​การบริหารระบบอุดมศึกษา เพื่อประเทศไทย ๔.๐



ระบบอุดมศึกษาไทย เป็นระบบที่ล้าหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารระบบอุดมศึกษาล้าหลังอย่างยิ่ง ต่อการที่จะเข้าไปหนุนการพัฒนาประเทศ สู่ประเทศไทย ๔.๐ และล้าหลังไม่ทันการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาส่วนอื่นๆ ของสังคม


กล่าวใหม่ว่า ระบบอุดมศึกษาไทยต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบ disruptive change แต่กลไกการจัดการระบบ ที่มีอยู่ คือ กกอ. / สกอ. ไม่ได้ทำงาน Governance for Change แต่ทำงาน regulation เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่เป็นแบบ one-size-fits-all กฎระเบียบเดียวบังคับใช้ทุกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบราชการไปแล้ว ก็ยังตามไปบังคับ หากมีโอกาสทำได้ วิธีทำงานแบบนี้เป็นการปิดกั้นความริเริ่มสร้างสรรค์


ผมเชื่อในหลักการ governance as leadership และเชื่อใน empowerment leadership ไม่เชื่อใน command & control leadership เพราะผมเชื่อว่าประเทศไทยในอนาคตดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ


ประเทศไทยต้องการอุดมศึกษาที่เปลี่ยนไปจากปัจจุบันอย่างมากมาย ในลักษณะ disruptive change


วิจารณ์ พานิช

๑๘ ม.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 622556เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2017 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2017 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ก่อนมีทบวง มหาวิทยาลัยจะทำอะไรก็ได้ ไม่มีข้อบังคับประหลาดๆ ในส่วนมหาวิทยาลัยเองก็ยังยึดหลักราชการแม้จะออกนอกระบบ เดิมมหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นกรม คณะเป็นกอง ภาควิชาเป็น แผนก จึงมีระบบเอกสารมากมาย เราต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมาก เพื่อเสนอเอกสารขึ้นและลง เราเอารูปแบบของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ แต่ไม่เอาเนื้อหา ในระดับล่างภาควิชามีความสำคัญที่สุดในด้านวิชาการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท