จูงควาย....


มีโอกาสได้ไปเยี่ยมบ้านของ"พ่อทัศน์"เมื่อปีใหม่ คราวนี้ได้ข้อคิดอะไรกลับมาต่อยอดกับการใช้ชีวิตมากมายเลยล่ะครับ...เรื่องราวที่บันทึกในวันนี้มิได้มุ่งหวังในการส่งเสริมการเสพยาเสพติดประเภท"กัญชา"แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการนำเอาภาพและวิธีการโดยบทบาทสมมุติ มาแสดงเอาไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้นนะครับ....ขอขอบคุณบ้านที่อบอวลไปด้วยความสุขหลังนี้ ขอบคุณ G2K ที่เป็นสื่อกลางในการส่งต่อความสุขและสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวผู้เขียนและผู้อ่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบันทึกนี้ด้วยนะครับ....

-"จูงควายไปหาหนองน้ำ ควายจะกินไม่กิน ชั่งหัวมัน"นี่คือคำสอนของ"พ่อ"ที่เขียนติดเอาไว้ตรงข้างฝาผนังบ้าน พร้อมกับคำสอนต่างๆ ที่ส่งผ่านออกมาทางภาษาที่สามารถอ่านได้และภาพที่บอกเล่าเรื่องราวและสอดแทรกคำสอนต่าง ๆ เอาไว้มากมายเลยล่ะครับ...ว่าแต่ขึ้นต้นบันทึกด้วย"คำสอนดีๆ "ที่ตัวผมเองก็เพิ่งจะเคยได้อ่านและรับรู้ถึงความหมายแบบนี้แล้ว ที่แห่งนี้คือที่ไหน? แล้วใครล่ะคือ"พ่อ"คนที่สอนสิ่งดีๆ เหล่านี้เอาไว้ พร้อมแล้วตามผม(ควาย)ตัวนี้ไปตามติดแง่คิดดี ๆ ของ"พ่อ"กับบันทึกนี้"จูงควาย!!!!"คร้าบ....



1.คำสอนนี้ถูกบรรจงแต่งแต้มขึ้นมาด้วยความตั้งใจอันดีงามของผู้ชายคนหนึ่งครับ...แม้ว่าจะเป็นคำสอนเพียงสั้นๆ แต่เมื่อผมได้อ่านและรับฟังถึงความหมายแล้ว ก็ทำให้ตัวผมตื้นตันใจกับคำสอนข้อนี้เป็นอย่างมากทีเดียวเลยล่ะครับ งานนี้ก็เลยอดไม่ได้ที่วันนี้จะขอเป็น"ควายหนุ่ม"ที่ถูกจูงไปหาหนองน้ำกันสักหน่อย ก็คงจะดีไม่น้อยใช่ไหมล่ะครับ...555


2.และนี่ก็คือ"พ่อทัศน์"พ่อของเพื่อนผมเองครับ ด้วยเมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาตัวผมเองได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน"พ่อทัศน์"ณ บ้าน......... ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ครับ ความจริงหากผู้อ่านท่านใดได้ติดตามอ่านบันทึกที่ผ่านมาของผมก็คงจะพอคุ้นหน้าคุ้นตากับ"พ่อทัศน์"กันมาบ้างแล้ว หากท่านใดต้องการที่จะทำความรู้จักกับ"พ่อทัศน์"หรือรื้อฟื้นความหลังครั้งเก่าก่อน ก็สามารถติดตามอ่านได้จากบันทึกนี้ครับ โรงเรียนชาวนาแบบ"กันตรึม" และ น้องต๋อง"ธัญพร" เอาเป็นว่าเมื่อทำความรู้จักกับ"พ่อทัศน์"จากบันทึกที่ผ่านมาแล้ว ต่อไปก็ตามผมไปเยี่ยมเยียน"พ่อทัศน์"กันต่อ อ้อ...ขอบอกว่าตอนนี้"พ่อทัศน์"ได้ย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านหลังนี้เป็นการถาวรแล้วนะครับ...ยินดีๆ ๆ




3.ที่บ้านของ"พ่อทัศน์"ได้ถูกออกแบบมาอย่างลงตัว ทั้งนี้การออกแบบที่ผมกำลังบอกเล่าด้วยภาพอยู่นี้ เป็นการออกแบบตาม Life style ของผู้อาศัยครับ การได้เดินชมรอบ ๆ บ้านของ"พ่อทัศน์"ทำให้ตัวผมได้เห็นถึงความเป็นอยู่แบบพอเพียงและมีเรื่องราวต่างๆ ที่บอกเล่าเอาไว้อย่างมากมายเลยล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นของเก่าต่างๆ ที่บางคนอาจจะมองข้ามไป แต่สำหรับ"พ่อทัศน์"แล้ว สิ่งของต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาจัดวางเอาไว้ให้ผู้ไปเยือนได้สัมผัสด้วยตาพร้อมกับรับรู้ถึงความเป็นมาที่แฝงเอาไว้จากสิ่งของเหล่านั้นครับ และผมเชื่อว่าหากท่านใดได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียนบ้านของ"พ่อทัศน์"แล้วล่ะก็ ท่านจะต้อง"ยิ้มๆ ๆ"และพร้อมที่จะนั่งคุยกับ"พ่อทัศน์"ณ บริเวณลานข้างบ้าน โดยมี"กาต้มน้ำร้อนสำหรับชงชาหรือกาแฟ"ได้อย่างอบอุ่นใจ ดังเช่นเดียวกับผมเป็นแน่แท้ทีเดียวเชียวล่ะคร้าบ.....


4.ภาพนี้ 18+ นะครับ 5555 เพราะว่าสิ่งที่ท่านกำลังเห็นอยู่นี้เป็น"อุปกรณ์สำหรับการสูบกัญชา"ครับ ต้องขอบอกเอาไว้ก่อนว่า"พ่อทัศน์"เป็นผู้ "แสดงบทบาทสมมุติ" เท่านั้นนะครับ...เพราะว่าปัจจุบันนี้การ"สูบกัญชา"ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและไม่ควรที่จะเอามาเป็นตัวอย่าง แต่สิ่งที่"พ่อทัศน์"กำลังแสดงบทบาทสมมุติิอยู่นี้เพื่อให้ตัวผมเองได้เรียนรู้และนำมาส่งต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นของผู้คนในอดีต ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้มักจะมีให้เห็นตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ของเด็ก ๆและผู้ที่สนใจทั่วไปน่ะครับ...และถือว่าโชคยังดีที่ตัวผมเองได้เห็นและสัมผัสถึงอุปกรณ์แบบนี้อย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกด้วยล่ะครับ 5555


5.การได้มีโอกาสไปเยี่ยม"พ่อทัศน์"ถึงบ้านในคราวนี้ ทำให้ตัวผมเองคลายความคิดถึง"พ่อทัศน์"ไปได้มากทีเดียวครับ แม้ว่าที่ผ่านมาตัวผมเองได้รู้จักและอยู่กับ"พ่อทัศน์"บ้างเป็นบางครั้งที่"พ่อทัศน์"มาอยู่ที่อำเภอพรานกระต่ายแห่งนี้ แต่"คำสอน"ต่างๆ ที่พ่อทัศน์มักจะบอกเอาไว้มีมากมายเหลือเกินครับ และไม่ว่าจะถูกสอนด้วยคำพูดหรือการกระทำต่างๆ ตามที่"พ่อทัศน์"ได้บอกเอาไว้ ตัวผมเองก็จะนำมาปฏิบัติและสานต่อ ทั้งนี้ก็ไม่ได้เพื่อใคร ๆ แต่การกระทำทั้งหมดก็จะส่งผลให้กับตัวเราเองก่อนเสมอ..และคงจะเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้างของเราบ้าง..ผมเชื่อเช่นนั้นครับ"พ่อทัศน์"..

สำหรับวันนี้.....แม้ว่าจะเก็บเรื่องราวของ"พ่อทัศน์"เอาไว้นานเกือบเดือน แต่พอได้เขียนบันทึกเรื่องราวของ"พ่อทัศน์"ในวันนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ตัวผมยังคงได้รับก็คือ"ความอบอุ่นใจ"ขอบคุณที่"พ่อทัศน์"ช่วยจูงควายตัวนี้มาหา"หนองน้ำที่ใสสะอาดและเย็นใจที่สุด" ณ ที่นี่มาก ๆ นะครับ....

สวัสดีครับ

เพชรน้ำหนึ่ง

18/01/2560

หมายเลขบันทึก: 621730เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2017 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2017 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชอบจัง จูงควายไปหาหนองน้ำ ไม่กินก็ช่างควาย

มีนัยยะ ที่ซ้อนอยู่ให้คันหาครับ

  • "จูงควายไปหาหนองน้ำ ควายจะกินไม่กิน ชั่งหัวมัน" ได้ยินแล้วสะอึก หลายเรื่องที่รู้ว่าดี จะทำๆ แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่ได้ทำ ว่าจะๆ เท่านั้น..แพ้ใจตัวเองอยู่เรื่อย เออ! อย่างนี้ เราก็แค่ควายตัวหนึ่งเหมือนกัน ที่ไปจนถึงหนองน้ำแล้ว แต่ก็ไม่ยอมกิน(ฮา)
  • คล้ายๆเรื่องที่เคยฟัง พระพุทธเจ้าบอกว่า บัวเหล่าที่ไม่ยอมโผล่พ้นน้ำ หรือบางคนที่สอนไม่ได้จริงๆ ท่านบอกก็ให้เลิกสอนเสีย..ชั่งหัวมัน! อันเดียวกันเลยครับ(ฮา)
  • ดูแล้ว! ความเป็นศิลปินในตัวพ่อทัศน์ คงมีอยู่เยอะเลยนะครับ
  • ขอบคุณที่ไปแวะเยี่ยมเยือนอยู่เสมอๆเลยครับ..เพชรน้ำหนึ่ง

-สวัสดีครับท่าน พ.แจ่มจำรัส

-เป็นคำสอนทีดีมาก ๆเลยครับ

-ผมได้อ่านและได้ฟังความหมายจาก"พ่อทัศน์"แล้วรู้สึกประทับใจและต้องนำมาแบ่งปันผ่านบันทึกทันทีครับ 55

-มีนัยยะ ซ่อนอยู่ในคำสอนจริงๆ ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้นะครับ

-สวัสดีครับครูธนิตย์

-ตัวผมเองก็เปรียบได้เป็น"ควาย"ตัวหนึ่งเช่นกันครับ

-การได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านของ"พ่อทัศน์"คราวนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายเลยครับ

-ความเป็นศิลปินในตัวของ"พ่อทัศน์"มีมากมายเหลือเกินครับ

-หากมีโอกาสเหมาะๆ คงจะได้นำเอาเรื่องราวของ"พี่ทัศน์"มาเล่าต่อครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้นะครับ

ชอบใจข้อความครับ

แต่ชอบใจบ้านพ่อทัศน์ด้วย

จัดบ้่านน่าสนใจมาก

ขอบคุณมากๆครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-ใช่เลยครับบ้านของ"พ่อทัศน์"น่าสนใจมากๆ

-บ้านหลังเดียวแต่มีหลากหลายมุมมองครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมบ้านของ"พ่อทัศน์"นะครับ


บันทึกนี้มีอะไร ๆ น่าดูน่าชมนักเลยจ้าาา

โดยเฉพาะ " บทบาทสมมุติ ของพ่อทัศน์" ๕๕๕๕

เป้นกำลังใจให้คนทำงานจ้าาา

-สวัสดีครับพี่ครูมะเดื่อ

-บทบาทสมมุติของพ่อทัศน์นี่ทำให้ตัวผมได้รับรู้ถึงวิธีการที่ชัดเจนมากๆ ครับ 55

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้มากกๆ นะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท