ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว สามพราน (ครั้งที่ 1)


"ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว สามพราน"

ผู้นำชุมชนชื่อ นางประหยัด ปานเจริญ

ประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว สามพราน

วันที่ 22 มีนาคม 2560 เวลา 12.00 น. ได้เดินทางไปศึกษาศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว สามพราน

ประวัติความเป็นมา

บ้านหัวอ่าว มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ มีน้ำท่าสมบูรณ์ เพราะมี "คลองจินดา" และ "คลองบางช้าง" ไหลผ่าน จึงทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิดได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันชาวบ้านมีรายได้หลักจากการทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ และสวนผลไม้ ประเภท ฝรั่ง ชมพู่ ลำไย มะม่วง มะพร้าว ฯลฯ ในอดีตชาวบ้านมีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง ดินเสื่อมสภาพ การทำงานสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานานๆ ทำให้ร่างกายสะสมสารเคมีเกิดอาการเจ็บป่วยในที่สุด ปี พ.ศ. 2547 กลุ่มสตรีและกลุ่มเกษตรกรชาวสวนบ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง ได้ร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศทางธรรมชาติให้กับสังคม และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี และเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยเลิกใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และหันมาผลิตปุ๋ยชีวภาพ สารชีวภาพแทน ทำให้ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น ปัจจุบันสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อกลุ่ม "เครือข่ายเกษตรอินทรีย์กลุ่มบางช้าง" พวกเขาปลูกพืชผักไม้ผลโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งผลผลิต ปล่อยให้พืชผักผลไม้เติบโตตามธรรมชาติ จึงมีรสชาติอร่อย ปลอดภัยต่อการบริโภค ขายดิบขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป
ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอสามพรานได้ถูกขยายผล และต่อยอดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมูลนิธิสังคมสุขใจ ที่เข้ามาพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอินทรีย์ภายใต้ชื่อ โครงการ "สามพรานโมเดล" โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิตผักผลไม้อินทรีย์ พร้อมรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำผลผลิตอินทรีย์และผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายตรงถึงมือผู้ซื้อ ที่ "ตลาดสุขใจ" สวนสามพราน โดยเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นคงทางอาชีพและมีรายได้มากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้ว่า ในอดีตหมู่บ้านนี้เป็นคลองมีน้ำไหลผ่าน และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะช้างป่าโขลงใหญ่ได้ลุยป่าและเดินเหยียบย่ำเพื่อหาอาหารกินในพื้นที่แห่งนี้เป็นประจำ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นเวิ้งกว้างใหญ่ ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า "บ้านหัวอ่าว" ขณะเดียวกันการเดินทางไปมาของช้างป่าก็ทำให้เกิดเป็นลำคลอง จึงถูกเรียกขานว่า "คลองบางช้าง" จนถึงทุกวันนี้



หมายเลขบันทึก: 626556เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2017 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2017 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท