813. "ความสุข 4.0"


บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

ช่วงปีใหม่นี้มีอะไรดีๆอยากเขียน ด้วยแรงบันดาลใจจากการได้ไปดูหนังเรื่อง The Great Wall หนังที่ค่อนข้างแฟนตาซี ...เป็นเรื่องราวลึกลับของกำแพงเมืองจีน เมื่อสองพันปีก่อน ที่ว่าด้วยเหตุผลว่าทำไมบรรพบุรุษคนจีนต้องสร้างกำแพงสูงใหญ่ และมีความยาวนับพันกิโลเมตร...ดูแล้วไม่น่าป้องกันคนนะ ที่สุดเรื่องราวก็เริ่มเปิดเผย ว่าจริงๆแล้วป้องกันสัตว์ประหลาดมากกว่า.. การป้องกันสำเร็จมาเรื่อย ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากกว่าตะวันตก ที่ยังเถื่อนอยู่ คนจีนคิดระเบิดได้แล้ว และเรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องฮือฮาในยุโรป เริ่มมีคนมาแสวงหาเทคโนโลยีนี้ เพื่อเอาไปสร้างความรำ่รวยให้ตนเอง ภาพตัดมาถึงทหารรับจ้างกลุ่มหนึ่งมีแมตต์ เดม่อนเป็นผู้นำ กลุ่มนี้ควบม้ามาจากยุโรปมาเมืองจีน

..เป้าหมายคือมาขโมยระเบิดกลับไปขาย สองคนเดินทางมาเจอป้อมแห่งหนึ่ง ทั้งหมดถูกจับ แต่บังเอิญป้อมถูกสัตว์ประหลาดบุก ทั้งหมดเลยถูกปล่อยมาช่วยรบ ฝีมือของสองคนนี้ต้องใจแม่ทัพ ที่สุดก็ได้รับความไว้วางใจมาช่วย .. แถมไปเจอกับชาวต่างชาติคนหนึ่ง ทั้งหมดมารวมทีมกันสามคน โดยขณะรบกับสัตว์ประหลาด ก็ทั้งหมดวางแผนที่จะเข้าไปในคลังอาวุธเพื่อขโมยระเบิด ... แต่เมื่อถึงเวลา พระเอกกลับไม่เอาด้วย พระเอกบอกว่าเขาไม่สามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป เขาอยากต่อสู้ เพราะการต่อสู้ครั้งนี้ทำให้เขารู้สึกว่าชีวิตมีความหมาย


ต้องย้อนกลับไปนิด ก่อนหน้านี้ แม่ทัพคนจีน เคยถามพระเอกว่าเขาสู้เพื่ออะไร เขาตอบแม่ทัพว่า เขาเป็นเด็กยากจน เริ่มต้นชีวิตในกองทัพด้วยการรับจ้างเก็บขยะ และก็เริ่มเติบโตมาเป็นเด็กรับใช้ เป็นพลทวน จนมากลายเป็นทหารรับจ้าง ทำเพื่อเงิน เพื่อความอยู่รอดเท่านั้น รบให้กับกองทัพที่จ้างเขา ตอนนี้รบมาให้กษัตริย์และอัศวินในยุโรปมาหลายประเทศแล้ว

นี่คือชีวิตที่ผ่านมา ตอนนี้อยู่ดีๆ เปลี่ยน ไม่อยากทำอย่างเดิม ไม่สนใจค่าจ้าง อยากสู้กับสัตว์ประหลาด ช่วยประเทศจีน เขารู้สึกดีกว่า...เพื่อนที่เหลือก็เงิบสิครับ ที่สุดก็แยกทางกันไป

พระเอกสู้ต่อ...ผลเป็นอย่างไรไปดูเอาเอง ไม่อยาก Spoil เรื่องนี้ตื่นเต้นครับ มันส์ดี ควรดูมาก

จุดหักมุมของเรื่องนี้อยู่ที่พระเอกเปลี่ยนความคิดจากเดิมสู้เพื่อตนเอง มาสู้เพื่อคนอื่น แล้วไอ้สู้เพื่อคนอื่นนี่ดูเสี่ยงตายกว่ามาก ดูไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ...แต่ทำไม ที่สำคัญ พอตัดสินใจได้แล้ว พระเอกหันมาทุ่มเทแรงกายแรงใจต่อสู้เคียงบ่าเคียงใหล่คนจีน เขาดูมีสมาธิ สามารถดึงสติปัญญาออกมาทำการณ์ใหญ่ได้ และสำเร็จด้วย ..ระหว่างต่อสู้แม้ทุกข์ยาก แต่กลับสบายใจดูมีความสุข ต่างจากฝ่ายที่หนีไปแต่แรก ดูมีความสุขตอนแรก แต่ไปทุกข์ตอนหลัง นี่จะอธิบายได้ด้วยอะไรกัน

ผมนึกไม่ออกนอกจากต้องแกะรอยที่ความสุขก่อน เพราะจุดเปลี่ยนของทั้งเรื่องคือตอนพระเอกเปลี่ยนมุมมองตนเอง

นี่อธิบายได้ด้วยทฤษฎีความสุข เอาที่เก่าแต่เก๋าก่อน นั่นคือทฤษฎีของอริสโตเติ้ล ที่คิดขึ้นช่วงเดียวกัน

อริสโตเติ้ลบอกว่าความสุขมนุษย์มีสองแบบ Hedonia และ Eudaimonia

Hedonia คือสุขแบบเน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ตนเอง ทำให้ตัวเองมีความสุข

Eudaimonia คือสุขจากการเป็นคนดี และทำสิ่งที่ดี นอกจากนี้ยังต้องพยายามแสวงหาและพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวตนให้งอกงามเติบโต

นักจิตวิทยาสมัยใหม่อาจารย์ Roy Baumeister ค้นพบว่าสุขแบบ Hedonic นี่คือการทำเพื่อตัวเอง เกิดความเห็นแก่ตัว เพราะเน้นที่การรับ (Take) ความสุขแบบนี้ทำง่าย แต่กลับทำให้ชีวิตหมดความหมาย รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ซึ่งตรงข้ามกับสุขแบบ Eudaimonia ที่เน้นการให้ (Give) จะทำให้ชีวิตมีความหมาย (Meaning) สุขแบบนี้ต้องลงทุน แรงใจ เวลาทำยาก ลำบาก เพราะมักเชื่อมโยงกับอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่า แต่กลับทำให้มีความสุขในระยะยาวมากกว่า

เห็นชัดว่าจุดเปลี่ยนของเรื่องคือพระเอกไม่อยากได้สุขแบบ Hedonia (Take) ที่ดูง่ายกว่า พระเอกเราโหยหาสุขแบบ Eudaimonia (Give) ที่ไปได้ยากมากกว่าต่างหาก เพราะทำให้ชีวิตมีความหมายมากกว่า (Meaning)

Eudaimonia คือการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย นั่นเอง แล้ววัดอย่างไร ยากครับ แต่มีสามปัจจัยที่พอบอกได้ว่าชีวิตขณะนั้นมีความหมายหรือไม่คือ

  1. ผู้นั้นมองว่าชีวิตของเขามีความสำคัญและมีคุณค่า เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

ข้อแรกนี้ผมว่า แมตต์มองว่าตัวเองสำคัญและมีคุณค่า เพราะสามารถผลักดันสัตว์ประหลาดออกไปได้ และได้รับความเชื่อถือจากทั้งกองทัพ ที่สำคัญเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือการปกป้องอารยธรรมจีนและโลกมนุษย์

2. ผู้นั้นเชื่อว่าชีวิตเขาค่อนข้างเข้าท่า (Make Senses)

หลังตัดสินใจแมตต์รู้แน่ว่าตอนนี้ชีวิตมันดีกว่าเมื่อก่อน รู้สึกได้เลย เขาพูดออกมาเองว่าตอนนี้เขารู้สึกมีความหมาย

3. เขารู้สึกว่าชีวิตนี้ถูกขับเคลื่อนไปด้วยจุดประสงค์ (Purpose) หรือรู้ว่าเกิดมาเพื่ออะไร

ตอนนี้รู้แล้วแล้วว่าต้องกู้โลก แทนที่จะมาหาสมบัติอย่างเดียว


แล้วมันจริงไหมว่าจะมีความสุขแบบยั่งยืนกว่า

ดูออกแล้วครับว่าแมตต์สุขแบบ Eudaimonia จริงๆ เขาก้าวข้าม Hedonia มาแล้ว แล้วก็มีความสุข เบ่งบานตอนจบ ตรงกับงานวิจัยเป๊ะที่อาจารย์ Veronika Huta และอาจารย์ Richard Ryan (2010) ทำงานวิจัยแบบง่าย ด้วยการแบ่งนักศึกษาออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ทำกิจกรรมอะไรก็ได้อย่างน้อยหนึ่งอย่างที่ทำให้ Hedonia เพิ่มขึ้น กลุ่มสองทำอะไรก็ได้หนึ่งอย่างที่ทำให้ Eudaimonia เพิ่มขึ้น ทั้งหมดใช้เวลา 10 วัน กิจกรมม Hedonia ยอกฮิตได้แก่การนอน เล่นเกมส์ ไป Shopping และการกินขนมหวาน ส่วนกิจกรรม Eudaimonia ยดฮิตได้แก่การให้อภัยคนอื่น การคิดถึงคุณค่าในชีวิตของตนเอง การอ่านหนังสือ การให้กำลังจคนอื่น... 10 วันวัดผลปรากฏว่าทั้ง Hednonia รายงานว่ามีความสุขมากกว่าเดิม ได้ประสบการณ์เชิงบวกหลังจบกิจกรรมในวันที่ 10 ส่วนกลุ่ม Eudaimonia บอกว่าชีวิตมีความหมายขึ้นทันที แต่ไม่ได้มีความสุขมากนัก แต่สามเดือนนักวิจัยไปวัดอีกรอบ ภาพออกมาคนละขั้ว เด็กที่ทำเรื่อง Eudaimonia กลับบอกว่าชีวิตตัวเองได้รับการเติมเต็มมากกว่า มีแรงบันดาลใจมากกว่า ที่สำคัญรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่ย่ิงใหญ่กว่า...

ดูจากงานวิจัยของอาจารย์สองท่านนี้แมตต์มาถูกทาง เห็นชัดว่าในหนังเขาก็ Happy จริงๆ ขณะที่เพื่อนที่หนีไปกลับมีชีวิตที่แย่ลง

ผมมองว่า Eudaimonia ไม่ทำให้มีความสุขเท่านั้น แต่ยังทำให้ประสบความสำเร็จด้วย เหมือนพระเอกในเรื่อง

เรื่องนี้สนับสนุนด้วยปรากฏการณ์จริงที่ผมเจอมา ทั้งอ่านมาและที่เจอมาจริง

เอาที่อ่านมา ผมอ่านมาจากหนังสือ The Secret ฉบับนานมาแล้ว

มีเด็กคนหนึ่ง แม่กลุ้มใจมากไม่เรียนหนังสือ การเรียนแย่มากแถมติดเกมส์ ...(พฤติกรรมมาทาง Hedonia ชัดๆ สุข แต่ชีวิตไม่ดี เอาแต่ Take) วันหนึ่งโรงเรียนพาไปเยี่ยมน้อมป่วยเป็นโรคเรื้อรังในโรงบาล ครูเลยขอให้นักเรียนไปแสดงความสามารถอะไรก็ได้ให้น้อง..เด็กคนนี้เลือกเล่นกีต้าร์ ...ปรากฏว่าน้องๆในโรงบาลชอบ...เธอเลยไปเล่นกีต้าร์ให้น้องฟังทุกสัปดาห์ ..และอยู่ดีๆ พอให้มากๆ (Give) เธอ Take น้อยนลง เธอหันมาเรียน (พัฒนาตนเองถือเป็น Eudaimonia) ... ที่สุดจากเด็กสิ้นหวัง ตอนนี้เข้ามหาวิทยาลัยได้เลย

อีก Case นี่เจอมาจริง.. ไปสอนโรงเรียนมงฟอร์ต ที่เชียงใหม่ ครูเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนมีเด็กเกเร (Hedonia) กลุ่มหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเอาแต่ใจตนเอง (Take) อยู่มาวันหนึ่งครูช่วนเด็กเกเรไปเป็นอาสาจราจร (Give) ... “อาจารย์คะ ขนาดฝนตกหนัก ยังออกไปช่วยรถติดหล่ม นิสัยเขาเปลี่ยนไปมาก”

ชัดไหมครับ ... ถ้าเราเปลี่ยนจากการทำเพื่อตนเอง มากทำเพื่อคนอื่น และสังคม เราจะสุขขึ้น เก่งขึ้น องค์กร และสถาบันครอบครัวก็จะมีความสุขมากขึ้น ผลงานดีขึ้น..เหมือนพระเอกทำให้คนจีนเมื่อสองพันปีก่อน...สอดคล้องกันอย่างน่าทึ่ง


ทำอย่างไรจะมี Udaimonia

  1. จริง Eudaimonia ง่ายๆคือการทำบุญนั่นเอง ผมแนะนำหลักธรรมเช่นบุญกิริยาวัตถุ 10 นี่ผมว่าชัดมากๆ ลองดูรายละเอียดการปฏิบัติได้ที่นี่ http://www.kanlayanatam.com/sara/sara41.htm
  2. หาทางช่วยผู้อื่น ดูว่าคนรอบตัวเดือดร้อนอะไร แลัวพัฒนางานตัวเองไปแก้ปัญหาช่วยคนอื่น ทำเป็นอาชีพได้เลยก็ดี เช่นบางอาชีพอย่างหมอ และครูนี่ได้เลย ช่วยคนอื่นอยู่แล้ว แต่ก็ต้องรักในอาชีพ คุณจะมี Edaimonia โดยอัตโนมัติ มีทุกวันด้วย แต่ไม่ใช่ไปเป็นหมอ เป็นครู เพราะจะได้มีหน้ามีตา มั่นคง..นี่ Hedonia ตรงนี้ฝั่งญี่ปุ่นเรียกว่า IKIGAI .. ..เช่นลูกศิษย์ผมชื่อโค้ช Bank นั่งทำงานในคณะนิติศาสตร์ มข. มาสักพัก โดยทำงานในห้องสมุด เริ่มเห็นพฤติกรรมเด็กบางคนเช่นไม่คบกับใคร หรือเรียนตก หรือจะถูกออกเนื่องจากเกรดไม่ถึง (ต้องมี Clear หนังสือคืนในห้องสมุด) ...เลยเกิดความคิดว่าอยากช่วยเหลือนักเรียนเหล่านี้..เลยมาเรียน Appreciative Inquiry กับผม.. แล้วลองเอาไปถามเด็ก..ให้เขาค้นพบจุดแข็งตนเอง แล้วปรับชีวิตใหม่..เด็กคนหนึ่งเรียนภาษาอังกฤษได้ที่โหล่.. แย่แล้ว เลยไปถามดูว่าตอนที่เรียนได้เกรดดี ทำอย่างไร เด็กคนนี้ตอบว่า ตอนเรียนดีๆ มีวิชาหนึ่ง ผมเรียนไปจดไปครับ.. ตอนนี้เรียนไปแล้วนั่งฟังเฉยๆ ใน AI...แบ็งค์เลยแนะนำให้เด็กคนนี้ลองเรียนไปจดไป จากนั้น 4 เดือนผ่านไป...จากที่โหล่ คะแนนเด็กคนนี้ขึ้นมาติด 3 คนแรก... ตอนนี้ IKIGAI ของโค้ช Bank คือการเป็นโค้ชนั่นเอง... (ดูบทความเรื่อ IKIGAI ของผมเพิ่มเติมได้ที่นี่.. https://www.gotoknow.org/posts/599051 และ https://www.gotoknow.org/posts/620787
  3. อยากทำอะไรให้โลกสวยงามขึ้น... นี่ก็จะทำให้เราได้โจทย์ชีวิตดีๆ
  4. ฝึกการให้มากกว่ารับ...ง่ายๆครับ

ผมว่าคนไทย 4.0 ต้องเป็นคนไทยที่มีการใช้ชีวิตอย่างมี Eudaimonia ครับ ..สังคมเราจะมีสงบสุข มีความสุข ความเจริญ ประเทศไทยจะกลายเป็น 4.0 อย่างแท้จริง


Reference:

Huta V., Ryan R. M. (2010). Pursuing pleasure or virtue: the differential and overlapping well-being benefits of hedonic and eudaimonic motives. J. Happiness Stud. 11, 735–762

ดูงานของอาจารย์ Roy จากหนังสือ Meaning of Life: http://www.goodreads.com/book/show/947947.Meanings...


หมายเลขบันทึก: 620971เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2017 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2017 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ชอบบทความนี้มากครับ ให้ข้อคิด วิธีคิด และวิธีลงมือปฏิบัติ โลกสวยด้วยมือเรา ทุกคนครับ

ขอบคุณบทความดีๆ ของ อ.ภิญโญ ที่มีมาใหตลอด แม้จะเพิ่งติดตาม

  1. ขอบคุณครับอาจารย์ภิโญ...ต้องไปดูหนังเรื่องนี้ให้ได้ครับ

ในพระพุทธศาสนามีเรื่องนี้นานแล้ว

แต่ไม่ค่อยมีคนสนใจ

ขอบคุณที่เขียนบันทึกดีๆให้อ่านครับ

แต่ก่อนใช้ชีวิตด้วยtake takeทุกวัน จนมาปี2018 ถามตัวเอง มองดูคนในครอบครัว รุ้สึกเห็นแก่ตัวมาก รุ้สึกเบียดเบียนคนที่เขารักเรา เอามาให้หมดไม่ว่านั่นจะเป็นของตนเองรึเปล่า …. เริ่มมีคำตอบให้ตนเองมากขึ้น เริ่มปรับแนวคิดตนเองใหม่ เริ่มgiveเล็กๆน้อยๆและใส่ใจคนด้วยความปรารถนาดีอย่างจริงใจมากขึ้น. ขอบคุณบทความที่ทำให้เข้าใจด้วยค่ะ.

อ่านบทความ อ.ไปยิ้มไป เข้าใจหลายๆ อย่างในชีวิตมากขึ้น รู้สึกดีใจที่ตัวเองเลือกเดินเส้นทางที่ปัจจุบันได้มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานทุกวัน ขอบคุณบทความดีดีจาก อ. นะคะ^___^

อ่านบทความ อ.ไปยิ้มไป เข้าใจหลายๆ อย่างในชีวิตมากขึ้น รู้สึกดีใจที่ตัวเองเลือกเดินเส้นทางที่ปัจจุบันได้มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานทุกวัน ขอบคุณบทความดีดีจาก อ. นะคะ^___^

You can not wait until life is not hard anymore, before you decide to be happy.

พระพุทธศาสนาสอนให้1.) บำเพ็ญประโยชน์ท่าน กล่าวคือช่วยเหลือสรรพสัตว์เพื่อเป็นพระโพธิสัตว์และในขณะเดียวกันก็2.) บำเพ็ญประโยชน์ตน กล่าวคือปฏิบัติมรรคมีองค์แปด เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานด้วยเจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท