นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

PLC ที่โรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ : ขยับ เป็นทีม ทำด้วยกัน ทำไปพร้อมกัน


หลังจากที่โรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ ได้ตกลงจะปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน และยินดีที่จะทำโรงเรียนให้เห็นการเปลี่ยนแปลง จากเดิม ที่ครูไม่เคยคุยกัน รับผิดชอบหน้างานของแต่ละคน และสอนตามสภาพ ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กๆ ไม่น่าพอใจ

วันที่ 12 พฤษภาคม 2560 นัดหมายกับโรงเรียนเพื่อทำกิจกรรม โดยมีเป้าหมาย คือ

ติดตามการทำงานของโรงเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และชวนขยับเพื่อให้มีทิศทาง ผู้เข้ามาร่วมในวันดังกล่าว มีตัวแทนจากองค์กรภาคเอกชน (คุณแล่ม คุณรุ่งทิพย์ คุณทรงเดช) ท่านอุทัย แก้วกล้า (ประธานสภา อบจ.กาฬสินธุ์) ศึกษานิเทศก์ (นุชรัตน์,กชพร) ผอ.วชิรนุช และ ดร.ต๋อย (ฤทธิไกร ไชยงาม) ที่ ขอเข้าร่วมการทำกิจกรรม และ กลายมาเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
" จริงๆ ก็เกินความคาดหมายที่มีพลังจากหลายภาคส่วน ที่เข้ามาหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน ทำให้รู้สึกมีพลัง "

เรื่องที่โรงเรียนนำมาใช้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ

- การหันหน้าคุยกัน ทุกคน (วง PLC) และตัดสินใจที่จะปรับการสอนให้เหลือวิชาหลัก (ไทย คณิต อังกฤษ) ที่เหลือ คือบูรณาการเป็นรายวิชา PBL (problem based learning) และใช้กิจกรรมจิตศึกษาในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ครูกับครู การปรับตารางสอนหลังจากที่ PLC กันหลายรอบ มีหน้าตา เป็นอย่างนี้


ตารางสอน ปี 2560

- ครูเอ๋ เป็นตัวแทน ช่วงชั้นที่ 1 ครูเม่นเป็นตัวแทนของช่วงชั้นที่ 2 ครูอิ๋ม เป็นตัวแทนสายมัธยม ช่วงชั้น 3 และครูปฐมวัย. ในการเล่าให้พวกเราฟังว่า แผน PBL ได้รับการออกแบบไว้อย่างไร ซึ่งคุณครูรุ่นใหม่ ทั้งสามคน เป็นตัวแทนของคุณครูผู้ใหญ่ ที่ให้เขาไว้วางใจ ให้น้อง ๆ ได้เป็นผู้นำ ในการที่จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน (ครูทั้งสามคนเพิ่งบรรจุ 1-3 ปี ยังไม่มีวิทยฐานะ แต่มีไฟ และอุดมการณ์) โดยสรุป คือ

การออกแบบแผน PBL ถูกแบ่งออกเป็น 4 ควอเตอร์ ๆ ละ 10 สัปดาห์ .. 1 ภาคเรียน จะได้เรียน 2 ควอเตอร์ (รวม 4 ควอเตอร์ต่อปี) ซึ่งตอนนี้ ทำไดัประมาณ 1-2 ควอเตอร์

ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม เป็นผู้ร่วม Reflect ที่สะท้อนมุมมอง ครูผู้สอน และ ผู้นิเทศ ได้อย่าง น่าสนใจ

- การสร้าง แหล่งเรียนรู้ ฐานการเรียนรู้ และ แหล่งผลิต
- การจัดชั่วโมงเรียนที่ จบลงเพียง 1 ชม. เพียงพอหรือไม่
- การปรับเป็นการสอนแบบบูรณการ แต่หลักและศาสตร์ของแต่ละวิชาต้องได้รับการฝึกฝน
- บางครั้งการกังวลกับกรอบ ตชว. มฐ. ทำให้การเรียนไม่สนุก ซึ่งการเรียนอย่างมีความสุขจะทำให้เด็กๆ รักที่จะเรียน
- การปรับเปลี่ยนในทันทีถ้ามีความคับข้อง ติดขัด ควรเปิดใจกับเพื่อน และ ผอ.ร.ร.
- ข้อเสนอแนะในการทำ logbook (ถ้า Process การสอนครูชัดเจน logbook ก็จะชัดชัดเจน) องค์ประกอบสำคัญ คือ
( จากการ interpret ของตัวเอง)



องค์ประกอบ logbook

หลังจากนั้น พวกเรา ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดย ทีมหนุนเสริมร่วมสร้างกำลังใจ จากทุกคนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นี่





หลังกิจกรรม ดิฉันได้ร่วมกับทีม ครู และท่าน ผอ.ปราโมทย์ ได้คุยกันถึง กรอบการศึกษา และไทม์ไลน์ ที่จะขยับต่อไป ที่อาจจะเกิดขึ้นที่นี่ (กำลังเชื่อมโยงพันกันเหตุการณ์หลายอย่างที่ตัวเองรับผิดชอบ) เราตกลงกันว่า โรงเรียน ทุกคนทำหน้าที่ตัวเองไป วันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นพวกเราก็พร้อมรับสถานการณ์





ขอบคุณ อีกครั้ง ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 628460เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2017 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2017 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท