ประวัติศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย


ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย


( นาย สุธรรม จันท์อ่อน )

ประวัติส่วนตัว

นาย สุธรรม จันทร์อ่อน อายุ 57 ปี

เลขประจำตัวประชาชน 3-7302-00007-88-1

อาชีพ เกษตรกรรม ( แบบอินทรีย์ ) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 54 หมู่ 10 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73000

เบอร์โทรศัพท์ 081-3845253

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย อ.เมือง จ.นครปฐม
  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ที่ โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม อ.เมือง จ.นครปฐม
  • จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
  • จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ กศน.อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม
  • จบปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ศึกษาปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมโท ที่วัดปลักไม้ลาย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

สถานะภาพครอบครัว

สมรสกับนาง ประยงค์ จันทร์อ่อน มีบุตร-ธิดา จำนวน 3 คน ชาย 2 คน หญิง 1 คน

ด้านสังคม

  • เป็นสมาชิก อบต. ปี พ.ศ. 2540-2544
  • เป็นผู้ใหญ่บ้าน ปี พ.ศ. 2545-2550
  • เป็นผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  • เป็นปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดนครปฐม
  • เป็นเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ สาขาบัญชีฟาร์มและภูมิปัญญาดีเด่นระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
  • เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา กศน.อำเภอกำแพงแสน
  • เป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มสธ. ม.ศิลปากร ม.ราชภัฏ ม.เกษตรและสถาบันทางการศึกษาในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ

หลักคิดในการประกอบอาชีพการเกษตร

จากการที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร คือดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พอประมาณ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ จนเป็นที่ยอมรับจากญาติพี่น้อง บุคคลทั่วไปและคนในชุมชน ได้นำเป็นแบบอย่างในการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และนำความรู้ที่ได้นำไปปรับให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่ของตนเอง

ประวัติความเป็นมาศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

จุดเริ่มต้นจากการที่มีปัญหาในชุมชน ปัญหาครอบครัวและปัญหาหนี้สิน ส่วนใหญ่ในชุมชนและในครอบครัวมีภาระหนี้สินจากการทำเกษตรในระยะยาวและโอกาสที่จะใช้หนี้สินหลุดยาก เพราะว่าชุมชนมีพื้นที่ดินเสื่อมโทรมปลูกอะไรก็ได้ผลผลิตน้อยลง แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นจึงเกิดเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างไปไม่รอด จึงได้กลับมาคิดหรือวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาอยู่ตรงไหน ก็ปรากฏว่าปัญหาอยู่ที่เราทำเกษตรแบบผิดวิธีและแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบที่เราเข้าใจเราเข้าใจแค่ผิวเผิน พอนำมาปฏิบัติจริงปรากฏว่าไม่ได้ผล แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เราเข้าใจ คือ กินน้อยใช้น้อยแบบพอมีพอกินทำแค่พอมีพอกิน ก็เลยคิดว่าการอยู่แบบพอมีพอกิน คือ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจริงๆแล้วคือไม่ใช่ในความเป็นจริง แม้แต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านก็ไม่ได้ทำแบบพอมีพอกิน กินน้อยๆใช้น้อยๆซึ่งจริงแล้วก็ไม่ใช่ แต่ท่านทำเป็นระบบแบบกึ่งธุรกิจหรือเรียกว่าธุรกิจก็ได้

ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึง หมายถึง การทำเกษตรที่คิดถึงต้นทุน คิดถึงกำไร พอไปเห็นที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำที่สวนจิตรลดา ทำให้เริ่มเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้าใจคือการเข้าใจแค่ผิวเผินถ้าปฏิบัติแบบที่เข้าใจไปไม่รอดแน่ การปฏิบัติแบบกินน้อยๆใช้น้อยๆ ออมก็ออมแล้ว อดก็อดแล้ว ปลูกทุกอย่างที่กินก็แล้วจริงๆแล้วไม่ใช้ การปฏิบัติแบบนี้คือการปฏิบัติแบบตัวคนเดียวถ้าเป็นครอบครัวต้องเปลี่ยนแนวคิด คำว่า เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ คำว่า เศรษฐศาสตร์ + กิจกรรม + พอเพียง คือการคำนึงถึงการบริโภค ความต้องการของผู้บริโภค คำนึงถึงสามารถในการผลิต เท่ากับคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเข้าใจคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง จึงกลับมาเริ่มทำใหม่และประสบความสำเร็จมีกินมีใช้มีเงินเหลือใช้หนี้ได้หนี้สินเริ่มหมดจึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มคน มีความเข้าใจว่าการทำแนวนี้ช่วยปลดหนี้ได้สามารถมีเงินเหลือก็เลยมีคนมาเรียนรู้ ซึ่งตอนนั้นเขาเรียกกันว่า “ โรงเรียนเกษตรกร ” ซึ่งก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538-2539 ได้ทำมานานประมาณเกือบ 10 ปี แล้วต่อมาปี พ.ศ.2549 ได้เปลี่ยนมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ เนื่องจากว่าวันที่เปลี่ยนจากโรงเรียนเกษตรกรมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ ปัญหาก็คือเกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้มีจำนวนเยอะและต่อเนื่องทุกวัน จึงทำให้ไม่มีเวลาในการปฏิบัติกันในแปลง เวลาที่ทำการเกษตรน้อยลงเลยจัดทำให้มีการอบรมเป็นคอร์ด ก็เลยเป็นที่มาของศูนย์การเรียนรู้ ใครที่ต้องการเรียนรู้ต้องสมัครเรียนรู้เป็นคอร์ดๆเนื่องจากว่าทางศูนย์การเรียนรู้ไม่มีงบประมาณสนับสนุนจึงมีการจัดเรียนกันเพียงแค่ครึ่งวันใช้เวลาในการอบรม 7 วันจึงจะจบคอร์ด จากนั้นต่อมาปี พ.ศ.2550 ได้มีงบประมาณจากกระทรวงเกษตรก็เลยเปลี่ยนมาเป็นอบรมคอร์ดละ 4 วันเพราะสามารถอบรมเต็มวันได้

ศูนย์การเรียนรู้นี้จะมีวิทยากรเป็นคนในชุมชนที่มาเรียนรู้แล้วไปปฏิบัติประสบความสำเร็จจริง จึงได้กลับมาเผยแพร่และส่งต่อความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ แต่ละคนมีความรู้ไม่เหมือนกันบางคนมีความรู้เรื่องดินก็มาเป็นวิทยากรเรื่องดิน บางคนมีความรู้เรื่องพืช ผักและผลไม้ก็มาเป็นวิทยากรด้านพืช ผักและผลไม้และบางคนรู้เรื่องน้ำหมักปุ๋ยหมักก็มาเป็นวิทยากรในเรื่องน้ำหมักปุ๋ยหมัก ปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้มีการทำนา การเลี้ยงไก่และเลี้ยงหมูแบบที่ไม่ใช้สารเคมีไม่ใช้อาหารจากตลาด ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ปลูกผักหลายๆชนิดในแปลงเดียวโดยการหว่านเมล็ดปนกัน นอกจากนี้ยังเลี้ยงแพะ เลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น

  • พ.ศ.2539 ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ วิธีการทำนาแบบไม่ใช้สารเคมีและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและแนวคิดหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จาก กศน.อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม
  • พ.ศ.2540 รวมกลุ่มและจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ ร่วมโครงการลดการใช้สารเคมีโดยมีหน่วยงานสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนและสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษโดยใช้ตราปลักไม้ลาย
  • พ.ศ.2542 เป็นจุดถ่ายทอดการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดนครปฐมและเริ่มปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน
  • พ.ศ.2546 นำเกษตรอินทรีย์มาใช้อย่างจริงจังและเต็มรูปแบบ ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดิน
  • พ.ศ. 2548 จัดตั้งเป็นจุดเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในรูปแบบโรงเรียนเกษตรกรร่วมกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสนและศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลทุ่งขวาง
  • พ.ศ. 2550 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ( เกษตรอินทรีย์ ) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาดินนครปฐม พัฒนาสังคมจังหวัดนครปฐม ธกส.จังหวัดนครปฐม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐมและกศน.อำเภอกำแพงแสน
  • พ.ศ. 2551 ขึ้นทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดนครปฐมละจัดตั้งศูนย์อบรมปราชญ์ชาวบ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครปฐม เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
  • พ.ศ. 2553-2554 ได้ทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังโดยได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐมและสำนักงานเกษตรอำเภอกำแพงแสนจบใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร
  • พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ได้พัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ให้เป็นโรงเรียนเกษตรอินทรีย์วิธีธรรมชาติสภาพศูนย์เรียนรู้

พื้นที่

มีพื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่ แบ่งเป็นบ่อเลี้ยงปลา แปลงหญ้า ประมาณ 10 ไร่ ส่วนอีก 7 ไร่ นั้นเป็นที่ปลูกบ้านที่พักอาศัยและปลูกหน่อไม้ฝรั่ง พริก มะเขือ กล้วยน้ำว้า ไผ่ ไว้รอบๆบริเวณ

หมายเลขบันทึก: 625326เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2017 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2017 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท