สรุปการสัมมนาคณะทำงานการประกันคุณภาพ ทปอ. “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA” ของสถาบันการศึกษานำร่อง ในการนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA มาใช้ใน ปีการศึกษา 2557-2558


สรุปการสัมมนาคณะทำงานการประกันคุณภาพ ทปอ.

“การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA”

ของสถาบันการศึกษานำร่อง ในการนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA

มาใช้ใน ปีการศึกษา 2557-2558

ระหว่างวันที่ 4-6 มกราคม 2560

ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยวรรณ นิลทยา

รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

การสัมมนาคณะทำงานการประกันคุณภาพ ทปอ.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบ CUPT QA ของ ทปอ.ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยคณะทำงาน รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้

  • สรุปการดำเนินงานของคณะกรรมการการประกันคุณภาพ ทปอ.ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ปีการศึกษา 2558 โดยประธานคณะกรรมการประกันคุณภาพ ทปอ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ ดังนี้
    • สถานการณ์การอุดมศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการที่นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาลดลง สวนทางการการเพิ่มของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ผู้ใช้บัณฑิตมองว่าการผลิตบัณฑิตไม่เป็นไปตามความต้องการ การเฟื่องฟูของแนวคิด startup (ธุรกิจ Startup คือธุรกิจที่ถูกออกแบบมาให้เติบโตอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่แรก ตั้งแต่ทีมงาน โครงสร้างธุรกิจ ไปจนถึงวิธีการใช้เงิน และการทำตลาด โดยไม่ได้เกี่ยวข้องว่าจะต้องเป็นธุรกิจที่เป็น “ธุรกิจเทคโนโลยี” หรือได้รับการลงทุน หรือ “Venture Capital” หรือมีการ “Exit” ผ่านการควบกิจการหรือการเข้าตลาดหุ้นแต่อย่างใด)
    • วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ ทปอ.
      • คุ้มครองผู้บริโภค ประกันความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน
      • พัฒนากระบวนการทำงานของสถาบันการศึกษา บรรลุวิสัยทัศน์ของแต่ละสถาบัน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้ประเทศชาติสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สามารถแข่งขันระดับชาติ นานาชาติ
      • เกณฑ์ประกันต้องบูรณาการ ไม่เป็นภาระอันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
      • พัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่ใช้ข้อมูลในการดำเนินงาน
    • สรุปผลการดำเนินการ ปี 2557-2559
      • การจัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ระดับคณะและระดับสถาบันตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบ CUPT QA ของ ทปอ.ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหนึ่งเดียวกับการดำเนินงานขององค์กรที่มีอยู่ ตลอดจนสอดคล้องกับเกณฑ์ระดับหลักสูตรและตัวบ่งชี้ระดับคณะและสถาบันที่ใช้เป็นชุดเดียวกัน ส่งผลให้การประกันคุณภาพและการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน
      • การพัฒนาตัวบ่งชี้ในระดับคณะ สถาบัน ตัวบ่งขี้บางตัวบูรณาการกับในระดับหลีกสูตรโดยใช้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับเกณฑ์ AUN QA ระดับหลักสูตร ตังบ่งชี้บางตัวเป็นประโยชน์ในการบริหารงาน ตัวบ่งชี้บางตัวสามารถเป็นค่าเฉลี่ยในกลุ่ม ทปอ.และสามารถใช้ benchmarking ตัวบ่งชี้เลือกบางตัวสามารถตอบเกณฑ์การจัดอันดับ(ranking)ระดับสากลได้
      • ผู้บริหารระดับสูงและผู้เข้ารับการอบรม เกิดการตื่นตัวในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เป็น outcome base education (OBE) ตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตร การออกแบบโครงสร้างหลักสูตร การเลือกกระบวนการเรียนการสอน เทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21และการประเมินผล จัดเป็นการวางรากฐานที่มุ่งสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

1.3.4ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความเสียสละของวิทยากร ผู้ประเมิน ที่เข้ามาพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ซึ่งมาจากความหลากหลายสถาบัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายการทำงานในทุกระดับ ผลประเมินนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพได้ตรงประเด็นเพื่อยกระดับการบริหารหลักสูตร คณะ สถาบันตามเจตนารมณ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2.การจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ใช้ CUPT QA :ข้อดี ข้อจำกัด และการเรียนรู้ที่ได้รับ

โดย ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ CUPT QA ในปีการศึกษา 2557

2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา

2.2 ดร.นันท์ ถาวรังกูร รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี

1) การพัฒนาคน การพัฒนาระบบและกลไก วางระบบ ผู้บริหาร ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมิน ซึ่งเป็นการรวมใจของคนทำงานประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้บริหาร

2) ความเป็นเลิศท่ามกลางความหลากหลาย ความเป็นสากลและการพัฒนาตนเอง

3) มีเพื่อนร่วมทางใน ทปอ.ทำให้ฝ่าฟันอุปสรรค

4) จังหวะเวลาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ

5) แต่ละสถาบันสามารถเลือกหรือพัฒนาระบบ/กลไกของตนได้

3.การจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ใช้ CUPT QA :ข้อดี ข้อจำกัด และการเรียนรู้ที่ได้รับโดย ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ CUPT QA ในปีการศึกษา 2558

3.1 อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยทักษิณ

3.2 รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี รอดจากภัย ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัย

ข้อดี

ข้อจำกัด

มหาวิทยาลัยทักษิณ

1.การพัฒนาคุณภาพตามบริบทของสถาบันตามที่ระบุใน OP

2.ประเมินระบบ กระบวนการ QA Practice ทั้งระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน

3.เป็นการAssessment แทน Audit เดิม

4.ความเชื่อมโยงของระบบ ความสอดคล้องของเกณฑ์ ตั้งแต่ระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน

5.ทราบสถานภาพการดำเนินงานเทียบกับเกณฑ์ 7 ระดับ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

6.ช่วยสร้างความเข้าใจให้บุคลากรตามเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็น criteria รองรับการใช้ EdPEx ในอนาคต

1.CUPT Core Indicators ยังมีลักษณะเป็นตัวบ่งชี้ สกอ.

และ สมศ.

2.ระบบยังไม่มุ่งเนินผลลัพธ์

3.ความเข้าใจเกณฑ์ของผู้ที่เกฃี่ยวข้อง

- อาจารย์บุคลากรที่รับผิดชอบ

-ผู้ประเมิน

มหาวิทยาลัยบูรพา

1.ระดับหลักสูตร

Criteria , Outcome ชัดเจน เกิดผลดีต่อนิสิต /บุคลากร/คณาจารย์

ระดับคณะ

รายงานผลการประเมินสะท้อนให้เห็นการปฏิบัติงานของคณะในภาพจริง สามารถนำไปวางแผนการพัฒนาการทำงานในคณะให้เป็นระบบมุ่งสู่เป้าหมายของคณะได้

ระดับสถาบัน

ตัวบ่งชี้เลือก S4 การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาสั้นในการดำเนินการ

  • การอบรมผู้ประเมิน
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจในระดับหลักสูตร
  • การส่งเล่ม SAR ให้คณะกรรมการ

การเขียน SAR

ต้องใช้ข้อมูลประกอบและเขียนเชิงวิเคราะห์

3.การนำผลการสัมมนามาพัฒนามหาวิทยาลัย

1.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการประกันคุณภาพ ปีการศึกษา 2558

2.จัดประชุมกำหนดค่าเป้าหมายการประกันคุณภาพ ปีการศึกษา 2559

3.จัดพิธีลงนามค่าเป้าหมายการประกันคุณภาพระหว่างอธิการบดี ผู้บริหารระดับคณะ วิทยาลัย สถาบัน ผู้อำนวยการกอง

หมายเลขบันทึก: 623342เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท