โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 6: ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 6: ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

วันที่ 18 พฤษภาคม 2560

Networking Developments and Management Forum

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ผศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีลูกค้าเป็นผู้ป่วยไร้ญาติใน 14 จังหวัดภาคใต้ทั้งหมด ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ต้องอาศัยการเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยซึ่งคาดว่า มีความสามารถสูงสุดในการรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลสาธารณสุขก็มีความสามารถระดับหนึ่ง ม.อ.กำหนดว่า จะเป็น Supra-tertiary Hospital ส่วนโรงพยาบาลสาธารณสุขเป็น Tertiary Hospital นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลระดับย่อยๆ คือ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลระดับอำเภอ

การทำ networking ของม.อ. การที่ม.อ.จะอยู่ได้ต้องมีพันธมิตรทางเครือข่าย พันธมิตรทางการแพทย์ได้แก่ แพทย์และพยาบาล รวมถึงบุคลากรทางแพทย์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายที่โรงพยาบาลตั้งประเด็นไว้คือการสร้างการพัฒนาเครือข่าย เครือข่ายที่ออกแบบไว้เป็น Action แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก

1.เครือข่ายบริการการแพทย์

2.เครือข่ายด้านวิจัย

3.เครือข่ายด้านวิชาการที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาให้โรงพยาบาลรอบนอก

เครือข่ายที่น่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงพยาบาลคือ เครือข่ายการให้บริการรักษาพยาบาล ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขมี Service Plan ซึ่งมีการส่งต่อที่ชัดเจนระหว่างโรงพยาบาล มีการลงนาม MOU ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะแพทย์ทั่วประเทศ มีคณะทำงานเกิดขึ้นสำหรับเรื่องที่จะได้ผลประโยชน์

เครือข่ายทำให้ระบบสาธารณสุขรอดได้ดังนี้ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ รักษาโรคที่ซับซ้อนสูงสุดของประเทศ คนไข้ต่างๆก็มาที่โรงพยาบาลนี้ ถ้ารักษาคนไข้แล้วไม่สามารถส่งคนไข้เหล่านี้ออกไปได้ ก็จะไม่มีเตียงรับผู้ป่วยต่อไป คนไข้ที่รับการรักษาเสร็จแล้วไม่สามารถส่งกลับบ้านได้ทันที ถ้าโรงพยาบาลสาธารณสุขไม่รับกลับไป ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ก็ไม่มีเตียงรับคนไข้ใหม่

ทางโรงพยาบาลจึงอยากทำเครือข่าย Refer in และ Refer out

ในการรักษาคนไข้ตติยภูมิ จะต้องมีเครือข่ายภายใน ได้แก่ เครือข่ายบริการการแพทย์และการรักษาพยาบาล ต้องการ Cross-functional team ค่อนข้างมากเพราะต้องการความชำนาญแพทย์และพยาบาล

ถ้าเป็นโรคที่ซับซ้อน ต้องการความชำนาญเฉพาะทางของพยาบาลมาช่วยมากขึ้น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์พยายามรับเภสัชกรมาเป็นเครือข่ายภายในช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลให้มีความปลอดภัย มีการนำเภสัชกรไปขึ้นวอร์ด พยาบาลช่วย training, KPN ความสอดคล้องในการฝึกอบรมพยาบาล ทำให้พยาบาลสามารถไปศึกษาคณะพยาบาลมากขึ้น

เมื่อทำเครือข่ายภายในเข้มแข็งแล้ว ก็มาสร้างเครือข่ายภายนอก เครือข่ายที่ประสบความสำเร็จสมัยที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลรอบแรก ก็ได้เสนอเรื่องนี้เป็นสคสช.สร้างเครือข่ายเฉพาะโรคขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เครือข่ายที่ประสบความสำเร็จ 10 ปีที่ผ่านมาก็ยัง Active อยู่ ก็คือเครือข่ายนมวัว

เนื่องจากเครือข่ายสุขภาพของประเทศมีต้นทุนสูง โรคที่เป็นตติยภูมิ จึงได้เสนอให้สร้างเครือข่ายที่ขอเงินจากสปสช. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายของโรงพยาบาล ปีแรกได้งบ 10 ล้านบาท ปีที่ 2 ประมาณ 6-7 ล้านบาท ได้ต่อเนื่องทั้งหมด 3 ปี โดยนำมาทำระบบ Training แบ่งเงินจำนวนหนึ่งไปซื้อเครื่องมือเพื่อส่งต่อให้โรงพยาบาลนอกรอบที่เป็นเครือข่าย ส่วนม.อ.ได้เครื่อง High Frequency ส่วนโรงพยาบาลรอบนอก ก็ซื้อเครื่องช่วยหายใจให้ นอกจากนี้มีอาจารย์ New born ไปฝึกอบรมกลุ่มเครือข่าย

โรงพยาบาลรอบนอกให้สามารถดูแลคนไข้ New born ได้ มาร่วมการฝึกอบรมเป็นระยะ ถ้าไม่สามารถดูแลคนไข้ New born ก็สามารถส่งกลับมาให้ม.อ.ได้ ตอนนี้เครือข่ายเป็นอิสระแล้ว ระบบการดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถขยายเตียงระหว่างเครือข่าย โดยส่งคนไข้ไปที่โรงพยาบาลอื่นก่อน เมื่อคนไข้มีอาการคงที่ และจำเป็นต้องรักษาที่ม.อ. ก็ต้องย้ายกลับมา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างบุคลากร ทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ผศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์กล่าวไปข้างต้นอยู่ในทฤษฎีที่เน้นความจริง เวลาทำเครือข่าย ต้องดูความจริงก่อน พบความจริง 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือ เครือข่ายที่ต้องทำเสมอคือ กลุ่มพันธมิตรมี แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ภาควิชาการส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องพยายามประสานงานและเรียนรู้สม่ำเสมอ เมื่อมีปัญหา ก็สามารถจะแก้ไขได้ทันเวลา ทุกอย่างมีการวางแผน มีตัวบุคคลที่ทางฝ่ายแพทย์เข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เมื่อเกิดความจริง ต้องวางยุทธศาสตร์ให้ตรงประเด็น สิ่งที่ดีที่สุดคือความพร้อมของบุคลากร ม.อ.มีความพร้อมด้านบุคลากร เมื่อร่วมมือก็จะได้รับความร่วมมือ เวลาได้รับความสำเร็จ ผู้บริหารเครือข่ายต้องมีการแบ่งปันประโยชน์สุข ต้องมีการพัฒนาและขยายเครือข่ายไปอย่างกว้างไกล

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

ตนทำงานในภาคชุมชน เริ่มต้นที่คนเป็นหลัก เพราะชุมชนมีทรัพยากรที่เป็นมนุษย์และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนซึ่งเป็นวัสดุ เครือข่ายที่ทำอยู่ได้แก่

1.เครือข่ายเกษตรกร

1.1 คนกล้าคืนถิ่น เกิดจากยุคคสช.ที่มุ่งหวังให้คนกลับบ้านจากการที่ทิ้งถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น และเป็นการตอบโจทย์เรื่องสุขภาพ แทนที่จะไปอยู่กรุงเทพแล้วเป็นภูมิแพ้ ควรจะอยู่บ้านปลูกผัก เลี้ยงปลากินเอง เพราะสุดท้าย มนุษย์หาอยู่หากิน ได้เงินเดือนมาก็ซื้อผัก ซึ่งก็ไม่มั่นใจในความปลอดภัย

1.2 ธนาคารต้นไม้ สุขภาวะความเป็นอยู่ของมนุษย์ถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว ใช้ทรัพยากรเต็มที่ ซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นย่อยสลายโดยไม่รู้คุณค่า ตกทอดสู่รุ่นลุกหลาน สุดท้ายก็มาสร้างป่า ทำให้ทุกประเทศต้องลดภาวะโลกร้อน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้สัญญาในการประชุมต่างประเทศ จะปลูกป่าให้ได้ 26 ล้านไร่หรือ 40% ของประเทศ ซึ่งประมาณการแล้ว ต้องใช้เวลา 100 ปี แต่วิธีการของธนาคารต้นไม้ใช้เวลาแค่ 10 ปี ทำเป็นสาขา เครือข่ายของจังหวัดต่างๆ มีเป้าหมายสูงสุดของภาคคือ 25,000 สาขา ทั้ง 25,000 สาขาจะมีต้นไม้รวม 1 ล้านไร่ ปลูกพืชร่วมกับต้นยาง ทั้งในพื้นที่ทำกินและพื้นที่ชนบท อาจจะเน้นที่สปก. ที่ป่าต้นน้ำ ทำต่างบทบาทหน้าที่ แต่รักษาสมดุลธรรมชาติ

2.เครือข่ายฝายมีชีวิตแห่งประเทศไทย ในส่วนที่ทำครอบคลุม 5 จังหวัดภาคใต้คือ สงขลา สตูลปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งเป็นงานที่หนักมากในการทำงานปรองดองสมานฉันท์ เพราะเป็นการทำงานกับประชากรที่มีพหุวัฒนธรรม เช่น มุสลิม จีน พุทธ ให้มีเป้าหมายเดียวกัน คือสร้างทรัพยากรน้ำให้ชุมชนทุกหมู่บ้านได้พึ่งพา มีชาวมุสลิมอยู่ใน 9 หมู่บ้าน แต่คลองตัดผ่านทำฝายอยู่ในพื้นที่ชาวพุทธ ก็ต้องใช้ศาสตร์พระราชาอธิบายว่า ทรัพยากรน้ำจะมีประโยชน์ทางการเกษตรมากกว่า 9 หมู่บ้าน แล้วการสร้างฝายจะผันน้ำเข้าคลองไปสู่หมู่บ้านต่างๆ ศาสตร์พระราชาคิดเรื่องชลประทานคลองไส้ไก่ มีฝายเป็นชลประทานหลัก คลองไส้ไก่เป็นชลประทานย่อย เมื่อทุกคนเห็นภาพรวมว่า เป็นประโยชน์ก็เข้ามาช่วยกัน โดยที่ไม่ได้เริ่มที่งบประมาณ แต่เริ่มด้วยวิธีคิดและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาร่วมกัน เป็นความปรองดองสมานฉันท์ ขยายฝายไปอีก 500 กว่าลูก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว มีเป้าหมายทั้งหมดคือ 50,000 ลูกทั่วประเทศภายใน 5 ปี เครือข่ายลักษณะนี้ขยายตัวไปเร็วมาก ตำแหน่งที่แต่ละคนมีอยู่ ไม่สำคัญเพราะมีเป้าหมายชุมชนเป็นหลัก

3. เครือข่ายเยาวชน เป็นการผลักดันให้เยาวชนรู้คุณค่าของต้นไม้ จะสอนการปลูกต้นไม้ในรูปแบบครอบครัว ประโยชน์ที่ได้รับคือ นอกจากสมาธิคือ ความอบอุ่นและความสมานฉันท์ภายในครอบครัว เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดปัญหาเด็กติดยาและการแข่งรถ มีการผลักดันให้ทำเกษตรในระดับเล็กปลูกผักปลอดสารพิษทำให้สุขภาพดี

จากการลงพื้นที่ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ในการสร้างเครือข่ายให้มั่นคงแข็งแรง มีการต่อยอดและพัฒนาขึ้นมา ต้องมาจากทุนมนุษย์และทุนทรัพยากรในชุมชนเป็นหลักทุนมนุษย์มารวมกันก็ได้เป็นเครือข่าย เป็น diversity แต่ละคนมีภูมิความรู้ที่ไม่เหมือนกัน ควรดึงศักยภาพแต่ละคนออกมา รวมกันแล้วได้ครบทุกองค์ความรู้ ถือเป็นเครือข่ายที่ดี แล้วอาจทำเป็นกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน ต่อยอดเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน ตลาดสีเขียว

หลักการทำงานเครือข่าย

1.เคารพความแตกต่างในวัฒนธรรม

2.ถอดอัตตา ประโยชน์ส่วนตนให้น้อยลง มองเป้าหมายให้ชัด

3.มีเป้าหมายตรงกัน และสุขในการทำงาน

4.มีความยืดหยุ่น และจัดการการเปลี่ยนแปลงและข้อจำกั ด

องค์ประกอบเครือข่าย

1.ภาวะผู้นำ

2.เสริมพลัง

3.ค่านิยมร่วมกัน

4.พันธสัญญาระหว่างกัน

5.พัฒนาตลอดเวลา หาความรู้ ตั้งวงเสวนา มีการแลกเปลี่ยนดูงาน

บทบาทที่สำคัญของเครือข่าย

1.ปกป้องสิทธิสมาชิกและกลุ่ม

2.สร้างพลังต่อรอง

3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.ประสานงานไม่ซ้ำซ้อน ลดการแข่งขันกันเอง

ประโยชน์ของเครือข่าย

1.แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ แก้ปัญหา

2.ร่วมคิด ร่วมทำ กิจกรรมต่อเนื่อง

3.สามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์

4.สร้างระบบการผลิต การจัดการ การตลาด สู่การพัฒนาวิสาหกิจ

โดยสรุป เครือข่ายเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของคน เมื่อเป็นเครือข่ายเข้มแข็งต้องจัดการทรัพยากรต่างๆให้ลงตัว เมื่ออยู่เป็นเครือข่าย ก็เรียนรู้จากกันแล้ว จะเก่งได้ทุกเรื่อง

คุณรดา มีบุญ

ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยคุณสนธิการณ์ประสานงานเครือข่าย มีกรณีศึกษาโรงพยาบาลป่าบอนได้ทำโครงการลดหวานให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการเชิญครูที่ดูแลเด็กมาเรียนรู้การปลูกผักต่างๆ ให้เด็กมีโภชนาการที่ถูกต้อง ชวนเด็กมาปลูกกล้วย ทำให้ได้อาหารปลอดสารพิษ เมื่อปลูกแล้วเจริญเติบโต ทำให้มีสมาธิ พ่อแม่มาร่วมทำกิจกรรม เป็นการส่งเสริมกิจกรรมในครอบครัว ทำให้เป็นโครงการอาหารกลางวันเด็ก ทุกปีมีการรายงานผลมาว่า ทำให้ภาวะเด็กอ้วนลดลง มีการทำต่อยอดไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเชิญผู้แทนศูนย์เข้าไปเรียน โดยจะดูแลเรื่องน้ำและปัจจัยทั้ง 5 อย่างในการดำรงชีวิตสำหรับพึ่งพาตนเอง โครงการนี้เป็นการลดจำนวนผู้ป่วยของโรงพยาบาลได้ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสงขลาก็นำข้าราชการเกษียณหรือเจ้าหน้าที่พยาบาลมาเรียนรู้กิจกรรมแล้วกลับไปปลูกผักกินเองที่บ้าน ก็สามารถลดปัญหาโรคต่างๆ เป็นกรณีศึกษาที่ทำให้เห็นว่าต้นน้ำเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ลดภาวะการเกิดโรคและปัญหาต่างๆ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ชุมชนเป็นเครือข่ายท่านแล้วเพียงแต่ท่านไม่รู้จัก ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีในการสร้างเครือข่าย

ความสำเร็จคือสร้างประโยชน์สุขเพื่อประชาชน ถ้าชุมชนต้นทางเข้มแข็ง โอกาสที่จะส่งคนมาที่โรงพยาบาลก็ไม่มีอาการที่หนักมาก

เครือข่ายชุมชนมีการพัฒนาบริหารจัดการเป็นวัฏจักร แต่แบบที่น.พ.เรืองศักดิ์เสนอก็เป็นเครือข่ายที่มีทีม เพราะมีภารกิจชาติร่วมกัน

คุณสนธิการณ์ นำเสนอว่า เครือข่ายเป็นเรื่องทรัพยากรก่อน แต่น.พ.เรืองศักดิ์มีเครือข่ายสาธารณสุข

ผู้นำสำคัญที่สุด แต่คนต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ Learn, share and care ต้องฟังคนอื่น ต้องเริ่มจากประเด็นปัญหา แล้วดูเรื่องคนว่า ในเครือข่าย มีใครเป็นผู้นำ

เรื่องประโยชน์สุขในเครือข่ายที่เหมือนกันคือ

1.ให้มากกว่ารับ

2.ยอมรับทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว

3.สานต่อด้วยวิธีการที่เหมาะสม มีการกระชับความสัมพันธ์ ให้ความรู้

มี 2R’s และต้องมียุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการเครือข่าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชื่นชมวิทยากรทั้ง 4 ท่าน

น.พ.เรืองศักดิ์ พูดเรื่องความจริง มีโรงพยาบาลก็ต้องมีการเชื่อมโยงกับหน่วยอื่นๆ ความสำเร็จสามารถกระเด้งไปที่อื่นได้ ที่ควนรู มีเครือข่ายดี ถ้าเชื่อม ธกส. ก็มีสุขภาพและมีรายได้ด้วย มี entrepreneurship

คุณสนธิการณ์และคุณรดามาเรียนโครงการศูนย์อาเซียน ทั้งสองคนสร้างเครือข่าย และอยากให้เป็นกระบอกเสียงด้านเครือข่ายต่อไป

ประเด็นที่ฝากไว้

1.เครือข่ายอยู่ในส่วนทุนมนุษย์และภาวะผู้นำ เมื่อดู 8K’s พบว่า ศักยภาพคนก็ต้องมีทุนทางสังคม ตัวบุคคลต้องมีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายมากกว่าที่ควรจะเป็น คณะพยาบาลและพันธมิตรควรมีพันธมิตรนอกมหาวิทยาลัยด้วย การสร้างเครือข่ายอยู่ที่พฤติกรรมแต่ละคน ต้องเน้นประโยชน์ร่วมกัน มีความเคารพนับถือกัน ต้องมีการบริหารความล้มเหลวร่วมกัน แต่ Networking ของคนไทยเหมือนระบบขนส่งมวลชนของไทย คือมีเครือข่ายสั้น เช่น มีญาติ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมสถาบันการศึกษา ในการสร้างเครือข่าย อย่ามุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว ทางมหาวิทยาลัยควรจะไปร่วมงานสำคัญที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆในจังหวัดด้วย แล้วต้นทุนการสร้างเครือข่ายจะต่ำลง โอกาสการสร้างเครือข่ายขึ้นกับทัศนคติ เพราะในอนาคต เครือข่ายเป็นเรื่องที่มองไม่เห็น การสร้างเครือข่ายต้องมีการเจรจาต่อรอง อาจมีการไปเยี่ยมเยียน

2.อยากให้มีเครือข่ายสุขภาพให้กว้างขึ้น นายกอบต.ควนรูอยากจะนำเครือข่ายการธนาคารไปเชื่อมกับการแพทย์ เพื่อเป็น Thailand 4.0 ควรจะมีการทำวิจัยร่วมกัน ตอนนี้มีแนวคิดประชารัฐ นำภาคส่วนต่างๆมาร่วมมือกัน ในเมืองไทยล้มเหลวเพราะไม่มีการทำอย่างต่อเนื่อง ถ้าส่งผู้แทนไปร่วมเครือข่าย ควรจะหาคนที่ความสามารถคล้ายกัน ทำงานแทนกันได้มาร่วมเครือข่าย จะได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อจบโครงการไปแล้ว ก็เชื่อมโยงได้ด้วย Digital Networking ควรคัดเลือกนักศึกษาปี 1 และ 2 คณะพยาบาลแล้วก็มาประชุมร่วมกับประเทศอื่น เป็น Student networking แล้วในอนาคตจะเป็น Employee networking

3.ในอนาคต Health และ IT จะมีความสำคัญ ต้องใส่ความเป็นผู้ประกอบการเข้าไป การทำท่องเที่ยวชุมชนได้ดี คือ ต้องมีความหลากหลายของตัวละคร มีการปะทะกันทางปัญญา ทำให้แต่ละคนมี EGO ลดลง ต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ แล้วเครือข่ายจะสร้างประโยชน์มหาศาล ควรจะเขียน Networking เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของม.อ. ควรจะเข้าไปที่ตะวันออกกลาง ในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่ใหญ่ และควรไปแอฟริกาด้วย ควรวิเคราะห์ Networking ต่างจาก collaboration, teamwork, alliance อย่างไร และ Collaboration ต่างจาก cooperation อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พูดเป็นประเด็นท้าทาย คณะพยาบาลทำเรื่องไทยแลนด์ 4.0 อยู่แล้ว ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ควรนำสิ่งที่มีไปช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้าน อีกประเด็น เป็นการแยกแยะให้ออก เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ในอนาคตจะมีความร่วมมือแบบต่างๆเกิดขึ้น

ผศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

ในเรื่องเครือข่ายชุมชน ประเทศไทยตกอยู่ในกับดักที่มีคนป่วยมากขึ้น ข้าราชการมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ โครงการ 30 บาท รัฐก็ไม่มีงบอุดหนุน ต้องเน้นสร้างสุขภาพคนในชุมชนให้เข้มแข็ง ควรสร้างเครือข่ายป้องกันโรค

อยากให้มีเครือข่ายการออกกำลังกายในชุมชน คณะแพทย์ม.อ.จะจัดวิ่ง 3 สถาบัน เป็นเครือข่ายคนออกกำลังกาย อยากให้ปราชญ์ชาวบ้านส่งเสริมให้คนออกกำลังกาย จะได้ป่วยน้อยลง

ส่วนใหญ่ที่เข้าไปเป็นเครือข่ายรักษา เช่น New born เด็กแรกเกิด แม่ อยากสร้างเครือข่ายลดอัตราการตายของแม่

ตอนนี้คนไทยเป็นมะเร็งมาก แต่ยังไม่มีเครือข่าย Food safety ชุมชนควรทำเรื่องอาหารปลอดภัย

การสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ไม่มีวันจบ ควรมีเครือข่ายใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมาดำรงชีวิตได้ ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายโดยเฉพาะต่างประเภทกัน อาคารเย็นศิระ ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ทำให้คนทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีคนบริจาคตลอดเวลา จะเชิญนายกประยุทธ์ไปเยี่ยมที่อาคารนี้ เครือข่ายที่อยู่ได้เพราะทำด้วยความสุข

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

เครือข่ายนำไปประยุกต์ในเรื่องต่างๆด้วย ตอนนี้พยายามผลักดันอาหารปลอดภัย ต้องสร้างเครือข่ายดูแลสุขภาพทั้งกายและจิต เรื่องวัฒนธรรมสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจด้วย

Workshop

กลุ่ม 2 นำเสนอข้อ 3

เสนองาน/โครงการที่อยากทำร่วมกับเครือข่ายๆต่างๆเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ๆให้แก่องค์กร

โครงการ Smart U-Safety and Quality of Life ของบุคลากรม.อ. (เป็นส่วนหนึ่งของ Smart University)

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ เสียชีวิตในห้อง เป็นเหตุฉุกเฉิน ซึ่งก็คล้าย case อื่นที่เกิดบ่อย ที่ให้ความช่วยเหลือไม่ทัน

น.พ.เรืองศักดิ์บอกว่ามีทีมแพทย์มาช่วยชีวิตเรื่องหัวใจ Stroke ตอนนี้ บุคลากรมีความเสี่ยงโรคหัวใจ Stroke สูงขึ้น แต่ปัญหาคือไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ แม้มี 1669 ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ

อาจารย์อยู่ห้องคนเดียวเป็นจำนวนมาก จึงไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ เคยมีอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เกษียณถูกนำส่ง ER แต่ภรรยาอยู่อีกจังหวัด ติดต่อไม่ได้ ต้องหาเบอร์โทรศัพท์ใช้เวลานาน จึงต้องมีการพัฒนาเครือข่ายติดต่อ ต้องสื่อสารได้เร็วและนำส่งได้เร็ว เครือข่าย คือ คณะต่างๆ ศูนย์การแพทย์ ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บุคลากรมหาวิทยาลัยนอกวิทยาเขตก็เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วย สามารถต่อยอดกลุ่มเสี่ยง ทำแอพปุ่มเดียวกดถึงศูนย์

น.พ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีเพราะแพทย์และพยาบาลไม่ได้ดูแลกันเอง สอดคล้องกับนโยบายที่เสนอให้เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

จุดอ่อนคือ ม.อ.ยังไม่ได้ดูแลชุมชนใกล้เคียง ต้องทำแผนที่ มีคนไปรับ มีคนช่วยเหลือ และต้องสอน CPR

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องมีแผนเทคโนโลยี หลักการคือใช้ได้ ต้องดูตัวละครหลัก เช่น หมอ พยาบาล คณะอื่น

อันนี้เป็นประโยชน์ในอนาคต

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

ต้องรู้ว่าผู้ป่วยคนไหนอยู่กลุ่มเสี่ยง และควรให้อยู่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงพยาบาล ลดความเสี่ยงและทรัพยากร

ส่วนเครือข่ายชุมชน ที่เขาลูกช้าง มีฐานอสม. มีความรู้ Advanced First Aid สามารถช่วยได้เร็ว

น.พ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

ต้องมีเครือข่ายความรู้ ให้ความรู้ชาวบ้านว่าอาการบางโรคต้องมารักษาที่โรงพยาบาล จะได้นำส่งโรงพยาบาลได้เร็ว และรักษาชีวิตได้ ต้องสร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้าใจ สื่อก็ประชาสัมพันธ์อาการโรคต่างๆ

ข้อเสนอแนะจากกลุ่มอื่น

ตอนนี้ม.อ.มีระบบคือ โทรศัพท์ 2888 มีทีม FR สามารถรับส่งคนไข้ได้ด่วน ต้องสร้างเครือข่ายในละแวกบ้านตนเอง เรื่องนี้น่าจะทำได้ในม.อ. ส่วนสปฉ. มีระบบ กดปุ่มเดียวพบหมอได้ทันที ระบบนี้กำลังพัฒนาอยู่

น.พ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

ต้องทำแผนที่บ้านไว้ก่อน ควรทำเครือข่ายคนข้างบ้านก่อนมาเสริมกับเครือข่ายโรงพยาบาล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ในการทำโครงการนี้ควรดูตัวอย่างโรงพยาบาลสารภี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องมีเครือข่ายแพทย์ พยาบาล และไอที ในอนาคต ม.อ.ควรร่วมกสทช.ทำเรื่องสุขภาพกับเทคโนโลยี

กลุ่ม 1 นำเสนอข้อ 1

แบ่งประเภทของเครือข่ายของคณะ และเขียนแผนที่เครือข่ายของคณะพยาบาลฯ และคณะพันธมิตร

แผนที่เครือข่ายของคณะพยาบาล


คณะพยาบาลมีเครือข่ายภายในและนอก

1.เครือข่ายภายใน แบ่งเป็นคณะ ภาควิชา และระหว่างคณะ

2.เครือข่ายภายนอก แบ่งเป็นต่างประเทศ และในประเทศ

เครือข่ายแบ่งตามประเด็นหลักได้ดังนี้

1.เครือข่ายการเรียนการสอน ได้แก่ สถาบันสมทบ วิทยาลัยพยาบาล มีเครือข่ายแหล่งทุน เป็นแหล่งทุนให้นักศึกษา เครือข่ายแหล่งฝึก ได้แก่ โรงพยาบาลระดับจังหวัด ชุมชน อปท. รพ.สต. โรงเรียน ปราชญ์ชาวบ้าน คณะต่างๆ ที่มาร่วมผลิตนักศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

2.เครือข่ายวิชาการ

3.เครือข่ายการวิจัย

4.เครือข่ายการบริหาร

เครือข่ายคณะพันธมิตร ได้แก่ โครงการพิเศษต่างๆ สสวท. กสพท.

เครือข่ายการเรียนการสอนนอกประเทศ ได้มีการทำ MOU กับญี่ปุ่น (มิยาซากิ) ส่วนที่มีการส่งนักศึกษาปริญญาเอกไปทำ Coursework ทำวิจัยร่วม คือ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เคยมีการทำ MOU กับอังกฤษ และประเทศอื่นๆ อาจจะทำทำเนียบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เครือข่ายบริการวิชาการที่ทำชัดเจนทุกปี คือ การทำงานร่วมกับโรงพยาบาลมอ. มีสถาบันวิชาการจัดประชุมร่วมกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศิริราช เนื่องจากคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.เป็นประธานซิกม่า ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาการที่จัดประชุมเกี่ยวกับบัณฑิตศึกษา มีบริการวิชาการภายในพื้นที่เช่น ปากรอ ควนรู ทุ่งลานเป็นพื้นที่ที่จะขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง

นอกจากนี้ มีมหาวิทยาลัยต่างๆจากต่างประเทศมาเป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุมวิชาการ

เครือข่ายด้านวิจัย มี MOU ภายในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งทุน คณะพยาบาลมีงบให้อาจารย์ปีละ 2 ทุน ทำ MOU กับต่างประเทศ ที่ทำสม่ำเสมอคือ ที่มิยาซากิ มีการจัดการเรียนการสอนและทุนวิจัย

ในคณะมี RC, RU เป็นเครือข่าย มี University Network ที่จะเป็นเครือข่าย จะพยายามพัฒนาศูนย์เป็นเลิศเฉพาะด้าน

ส่วนเครือข่ายด้านบริหาร มี Dean Consortium ซึ่งคณบดีเป็นสมาชิกในกลุ่มนี้

สรุปแล้ว เครือข่ายก็มีทั้งภายในและภายนอก อาจจะต้องประเมินความเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่ง

น.พ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายเป็นทางการ ควรจะมีเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ เช่น ชมรม คณะแพทย์มีเครือข่าย Innovation มีวิสัยทัศน์ร่วมกันได้ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อน แต่คณะแพทย์มีจุดอ่อนที่ยังไม่สามารถขยายเครือข่ายต่อได้ ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งหมด ควรมีข้ามอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ก้าวกระโด คิดแบบกบนอกกะลาได้

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

เครือข่ายทำงานได้โดยธรรมชาติ แต่เครือข่ายต้องต่อยอดได้ เครือข่ายไม่เป็นทางการมีมากมาย ทำให้ได้ข้อมูลพื้นที่มาพัฒนา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรจะเลือกสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเข้าใจ เช่น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสถาบันศศินทร์ที่มีเครือข่ายต่างประเทศ ทำให้เกิดการปรับปรุงการทำงานด้วย ทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ และโครงสร้างใหม่ขององค์กร

ระดับต่างประเทศ ควรให้นักศึกษาและคณะพันธมิตรรับทราบเครือข่ายเพื่อสร้างพลังร่วมกัน อาจมี Public Lecture

ปัญหาคือ ม.อ.มีคนภาคใต้มากระจุกตัวมาก แต่มหาวิทยาลัยระดับโลกมีคนหลากหลายมาเรียน

ควรดึงเอาความเป็นเลิศของเครือข่ายนำไปสู่กลุ่มอื่นด้วย

กลุ่ม 4 นำเสนอข้อ 2

วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาและบริหารเครือข่ายของคณะและเสนอแนะทางออกที่เหมาะสม

วิเคราะห์แล้วได้แนวคิด SCIST

ปัญหา

ทางออก

1.ขาดข้อมูล มีเครือข่ายในสาขาเดียวไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในหรือต่างประเทศก็เป็นวงการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ควรมีเครือข่ายต่างสาขา โดยเฉพาะคณะพันธมิตร นอกจากนี้ ควรมองแบบ Ecosystem ตอนนี้ ยังขาดข้อมูล ถ้าทำทัวร์สุขภาพอาจจะไปร่วมมือกับททท. หรือหน่วยงานอื่นๆ นอกวงการพยาบาล

เน้น Human-centered leadership

ปรับ Mindset ยอมรับจุดอ่อน เชิญเครือข่ายมาเสริมธุรกิจ

สื่อสารและเจรจาต่อรองให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Empowerment

2. ขาด Share Vision ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง จึงคิดโครงการบริการให้เปล่าขึ้นมา ยังขาดจิตวิญญาณผู้ประกอบการ และแนวคิดเรื่อง Cost-Benefit ทำให้ขาดทุน

ตอนนี้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ต้องมีการเจรจากับเครือข่ายเพื่อหาจุดร่วม คิดแบบผู้ประกอบการมากขึ้น

3. ขาด Share approach ยังไม่มีเวลาออกไปร่วมงานสังคม ยังไม่เคยไปร่วมงานนอกสาขา บางงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาขาแต่เชิญมาก็ไม่มีการต่อยอด

4.ขาด Commitment เคยมี connection กับ Curtin University เมื่อ 10 ปีที่แล้วนำนักศึกษามาฝึกในชุมชน

อีก 10 ปีต่อมา Curtin University หันไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา แล้วทางภาคใต้มีระเบิดมาก บริษัทประกันไม่ยอมรับ Curtin University จึงไม่ได้มา แต่ไปที่มหาวิทยาลัยบูรพาแทน นอกจากนี้แล้วเวลาที่ทำโครงการสำเร็จ ก็ขาดการวิเคราะห์เพื่อทำงานต่อเนื่อง เพราะมุ่งเน้นไปเริ่มโครงการใหม่

5.ขาดความไว้วางใจ (Trust)

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

นำเสนอออกมาได้ดีมาก

Share vision มีอุปสรรค ต้องมี KPIs มีการแบ่งประโยชน์กัน

Share approach ต้องจัดความสำคัญของแต่ละงาน บางโครงการคล้ายกันอาจจะซ้อนกันได้ แต่ถ้าสามารถบริหารได้โดยมี Commitment

ควรทำ lesson learnt ทำไตรมาสละครั้ง เพื่อพิจารณาการจัดโครงการครั้งต่อไป

คุณรดา มีบุญ

ต้องทำต่อเนื่องสำหรับโครงการที่ต่อยอดได้ สิ่งที่น่าจะเชื่อมโยงได้ที่เป็นโครงการที่คล้ายกัน

บ้านภูลิตาทำท่องเที่ยววิถี น่าเป็นจุดที่เชื่อมโยงได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภื

แนวคิดดีแล้ว แต่ควรดำเนินการดังนี้

1.ควรมีเครือข่ายใหม่ที่ไม่ใช่ด้านสุขภาพแต่มีเป้าหมายเดียวกัน ควรสนใจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นเทรนด์โลก ควรนำเครือข่ายแตกต่างที่มีประโยชน์มาเสริมกัน ต้องหาข้อมูล ตัวละครที่ดำเนินการ

2.ควรสำรวจเครือข่ายที่ดำเนินการแล้ว สิ่งที่ทำแล้วมีอุปสรรคและมีความสำเร็จมีอะไรบ้าง

อาจจะบอก Curtin University ให้กลับมาอีกครั้งโดยบอกว่า ไม่มีระเบิดแล้ว ต้องสร้างเครือข่ายกับสถานทูต เพื่อช่วยความเข้าใจให้คนประเทศอื่น

3.ไม่ควรยอมแพ้ ควรจะทำวิจัยว่า เครือข่ายที่มีอยู่แล้ว แต่และช่วงมีอุปสรรคอะไรบ้าง

กลุ่ม 3 นำเสนอข้อ 4

เสนอแนะเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการสร้างและบริหารเครือข่าย

คณะพยาบาลมีเครือข่ายภายนอกค่อนข้างน้อย เมื่อมีเครือข่ายแล้วก็ไม่ได้ Share vision, Share approach, Commitment ก็ไม่ค่อยสมบูรณ์ Improve ไม่ค่อยเกิด Trust ไม่ค่อยมี

กรอบคิด

การทำงานสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องของ Engagement มีลักษณะดังนี้

1.สร้าง Partnership ทำงานร่วมกันไม่ใช่แค่เป็นทีม แต่เป็น Share vision และเป้าหมายด้วย

2.สร้างประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefits)

3.เนื่องจากทางคณะเป็นสถาบันวิชาการ ทำแล้วต้องได้ความรู้ใหม่ด้านการบริหารจัดการบริหารสิ่งใหม่

4.วัดผลลัพธ์ได้ว่า ทำแล้วพัฒนาขึ้น (Measurable Impacts)

เครื่องมือ

1. คณะพยาบาลต้องเรียนรู้การทำ Mapping of Stakeholders แล้วสร้างความร่วมมือ

2. Share vision ก็มีเครื่องมือใช้ทำงานกับท้องถิ่น โดยบริหารแนวราบ ส่งเสริมให้ทุกคนมีความเสมอภาคในการประชุมโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งที่มี จะเป็นการส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์

3. Share approach ใช้ Strategic Plan และ Action Plan ปัญหาคือไม่อยากรับรู้ความล้มเหลว ในความเป็นจริงแล้ว ควรเรียนรู้จากความล้มเหลวด้วย

4. สร้าง Improvement ใช้ KM และบทเรียน

5. ประเมินการไว้วางใจเพื่อการพัฒนาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทำได้โดยมีเวทีหารือความล้มเหลวและความสำเร็จ

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

ควรประชุมล้อมวงโต๊ะกลม ทุกคนกล้าพูด และต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

คุณรดา มีบุญ

เห็นด้วยกับการตั้งวงเสวนา ทุกครั้งที่มีตัวชี้วัด คนไม่ค่อยยอมรับ ต้องลดอัตตา

ต้องทำต่อเนื่องจะไปถึงเป้าหมาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องอดทน ตัวละครอาจจะมีวัยวุฒิและความรู้ไม่เท่ากัน ต้องฝึกความอดทน มีเป้าหมายร่วมกัน

เครื่องมือหนึ่งคือ เอาชนะอุปสรรคมาจากความคิดที่แตกต่างกัน ต้องกลับมาดูทุนทางอารมณ์ ให้เกียรติกัน ไม่มองที่ยศตำแหน่ง ต้องมีตัวประสาน Network Facilitators

ถ้า Healthcare เชื่อมโยงเศรษฐกิจ การเมือง การเงิน จะสนับสนุน Thailand 4.0

มาตรฐาน Network ต้องมีสูงขึ้น

Workshop วันนี้ได้ความรู้ใหม่มากขึ้น หลังจากนี้ต้องนำไปคิดต่อ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คนทั่วไป ต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้

ผู้นำต้องมีความนุ่มนวล และเด็ดขาด เวลาทำ networking ต้องมีจังหวะในการดำเนินการแต่ละเรื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำ ecosystem learning มาเสริม วันนี้จึงมีประเด็นต่อยอดมากมาย

สิ่งที่คุณรดากล่าวไป สร้างแรงบันดาลใจ และควรลองทำโดยเริ่มในระดับเล็กก่อน อาจจะทำสิ่งที่ชอบและสามารถทำได้ก่อน ต้องมีกรณีศึกษา วิเคราะห์บทเรียนที่ได้

ปัจจัยความสำเร็จคือ entrepreneurship

ทุกกลุ่มมีแนวคิดที่ดีมาก


เรียนรู้หลักการเงินสำหรับการบริหาร

โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

คนเรารู้จักการเงิน ตอนที่พ่อแม่สอนให้ใช้เงิน ทอนเงินต่างๆ บางคนพ่อแม่ให้เงินเป็นเดือน ก็ต้องใช้ให้พอ

ปัจจุบันคนถูกหลอกให้ลงทุนกันมาก เพราะคนไม่พิจารณาความสมเหตุสมผลของการลงทุนนั้น

หลักการเงินง่ายๆ ถ้าต้องการผลตอบแทนที่สูง ก็ต้องรับความเสี่ยงที่สูง ถ้ารับไม่ได้ ก็ต้องยอมรับผลตอบแทนต่ำ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรขาดทุน แม้ไม่ได้กำไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดต้องได้ความสบายใจ สุขใจ ถ้าลงทุนแล้วไม่ได้อะไรเลย ก็ไม่ควรลงทุน

คนนิยมนำเงินเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย แต่ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องไว้ในบัญชีออมทรัพย์ก็ได้จึงจะมีเงินใช้จ่าย อาจจะเก็บเป็นตราสารการเงิน ไม่ต้องเสียภาษีและก็มีเงินใช้ด้วย

บางประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย มีพื้นที่ที่ไม่ใช้เงินสด ก็ต้องใช้บัตร เครื่องขายบัตรรถไฟฟ้าก็ไม่รับเงินสด สาเหตุที่ประเทศเหล่านี้ลดใช้เงินสดมีดังนี้

1.ต้องการนำทุกอย่างเข้าระบบ ทำให้ตรวจสอบได้ ทำให้เก็บภาษีได้เต็มที่

2.ลดต้นทุนการผลิตเงินทั้งธนบัตรและเหรียญ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงโดยใช้วัสดุพิเศษ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่ามูลค่าบนตัวเงิน

ในการทำสิ่งต่างๆ ต้องคิดถึงต้นทุนด้วย

การที่รัฐบาลทำสิ่งต่างๆ เช่น รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี น้ำไฟฟรี แม้เป็นการอำนวยความสะดวก แต่คนที่เดือดร้อนถ้านโยบายนี้เลิกไป การให้บริการฟรีบางอย่างก็ไปลดค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่นเมื่อคนไม่มีเงิน ก็ไปก่ออาชญากรรม ทำให้ต้องเพิ่มกำลังตำรวจ ขยายคุก

ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ประกอบด้วย ค่าหมอ ค่ายา ค่าเสียเวลา คนดูแลคนไข้

ไม่ใช่ว่า โครงการที่ทำจะไม่ได้อะไร เช่น โครงการอสม. ที่มีบุคลากรไปให้ความรู้ชาวบ้าน ทำให้ประชาชนดูแลสุขภาพแข็งแรง จะลดภาระการรักษาพยาบาล ประชาชนไม่ต้องมาใช้บริการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ได้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเสมอไป ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นคนขี้โรค งบประมาณด้านอื่นไม่เหลือ เพราะงบมาที่สาธารณสุขทั้งหมด ขาดงบไปพัฒนาด้านอื่น

ตลาดการเงินแบ่งเป็นตลาดการเงินในระบบกับตลาดการเงินนอกระบบ ตลาดการเงินในระบบคือสิ่งที่กฎหมายรองรับ เวลาที่ให้กู้ยืม จึงมีคำถามมาก เพราะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้คนมีอาชีพอิสระไม่สามารถเข้าถึงตลาดการเงินประเภทนี้ จึงต้องไปใช้บริการตลาดการเงินนอกระบบซึ่งอนุมัติง่าย แต่คิดดอกเบี้ยแพง เป็นแบบดอกเบี้ยทบต้น แต่ถ้าเป็นแหล่งเงินในระบบ ดอกเบี้ยไม่ทบต้น แต่มีค่าปรับ ยกเว้น บัตรเครดิตและวงเงินเบิกเงินเกินบัญชี OD ควรพยายามหลีกเลี่ยงตลาดการเงินนอกระบบ

สิ่งสำคัญด้านการเงินคือการมีวินัยในตัวเอง

ตลาดการเงินแบ่งตามระยะเวลาการชำระคืนเป็น ตลาดเงินกับตลาดทุน ตลาดเงินมีระยะเวลาชำระคืนสั้นไม่เกิน 1 ปี ตลาดทุนระยะเวลาชำระคืนยาวเกิน 1 ปี

ตลาดการเงินแบ่งตามช่วงเวลาในการส่งมอบเป็น ตลาดส่งมอบทันที และตลาดซื้อขายล่วงหน้า

ตลาดส่งมอบทันทีคือ ชำระเงินแล้วได้สินค้าทันที ตลาดซื้อขายล่วงหน้า คือ ใช้ราคาปัจจุบันเพื่อซื้อสินค้าในในอนาคต จะถูกเรียกเงินจองคือ ค่าพรีเมี่ยม เพื่อประกันความเสี่ยง แต่ยกเลิกสัญญาไม่ได้

ในอนาคต สถาบันการศึกษาอาจจะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตอนนี้โรงพยาบาลเอกชนก็เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อระดมทุนสำหรับกิจการ

ตลาดตราสารอนุพันธ์ เป็นตลาดสำหรับตราสารการเงินที่ให้ผลตามตัวแปรที่กำหนด เช่น พันธบัตรที่ไม่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราเงินเฟ้อ ทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่า

ประเทศไทยมีสถาบันการเงิน 3 ประเภท

1.ธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นธนาคารของธนาคาร บุคคลสามารถไปธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อแลกเหรียญหรือธนบัตรที่ระลึกในวาระพิเศษ

2.สถาบันรับฝากเงิน เป็นสถาบันการเงินที่ถูกกำกับเข้มข้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์ออมทรัพย์

3.สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน เป็นสถาบันการเงินที่ไม่ถูกกำกับโดยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เวลาจะเปิด ต้องขอใบอนุญาต ตอนนี้มีบทบาทมาก เช่น บริษัทให้สินเชื่อ บริษัทประกัน (วินาศภัย) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (เงินสามารถเพิ่มและลดลงได้ตามความสามารถของผู้บริหารกองทุน ให้ผลตอบแทนไม่สูงเพราะใช้ยังชีพตอนไม่มีงานทำ) บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

การซื้อประกันชีวิตเป็นการป้องกันความเสี่ยงและเป็นการออมเงินถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน คนที่เหลืออยู่ไม่เดือดร้อนไม่ใช่เป็นการลงทุน

ถ้ามหาวิทยาลัยจะลดค่าใช้จ่าย ก็ควรทำดังนี้

1.Outsource จ้างหน่วยงานภายนอกทำงานบางอย่างแทน

2.อาจารย์แบบ part-time

3.ทำหลักสูตรระยะสั้นหลายหลักสูตร แล้วเงินเข้าคณะ

ถ้ามหาวิทยาลัยนำเงินไปลงทุนสร้างโรงพยาบาล โรงพยาบาลก็เป็น Holding Company ที่สามารถ

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนได้

สมัยก่อนรัฐบาลค้ำประกันเงินฝาก 100% คนจึงนำเงินไปฝากธนาคารมากกว่าสถาบันการเงิน ต่อมามีการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ให้ธนาคารนำเงินฝากใส่เข้าไปในสถาบันนี้ วัตถุประสงค์คือ คุ้มครองเงินฝากในสกุลเงินบาทของคนไทยในสถาบันรับฝากเงินไทยเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองสิเอร์ จำนวน 34 แห่ง นอกจากนี้ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ปัจจุบันนี้คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อ 1 ชื่อบัญชี ต่อ 1 ธนาคาร จึงต้องมีการกระจายเงินฝากไปยังธนาคารต่างๆ ในกรณีที่มีเงินเกิน 15 ล้านบาท

ข้อแนะนำคือ ถ้าทำงานสถาบันการเงินใด ไม่ควรไปฝากสถาบันนั้น เมื่อมีปัญหา ปิดกิจการ พนักงานจะได้รับเงินคืนเป็นกลุ่มสุดท้ายเพราะเป็นบุคคลภายใน แต่ควรไปฝากที่อื่น จะได้รับเงินคืนในฐานะกลุ่มลูกค้า

ในการทำโครงการ ต้องพิจารณาแหล่งเงินทุน มีต้นทุนหรือไม่ อย่างน้อยมีต้นทุนค่าเสียโอกาส ถ้าไม่ทำโครงการ ก็ไปฝากเงินได้ดอกเบี้ย นอกจากนี้มีต้นทุนความคาดหวังของผู้ให้ทุน ซึ่งมีสูงมาก คนไม่อยากเสียภาษีเพราะมีการคอรัปชั่น ประเทศสวีเดน มีการให้สวัสดิการดี แต่เก็บภาษี 40% คนเต็มใจจ่ายภาษีเพราะเห็นผลงาน ก็เหมือนคนคาดหวังให้มหาวิทยาลัยทำให้สังคมดีขึ้น ดังนั้นต้องทำให้ผลตอบแทนให้คุ้มค่า แม้ไม่ออกเป็นตัวเงิน ก็ประเมินแล้วลดค่าใช้จ่ายได้เป็นตัวเงินเท่าไร

การแบ่งเงินควรแบ่งเป็น 3 ส่วน

1.ใช้จ่าย (ในสิ่งที่จำเป็น) แต่เงินผ่อนบ้านหรือรถไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของรายได้

2.เก็บ

3.ประกันความเสี่ยง

การพิจารณาการลงทุน ต้องดูปัจจัยต่อไปนี้

1.ความเป็นไปได้ของโครงการ

2.ผลตอบแทน

งบการเงิน แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

1.งบดุล แสดงฐานะการเงิน ทรัพย์สิน หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ

2.งบกำไร ขาดทุน เบ็ดเสร็จ แสดงรายรับ รายจ่าย แสดงผลดำเนินงาน

3.งบแสดงกระแสเงินสด ฐานะเงินสด

เมื่อมีการลงทุน ต้องมีการพิจารณาความเสี่ยง

ที่มาของความเสี่ยง

1.ประเภทธุรกิจ

2.การเงิน

3.สิ่งที่ไม่ได้คาดคิด เช่น ปัจจัยธรรมชาติ

การบริหารความเสี่ยงต้องมีการจัดทำงบประมาณ ต้องมีการทบทวนทุกไตรมาส

ช่วงถาม-ตอบ

มีหลักการตั้งงบประมาณล่วงหน้าอย่างไร

ตอบ ควรทำแบบสมดุล กรณีภาครัฐ อาจนำงบปีที่แล้วเป็นตัวตั้ง (last year plus system) ส่วนภาคเอกชน ใช้ zero-based budgeting เป็นการประมาณการมาใหม่โดยไม่ต้องนำงบปีที่แล้วมาอ้างอิง แต่ต้องมีคำอธิบายประกอบการเสนองบ

ในการทำงบ ต้องเสนอเป็น 2-3 scenarios เช่น เกินเป้าหมาย ตรงตามเป้าหมาย และต่ำกว่าเป้าหมาย


สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงานและการปรับใช้ที่คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.

โดย ตัวแทนกลุ่ม

กลุ่ม 1 นำเสนอสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ บริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด

ได้เรียนรู้วิสัยทัศน์องค์กร ที่ไม่มุ่งเน้นกำไร แต่เน้นสร้างคนให้เป็นคนดี ตั้งใจทำงาน ตักเตือนเมื่อพนักงานทำผิดพลาด ให้ออกจากงานถ้าทำชั่วจริง ดูแลคนแบบคนในครอบครัว ปลูกฝังให้พนักงานทำดีที่สุดทุกวัน แก้ปัญหาด้วยปัญญา เจ้านายไม่ดุลูกน้องง่าย

ในเรื่องระบบสวัสดิการ มีการส่งเสริมให้มีการเรียนปริญญาตรีฟรี อาหารฟรี มีระบบฝากเงินเอื้อสวัสดิการ

บุคลากรเข้าถึงผู้บริหารได้ตลอด มีการใช้ไลน์ มีการตรวจสอบงานทั่วถึง

การทำงานเน้นประโยชน์เพื่อสังคม ส่วนรวม มีการเรียนการสอน เป็นที่สถานฝึกงานของนักศึกษา มีการทำวิจัยร่วมสถาบันต่างๆ ได้รับรางวัลมาก

เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จรวดเร็วในเวลาไม่นาน ขับเคลื่อนองค์กรเป็นองค์กรนวัตกรรม ทำงานรวดเร็ว ประหยัด พัฒนาต่อเนื่อง

สิ่งที่ประทับใจที่สุด คือผู้บริหารมีคุณธรรม และทุนทางอารมณ์

การพัฒนาเน้น R&D และ production development มีการบริหารโปร่งใส เน้น Healthy and Happy Workplace เน้น Quality of service ประกอบด้วย structure, process, outcome

จ้างแรงงานไทย อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจคุณภาพสินค้าได้

ผู้บริหารมีคุณธรรม มีความยั่งยืน ทุนวัฒนธรรม

มีการทำงานเป็นระบบ team learning สื่อสารได้ทันที มีการวิเคราะห์ตลาด รับวิเคราะห์ให้ตลาดอื่นด้วย มีสมาชิกเป็นล้าน บรรยากาศทำงานดี มีการใช้ PDCA

กลุ่ม 2 นำเสนอสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา

ได้เรียนรู้งานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีวิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่ปรากฏในพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงทุ่มเทช่วยราษฎร ยึดการดำเนินงานสายกลาง ทำงานสอดคล้องสิ่งรอบตัว ทรงทำ เกือบ 5,000 โครงการ โครงการเรื่องน้ำมี 3,000 โครงการ

ได้เรียนรู้หลักการทรงงานดังนี้

1.ศึกษาข้อมูลเป็นระบบ เพื่อช่วยประชาชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็ว

2.ระเบิดจากข้างใน สร้างคนในชุมชนให้เข้มแข็งให้พร้อมรับการพัฒนา

3.มอง Macro แล้วเริ่มทำที่จุดเล็กๆ

4.ทำตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชน คือ สาธารณสุข เมื่อประชาชนมีร่างกายแข็งแรงทำประโยชน์ด้านอื่นได้

5.ศึกษาภูมิสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ต่างกัน

6.คิดองค์รวม เพื่อมองทางแก้ปัญหาแบบเชื่อมโยง

7.ทฤษฎีใหม่

8.ไม่ยึดตำรา วิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับชีวิตประชาชน

9.ขาดทุนคือกำไร การให้และการเสียสละเป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร

10.ประหยัดเรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด สะท้อนจากการที่ทรงใช้ยาสีฟัน ดินสอ และใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง

11.ปลูกป่า แบบธรรมชาติ เป็นการประหยัดงบ

12.ทำสิ่งยากให้ง่าย

13.ปลูกป่าในใจคน ปลุกจิตสำนึกรักป่า คนจึงจะปลูกและรักษาต้นไม้ คณะพยาบาลศาสตร์ก็นำใช้ปลูกความดีให้นักศึกษามีคุณภาพดูแลผู้ป่วย

14.เศรษฐกิจพอเพียงใช้ดำเนินชีวิต ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน รอบรู้ รอบคอบ มีคุณธรรม จริยธรรม นำไปสู่ความสมดุล มีความยั่งยืน

15. หลักการบริการรวมที่จุดเดียว โรงพยาบาลนำหลักนี้มาใช้บริการผู้ป่วย

16. การทำงานอย่างมีความสุข

17.ความอดทน ความเพียร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ มหาชนก มีการริเริ่มโครงการต่างๆที่ไม่พร้อม แต่ทรงมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ

18.รู้รัก สามัคคี ปรับใช้ได้ทุกยุค รู้คือ ก่อนทำอะไรต้องรู้ให้ลึก รักที่จะลงมือทำ สามัคคี ต้องร่วมมือกันทำงาน มีทีมที่ดีจึงจะแก้ปัญหาสำเร็จ

โครงการในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่ทำไมท่านทรงทำแบบไม่เหน็ดเหนื่อย

ในทุกส่วนที่กล่าวมา สามารถนำไปเป็นหลักคิดในชีวิตและงานได้

กลุ่ม 3

นำเสนอสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ทางธนาคารเลือกคนต้อนรับได้เหมาะสม กล้าพูดในฐานะอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลนโยบายการเงินของประเทศ จึงพยายามนำการเงินมาโยงกับสุขภาพ

จากการเรียนกับดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์จึงทำให้เข้าใจธนาคารแห่งประเทศไทยมากขึ้น

กลุ่ม 4 นำเสนอสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวี

เมื่อเข้าไป พบว่า ศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวีมีบรรยากาศร่มรื่น และได้รู้จัก นพ. สมเกียรติ อัครศรีประไพซึ่งให้ความรู้ด้านอาหาร

หลักของศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวี เน้นอาหารกับการออกกำลังกาย นพ. สมเกียรติ อัครศรีประไพเป็นบุคคลตัวอย่างด้านการออกกำลังกายด้วยการเดินและปั่นจักรยาน

ความรู้ที่ได้ สามารถนำไปให้คำแนะนำสุขภาพ ไปสอน และวิจัย เป็นการรักษากาย รักษาใจ ดูแลสมดุลอาหาร มีการ ฝึกออกกำลังกาย โยคะ mat exercise ชั้นบนโล่งสบาย อาจจะจัดค่ายโฮมสเตย์ได้ในอนาคต

มีการออกกำลังกายในน้ำ ม.อ.มีสระแต่ไม่ได้ใช้ อาจจะหาเวลาไปเต้นแอโรบิคในน้ำ

เรื่องการอบสมุนไพร มีผลดี ช่วยลดน้ำหนัก ดูแลหลังคลอด แต่สิ่งที่ไม่เคยเห็นคืออาบแสงตะวัน มีใบตองคลุม นำมาประยุกต์ได้

อาหารกลางวันเป็นข้าวกล้อง และข้าวผัดธัญพืชถือว่าดีแล้ว อย่างไรก็ตามคนจัดอาหารยังไม่มีความรู้ผลเสียน้ำตาลและไขมันทรานส์จึงจัดขนมปังมาเป็นของว่าง ทั้งๆที่เป็นศูนย์ธรรมชาติบำบัด

สิ่งที่นำมาปรับใช้

1.ดำเนินการศูนย์สุขภาพองค์รวม นำความรู้มาบูรณาการ อาจเน้นดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เบาหวาน

2.อาจมีศูนย์ธรรมชาติบำบัด หารายได้เพิ่มมูลค่าทางวิชาการ

3.นำความประทับใจมาดูแลสุขภาพและแลกเปลี่ยน

การนำความรู้จากมูลนิธิชัยพัฒนาไปประยุกต์ใช้

กลุ่ม 1

วิชาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปใช้สอนได้

นวัตกรรมเชิงพัฒนา ได้ความคิด เพราะทิศทางคณะเน้นนวัตกรรม

หลักสูตรปริญญาโท มีปรัชญาตะวันออก มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้าบรรจุในการสอน โดยต้องปลูกฝังนักศึกษาทุกระดับ

เวลาสอนนักเรียน ก็ต้องสอนให้ประยุกต์ตามสถานการณ์ เช่น ประหยัดสิ่งของ ต้องปลูกฝังตั้งแต่ปีหนึ่ง

ศาสตร์พระราชาทำให้มองครบวงจร แบ่งพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

กลุ่ม 2

เดิมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภูมิปัญญาตะวันออก แต่ตั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิชาหนึ่งในระดับปริญญาเอก สามารถนำมาใช้ทางเศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์

ส่วนในทางสุขภาพมีคนเขียนเป็นบทความ นำเสนอการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิถีสุขภาพพอเพียง

สามารถนำมาสอนคนให้ประหยัดและพอเพียง สอนให้คนไข้เจ็บป่วยเข้าใจสภาพอัตภาพตน ยอมรับและปรับตนและนำมาดูแลสุขภาพให้ชัดเจนขึ้น

เรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันนำมาใช้ได้ เช่น การปรับตัวกับเงื่อนไขชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทุกวงการนำไปใช้ได้ จะเห็นความเป็นนักปราชญ์ ปรัชญา วิจัย นักสร้างนวัตกรรม ในหลวงทรงมองครอบคลุมทั้งกระบวนการ น่าจะใช้ได้ทุกวงการ

ตอนนี้พยาบาลนำทฤษฎีไปปฏิบัติ แต่ต่อยอดไปสร้างนวัตกรรมยังน้อย อาจนำความรู้นี้ไปสร้างนวัตกรรม

การนำความรู้จากบริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ ไปประยุกต์ใช้

กลุ่ม 2

ใช้บริหารบุคคล เช่น แนวคิดคุณธรรม เน้นความดีและสุข อยู่แบบพี่น้อง ไม่มีนโยบายคัดคนออก เหมือนคณะพยาบาล แต่อาจมีโยกย้ายงาน ถ้าดูแลคนเหมือนคนในครอบครัว ผลผลิตดีขึ้น ส่งผลต่อองค์กร จัดสวัสดิการให้เป็นธรรม กระจายภาระงานให้มีความสุข

ใช้ด้านการสื่อสาร ไลน์ สื่อตรงถึงผู้บริหาร ประเด็นที่น่าสนใจ คือ คณะมีกลุ่มไลน์ แต่อาจไม่ถึงผู้บริหารสูงสุด อาจหารือรูปแบบที่เหมาะสม

กลุ่ม 3

จะนำแนวคิดมาปรับปรุงตนเองให้พยายามไม่โกรธ

การนำความรู้จากศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวีไปประยุกต์ใช้

กลุ่ม 3

จากประสบการณ์ทำงานด้านสมุนไพร อยู่การแพทย์ทางเลือก ตอนแรกคิดว่า บัลวีเข้มงวด อาหารบำบัด แต่จากฟังบรรยาย เวลาที่หมอคุยกับคนไข้ ต้องให้คนไข้ตัดสินใจเลือกรักษา

การดูแลสุขภาพมีได้หลากหลาย การแพทย์ทางเลือกทำให้เกิดการรักษาที่หลากหลาย คนรับบริการต้องเป็นผู้เลือก และให้ความร่วมมือ ถือว่าสำเร็จ

นำไปปรับใช้ โดยต้องทำตามใจผู้รับบริการ

การดูงานครั้งนี้ทำให้เข้าใจแนวคิดการแพทย์ทางเลือก สามารถนำแนวคิดดูแลตนเอง แบบองค์รวม ม.อ.มีศูนย์องค์รวมซึ่งอาจกลับมาชีวิตชีวา เริ่มมี Healthy Happy Workplace มีการรำกระบอง ดูแลสุขภาพบุคลากร

ในอดีต ไม่เห็นหลักวิทยาศาสตร์รองรับอธิบายภูมิปัญญา หลังจากดูงานไปแล้ว ทราบหลักอธิบาย น่าจะเป็นหลักการวิจัยของคณะให้มีความเข้มข้น

กลุ่ม 2

การไปดูงานศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวีเป็นการกระตุ้นให้รู้จักการแพทย์ทางเลือก บัลวีมีโปรแกรมดูแลคนไข้เป็นกลุ่ม คนไข้ก็เลือกมาแล้วที่จะมา บางคนใช้แบบนี้มาเสริม มีกลุ่มมารับการดูแลพิเศษ

สินค้าที่ขายมีสมุนไพร มีร้านขายหนังสือที่ได้มาจากการพัฒนาของศูนย์ เป็นรูปแบบไม่แพร่หลาย แต่ก็อาจมีที่บางโรงพยาบาล ในต่างประเทศมีแบบนี้มาก

คนที่ไปอาจซื้อโปรแกรม แบบไม่มีที่พัก เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้สัมผัส มีประสบการณ์ โดยพยายามประยุกต์ให้คนทั่วไปไม่ต้องเปลี่ยนฉับพลัน ควรมีการขยายมากขึ้นถ้าประชาชนห่วงใยสุขภาพมากขึ้น

การนำความรู้จากธนาคารแห่งประเทศไทยไปประยุกต์ใช้

กลุ่ม 4

รูปแบบการสอนนำมาใช้ได้ คือครูต้องทันยุค ข้อมูลใหม่สด กระตุ้นผู้เรียน ให้มีส่วนร่วม

ผู้สอนมีความคิดเชื่อมโยงถึงสุขภาพแม้ไม่จบด้านนี้ มีการต่อยอดความรู้

เวลาทำงานอยู่ในสายสุขภาพอาจไม่ได้สนใจการเปลี่ยนแปลงโลก และเศรษฐกิจ ขาดวิเคราะห์เชื่อมโยง ต้องปรับใช้กับตน เรียนรู้จากความจริง มาหารือกันในเรื่อง ecosystem

การเรียนการสอนต้องเป็นองค์รวมหลายมิติ

ทำให้เข้าใจธปท. มี motto ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ รักองค์กร ปลูกฝังพนักงาน มีคุณธรรม เป็นเสน่ห์ธนาคารแห่งประเทศไทย

มุมที่เห็นชัด คือการวิเคราะห์แนวโน้มและผลกระทบต่อคณะ ได้แก่ การเปิด AEC ด้านสุขภาพ ต้องมีแรงงานข้ามชาติ บริบทนี้นำมาวิเคราะห์แผนคณะได้

เรื่องเศรษฐกิจ สะท้อนความต่าง มีการเสนอข้อมูลทันสมัย ทำให้มีเครือข่ายหาข้อมูลประชากร มาให้คณะวิเคราะห์ เพื่อมีนโยบายการเงิน วิเคราะห์ แนวโน้มว่า จะมีงบเท่าไรที่จะอยู่ ทำรายได้ให้เท่าไร

ทำให้มีมุมมองที่ชัดขึ้น

อาจารย์พิชญภูรี จันทรกมล

การศึกษาดูงานเป็น Ecosystem learning เกิดความสนุกเบิกบาน interaction เก็บเกี่ยวบรรยากาศรอบตัว บางครั้งไม่ไปดูงานจึงคิดไม่ถึง Interaction ทำให้มีความสัมพันธ์มากกว่าปกติ

การล่องเรือเป็นเรื่องที่น่าจดจำ เมื่อกลับมาสรุปและแลกเปลี่ยนกัน เกิดประเด็นมากมาย

กิฟฟารีน มีแก่นคุณธรรม เป็นตัวอย่างองค์กรนวัตกรรม ใช้ health and wellness เพิ่มมูลค่า เป็น entrepreneurship สูง คณะเภสัชอาจนำสูตรยาไปให้กิฟฟารีนผลิตยาได้ อาจฝึกลูกศิษย์ไปทำธุรกิจก็เหมือนหมอกิฟฟารีน แม้ทำสำเร็จ กิฟฟารีนก็คิดค้น ต่อ มีการให้เงินเพื่อให้คนวิจัยต่อ

ควรปลูกฝังให้ลูกศิษย์สร้างมูลค่า ภาคใต้มีความหลากหลายทางชีวภาพ อาจนำใบชะมวงมาทำเจลให้คนไข้กลืน กิฟฟารีนเป็นองค์กรที่ทำงานแบบยั่งยืน

มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นตัวอย่างเครือข่าย มีรองเลขาธิการมาต้อนรับ เมื่อไปดูงาน ก็พบสิ่งที่ยังไม่ทราบลึกซึ้ง มีเรื่องใหม่มากระทบ ทำให้คิดได้

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีพันธกิจสร้างบรรยากาศลงทุน จึงมองเรื่องงบประมาณชาติที่เสียไปที่สาธารณสุขสูงมากแต่ก็ไม่พอเพียง

สังคมผู้สูงอายุกำลังเข้ามา วิทยากรก็ไปหาข้อมูลมาดี

ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เป็นเครือข่ายดร.จีระ ทำให้ทราบว่า ทุกอย่างเชื่อมโยงกันเป็นระบบ

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติบำบัด บัลวี เป็นการเรียนรู้การแพทย์องค์รวม มีการใช้วารีบำบัดทั่วโลก กับแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ มีการคิดต่อว่าน่าจะทำโฮมสเตย์ได้ เป็นองค์กรที่มีนวัตกรรมมาก เช่น กระดานรองเท้า จัดองศาก็ทำได้

สรุปแล้ว การเห็นของจริงทำให้มีแรงบันดาลใจและคิดต่อไปได้ แต่ต้องกระทบให้เกิดความจริง จึงจะมีประโยชน์

19 พฤษภาคม 2560

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (4) (Frist, break all the rules)

ให้ข้อเสนอแนะโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่ม 1 นำเสนอบทที่ 1 The Measuring Stick

เริ่มต้นด้วยความหายนะหมู่เกาะ Scilly เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรู้ว่าอะไรสำคัญแต่วัดไม่ได้

กรณีเกาะนี้ นายพลไม่สามารถกะระยะ จึงชนโขดหิน เรือล่ม คนตายมาก

บางทีบริษัทต้องการรักษาคนมีความสามารถแต่ไม่มีตัวชี้วัดว่า ทำได้หรือไม่

ในเรื่องสิ่งแวดล้อมการทำงาน ดึงดูดและรักษาคนมีความสามารถ

ผู้เขียนอธิบายว่า ทุนทางปัญญา จำเป็นมาก เพราะคนที่ทำงานกับบริษัทมีการพัฒนาความสามารถจะนำสิ่งนี้ไปด้วยเมื่อออกจากงาน จึงต้องรักษาคนในองค์กร

คนมีความสามารถจะสนใจค่าตอบแทนน้อยกว่าการได้รับความไว้วางใจ

การวัดทุนมนุษย์ด้านนี้

ไอแซค นิวตันค้นพบแสงสีขาวประกอบด้วยหลายสีรวมกัน

การหา core element สร้างบรรยากาศการทำงานเพื่อเก็บรักษาคนเก่ง ประกอบด้วย 12 ข้อ

1.รู้ความคาดหวังจากที่ทำงาน

2.ที่ทำงานมีวัสดุที่ต้องการให้

3.มีโอกาสจะทำให้ดีที่สุดในทุกวัน

4. ใน7 วันที่ผ่านมาได้รับการยกย่องในด้านการทำงานที่ดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปัญหาคือ คนไทยไม่ได้ดูว่า งานสำคัญที่สุดในแต่ละวันคืออะไร

ไมเคิล แฮมเมอร์บอกว่า งานมี 2 ประเภทคือ งานที่สำคัญที่มีผลต่อองค์กร และงานทั่วไปที่ไม่สำคัญ คนมักไปทำงานที่ไม่สำคัญ

หนังสือเล่มนี้ นำผลแกลลอปมาวิเคราะห์

ต้องแยกงานสำคัญและงานที่ไม่สำคัญ แล้วมอบอำนาจให้คนอื่นทำงานไม่สำคัญ

ฝ่ายสนับสนุนสามารถช่วยงาน routine ได้

ทั้ง 12 ข้อก็จะใช้อยู่ทุกวัน

เล่มนี้อ่านแล้วใช้ได้ ควรนำไปให้ลูกน้องบ้าง จะได้ทราบวิธีวัดคุณภาพของคน ซึ่งเล่มนี้มาจากการเก็บข้อมูลวิจัย

กลุ่ม 1

5. หัวหน้าดูแลเราเหมือนคนหนึ่ง

6.มีคนในที่ทำงานส่งเสริมให้พัฒนาตนเอง

7.ความเห็นของเราได้รับการยอมรับ

8.พันธกิจ วัตถุประสงค์บริษัททำให้เรารู้สึกว่างานสำคัญ

9.เพื่อนร่วมงานมุ่งมั่น

10.มีเพื่อนดีในที่ที่ทำงาน

11.คนในที่ทำงานคุยเรื่องความก้าวหน้า

12.มีโอกาสเติบโต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Vision ขององค์กรและของส่วนตัวต้องไปด้วยกัน แต่ก็ยาก ถ้าทำได้ก็จะเกิดความสุข

กลุ่ม 1

ทั้ง 12 ข้อ สัมพันธ์กับผลทางธุรกิจ

ข้อ 1-6 สำคัญที่สุด

ทำให้ได้แนวทางพัฒนาคนในองค์กร ต้องทำให้คนเห็นด้วยกับข้อความข้างต้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้นำ 12 ข้อแปลไทยให้ลูกน้องดู ทำตารางให้แต่ละคนกรอกและแล้วนำมาเปรียบเทียบ เป็นการสร้างความตระหนักก่อน

เป็นช่วงที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

กลุ่ม 1

การให้คะแนน 1 ไม่เห็นด้วย 5 เห็นด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เฮย์เคยทำ Climate Survey ในองค์กร ถามสิ่งที่ควรจะเป็น กับสิ่งที่เป็นจริง

ควรทำแบบนี้ในม.อ. ถ้า Gap มากก็มีปัญหา

กลุ่ม 1

ใน 12 ข้อ ต้องค่อยๆพัฒนาขึ้นตามลำดับ

Base camp (ข้อ 1-2) ตนได้อะไร

Camp 1 (ข้อ 3-6) ตนจะให้อะไร

Camp 2 (ข้อ 7-10) เหมาะจะที่อยู่ที่นี่หรือไม่

Camp 3 (ข้อ 11-12) จะโตไปด้วยกันอย่างไร

แต่ไม่ง่ายที่จะอยู่บนจุดสูงสุด ก็มีอุปสรรคต่างๆ

ตอนนี้แต่ละคนอยู่ตรงระดับใด

เมื่อรวมคะแนนแล้ว ถ้าได้คะแนนมากแสดงว่า เป็นคน productive

อาจใช้วัดผู้บริหารและลูกน้องได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

อยู่ Camp 3 อยากเห็นทุกคนไปข้างหน้าด้วยกัน ก็มีความท้าทายเพื่อช่วยให้คนเรียนรู้และเติบโต

อาจารย์ปิยะนุช

อันนี้ใช้วัดหา Talent และ strength องค์กร

ถ้ามีผลตอบรับทางบวกทุกข้อ ก็ถึงยอด Summit มี sense of achievement แล้ว

คนทำงานจะมี sense of achievement จะได้รับอิทธิพลจาผู้บริหารระดับกลาง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้จำวิธีนี้ไว้ ทั้ง 12 ข้อมาจากความจริงที่พบโดยวิจัย

ควรใช้วิธีนี้อย่างระมัดระวัง

กลุ่ม 2 นำเสนอ บทที่ 2 The wisdom of the great manager

ทำไมแกลลอปทำแบบนี้ ยังไม่มีการเปรียบเทียบผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จ

ต้องถามลูกน้องว่า อยากทำงานกับผู้จัดการแบบใด

จึงหาผู้จัดการมากกว่า 80,000 รายแล้วถาม

1.ถ้ามีลูกน้อง 2 คน คนหนึ่งทำงานเดี่ยวหาเงินได้มาก ส่วนอีกคนทำงานเป็นทีมแต่หาเงินได้น้อยกว่า จะเลือกแบบไหน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อแรกมี ตัวแปรไม่คงที่ คนแรกถ้าไม่สร้างปัญหาให้คนอื่น ก็เก็บไว้ทั้งสองคน

กลุ่มนี้ดีตรงที่กล่าวถึงงานวิจัย

ปัญหาคือคนเก่งมีอีโก้สูง ต้องมีคำถามอื่นเพิ่มเติม

อาจารย์บุศรา

สามีมีลูกน้องแบบนี้ ทำงานเดี่ยวแต่สร้างรายได้ให้มาก จึงมองพฤติกรรมรับได้ แต่ผ่านไป ก็มีการก่อกวนลับหลัง ในที่สุดก็ต้องให้ออกจากงาน จึงต้องสร้างคนทำงานเป็นทีมสร้างรายได้ให้บริษัท

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อันดับหนึ่งของเอกชนเน้นกำไรสูงสุด แต่งานขายก็เก็บไว้ได้ 2 คน องค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยเงิน อาจจะให้ดูแล key account มีทีมสนับสนุน ต้องดูว่าขายได้จากอะไร แล้วให้เขาทำงานตรงนั้น

คนที่เก่งบริหารทีม ก็จะได้ขึ้นมาตามระดับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ของคณะพยาบาลอะไรสำคัญที่สุด

คนคิดถึงโอกาสก็มีความสำคัญ ก็ต้องหาคนมีเครือข่ายเข้ามา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

รูปแบบนี้พบได้ในคนรุ่นใหม่ เป็นคนที่ทำงานในทีมไม่ได้ อาจทำงานข้างนอกได้ที่ไปหาเงินมาทำโครงการได้ ต้องการภาวะผู้นำและการจัดการภาวะผู้นำ

กลุ่ม 1

คนเก่งและเด่นบางครั้งทำอะไรต่างจากคนอื่น มักชอบทำงานคนเดียว ควรหาวิธีการให้เขาทำงานเป็นทีม

KPIs ทุกตัวต้องมาจากทุกแห่งของคณะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีหนังสือ How to deal talent people but difficult

ต้องพัฒนาสภาพแวดล้อมในองค์กร นักวิชาการไม่ได้รับการฝึกให้ทำงานเป็นทีม

อาจจะมาบริหารจัดการคนที่มีปัญหาบ้าง

บางครั้งวัฒนธรรมองค์กรเป็นปัญหา คือเกรงใจและหนีปัญหาจึงแก้เรื่องนี้ลำบาก

กลุ่ม 2

ยังมีคำถามอื่น

คนเก่งที่ทำงานเอกสารไม่ได้ จะทำอย่างไรกับคนนี้

มีลูกน้อง 2 คน คนหนึ่งเก่งมาก อีกคนหนึ่งเก่งปานกลาง จะให้ใครไปในพื้นที่อุดมสมบูรณ์หรือพื้นที่แห้งแล้ง

ถ้านำคนแต่ละคนมาเปรียบเทียบมีจุดร่วมน้อยมาก

มีกรณีกบกับแมงป่อง แมงป่องอยากข้ามแม่น้ำจึงไปขอให้กับช่วยพาไป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขึ้นกับความไว้เนื้อเชื่อใจว่า จะช่วยเหลือกันหรือไม่

ต้องสร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจในองค์กร โดยค่อยๆสะสม

กลุ่ม 2

บทเรียนคือผู้จัดการต้องพยายามพัฒนาจุดดีของคน แล้วให้อยู่ร่วมกับคนอื่นให้ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะประสบความสำเร็จ ต้องใช้จุดแข็งของคน แล้วทั้งองค์กรจะไปได้

แต่คนประสบความสำเร็จก็มีปัญหาคือการโอ้อวดตนเอง เชื่อมั่นตนเองมากเกินไป

ต้องมีตัวกระตุ้นให้ทำงานสำเร็จ อาจจะอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร

ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทำไมเลือกสัญลักษณ์แมงป่องกับกบ

ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ดี เพราะเป็นตัวปัญหา ที่ผู้จัดการต้องบริหารจัดการ

แมงป่องเป็นเหมือนคนร้าย กบก็เหมือนคนใจอ่อน ขี้ตกใจ แต่ละประเภทจะมีผลต่อองค์กรอย่างไร

กลุ่ม 2

บทบาทผู้จัดการที่ยิงใหญ่

Agile company ต้องการให้ลูกจ้างพึ่งตนเองได้ กำกับตัวเองทำงานเป็นทีม ผู้จัดการต้องเป็นตัวเร่งปฏิกิริยานี้ ต้องบริหารความสามารถให้บรรลุวัตถุประสงค์บริษัทและความต้องการลูกค้า

1.เลือกคนเหมาะกับงาน

2.สร้างความคาดหวัง

3.สร้างแรงจูงใจ

4.พัฒนาคน

ตอบคำถามที่ 3จะมีโอกาสทำสิ่งดีในแต่ละวันอย่างไร ผู้จัดการต้องเลือกคนให้ถูก และคนนั้นพัฒนาได้มากเท่าไร

Healthy company ต้องการให้ผู้จัดการและลูกน้องให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

หลักการพิจารณาว่าผู้จัดการจะเป็นผู้นำในอนาคตหรือไม่

ผู้จัดการมองภายในองค์กร แต่ผู้นำต้องมองไปนอกองค์กร

ผู้จัดการดูความสามารถคนในองค์กรแล้วสร้างแรงจูงใจ ดึงความสามารถคนมาสร้าง performance แต่ผู้นำต้องมอง connection ภายนอก ประสานความแตกแยก มองกลยุทธ์

ผู้จัดการที่ดีอาจเป็นผู้นำที่แย่ แต่ผู้นำที่ยอดเยี่ยมอาจเป็นผู้จัดการที่ล้มเหลว

สิ่งที่ผู้จัดการควรทำคือ

ควรดึงความสามารถของแต่ละคนมาสร้างผลงาน ต้องมีการปรับ Fixed mindset เป็น Growth Mindset

โดยเผชิญความท้าทาย เอาชนะอุปสรรค นำข้อวิจารณ์มาเป็นบทเรียนพัฒนาต่อไป ทำต่อเนื่อง เรียนรู้จากความสำเร็จของคนอื่น

ในการเลือกคน จะพิจารณาว่า เก่งด้านใด

ให้ยึดเป้าหมายเป็นหลัก

ต้องเน้นจุดแข็งนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มาก

สนับสนุนคนไปในทางที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นำเสนอได้ดี

ตอนแรกหาวิธีวัด แล้วจบด้วยเรื่องผู้จัดการและผู้นำ

ต้องมีการบริหารเพื่อนร่วมงาน ซึ่งยากเพราะนักวิชาการก็จบปริญญาเอก

ตอนหลังแทบจะแยกผู้จัดการและผู้นำไม่ได้

ถ้าผู้นำที่ดีไม่มีความสามารถบริหารจัดการ ก็จะเกิดปัญหา

กลุ่ม 3 นำเสนอ บทที่ 3 The first Key: Select Talent

Talent คนที่มีความสามารถพิเศษ คือ คนที่แสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพสูงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

รูปแบบซ้ำแต่ทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพและผลิตผลที่ดีเรียกว่า Talent

หนัง The Right Stuff เป็นเรื่องการคัดเลือกนักบินอวกาสของอเมริกาไปแข่งกับรัสเซีย

คนที่ผ่านการคัดเลือก คือคนที่ผ่านแรงกดดันได้

แนวคิดที่ 1 Talent ติดตัวมาแต่กำเนิด

แนวคิดที่ 2 Talent ต้องผ่านการฝึกฝน

การคัดเลือกคน บริษัทใช้แบบทดสอบคือ พิจารณาจากประวัติการทำงาน ผลการศึกษา ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

บางครั้งนำไปเข้าการอบรมแต่ก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้

The Right Stuff กล่าวว่า filter เป็นแหล่ง talent

นักบินที่ผ่านการคัดเลือกเกิดจากการผ่านการฝึกฝนมาตลอดให้รู้จักจัดการกับความล้มเหลวหรือความเครียดในสถานการณ์กดดัน

ทศวรรษการทำงานของสมอง

เด็กเกิดมามีการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มเรื่อยๆ แต่ส่วนที่ไม่ใช้ก็จะถูกทำลายไป เหมือน Talent ถ้าทำซ้ำ จะเจริญงอกงามเรื่อยๆ

5 ขั้นตอนการก่อเกิดพฤติกรรมของมนุษย์

1.สร้างฐานจิต

2.ตบแต่งจิต

3.ทำลายส่วนที่ไม่ใช้

4.สร้างอัตลักษณ์

5.ทำซ้ำ เกิดสิ่งนั้น

ในการพัฒนาคน ควรพัฒนาจุดแข็งเรื่อยๆ จนกลายเป็น talent

ความแตกต่างระหว่าง Skill, knowledge และ talents

บางคนไม่ทราบวาตนมีพรสวรรค์ซ่อนอยู่ ผู้นำต้องค้นพบจุดนี้ แล้วนำคนนั้นไปทำงานนั้น

Talent สอนไม่ได้

บางคนมีทั้งสามข้อ แต่ถ้าผู้นำปฏิเสธจะเกิดความเสียหาย

Skills ต้องแบ่งขั้นตอนให้เล็กลง ให้ทำซ้ำ

Knowledge

Factual knowledge สอนได้

Experiential knowledge เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์

Talent สิ่งที่มีเฉพาะในตัวเฉพาะในตัว

1.พรสวรรค์ในความมุ่งมั่น

2.พรสวรรค์ในการคิด

3.พรสวรรค์ในด้านความสัมพันธ์กับมนุษย์

ความรู้จากประสบการณ์จะช่วยให้มี Talent ได้

Competencies เป็นทั้ง Skill, knowledge and talent

Habits บางครั้งก็เป็น Talents ด้วย เพราะเป็นลักษณะธรรมชาติ

คนสามารถเปลี่ยนได้

การคัดเลือกคนมาร่วมงาน

แต่ละคนมีพฤติกรรมที่หล่อหลอมมาจากการเลี้ยงดูซึ่งอาจจะเป็น Talent ที่เหมาะกับงานก็ได้

แต่ละงานต้องใช้ Talent คนที่คิดว่า มีคนอื่นสังเกตการณ์ทำงานของเขาจะทำงานได้ดีมาก

Talent เหมือนพฤติกรรมซ้ำๆ แต่อาจจะนำมาใช้ในงานได้

เวลาสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์ต้องมองให้ลึก ให้ผู้สอบสัมภาษณ์อธิบาย

ในฐานะผู้จัดการที่ต้องคัดเลือกคน ต้องดู ชื่อตำแหน่ง job description วัฒนธรรมองค์กร เลือกลูกน้องที่เหมาะสมกับสไตล์การทำงานของตน

John Wooden เป็นโค้ชบาสเกตบอลที่ประสบความสำเร็จ เพราะสร้างสิ่งแวดล้อมให้คนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทที่ 1 และ 2 มีความชัดเจนเพราะเกิดจากวิจัย

สรุป 3 ประเด็นว่าต่อเนื่องจาก 2 บทอย่างไร

กลุ่ม 3

เมื่อทราบความหมาย Talent ต้องรู้ว่าต้องการแบบใด จะได้เลือกถูก

Talent มาได้หลายทาง ทุกงานก็ต้องอาศัย Talent

เป็นการเชื่อมโยงการวัด และแนวคิด Great manager

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้ายกตัวอย่าง Talent จริงๆ เกิดจากฮอลลีวูดมีแมวมองไปหาคนมีแววมาทำงาน

Talents ทำให้องค์กรสำเร็จ ผู้จัดการ ผู้นำต้องกระตุ้นให้ใช้ จึงสำเร็จ

เรื่อง Talents ต้องมีการปลูกและเก็บเกี่ยว อยู่ที่การสร้างบรรยากาศให้คนเป็นเลิศ ให้ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่

Talents ไม่ใช่แค่ทักษะและพฤติกรรมเท่านั้น แต่ต้องได้รับการบริหารจัดการที่ดี

ในการเลือก Talents ต้องมีทักษะในการคัดเลือก วิจัยฮาร์วาร์ดพบว่า คนตอบคำถามดีน้อยกว่า 30% เป็นTalent ที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีการฝึกการเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์

หนังสือ Talent is not enough มี talent ไม่พอ ต้องมีความสามารถในการทำงานกับคนอื่นด้วย

คนที่เป็นดาวเด่นในองค์กร ก็อยู่ไม่นานเพราะไม่มีความสามารถในการทำงานกับคนอื่น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Talents ปลูกได้ เพราะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

ต้องสังเกตว่า เป็น talent เป็นประเภทใด ต้องให้น้ำให้อากาศ ได้แสดงความสามารถ ผู้นำต้องสร้าง Talent และบริหารจัดการ talent ได้ บางครั้ง Talent เด่นบางเรื่อง แต่ขาดทักษะ ก็ปลูกโดยใส่ความรู้และทักษะนั้นไปได้ แล้วต้องรู้จักเก็บเกี่ยว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำและผู้จัดการ ถ้าจะสร้างความสำเร็จในองค์กร ต้องสร้าง talent มีการระบุคุณสมบัติ แล้วทำอย่างไรให้สำเร็จอย่างยั่งยืน

Talent คือพฤติกรรมอะไรก็ได้ที่ไม่พึ่ง Skill และ Knowledge แต่สร้างประสิทธิภาพให้องค์กร

ผู้นำใกล้ชิดควรสังเกตพฤติกรรม Talent ทำให้ high performance และความสำเร็จขององค์กรที่ยั่งยืน

กลุ่ม 4 นำเสนอบทที่ 5 The Third Key: Focus on Strengths

ต้องหา Great manager และ Talent person เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ประสิทธิภาพ

ต้องให้โอกาสคนได้ใช้ความสามารถ และส่งเสริมจุดแข็ง

บางจุดอ่อนก็แก้ยาก แต่ต้องปรับกลยุทธ์

และต้องมีการปลูกและพัฒนา

ทุกคนมี Talent ในตัว หัวหน้าต้องหา Talent ของลูกน้องเจอ ทำได้โดย

ต้องมีการประเมินประเภท Talent

มีการสมมติสถานการณ์ให้แก้ปัญหา

สังเกตว่า มีการเรียนรู้ทักษะใหม่อยูเสมอหรือไม่

เมื่อเลือกคนแล้ว ทำอย่างไรให้ Talent เหมาะกับงานที่ทำ จัดเป็นประเภทต่างๆ บริหาร talent แบบแตกต่างจากคนอื่น แต่ต้องเหมือนกับความคาดหวังของตัว Talent ต้องมีการพัฒนา Talent เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ

ปัญหาคือหัวหน้ามักทุ่มเทเวลาให้คนทำงานน้อยหรือด้อยประสิทธิภาพและมักปล่อยคนเก่งทำงานเอง

ผู้บริหารมักชอบสั่งการและควบคุมจึงขาดการมองจุดแข็ง

ต้องกำหนดความคาดหวังให้คนแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน ให้เลือกทำในสิ่งที่ชอบและแทรกแซงคนอื่นน้อย

การเปลี่ยนจาก Good managers เป็น Great manager มีการลงทุนที่ต่างกัน

1.มีความยุติธรรม คนทำดีต้องได้ดี

2.เรียนรู้จากคนเก่ง

3.เปลี่ยน Mindset ให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

4.คิดให้แตกต่าง พยายามส่งเสริมลูกน้องให้ก้าวหน้า

คนไม่เก่งไม่จำเป็นต้องเป็นจุดอ่อน ผู้จัดการต้องเข้าใจจุดอ่อน ต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุและบริหารจัดการ อาจจะหาตัวช่วยสนับสนุน เช่น เครื่องมือ หาคนเก่งมาช่วยปิดจุดอ่อน อาจให้ทำงานอื่น

ต้องพยายามคัดคนให้เหมาะกับงาน

การเป็น great manager ต้องเน้น strength ลงทุนกับคนเก่ง ประเมินศักยภาพพิเศษและจุดอ่อน ส่งเสริมและพัฒนา บริหารด้วยกฎพิเศษให้ได้ทำในสิ่งที่ชอบและช่วยให้องค์กรเป็นเลิศ ต้องให้ความสำคัญและเวลากับคนเก่ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องนี้ต่อเนื่องมาจากบทที่ 3 ต่อมาจาก Talent และเน้นจุดแข็ง

Break all the rules หมายถึง ต้องบริหารจัดการ Talent แบบพิเศษที่แตกต่างจากคนอื่น ไม่จำเป็นต้องทำตามกรอบเดิม เป็นการทำสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

การอ่านหนังสือที่ดีต้องนำไปประยุกต์กับความเป็นจริง

เมืองไทยยังขาดงานวิจัยเรื่อง Talent

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากทฤษฎี 3 วงกลม ต้องดู context องค์กร กลุ่มหนึ่งวิเคราะห์บริบทองค์กร รู้ภูมิยุทธศาสตร์ งานเหมือนภูเขา ความเปลี่ยนแปลง ทำให้งานเปลี่ยน ใช้ reality

กลุ่ม 2 มอง reality มาวงกลมที่ 2 competencies กล่าวถึงความหลากหลาย

กลุ่ม 3 ดึง Talent เป็น relevance ปรับ competenciesให้เหมาะองค์กร

กลุ่ม 4 เน้น motivation สร้างแรงบันดาลใจให้เหมาะกับ talents

ถ้า 3 วงกลมเชื่อมกันมาก ก็จะขับเคลื่อนองค์กรได้ดีมาก

อาจมีการวิเคราะห์ช่องว่าง ดู competencies ที่ขาด และจัดการ motivation

จิตวิทยากับการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

การพัฒนาเชาวน์ความอึด (Adversity Quotient :AQ) และเชาวน์ด้านอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ)

โดย ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์

คนที่มีวิสัยทัศน์จะต้องประกอบด้วย 5I’s

1. Information มีข้อมูล

2. Intelligence มีความฉลาด แยกแยะข้อมูลเพราะผู้นำต้องคิดวิสัยทัศน์

3. Imagination การจินตนาการเป็นความสามารถในการเห็นภาพในความคิด เช่น จินตนาการเห็นมะนาวทำให้น้ำลายไหล

4.Imagineering ความสามารถในการนำภาพไปสู่การปฏิบัติ

5.Inspiration มีแรงบันดาลใจที่อยากจะเห็นองค์กร

เวลาพูดถึง system ต้องมี input, process, output, feedback

ร่างกายเป็น system (ระบบ) ทุกอย่างมีผลกระทบต่อกัน บางครั้งการแพทย์ก็รักษาเฉพาะโรคอาจจะไม่เข้าใจการมองเป็นระบบ การศึกษาไทยก็เรียนเป็นส่วน แต่ในโลกความเป็นจริง ทุกสิ่งเป็นระบบ เมื่อเข้าใจระบบ ก็จะคิดเป็น loop

ประสิทธิภาพคือการใช้ input ต้นทุนน้อยได้ output ผลเกินต้องการ

การเรียนจิตวิทยา ต้องเริ่มจากการทดสอบให้รู้จักตนเองก่อน (Reflective Learning) ต้องตอบแบบทดสอบตรงตามความเป็นจริงคือเลือกความคิดแรกที่เกิดขึ้น

จากมุมมอง Customer Relation Management (CRM) ลูกค้าคือผู้เชื่อมโยงเราไปหาทรัพยากรอื่นๆอีกมากมายที่เราต้องการ

Experience-based learning เป็นสิ่งสำคัญ

ขงจื๊อกล่าวว่า “เป้าหมายหรือหลักการให้สลักบนแผ่นทองคำ แต่วิธีการให้วาดบนพื้นทราย” แสดงว่า วิธีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องยึดเป้าหมาย ในปัจจุบัน มีปัญหาคือ ยึดวิธีการจนลืมเป้าหมาย

ตอนนี้สีจิ้นผิงรณรงค์เรื่องคุณธรรม

ไอน์สไตน์กล่าวว่า คนที่ประสบความสำเร็จอย่าเอาตนเองผูกกับสิ่งแวดล้อม แต่ผูกกับเป้าหมาย

ปัญหาคือสังคมไทยยึดถือตัวบุคคลแต่ไม่ซึมซบอุดมการณ์ของสถาบัน

ถ้ามีปัญหาในการสื่อสาร ความผิดเป็นของผู้ส่งสารเพราะเป็นต้นทางของสาร

การสื่อสารเป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกัน

EQ (Emotional Quotient) หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้ มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

เมื่อมีสติจะตระหนักรู้อารมณ์และดับทุกข์ได้เร็ว

อารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะความคิดหรือการปรุงแต่งดังนั้นควรใช้ความคิดเฉพาะแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

อยากสุขให้คิดบวก อยากทุกข์ให้คิดลบ อยากพ้นทุกข์ให้คิดเป็นระบบคือคิดตามสภาพความเป็นจริง

EQ เป็นความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

ตัวตนมี 3 แบบ เป็นวงกลม 3 วง

1.Ideal self ตัวตนในอุดมคติที่อยากเป็น

2.Perceived self ตัวตนที่คิดว่าตนเองเป็น

3.Real self ตัวตนที่เป็นจริง

ปกติ ทั้งสามแบบจะไม่ซ้อนกันพอดี แต่อาจเหลื่อมกัน

ม.ล.ตุ้ย ชุมสาย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า จิตวิทยาคือพุทธศาสนาที่พิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์

ชาติตะวันตกศึกษาพุทธศาสนาในแง่วิทยาศาสตร์

ทุกศาสนามีคำสอนเหมือนกันคือ ทำดี ไม่ทำชั่ว และมีความสุข แต่วิธีการปฏิบัติต่างกัน

ตำแหน่งชีวิต (Life Position) คือทัศนคติที่มีต่อตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน

I am OK, you are OK. เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

I am OK, you are not OK. เห็นคนอื่นไม่ดี จึงเข้ามาทำเอง ทำให้ตนเองเป็นคนมีความรับผิดชอบ

I am not OK, you are OK. เห็นตนเองไม่มีค่า เห็นคนอื่นมีค่า เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ แต่ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

I am not OK, you are not OK. ไม่เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เป็นการปลงชีวิต

AQ (Adversity Quotient) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมวิกฤติ มีสติ และมองวิกฤติมาจากปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน แต่ยินดีเข้าร่วมรับผิดชอบ ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหาได้

ในวิกฤติจะมีโอกาสตลอดเวลา ภาษาจีนเรียกวิกฤติว่า เหวยจี คำว่า เหวยคือวิกฤติ คำว่า จีคือโอกาส

คำว่า เหวยมาจากคำว่า เหวยเซียง คือ อันตราย คำว่า จีฮุ่ยก็คือโอกาส ไก่ ภาษาจีนเรียกว่า จี คนจีนจึงเชื่อว่าปีไก่เป็นปีแห่งโอกาส

คนมี AQ เห็นโอกาสในทุกวิกฤติ แล้วพยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

วิกฤติทุกคนเป็นช่วงก่อนตาย 20 นาที ถ้าคุมสติได้ดี ก็จะสามารถไปเกิดในภพภูมิที่สูงกว่าได้

ถ้ากำหนดลมหายใจแล้วคิดถึงสิ่งที่ดี เมื่อจิตปีติก็เกาะนิมิตที่ดีไปเกิดในภพที่ดี

AQ จึงเป็นวิชาที่สำคัญ

องค์ประกอบ AQ

1.Control ควบคุมสติ คนเราเป็นอันตรายเพราะขาดสติ

2.Origin & Ownership ไม่โทษตนเอง แต่พร้อมรับผิดชอบแก้ไข

3.Reach ไม่ทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ปล่อยวิกฤติกระจายไปสู่ส่วนอื่นของชีวิต

4.Endurance อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา โดยมองปัญหาวิกฤติเป็นเรื่องชั่วคราวและสากล จะช่วยให้อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหาได้

เรื่องพระมหาชนก สะท้อน AQ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสว่า ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

ตอนเกิดเหตุเรือพระมหาชนกล่มในมหาสมุทรอินเดีย ผู้มาช่วยคือนางเมขลา ส่วนในรัชกาลของพระองค์ มีเรือไทยไปล่มในมหาสมุทรอินเดีย และลอยอยู่ในทะเลช่วงหนึ่ง จนมีเรือชาติอื่นมาช่วย และเรือลำนั้นชื่อเมขลา

องค์ประกอบความสามารถของ AQ

จิตวิทยาการรู้คิด

มองปัญหาแค่ชั่วคราว

ปัญหาไม่ลุกลาม มักเกิดจากภายนอก

มีสติ ควบคุมสถานการณ์ได้ (Internal Locus Control)

ล้มแล้วลุกขึ้นสู้อย่างรวดเร็ว ฟื้นตัวเร็ว

มองเห็นตัวเองมีความสามารถ

มองโลกในแง่ดี มีความสุข

6Q ประกอบด้วย

IQ ความเก่ง ความฉลาด ความสามารถแก้ปัญหา

EQ ความสุข

AQ ความสำเร็จ ความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

MQ ความดี

HQ คือสุขภาพ ความแข็งแรงทางร่างกาย

SQ เชาวน์ด้านจิตวิญญาณ คนที่ปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอมีอายุยืนมากกว่าคนปกติประมาณ 10-20%

ทุก Q ลงสู่ SQ ซึ่งนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิที่ดี หรือพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้


20 พฤษภาคม 2560

หัวข้อ “จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.”

โดย อาจารย์ธีรยุทธ เจียรกุล

มีบริษัทขายรองเท้าแตะ มีผู้จัดการฝ่ายขายไปพบว่ามีเกาะใหม่ที่ยังไม่เคยไปขาย จึงให้พนักงานขายคนแรกไปสำรวจตลาด เขากลับมารายงานว่า ขายรองเท้าแตะไม่ได้เพราะไม่มีใครใส่รองเท้าเลย จึงส่งพนักงานขายอีกคนไปสำรวจตลาดใหม่ เขากลับไปสำรวจพบว่า ชาวเกาะไม่ใส่รองเท้าเลย จึงถือเป็นโอกาสการตลาดใหม่ จึงส่งพนักงานขายจบการตลาดไปสำรวจตลาด กลับมารายงานว่า ชาวเกาะไม่ใส่รองเท้า มีตลาดแน่นอน พร้อมเสนอแนะว่า ควรนำรองเท้าเหลืองไปขายผู้หญิงชาวเกาะที่ชอบแต่งกายสีสันฉูดฉาด แต่ผู้ชายชอบเข้าไปทำงานในป่า จึงน่าจะนำรองเท้าทนทานไปขาย

สรุปได้ว่า ส่งพนักงานขายไปแต่ละคนมีวิธีการวิเคราะห์ตลาดต่างกัน บางคนมองว่า เป็นปัญหา บางคนมองว่าเป็นโอกาส

อีกกรณีคือ เจคิวปูม้านึ่ง ขายปูนึ่งออนไลน์ทาง Facebook แสดงให้เห็นว่า ตลาดสร้างได้

ได้เคยหาข้อมูลมาว่าทำไมต้องมาเรียนคณะพยาบาล

1.โอกาสได้ทำงานทำ 100% ต้องการพยาบาล 40,000 คน แต่ผลิตได้ปีละ 8,000 คน

2.ผลตอบแทนค่อนข้างสูง นักศึกษาจบใหม่น่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

บางครั้งพยาบาลเวรได้เงินมากกว่าผู้บริหารพยาบาล เพราะพยาบาลเวรได้เงินจากการอยู่เวร แต่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ

คำถามจากอาจารย์ธีรยุทธ เจียรกุล

ทำไมคนเลือกเรียนคณะพยาบาลในสถาบันต่างๆ

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

เลือกที่มหิดล เพราะมีชื่อเสียง เป็นส่วนกลางเพราะมีคนมาก

นักเรียนที่ผลการเรียนไม่ดีจึงเลือกคณะที่มีคะแนนต่ำ จึงมีคนไปสมัครมาก

พื้นที่ภาคใต้มีข่าวสถานการณ์ที่กระทบต่อการตัดสินใจมาเรียน

ของม.อ.ยังไม่มีแบรนด์ที่โดดเด่นเข้มแข็งเท่าโรงพยาบาลรามาธิบดีและศิริราช

จำนวนยอดรับต่างกัน ถ้ารับน้อย คนสมัครน้อยเพราะเขาคิดว่าจะมีโอกาสได้น้อย

โครงสร้างหลักสูตรมีผลทำให้หลักสูตรแต่ละแห่งไม่ต่างกัน จึงเลือกตามชื่อเสียงก่อน

ม.อ.มีความเสียเปรียบ มีมหาวิทยาลัยเกิดมาก แต่ความแตกต่างไม่ชัดเจน จึงมีคู่แข่งมาก

ความคิดเห็นจากอาจารย์ธีรยุทธ เจียรกุล

มหาวิทยาลัยเอกชนมีความยืดหยุ่นในจัดหลักสูตร ส่งเสริมไอทีและภาษา สอนโดยภาษาอังกฤษ เรียนไปแล้วเป็นผู้บริหารและผู้ประกอบการ มีพันธกิจชัดเจนมาก มีนักศึกษาต่างชาติมาด้วย มหาวิทยาลัยเอกชนมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่าง ถือเป็นจุดขายทางการตลาด

หลักสูตรคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชน ยังสอนให้เป็นเจ้าของกิจการพยาบาล และการสร้างนวัตกรรม

มีหลักสูตรสปา

ทางการตลาดเรียกว่าเป็นการสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ product differentiation หาจุดขายที่แตกต่าง

การมุ่งลูกค้าต่างชาติจะทำให้มีรายได้มาก

ผู้เข้าร่วมโครงการ

หลักสูตรพยาบาลทั่วประเทศถูกบังคับจากสภาพยาบาล วิชาบังคับเหมือนกัน แม้ชื่อเดียวกัน แต่เนื้อหาภายในต่างกัน เช่น ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

อาจารย์ธีรยุทธ เจียรกุล

การกำหนดกลยุทธ์หรือทิศทางองค์กร ต้องตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อดังนี้

1.ประเมินผลการดำเนินงาน

2.กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ

3.กำหนดกลยุทธ์

Workshop

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยเปรียบเทียบคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.กับมหาวิทยาลัยอื่น

กลุ่ม 1

ปัจจัย

หัวข้อ

ม.อ.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระบบและ

กระบวนการ

ภายใน

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ชัดเจน

แต่เวลาปฏิบัติสิ่งใหม่

อาจยังมีความคลุมเครือ

ตอบโจทย์ชัด

ผลิตภัณฑ์

นักศึกษา

ใช้เวลานานในการเรียนจบ บางหลักสูตร เป็นหลักสูตรพิเศษ นักศึกษามาเรียนไม่เต็มเวลาแล้วไปอยู่ห่างไกล ใช้เวลาเรียนเฉลี่ย 3-4 ปี นักศึกษาต้องทำ case จริงและมีการอยู่เวร

ใช้เวลาจบ 5 ปี

ผลิตภัณฑ์

การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาปริญญาโทและเอก

ผลงานทางวิชาการจะต้องตีพิมพ์

ในปีที่นักศึกษาเรียนจบ

แต่ในทางปฏิบัติต้องส่งผล

งานเหล่านี้ไปที่วารสาร

ใช้เวลา 2 ปีจึงได้ตีพิมพ์

เวลานับจำนวนผลงานจึงมี

ความเสียเปรียบเพราะไม่ได้ตีพิมพ์

ในปีที่เรียนจบ

ผลิตภัณฑ์

หลักสูตร

อยู่ภายใต้รูปแบบเดียวกันกับที่สภาการพยาบาลกำหนด

มีหลักสูตรที่หลากหลาย

มีหลักสูตรนานาชาติ

มี MOU กับต่างประเทศมากกว่า

คน

บุคลากร

มีความทุ่มเทรับผิดชอบในงาน มีศักยภาพในการผลิตผลงาน

คน

อาจารย์

มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนอาจารย์ได้ดีกว่า

คน

การแข่งขัน

ภายในคณะ

มีการแข่งขันน้อยกว่า

มีการแข่งขันมากกว่า ฉกฉวยโอกาสในการก้าวหน้า

กว่า

การเงิน

งบประมาณ

มีมากพอใช้

ไม่ทราบข้อมูล

กลุ่ม 2

ปัจจัย

หัวข้อ

ม.อ.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระบบและ

กระบวนการ

ภายใน

วิสัยทัศน์

เน้นภูมิปัญญาตะวันออก

ยังไม่โดดเด่นความเป็น

นานาชาติ

มีความโดดเด่น

ด้านความเป็นนานาชาติ

ผลิตภัณฑ์

นักศึกษาปริญญาตรี

Ranking นักศึกษาที่สอบใบประกาศนียบัตรวิชาชีพได้คะแนนสูงกว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลิตภัณฑ์

การตีพิมพ์ผลงาน

ทางวิชาการของ

นักศึกษาปริญญาโทและเอก

Ranking

การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ

ของนักศึกษาต่ำกว่า

ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลิตภัณฑ์

หลักสูตร

ตอนนี้ยังไม่มีการบูรณาการ

หลักสูตร นวัตกรรม การเป็นผู้ประกอบการ ยังมีวิชาเดิม แต่จะมีการปรับหลักสูตรใหม่

ในปีหน้า เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไป

Thailand 4.0

มีการเสนอในเชิงนโยบายว่า จะต้องทำนวัตกรรมเชิง

ภูมิปัญญาตะวันออก

จะส่งเสริมให้แต่ละวิชามีนวัตกรรมและจะมีเวทีให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับ

คณะ มหาวิทยาลัย และนานาชาติ

การเงิน

แหล่งทุน

การที่อยู่ในภาคใต้ทำให้ได้รับงบอุดหนุนจากแหล่งทุนวิจัยในฐานะจังหวัดเสียเปรียบ

การเงิน

เครือข่ายกับ

แหล่งทุน

เสียเปรียบ

มีเครือข่ายแหล่งทุนมากกว่า

การตลาด

ทำเล

อยู่ในถิ่นไม่สงบ

จังหวัดชายแดน

สามารถติดต่อเชื่อมโยง

กับต่างประเทศคือ

มาเลเซียและอินโดนีเซีย

อยู่ในถิ่นที่สวยงาม

การตลาด

ประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์เชิงรับ มี Roadshow

จะมีแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกปี 2561

การตลาด

การหาคนมาเรียน

ตอนนี้ทำเป็น Second Degree สำหรับนักเรียนม.4-5 อาจจะดึงดูดกลุ่มปวช.มาเรียน

ในระดับปริญญาตรี ทำภาคสมทบสำหรับ

คนทำงาน

กลุ่ม 3

ปัจจัย

หัวข้อ

ม.อ.

โรงพยาบาลศิริราช

ระบบและ

กระบวนการ

ภายใน

กำลังการผลิต

มีจำนวนอาจารย์เพียงพอ

ใกล้เคียงกัน

ระบบและ

กระบวนการ

ภายใน

ใบรับรองคุณภาพพิเศษ

ปีนี้ สภาการพยาบาล

รับรองให้อยู่ในระดับ 99.5 ซึ่งโดดเด่น

ใกล้เคียงกัน

คน

ผู้บริหาร

รศ. ดร.อรัญญา เชาวลิต คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มีความเป็นผู้นำสูง

รศ.ดร.ยาใจ สิทธิมงคล

มีความสามารถด้าน

ความเป็นผู้นำใกล้เคียงกัน

การตลาด

แผนระยะยาว 3-5 ปี

ทำและวิเคราะห์ตลอด

เหมือนกัน

ผลิตภัณฑ์

หลักสูตร

มีหลักสูตรพยาบาลจิตเวช

มีหลักสูตรที่หลากหลายกว่า

ไม่มีหลักสูตรพยาบาลจิตเวช

การเงิน

เงินทุน

มากเป็นที่ 2 ของม.อ.

มีมาก

การเงิน

ทรัพย์สิน

มีทรัพย์สินมาก มีตึกใหม่ ศูนย์เด็กเล็ก มีหอพัก 2 หอพัก

มีการขยายไปศาลายา

อาจารย์ธีรยุทธ์ เจียรกุล

ถ้าไม่ดูภูมิศาสตร์ ก็มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนจบม.6 ทั่วประเทศ จึงต้องไปเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่อื่นด้วย แต่ถ้าเปรียบเทียบกลุ่มเป้าหมายผิด กลยุทธ์ก็จะผิดตามไปด้วย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

คนเรียนวิทยาลัยอื่นในภาคใต้ มีการเสนอทุนการศึกษาปริญญาตรี และการบรรจุเป็นข้าราชการ

ก็ถือว่า วิทยาลัยแห่งอื่นได้เปรียบกว่า ม.อ.

อาจารย์ธีรยุทธ์ เจียรกุล

ในการเปรียบเทียบกับสถาบันอื่น อาจเปรียบเทียบเป็นรายผลิตภัณฑ์ เช่น เปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาตรีกับสถาบันที่มีหลักสูตรปริญญาตรี แม้จะไม่มีหลักสูตรอื่นก็ได้ ส่วนหลักสูตรปริญญาโท ก็ควรนำไปเปรียบเทียบกับสถาบันที่มีหลักสูตรปริญญาโท เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เพราะมีกลุ่มเป้าหมายที่มีเกณฑ์การตัดสินใจแตกต่างกันในการเลือกเรียน

เนื้อหา (ต่อ)

การตลาดก็ก้าวไปสู่การตลาดแบบ 4.0 ได้รับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

อัตราเกิดคนไทยลดลง นักศึกษาน้อยลงแต่มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น ต้องหาวิธีเพิ่มคนมาเรียน คนไทยแต่งงานช้าลง และมีบุตรในช่วงอายุมากขึ้น ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ อาจปรับเป็นหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง มีการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้น โลกเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นโลกไร้พรมแดน 70% ของคนไทยใช้ Facebook คนไทยใช้ Line มากเป็นอันดับที่สองของโลก ผลกระทบจากเทคโนโลยีคือ อาจจะมี application ให้เข้าถึงการดูแลสุขภาพ

แผนการตลาด ใช้เวลา 1 ปี วัดยอดขาย กำไร ส่วนแบ่งการตลาดและ Brand awareness

วิธีการไปถึงเป้าหมาย

1.Target กลุ่มเป้าหมาย

2.Position ตำแหน่งทางการตลาด

3.Product สินค้า

4.Price ราคา

5.Distribution ช่องทาง

6.Promotion ส่งเสริม

แม้กำหนดกลยุทธ์หลายอย่าง แต่มีแค่ 2-3 กลยุทธ์หลักที่ทำให้ไปสู่เป้าหมาย ต้องมีการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ

การกำหนดตำแหน่งสินค้า

1.หาจุดขายที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งมาก

2.หากลุ่มเป้าหมาย

3.นำจุดขายไปเสนอกลุ่มเป้าหมาย

สรุปได้ว่า จุดขายคณะพยาบาล ม.อ. เป็นสิ่งดึงดูดให้คนมาเรียน ต้องหาให้เจอ

ช่วงถาม-ตอบ

1.คณะพยาบาลควรพัฒนาอะไรบ้าง

ตอบ

ถ้าคณะทราบจุดเด่น แต่คนมาเรียนคือเด็กจบใหม่อาจจะไม่ได้ทราบเรื่องนี้ อาจจะต้องมีการสื่อสารจุดเด่น

2.คณะพยาบาลประชาสัมพันธ์ทางสื่อสังคมออนไลน์และโทรทัศน์ จะประเมินความสำเร็จอย่างไร

ตอบ

ประเมินจากจำนวนคนสนใจโทรศัพท์มาสอบถาม ถ้าทาง Facebook ประเมินจากยอดกดไลค์ แชร์ ส่วนทางโทรทัศน์ต้องดูยอดขายและการสอบถามเข้ามา ต้องค้นหากลุ่มเป้าหมายว่า นิยมใช้สื่อใด

3.นักศึกษานานาชาตินิยมติดต่อผ่าน Facebook ส่วนนักศึกษาไทยนิยมใช้ Line ในภาคใต้ ควรใช้สื่อใดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ

ส่วนหนึ่งควรใช้ Facebook และเว็บไซต์ของคณะเพื่อให้คนสนใจมาดูมากขึ้น ยกตัวอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งจัดงานจุฬาวิชาการทุกปี ที่สยามมีการติดป้ายโฆษณามากมาย นักเรียนมัธยมศึกษาก็ทราบข่าวงานนี้เพราะมีการไปประชาสัมพันธ์ถึงโรงเรียน คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้จัดกิจกรรมจำลองหลักสูตรให้นักเรียนมาดูเป็นการปลูกฝัง รุ่นพี่แนะนำประสบการณ์การเรียนในหลักสูตรนั้น อาจจะมีการสร้างเครือข่ายบอกต่อ

4.ที่คณะมีทุนแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศ แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบ

ตอบ

ต้องมีการนำเสนอให้ลูกค้ารับทราบ ที่งานจุฬาวิชาการ นักศึกษารุ่นพี่ที่เรียนนำเสนอเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนอย่างเต็มที่ ควรใช้นักศึกษาเป็นคนนำเสนอจะดีกว่าอาจารย์พูดเอง

เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

โดย รศ.สุปราณี ศรีฉัตราภิมุข

การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจจำเป็นและมีประโยชน์มาก ถ้าตัดสินใจถูก ทำให้มีชีวิตรุ่งโรจน์และงดงาม

การตัดสินใจถูก คือมีกระบวนการที่ถูกต้องและมีความรู้เรื่องที่ตัดสินใจ

การตัดสินใจไม่จำเป็นต้องเป็นระบบเสมอไป

การตัดสินใจที่เป็นระบบสามารถใช้ได้ทุกสาขาวิชาชีพ

การตัดสินใจคือการหาทางเลือก

ในการแก้ปัญหา ต้องทราบประเด็นปัญหาก่อน ต้องมีคำตอบที่ถูกสำหรับคำถามที่ถูก ปัจจุบันนี้ต้องมีคำถามที่ถูก

คำถาม

คำตอบ

ปัญหา

ทางแก้

ถูก

ถูก (ปัญหาหมด)

ผิด

ถูก

ถูก

ผิด

การมีคำถามที่ถูกแม้จะมีคำตอบที่ผิดยังดีกว่า มีคำถามที่ผิดแต่มีคำตอบที่ถูกเพราะยังเข้าใจประเด็นปัญหา

สิ่งที่ควรรู้

1. Analytical minded

2. Rational หรือ Systematic Thinking

3. Logic Thinking

4. Criteria for Action

ในกระบวนการคิด

1.Cognitive Thinking = know what

2.Advanced thinking = know how

3.Systematic thinking = know why

4.Creative thinking = know why

5.Intuitive thinking = know why

ลักษณะการคิดของคน

1.Thinking process

2.Strategic thinking

3.Scenario thinking เป็นการมองสถานการณ์ มหาวิทยาลัยต้องรู้จักมองอนาคต ในอนาคต เด็กอาจจะไม่ได้เรียนในมหาวิทยาลัย อาจจะไปเรียนที่วัดซึ่งถือเป็นต้นแบบทางด้านคุณธรรม จริยธรรม

4.Manipulative thinking การคิดแบบผสมผสานกัน

Pattern การคิดของคน

1.วิเคราะห์

2.ตามลำดับ

3.จินตนาการ

4.สังคม

ต้องมีคำตอบที่ถูกสำหรับคำถามที่ถูก

บริษัทยาสีฟัน มียาสีฟันสามารถปลูกรากฟันได้ จึงตั้งชื่อยี่ห้อว่า จิ้งจก ถูกต้องตามแนวคิดคือหางงอกได้ และถูกต้องตามหลักการตลาดคือ โลโก้ที่เป็นสิ่งมีชีวิตขายดีกว่าทรงเรขาคณิต ในการออกแบบจึงไปปรึกษาให้บริษัทการตลาดไปศึกษายอดขาย พบว่า

การที่ขายได้น้อย ก็มีบริษัทคู่แข่งพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียง ตั้งชื่อ ตุ๊กแก

ตอนแรกที่ตรา จิ้งจก ออกมา ให้ตัวแทนขาย 10% เพราะถือว่าเป็นสินค้าคุณภาพดี แต่ตรา ตุ๊กแก ให้ตัวแทนขาย 20% เพราะเป็นตราใหม่ ต้องเอาใจตัวแทนขาย ทำให้เมื่อมีลูกค้ามาซื้อยาสีฟัน คนขายจึงแนะนำตรา ตุ๊กแกมากกว่า ทำให้ยอดขายตรา จิ้งจก ตกลงต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์ที่ 19

บริษัทยาสีฟันตราจิ้งจกต้องเพิ่มเปอร์เซ็นต์ให้คนขายเป็น 15%

ปัญหาคือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

ปัญหาแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.Performance Deficiency ผลงานต่ำกว่าเป้าหมาย

2.Performance Opportunity ผลงานเกินเป้าหมาย

เมื่อคนมีผลงานเกินเป้าหมาย ก็ไม่สนใจที่จะค้นหาสาเหตุจึงทำให้ไม่สามารถรักษาผลงานให้ยั่งยืนได้

ต้องรู้จักถามหาสาเหตุ

Systematic thinking บางครั้งใช้เวลานานกว่าจะตัดสินใจ

รูปแบบการคิดต้องเหมาะสมกับสถานการณ์

ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหา

1.กำหนดความเบี่ยงเบนของปัญหา คือ ระบุว่า สิ่งที่เกิดจริง แตกต่างไปจากเป้าหมายอย่างไร

2.ระบุสภาพเบี่ยงเบนให้เจาะจง ถามคำถามว่า ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร มีขนาดเท่าไร

3.กำหนดขอบเขตของความเบี่ยงเบน เปรียบเทียบส่วนเบี่ยงเบนและไม่เบี่ยงเบน ตรวจสอบความแตกต่าง มองหาความเปลี่ยนแปลงระบุสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ ทดสอบ สรุป

การตัดสินใจเป็นการตัดสินทางเลือก ถ้าไม่มีทางเลือกก็ไม่ต้องตัดสินใจ ถ้ามี Strategic Thinking ก็ตัดสินใจได้ดี

ชนิดของการตัดสินใจ

Perfect Systematic เป็นการตัดสินใจโดยใช้เหตุผลสมบูรณ์

Imperfect Systematic เป็นการตัดสินใจโดยใช้เหตุผลกึ่งสมบูรณ์

Intuitive

ความยิ่งใหญ่ของการตัดสินใจต้องดูที่ผลกระทบ

การตัดสินใจต้องรู้จักตนเองว่ามีข้อจำกัดอะไร แล้วมีการเก็บข้อมูลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้อง

การวิเคราะห์การตัดสินใจ

1.ตั้งจุดมุ่งหมาย เป็นการชี้ว่ากำลังตัดสินใจเรื่องอะไร ต้องการให้อะไรถูกกระทำ ระบุถึงขอบเขต หรือเรื่องราวเข้าข่ายการตัดสินใจ

2.ตั้งมาตรการหรือแบจำลอง คือ วิเคราะห์และพิจารณาอย่างครบถ้วนว่า เราต้องการอะไรบ้าง จากสิ่งที่จะกระทำให้เกิด ถ้าเป็นโครงการใหญ่ ต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษามาวิเคราะห์ Projection

3.จัดลำดับความสำคัญ

Must ต้องมี ไม่มีไม่ได้

Want มีแล้วดี แต่จะขาดก็ได้ มากน้อยอย่างไร ดูความสำคัญ ให้น้ำหนัก

วิเคราะห์โดยใส่ข้อมูลตารางดังนี้

เกณฑ์

น้ำหนัก

รายการที่ 1

รองเท้าคู่ที่ 1

ราคา 600 บาท

รายการที่ 2

รองเท้าคู่ที่ 2

ราคา 800 บาท

รายการที่ 3

รองเท้าคู่ที่ 3

ราคา 1,000 บาท

คะแนน

คะแนนx

น้ำหนัก

คะแนน

คะแนนx

น้ำหนัก

คะแนน

คะแนนx

น้ำหนัก

ราคา

10

10

100

8

80

6

60

คัชชู

9

10

90

7

63

8

72

ส้นเตี้ย

8

10

80

8

64

8

64

วัสดุ

7

10

70

8

56

8

56

คะแนน

340

263

252

1.ใส่เกณฑ์

2.ใส่น้ำหนักของแต่ละเกณฑ์

3.เปรียบเทียบเกณฑ์ของแต่ละรายการ ดีที่สุดได้คะแนนมากที่สุด ดีรองลงมาให้คะแนนรองลงมา

4.นำคะแนนมาคูณน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์

5.นำคะแนนที่คูณน้ำหนักของทุกเกณฑ์มาบวกกัน

6.นำคะแนนรวมทุกรายการมาเปรียบเทียบแล้วเลือกรายการที่ได้คะแนนรวมมากที่สุด กรณีนี้เลือกรองเท้าคู่ที่ 1

การตัดสินใจที่เป็นเหตุผล ประกอบด้วย

1. Analytical

2. พิจารณา Economic Pay off

ต้นทุน กำไร

เวลา จริยธรรม

การยอมรับ

3.Step by step

4.breaking problems into smaller components

5.มีทางเลือก

การตัดสินใจและแก้ปัญหาขึ้นอยู่กับชนิดปัญหา ได้แก่

1. ความยากและง่าย ความยากหมายถึงผลกระทบของปัญหาที่มีมาก

2. ความสมบูรณ์ของข้อมูลในปัญหา

2.1 Well-structure มีการเก็บข้อมูลที่ดี

2.2 Ill-structure

3. การคาดการณ์ของผลที่จะเกิดได้

ปัญหาที่คาดการณ์ได้สมบูรณ์

ปัญหาที่คาดการณ์ได้บ้าง

ปัญหาที่คาดการณ์ไม่ได้เลย

4.ระยะเวลาเกิดของปัญหา

ปัญหาที่เกิดบ่อย ต้องบันทึกไว้ทำเป็นแนวปฏิบัติ นโยบาย

ปัญหาที่เกิดนานๆครั้ง

ปัญหาวิกฤติ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก

การตัดสินใจไม่ได้ใช้เหตุผลเท่านั้น ต้องศึกษาการตัดสินใจของคนอื่นแล้วนำมาใช้

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/628017

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 27 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2560

https://youtu.be/g0dkhclgGpE

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: กิจกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์..จากห้องเรียนผู้นำที่คณะพยาบาลศาสตร์

ม.อ. ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

#โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่1

#PSUNurse1



หมายเลขบันทึก: 628448เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2017 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผศ.ดร.สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

ในช่วงวันที่ 18-20 พ.ค.นี้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการตลาดซึ่งบุคลากรในมหาวิทยาลัยจะต้องเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน หรือการบริการวิชาการแก่สังคม โดยต้องนำแนวคิดของ Value added มาใช้ด้วย

เนื้อหาที่ประทับใจคือ การได้เรียนรู้ทบทวนเกี่ยวกับ 7Q: EQ, IQ, CQ, MQ, PQ, AQ, SQ

นอกจาก Intelligence Quotient ...ความฉลาดทางสติปัญญาแล้ว จะต้องให้ความสำคัญและพัฒนา Emotional Q, Creativity Q, Moral Q, ด้วย

ที่สำคัญ AQ: Adversity Quotient...เป็นความฉลาดในการแก้ปัญหา ต้องมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวในการเผชิญปัญหาได้ดี และมีความพยายามเอาชนะอุปสรรค ความยากลำบาก ไม่ย่อท้อ

ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการทำงานและชีวิตโดยรวมได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท