่างกายเป็นหนึ่งเดียว สร้างภาวะพร้อมในการเรียนรู้

โจทย์แรกจับคู่ความต่าง ต่างเพศ ต่างอำเภอ ต่างวัย แลกเปลี่ยนเรื่องเล่าความสุขที่ไม่ใช่เรื่องเงิน ความสุขที่หลงลืม และความสุขจากการทำงาน


ภาพที่ ๗ - ๙ ถักทอความสุขของกลุ่ม จับ ๒ คู่ เป็น ๔ คน นำเรื่องเล่าความสุขของคู่เพื่อนสู่กลุ่ม ๔ คน เล่าครั้งละ ๑ คน ที่เหลือตั้งใจฟัง ให้เวลาเฉลี่ยแบ่งปันความสุขกัน รวม ๕ นาที


ภาพที่ ๑๐. สะท้อนสิ่งที่ได้ยินออกมาเป็นข้อความในสมุดส่วนตัว ความรู้สึกเมื่อเป็นผู้พูด / ผู้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้ แม้แต่เรื่องของตัวที่คืนกลับมาในแบบคนอื่นเล่า

สังเกตจากรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ระหว่างฟังเพื่อน สังเกตจากเขียนไป ยิ้มไป เชื่อว่าการสร้างความสุขไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และเรื่องความสุข เรื่องดีงาม สร้างแรงใจเพิ่มพลังให้กันและกันไม่มากก็น้อย

หักมุมเล็กน้อย ไม่ได้ให้สะท้อน (Reflection) ให้ทั้งห้องใหญ่ฟัง ยิ่งจะสร้างและหลอมรวมพลังสุขเพิ่มขึ้นอีก ... ประเมินแล้ว เวลาจำกัดค่ะ


ภาพที่ ๑๑ - ๑๓. แนะนำทีมวิทยากรกระบวนการประจำกลุ่ม พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ สสจ.หนองคาย

• NCD มะเร็งท่อน้ำดี : พี่ยลจิต น้องเจี๊ยบนิตยา

ระบบบริการ ๑˚, ๒˚, ๓˚ : พี่สุนภา พี่สมพร พี่ประดิษฐ์ รองฯ นพ.ชัชวาลย์ พี่จรัสศรี

• Food safety : พี่ไพรัตน์ เภสัชกรหญิงปิยะมาศ พี่ก็อต

ระบบเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค : พี่ธวัชชัย พี่พรเทพ

• Management สนับสนุน : พี่สัมพันธ์ พี่สุภาพ คุณอัญชลีพร

• Management องค์กร : นพ.สมชายโชติ รองฯบัน ยีรัมย์ ชมรมหมออนามัยประเทศไทย สาขาหนองคาย


ภาพที่ ๑๔ สระใคร โพนพิสัย คนต้นเรื่อง Success happiness story มะเร็งท่อน้ำดี และ NCD

ภาพที่ ๑๕ โพนพิสัย คนต้นเรื่อง Success happiness story ระบบบริการ Longterm care (LTC)

ภาพที่ ๑๖ อำเภอเมืองหนองคาย คนต้นเรื่อง Success happiness story ตลาดปลอดภัย


ภาพที่ ๑๗ อำเภอท่าบ่อ คนต้นเรื่อง Success happiness story เรื่อง Smart TB


ภาพที่ ๑๘ โพนพิสัย คนต้นเรื่อง Success happiness story เรื่อง ข้อมูลดี IT ดี งานดี


ภาพที่ ๑๙ ช่วยกันเล่า ปัจจัยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ คนเล่าตั้งใจเล่าตามที่เตรียมมาเป็นอย่างดี


จากขั้นเตรียมถักทอความสุข สร้างพลังสุขของกลุ่ม

สู่การจับประเด็นหัวใจของความสำเร็จ (Critical Success Factor : CSF)

• คนฟังใช้ ทักษะฟังอย่างตั้งใจ ให้ได้ทั้งสาระและเจตจำนงที่ส่งออก

ผู้เล่า (คนต้นเรื่อง) : เล่าเรื่อง Best practice ที่เตรียมมา ๒๐ นาที (๑-๒ เรื่อง)

ผู้ฟัง : ใช้ใจฟัง ชอบ ดีต่อใจ จับใจ ; จับประเด็น

• หาให้พบ ... หัวใจแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor : CSF)

ต่างคนต่างเขียนบัตรคำ (ตัวโต อ่านง่าย) ใช้ปากกาเมจิกเส้นใหญ่

วางกลางวง ให้เพื่อนเห็นโดยทั่วถึง

ซักถามเพิ่มเติม ๕ นาที


เวลาไม่เคยพอ จ้ะ ... ต่ออีกก็ได้ ให้ได้ไม่มากนะคะ

ยังจำตาราง ๔ ช่องที่ นพ.สสจ.บรรยายเมื่อเช้าได้ไหมคะ

เราต้องเลือกทำสิ่งสำคัญ ในเวลาที่ยังไม่เร่งด่วน จะได้คุณภาพดีและเสร็จก่อนหรือทันกำหนด


ภาพที่ ๒๐. เตรียมนำเสนอปัจจัยหรือหัวใจแห่งความสำเร็จ ช่วยกันเลือก ๓ - ๕ ชุดกิจกรรม ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป


เดี๋ยวต่อในบันทึกต่อไปนะคะ

แต่ละกลุ่มจะวิเคราะห์แยกแยะเนื้อหา (Content analysis) และยกระดับความรู้จากรูปธรรมกิจกรรมที่คนต้นเรื่องเล่ามา

เชื่อมโยง ร้อยเรียงชุดกิจกรรม แสดงให้เห็นเงื่อนไข หรือถอดความจากรูปธรรมกิจกรรม ให้เห็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ชัดเจนขึ้น

รอตอนจบสักครู่นะคะ .... ใกล้ละ

ราตรีสวัสดิ์นะคะ ฝันดีทุกท่าน

^_,^

หมายเลขบันทึก: 628887เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2017 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กิจกรรมละเอียดมาก

สมเป็นคุณหมอธิ

555

ผมเห็นการพัฒนาการทำงานของทีมงานและการบันทึกเยี่ยมมากๆ

เรียน ดร.ขจิต ที่เคารพ จะรับไว้เป็นคำชมนะคะ ขอบคุณมากค่ะ ๕ ๕ ๕ เข้าข้างตัวเอง นิสัยทันตแพทย์ละค่ะ ละเอียดลออ

ทว่า ... บางครั้งต้องเติมทักษะการคิดใหญ่ ถอยห่างขึ้น เพื่อมองภาพรวมทั้งหมดด้วยค่ะ

จะเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งเล็ก ๆ ที่ร้อยเรียงเกี่ยวเนื่องกัน

การสื่อสารก่อนจัดกระบวนการ (BAR : Before Action Review) บางครั้งก็มีข้อจำกัดค่ะ พยายามทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้

ต้องชมทีมผู้จัดการ กลุ่มงานแผนยุทธศาสตร์ค่ะ ทีมอำนวยความสะดวกทั่วไป ทีมประสานงาน พยายามให้ออกมาดีที่สุดในสิ่งที่มี ให้ทุกคนมีความสุขมากเท่าที่ทำได้ ช่วย ๆ กันค่ะ

ทีมผู้เหนี่ยวนำกระบวนการเรียนรู้ ระหว่างทำงานก็ทำไปปรับไป ตามชั่วโมงบินค่ะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไป ดีบ้างไม่ดีบ้าง ปีนี้เป็นปีที่สองที่ทำงานร่วมกับวิทยากรกระบวนการประจำกลุ่ม เริ่มเข้าใจ รู้ใจกันมากขึ้นค่ะ

แต่โจทย์เนื้อหาสาระที่ต้องการ ก็ยากกว่าปีที่แล้วนิดนึง ถ้าเวลาผ่านไป ๑ ปี หากเราทำได้เท่าเดิม แปลว่าศักยภาพเราลดลง ถูกไหมคะ ปีนี้เหมาะสมกับชาวสาธารณสุขหนองคายแล้วค่ะ ง่าย ๆ เราไม่ทำ อิ อิ

และกระบวนการเรียนรู้ในห้องผ่านไปแล้ว อยู่ที่ทีมงานทั้งหมดละค่ะที่นี้ รับความสุขระหว่างทางไปแล้ว จะเปิดใจรับสิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อคราวหน้าหรือโอกาสอื่นในการพัฒนาตัวเองต่อไป ถ้าทำ AAR (After Action Review) เฉพาะทีม Facilitator ได้ จะเกิดการเรียนรู้ต่อยอดกันไปได้อีกค่ะ พัฒนาสมรรถนะ Fa สู่ Mentor

ตัวเองบันทึกละเอียดกว่าทุกครั้ง เพราะต้องการสื่อสารกับทีม Facilitator สสจ.หนองคายค่ะ ที่เพิ่งทำงานร่วมกัน ๒ ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้เกินร้อยคนทั้งสองครั้ง แต่ทีมผู้เหนี่ยวนำ ด้านทันตสาธารณสุขที่ทำงานมาด้วยกันบ่อย ๆ เกินเจ็ดปีแล้วนั้น สัดส่วนผู้เหนี่ยวนำต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๑ : ๘ - ๑๒ คน กำลังพอดีค่ะ และถึงขั้นรับ - ส่งกันด้วยสายตาได้แล้ว อิ อิ

ยาวมาก ๆ สงสัยไปเขียนบันทึก เหลียวหลัง แลหน้า ... การเหนี่ยวนำ Fa ด้วยกัน ต่างหาก กิ กิ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-วันนี้ตามมาอ่านบันทึกย้อนหลัง

-ผมเชือว่า"สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ"

-ขอบคุณครับ

เห็นดีงามต้องตรงกันนะคะคุณเพชรฯ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท