อำนาจของสินบน


อำนาจของสินบน

ดร. ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นม.เขต 4

การให้อามิสสิ่งของ นับว่าเป็นเครื่องผูกจิตผูกใจของคนผู้รับและรวมทั้งคนผู้ให้ที่จะได้รับสิ่งดีๆ
กลับมา เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนผู้ถูกให้และคนทั่วไป ดังนั้น ปราชญ์ท่านจึงกล่าวไว้ว่าการที่

เราจะรับสิ่งของจากใครพึงระลึกเสมอว่า สิ่งที่เขาให้เรานั้น เราต้อง

แยกแยะให้ได้ว่า เป็นการให้เพื่อส่วนตนหรือการให้เพื่อส่วนรวมหรือให้เพื่อประสงค์อะไร เพราะบางครั้ง
ด้วยอำนาจอามิสสินบนแม้จะไม่มากแต่ก็อาจจะทำให้เสียความยุติธรรมไปได้ ดังมีนิทานปรัมปรามาสาธกในเรื่องนี้ ดังนี้

สมัยที่คนไทยเราอพยพเข้ามาก่อตั้งชาติไทยใหม่ ๆ ซึ่งอพยพมาจากเขาอัลไต ประเทศจีน
และในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทยด้วยเหมือนกันเพราะ

แผ่นดินที่แห่งนี้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ดังคำที่ว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว”

คนไทยเรามักจะยึดอาชีพทำนาทำไร่ ส่วนคนจีน มักจะชอบทำมาค้าขาย รวมทั้งค้าขายถ้วยชามสังคโลก
และขณะเดียวกันก็ตกเบ็ดหาปลากินไปด้วย เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร

ตี๋ แลทิดมี บ้านอยู่ใกล้กัน ตี๋และทิดมี ชอบตกเบ็ดหาปลาเป็นอาชีพ

วันหนึ่ง ทิดมีเห็นตี๋ได้ปลามาเยอะมาก ก็นึกโลภอยากได้ จึงวางแผนขโมยปลาจากเบ็ดของตี๋

เวลาทิดมีขโมยปลาได้แต่ละครั้ง ทิดมีก็จะนำปลาที่ได้จากเบ็ดของตี๋ไปแขวนไว้ที่บ้านผู้ใหญ่บ้านทุกครั้งด้วย

ต่อมา ตี๋แปลกใจว่าทำไม่ปลาจึงไม่กินเบ็ด เพราะแต่ก่อนเคยได้ปลาเยอะมาก แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นปลากินเบ็ดเลยจึงแปลกใจ

แกคิดว่าคงจะมีคนมาขโมยปลาจากเบ็ดเราแน่ ๆ จึงวางแผนแอบซุ่มดูเพื่อจับขโมยให้ได้ และก็เจอทิดมีกำลังขโมยปลาที่เบ็ด

จริงๆ ตี๋จึงไปฟ้องผู้ใหญ่บ้าน

ตี๋ : ผู้ใหญ่ครับ ทิดมีขโมยปลาที่ผมใส่เบ็ดไว้ครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : ว่าอย่างไรทิดมี เองไปขโมยปลาของตี๋จริงหรือ ?

ทิดมี : นิ่ง... สักครู่ก็พูดว่า “คนละครึ่ง”

ผู้ใหญ่บ้านนั่งนึกสักครู่ก็พูดว่า “เอาละเมื่อไม่มีพยานแน่ชัด

ก็เอาไว้ก่อนคราวหน้าค่อยว่ากันใหม่เมื่อจับได้จริง ๆ”

ทิดมีโมโหตี๋ที่ไปฟ้องผู้ใหญ่ จึงไปปาบ้านตี๋

ตี๋จึงมาฟ้องผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง

ตี๋ : ผู้ใหญ่ครับ ทิดมีปาบ้านผงครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : จริงไหมทิดมี ที่ตี๋บอกว่าเองไปปาบ้านเขา

ทิดมี : คนละครึ่ง …….

ผู้ใหญ่บ้าน : ก็นึกอยู่ สักครู่ก็หยิบหนังสือมาทำท่าอ่านและตัดสินคดีว่า

“ไทยปาบ้านเจ๊ก ไม่ถูกหัวเด็กไม่ผิดกฎหมาย”

ตี๋โมโหจึงไปปาบ้านทิดมีบ้าง ทิดมีจึงมาฟ้องผู้ใหญ่บ้าน

ทิดมี : ผู้ใหญ่ครับ ตี๋ปาบ้านผมครับ

ผู้ใหญ่บ้าน : ว่าอย่างไรตี๋ เองไปปาบ้านทิดมีใช่ไหม ?

ตี๋ : “ใช่ครับ แต่ก็ไม่ถูกหัวใครครับ”

ผู้ใหญ่บ้าน : ทำเป็นหยิบหนังสือกฎหมายขึ้นมาและตัดสินว่า

“เจ๊กปาบ้านไทย ไม่ถูกหัวใคร แต่ผีเรือนตกใจ ปรับห้าสิบบาท”

ตี๋ : ไอ้หยา......ซวยจริงๆ………….

…………………………………………………..

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ถ้าผู้ปกครองคน ตกอยู่ในอำนาจของอามิสสินบน

อาจจะทำเรื่องชั่วร้ายกลับกลายเป็นดีก็ได้

ดังนั้น พุทธองค์จึงสอนไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของ

อามิสสินบน และยังไม่ให้ตกอยู่ใน

อำนาจอคติ 4 ด้วย คือ

ลำเอียงเพราะรักหรือชอบพอกัน

ลำเอียงเพราะกลัวว่าเขามีอิทธิพล

ลำเอียงเพราะโกรธหรือมีความฆาตพยาบาทกัน

ลำเอียงเพราะหลง คือ หลงงมงาย หลงใหลไปกับสิ่งนั้น

เพราะถ้าตกอยู่ในอำนาจอคติ 4 นี้แล้ว จะทำให้การทำงานเสีย

หลักการ และทำให้ขาดศรัทธาความเชื่อมั่นจากผู้ใต้บังคับบัญชา

และประชาชนทั่วไปด้วย ดังนั้น ผู้เป็นใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่ปกครอง

คน ควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้จิตใจหลงอยากได้สิ่งของคนอื่น…..



คำสำคัญ (Tags): #สินบน#อำนาจ
หมายเลขบันทึก: 626563เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2017 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2017 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่าน..จบ..เลยรู้ว่า...มิน่าเล่า...เราจึงเป็นเช่นนี้เอง..."..ตีหัวหมา ด่าแม่เจ้ก"...5555

สงสัยว่าจะคนละเรื่อง..ล้อเล่น..ห้ามโกธร..อิอิ...(ยาย..เอง..จ้าาา..ขออภัย)...


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท