๕๓๕. ​ประชุมวันพืชมงคล..เกือบสับสนในนโยบาย..สุดท้าย..ก็เป็นเช่นนั้นเอง..


..หมอรักษาโรค..ประชุมหารือเพื่อวินิจฉัยและผ่าตัด เสร็จแล้วคนไข้ก็รอด..แต่นักเรียนโรคของความไม่รู้ นามธรรมมากๆ มีหลายปัจจัยร่วมกัน ที่ครูรู้แล้วว่าทำไมถึงเรียนรู้ช้า..แต่ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป..ก็เหมือนกล้วยไม้นั่นล่ะ..

วันพืชมงคลของทุกปี..ฝนตกทุกปี อันนี้เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ อาจเป็นเพราะแรงดึงดูดและวงโคจรของโลก ตลอดจนการผันแปรของลมฟ้าอากาศที่ประจวบเหมาะพอดี จึงมีฝนโปรยลงมาให้คลายร้อน..

ผมไปประชุมผู้บริหาร จัดโดยสมาคมผู้บริหารโรงเรียนของอำเภอ เริ่มประชุม ๑๐ โมง ที่ประชุมมีวาระเร่งด่วน ให้เสนอชื่อผู้บริหาร ๒ ท่าน เข้ารับการคัดเลือกเป็น อกศจ. ซึ่งย่อมาจาก คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด..ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และศึกษาธิการจังหวัดเป็นเลขานุการ...

องค์คณะบุคคลชุดนี้ เกิดขึ้นจาก คสช. ใช้ ม.๔๔..ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาใหม่หมด ลดทอนอำนาจเขตพื้นที่ ที่เคยมีอนุกรรมการในระดับเขตฯ ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องย้าย การบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน และจัดทำแผนงบประมาณ..ก็ถือว่ารัฐบาลชุดก่อนๆ ได้กระจายอำนาจการบริหารได้ดีในระดับหนึ่ง..

บางเขต..กำลังจะไปได้สวย แต่บางเขต เขาว่า..(หมายความว่า ผมไม่ได้พูดเอง) มีการโกงกิน รับสินบน ใช้อำนาจโดยมิชอบ คสช.จับได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ จึงปรับใหม่หมด จนแทบจะยุบเขตพื้นที่ไปในพริบตา..

เรื่องนี้..ผมว่าภาครัฐต้องการจะเห็นคุณภาพ..แต่ก็จะประหยัดงบประมาณไปด้วยมากกว่า จึงใช้การรวมศูนย์ รวบอำนาจแบบย้อนยุคไปให้จังหวัดแบบสมัยก่อน ที่เราเกือบจะลืมไปแล้ว นำมาปัดฝุ่น..เริ่มกันใหม่..วนไปวนมา ช้ากว่าชาติอื่นกี่ก้าว เราอย่าไปสนใจ..ติดตามดูกันไปดีกว่า..การศึกษาบ้านเราก็เหมือนหนังอินเดียหรือหนังชีวิต มีทุกรสชาติ..ต้องอดทนและดูกันยาวๆ..

ตอนเที่ยง..กลับเข้าโรงเรียน และรีบเร่งทำเวลา เนื่องจาก ผอ.เขต นัดครูและผู้บริหารทุกโรงเรียนในอำเภอ..ประชุมตอนบ่ายโมง เพื่อมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๐..

กินข้าวเสร็จ..ตรงไปเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เก็บไข่ให้น้ำ เป็นที่เรียบร้อย ปิดประตูใส่กุญแจ ภารกิจลุล่วง เข้าประชุมบ่ายจะได้หมดห่วง มองเข้าไปในเล้าไก่ เห็นไก่กำลังจะออกไข่ เป็นภาพที่สวยงามที่เห็นเป็นประจำ..แต่วันนี้..กลับมีความรู้สึกว่า หน้าที่ก็คือหน้าที่..มีอะไรก็ทำไป..ไม่ต้องคิดเยอะ..ไก่ยังรู้หน้าที่ ถึงเวลาต้องออกไข่..มันก็ทำหน้าที่ของมัน.. เช่น..เขตพื้นที่การศึกษา ..แม้จะรู้ว่าเป็นวันหยุดราชการ แต่เขาก็อยากทำหน้าที่นิเทศกำกับติดตามและมอบนโยบาย..บ่ายโมง..จึงเริ่มเปิดการประชุม ..โดย ผอ.เขตฯเป็นประธาน..เกริ่นกล่าวด้วยภาพชวนคิด “ทฤษฎีกระปุกทราย”สรุปท้ายว่า “จงให้ความใส่ใจสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต”....และ..ทุกคนมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิต ถ้ารู้จักบริหารเวลา..” ถ้างั้นผมก็คงมีโอกาสแล้วล่ะ..เพราะแต่ละวันของชีวิต บริหารเวลาได้ค่อนข้างดี มีโอกาสทำงานได้หลายอย่างหลายหน้าที่ เป็นทั้งครูใหญ่ ครุน้อย และภารโรง..แบบทรีอินวันและทุกวัน..หรือจริงๆผมได้ก้าวข้ามความสำเร็จไปแล้ว..(ฮา)

ผอ.เขต พูดหลายเรื่อง ล้วนเป็นเรื่องราวทางวิชาการ เกี่ยวกับการจัดการเรียนในห้องเรียนคุณภาพ ที่ต้องเน้นสื่อ แผนการเรียนรู้ และการจัดบรรยากาศ แบบละเอียดยิบ บอกด้วยว่าจะพูด ๒ ชั่วโมง..ท่านพูดไปมีไอผสม..เพราะท่านเป็นภูมิแพ้ ใช้เสียงมากจะไอทันที..ผมจึงคิดในทุกเวทีที่ท่านพูด ว่าทำไม..ไม่พูดแต่หลักการ แล้วในส่วนที่ลงลึกภาคปฏิบัติ ให้ศึกษานิเทศก์เล่นเอง..มันจะดูเป็นละครโรงใหญ่ที่เล่นได้สมบทบาทมากกว่า..แต่อย่างว่าแหละ..ใครจะไปกล้าเตือนเจ้านาย..

ก่อนที่ผอ.เขต จะพูดถึง PLC..นโยบายของรัฐมนตรีศึกษา..ท่านได้ประกาศ ๑๐ อันดับโรงเรียนที่มีผลโอเน็ต ป.๖ ยอดเยี่ยม..ขอเสียงปรบมือจากโรงเรียน ๔๐ กว่าโรงเรียนที่นั่งอยู่ในที่ประชุม..เป็นเช่นนี้ทุกปี ที่พุ่งเป้าไปที่อันดับของการวัดประเมินผล..จนลืมบริบทโรงเรียน ลืมมองพัฒนาการของโรงเรียนบางโรงที่มีความต่อเนื่องบนพื้นฐานของความจำกัด แต่ก็มีความมุ่งมั่นทุ่มเท..ลืมว่าคุณภาพ..มิได้อยู่แค่ตัวเลข แต่อยู่ในมิติต่างๆของแต่ละโรงเรียน..เหมือนการศึกษาจะวนไปวนมา แล้วก็กลับมาอยู่ที่เดิม ผมได้แต่คิด ห้ามพูด..ถ้าพูดเมื่อไหร่..องุ่นเปรี้ยวทันที

สุดท้ายจบด้วย..PLC ที่วงการแพทย์รู้จักกันดี และรมต.จะมาใช้กับวงการครู..ผมฟันธงว่าล้มเหลว..ยกตัวอย่าง..หมอรักษาโรค..ประชุมหารือเพื่อวินิจฉัยและผ่าตัด เสร็จแล้วคนไข้ก็รอด..แต่นักเรียนโรคของความไม่รู้ นามธรรมมากๆ มีหลายปัจจัยร่วมกัน ที่ครูรู้แล้วว่าทำไมถึงเรียนรู้ช้า..แต่ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป..ก็เหมือนกล้วยไม้นั่นล่ะ..

บางคนอาจแย้งว่า..PLC เป็นกระบวนการที่ครูทำกิจกรรมร่วมกัน..ถ้าครูมีน้อยแล้วรู้เท่ากันล่ะ ภาระงานที่สอนหลายชั้นล่ะ ที่สำคัญเรื่องนี้ ไม่ได้ถูกสอนในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องใหม่ที่ครูอบรมกันวันเดียว จะคิดว่ารู้แล้วทำได้..กระนั้นหรือ

ถ้ามีครูที่รู้ในระดับวิทยากรในทุกโรงเรียน..ผมจะไม่ปฏิเสธเลย..แต่นี่ให้ครูทำเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะ เลื่อนซีเลื่อนระดับให้สูงขึ้น...

ผมว่า..ครูที่พอเพียงแล้ว..เขาคงอยากเป็นแค่ครูเพื่อศิษย์ แต่ครูที่คิดทำผลงานก็ต้องขอมานั่งเป็นประธานหัวโต๊ะ..ถ่ายรูป..ไม่ต้องพูดอะไร สร้างเอกสารเครื่องมือตามหลัง มันจะเกิดระบบดูแลช่วยเหลือ หรือฮั๊วกันทั้งระบบ..

อย่าลืมนะครับ..วัฒนธรรมครุไทย..ถูกสอนมาให้ฟังและปฏิบัติตาม มิได้ถูกฝึกมาให้สอนครูด้วยกัน..ผมจึงคิดว่า ควรนิเทศติดตามครูให้เขาสอนได้ตามธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเอง เต็มที่ เต็มเวลาก็พอ..เพื่อเป้าหมายการศึกษา ที่ไม่ได้อยู่ที่ครูแต่อยู่ที่เด็ก

ทำให้คิดถึง ครั้งหนึ่งสมัยหนึ่ง หลักสูตรประถมฯต้องการบ่มเพาะเด็กให้ “คิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น” ผ่านมา ๔๐ ปี ยังไม่เห็นภาพความสำเร็จ..จึงเอามาใช้กับครูก็เป็นได้..กลัวแต่ว่า ครูน่ะคิดเป็นทำเป็น..แต่ไม่เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้..แต่ทำตามนโยบายให้ได้มาซึ่งเงินเดือนที่สูงขึ้น..เท่านั้น....

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐

หมายเลขบันทึก: 628455เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระจายอำนาจแล้วรวบ รวบแล้วกระจาย วนเวียนไป ผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงวิชาการน้อยไป เป็นเรื่องน่าเศร้า

PLC ที่ รมต. ศึกษา แนะให้ใช้นั้นเป็นอย่างไรไม่แน่ชัด แต่ในวงการศึกษามีการใช้ชุมชนครูเรียนรู้ มานานแล้ว ในแง่ของครูแต่ละคน ใช้ Lesson study ที่ครูญี่ปุ่นใช้แล้วมีการเผยแพร่และทดลองใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยที่คณะศึกษาศาสตร์ ม ขอนแก่นสอนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จัดว่าเป็นการใช้ Learning community เหมือนกัน ง่าย ๆเลย ครูที่สอนวิชาเดียวกันมาร่วมกันวิเคราะห์การสอนของครู อาจจะแค่สองคน สามคน ดูจาก แผนการสอน ดูการสอนจริง ดูชั้นเรียน ดูผลการประเมิน แล้วมาร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหา และร่วมหาทางแก้ไข ทดลองใช้ใหม่ เพื่อให้ได้ บทเรียนที่มีประสิทธิภาพ ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวิชา ทุกกลุ่ม ในโรงเรียน ผล ต้องดีขึ้นแน่ ในแง่ผลสัมฤทธิ์ และในแง่ความเป็นมืออาชีพของครู ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องจัดการประชุมอย่างเป็นทางการมีการใช้งบประมาณ ทำโครงการให้วุ่นวายเสียเวลา เพียงจัดเวลา หามุมทำงาน และทำอย่างสม่ำเสมอ มีแผนงาน ถือว่าเป็นการวิจัย คำว่า Lesson study คือ วิจัยบทเรียน แปลตามตัว

จะล้มเหลวก็ต่อเมื่อครูในกลุ่มไม่เป็นมิตรต่อกัน ทะเลาะเบาะแว้ง อัตตาสูงจัด ไม่ร่วมมือ

PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ดู ๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่

ครั้งหนึ่งคุณมะเดื่อก็เคยใช้

ในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียน

เห็นผลดีมาก ..... ต่อมา เมื่อเกิดการ

เปลี่ยนแปลงในองค์กร PLC ก็กายเป็น

" พี แอล ซี้ " ไปโดยปริยาย 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท