เมื่อศวพถ.ต้องไปวิพากพ์งานของนักศึกษา สาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิต


"แผนที่จุดเสี่ยงการจมน้ำ และการช่วยเหลือ"(ตะโกน โยน ยื่น) โดยใช้เครื่องมือ แผนที่ชุมชน และใช้ แผนที่ชุมชน สร้างความเข้าใจ ให้คนในชุมชนรับรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นชาวบ้าน และ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พลเรือน(อปพร) หาจุดเสี่ยง แล้วปฏิบัติการลงหลักปักหมุด จุดเสี่ยง เมื่อท้องถิ่นทำเวทีประชาคม ก็ได้ไปให้ความรู้ร่วมในเวที


ศวพถ.(ศูนย์ ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น)เป็นการรวมตัวกันของคนในท้องถิ่น หลายภาคส่วน ทั้ง นัก

วิชาการสาธารณสุข นักการภารโรงสาธารณสุข ท้องถิ่น ท้องที่ อสม.และเครือข่าย 9 ด้าน โดยเฉพาะเครือข่ายผู้พิการ เข้ามาร่วม


คิด ร่วมทำ รวมโครงการ ร่วมทำงาน และร่วมรับผลประโยชน์ ในโภทย์ผลที่เกิดขึ้น ภายใต้หลักคิดการทำงาน แบบไตรภาคี มีรัฐ

ราษฎร์ และท้องถิ่น ของอาจารย์ วรพล หนูนุ่น

10 ปีผ่าน องค์กร ศวพถ.ที่ก่อตัวตั้งต้นทำงาน แตกหน่อก่อเกิด หยั่งราก ฝากใบ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานภาคสนาม งาน

วิชาการ ศซพถ.เป็นองค์กรที่ไม่มีแหล่งงบประมาณจากองค์กรหรือหน่วบงานมาสนับสนุน ใช้โครงสร้าง กลไกเชิงความสัมพันธ์

ขับเคลื่อน หมุนเกลียวสัมพันธ์ ใช้กิจกรรม สัญจรนอนคา เป็นเครื่องมือกผ่านกิจกรรม การทำให้ดู และฝึกประสบการณ์ ยึดโยง

หลอมรวมการทำงาน ณ.วันนี้ เมื่อมีงานการประชุม วิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชา

สาธารณสุขชุมชน คนศวพถ.ซึ่งมีประสบการณ์ ในเรื่องชุมชน จึงได้รับเชิญมาเรียนรู้ และวิพากพ์งานของนักศึกษา ในการนำเสนอ

ผลงานของนักศึกษามีผลงานนำเสนอ 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับครอลครัว และระดับชุมชน


ผู้เขียนโดนใจผลงานที่ชื่อ "แผนที่จุดเสี่ยงการจมน้ำ และการช่วยเหลือ"(ตะโกน โยน ยื่น) โดยใช้เครื่องมือ แผนที่ชุมชน และใช้

แผนที่ชุมชน สร้างความเข้าใจ ให้คนในชุมชนรับรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นชาวบ้าน และ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย

พลเรือน(อปพร) หาจุดเสี่ยง แล้วปฏิบัติการลงหลักปักหมุด จุดเสี่ยง เมื่อท้องถิ่นทำเวทีประชาคม ก็ได้ไปให้ความรู้ร่วมในเวที

ของท้องถิ่น ซึ่งหากมองต่อยอดงานชิ้นนี้ เวทีประชาคม ที่นักศ฿กษาได้ไปให้ความรู้การช่วยเหลือคนจมนำ หากให้เครื่องมือ ของ


สช.มาจับก็ต่อยอดไปเป็น นโยบายสาธารณแบบมีส่วนร่วม ในการป้องกันและช่วยเหลือการจมน้ำของคนในชุมชนท้องถิ่นนี้.....แม้

จะเป็นเวลาสั้นๆ ในการฝึกประสบการณ์สาธารณสุขของนักศึกษา แต่ทว่า โครงการกิจกรรมที่ นักษาศึกษาได้ทำ สร้างผลกระทบ

ให้คนในชุมชนตระหนักในการเสียชีวิตจากการจมน้ำและจะนำไปสู่นโนยบายสาธารณะของท้องถิ่น ต่อไป.....ขอให้ติดตามลงพื้นที่ไปทำต่อ....




ผู้นำทางความคิด ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยน ในการทำงาน สุขภาพ อาจารย์ วรพล หนูนุ่น

หมายเลขบันทึก: 628294เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017 03:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2017 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีโอกาสเรียนเชิญอาจารย์ขจิต มาเสวนากับาว ศวพถ จะยินดียิ่งนัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท