ว่าด้วยวิชาปรัชญา (Philosophy) : ปรัชญาตะวันตก


ว่าด้วยวิชาปรัชญา (Philosophy)

3 มกราคม 2560

ในวิชาปรัชญาที่มีการศึกษากัน จะเริ่มที่ “ปรัชญาตะวันตก” ก่อนเสมอ ฉะนั้นจึงต้องมาเรียนรู้เรื่องของปรัชญาตะวันตกกันเสียก่อน

ความหมาย

“Philosophy” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า ฟีโลโซเฟีย ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งแยกได้เป็นคำว่า ฟีเลน แปลว่าความรัก และ โซเฟีย แปลว่าความรู้ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "การรักในความรู้" หรือ ปรารถนาจะเข้าถึงความรู้หรือปัญญา

สรุป Philosophy มาจากคำว่า Philos ความรัก + Sophi ความรู้ = ผู้ที่รักในความรู้

ในภาษาไทยคำว่า “ปรัชญา” มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ [1]

กล่าวโดยสรุป “ปรัชญาคือการแสวงหาความจริงอันอันติมะ (Ultimate) เกี่ยวกับมนุษย์และโลกหรือสากลจักรวาล ภายนอกตัวมนุษย์ด้วยการใช้เหตุผล”

ความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาติแบ่งเป็น 2 เรื่อง [2]

(1) เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าสิ่งรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น

(2) เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้น

เป้าหมายในการศึกษาของปรัชญา [3]

คือการครอบคลุมความรู้และความจริงในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ รวมทั้งชีวิตประจำวันของตนด้วย ผลจากการศึกษาของปรัชญาก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ผู้ที่มีความรู้ อุทิศตนเพื่อการศึกษาและการผลิตองค์ความรู้ในทางด้านนี้ เรียกกันว่า นักปรัชญา ปราชญ์ หรือ นักปราชญ์

ประเด็นทางปรัชญา [4]

นักปรัชญาสนใจในเรื่องของ (1) การมีอยู่ (Existence) หรือการเป็นอยู่ (2) คุณธรรม (3) ความรู้ (4) ความจริง และ(5) ความงาม นักปรัชญา ตั้งคำถามกับแนวคิดเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกขอบเขตของการศึกษาของวิทยาศาสตร์ ในอดีต

สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา เรียนอะไรกัน [5]

ปรัชญาเรียนตั้งแต่ต้นกำเนิดปรัชญากันเลย แบ่งกันเป็นสายตะวันตกและตะวันออก

ปรัชญาตะวันตก เป็นสายที่นักศึกษาไทยเรียนกันตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของชีวิตนักศึกษาปรัชญาเลย เพราะเรียนกันตั้งแต่ความหมายของชื่อ Philosophy

ปรัชญาจึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่มนุษย์ชอบสงสัย เช่น การมีอยู่, ความรู้ , ความจริง , ความงาม , ความถูกต้อง , ศีลธรรม , ภาษา

ปรัชญาก็คือวิทยาศาสตร์สมัยเริ่มแรก ที่นักปรัชญาพยายามไขความสงสัยด้วยสมมุติฐานและการทดลองต่าง ๆ แม้บางอย่างจะไม่สามารถทดลองได้ เช่น “โลกของแบบ” อันว่าด้วยทฤษฏีของเพลโต สรุปว่า มีมิติอื่นที่เป็นต้นแบบให้ทุกอย่างในโลกที่เรารู้จัก ทุกอย่างที่เรารับรู้อยู่ตอนนี้ คือของทำเทียมมา มันจึงไม่สมบูรณ์ มนุษย์คือสิ่งอันไม่สมบูรณ์ ต้นแบบอันเลิศเลอสมบูรณ์อยู่ในโลกของแบบ

การแบ่งยุคสายหลักปรัชญา คือ [6][หมายเหตุ ช่วงระยะเวลา (period) โดยประมาณ มีระยะเวลาคาบเกี่ยวบ้าง]

(1) ยุคดึกดำบรรพ์ หรือยุคก่อนเกิดวิชาปรัชญา (เรียนเพื่อค้นหารากเหง้า)

(2) ยุคกรีก

2.1 ยุคโบราณ (ราว 600 – 500 B.C.)

2.2 ยุครุ่งเรือง (เช่น เพลโต โซคราติส อริสโตเติ้ล) (ราว 450 – 300 B.C.)

2.3 ยุคเสื่อม หรือยุคแฮ็ลเล็น Hellenistic period เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชีย (ยุคหลังอริสโตเติ้ล ไปจนถึงกำเนิดปรัชญาคริสต์) (ราว 300 B.C. – A.D. 529)

2.4 ยุคโรมันเรืองอำนาจ (ยุคที่กรีกกับโรมันไม่ถูกกัน) (A.D. 116 - 476)

(3) ยุคกลาง Middle Age หรือยุคมืด Dark Age (เป็นยุคที่ปรัชญากรีกเริ่มประนีประนอมกับคริสตศาสนา) (ศตวรรษที่ 5 – 15)

(4) ยุคใหม่ (ตั้งแต่หมดยุคกลางจนถึงปัจจุบัน) (ศตวรรษที่ 16 – 18/19)

4.1 สมัยเรอเนซองท์หรือ เรเนอซองท์ Renaissance หรือยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14-15

4.2 สมัยใหม่ (ยุคนี้มีเปิดเป็นวิชา นักคิดช่วงนี้มีบทบาทอย่างมากต่อการเติบโตของปรัชญายุคหลัง เช่น Descartes , Spinoza , Leibniz , Locke , Hume , Voltaire , Rousseau และ Immanuel Kant)

4.3 สมัยปัจจุบัน (ตั้งแต่ Kant จนถึงปัจจุบัน) (ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา)

สาขาของปรัชญา (Branches of Philosophy) [7]

ประเภทของปรัชญา แบ่งเป็น 2 สาขาใหญ่ คือ ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure philosophy) กับปรัชญาประยุกต์ (Applied philosophy)

ปรัชญาบริสุทธิ์ แบ่งเป็น 4 สาขา [8]

(1) อภิปรัชญา Metaphysics เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภววิทยา” Ontology (ศึกษาว่า ความจริงคืออะไร 3 ด้าน ว่าด้วยธรรมชาติ ว่าด้วยจิตวิญญาณ ว่าด้วยพระเจ้า)

(2) ญาณวิทยา Epistemology (ศึกษาหาวิธีเข้าถึงความจริง หรือว่า เราจะรู้ความจริงได้อย่างไร เรียกอีกอย่างว่าทฤษฎีความรู้ Theory of Knowledge)

(3) คุณวิทยา หรือ “อรรฆศาสตร์” Axiology (ศึกษาเรื่องคุณค่า Values แบ่งได้อีก 2 หน่วยย่อย)

(3.1) สุนทรียศาสตร์ Aesthetics (ว่าด้วยเรื่อง ความงามที่สามารถเสพได้ในแง่ต่าง ๆ ตา หู จมูก ปาก)

(3.2) จริยศาสตร์ / จริยปรัชญา Ethics

3.2.1 ศึกษาหาจุดมุ่งหมายของการเกิดและการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์

3.2.2 จะไปถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต (ตาม 3.2.1) ได้อย่างไร?

3.2.3 จะตัดสินเกณฑ์วัดความ ดี-ชั่ว-ถูก-ผิด ได้อย่างไร? ว่าด้วยเรื่อง จริยธรรม

3.2.4 ค่าทางจริยธรรมนิยามได้หรือไม่ อย่างไร

(4) ตรรกวิทยา Logic วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของ ระบบเหตุผล/เกณฑ์การใช้เหตุผล เพื่อเป็นเครื่องมือเอาไว้ถกเถียงปัญหาปรัชญา

ปรัชญาประยุกต์ ได้แก่ [9]

(1) ปรัชญาศาสนา (2) ปรัชญากฎหมาย หรือ นิติปรัชญา Philosophy of Law (3) ปรัชญาการศึกษา (4) ปรัชญาวิทยาศาสตร์ (5) ปรัชญาการเมือง (6) ปรัชญาภาษา (7) ปรัชญาจิต (8) ปรัชญาประวัติศาสตร์ (9) ปรัชญาคณิตศาสตร์ (10) ปรัชญาสังคม

+++++++++







[1] ปรัชญา, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://th.wikipedia.org/wiki/ปรัชญา

[2] ปรัชญา, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, อ้างแล้ว

[3] ปรัชญา, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, อ้างแล้ว

[4] ปรัชญา, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, อ้างแล้ว

[5] ปรัชญาและศาสนา เรียนอะไร เรียนไปเพื่ออะไร, 23 ตุลาคม 2552, http://www.unigang.com/Article/628 & http://www.unigang.com/Article/628#dfrITTbe8PU0O5M...

[6] ปรัชญาและศาสนา เรียนอะไร เรียนไปเพื่ออะไร, อ้างแล้ว & พัฒนาการและภาพรวมของปรัชญาตะวันตก,

https://khopkhun.wordpress.com/2009/04/18/3-พัฒนาก...

[7] สาขาของปรัชญา, 18 กันยายน 2550, http://jeepy--jeep.blogspot.com/2007/09/blog-post.... & ประเภทของปรัชญา Philosophy & Religion, จากหนังสือ ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย ผู้เขียน ญาณวชิระ,

https://dhrammada.wordpress.com/philosophyreligion... & มะลิษา พัฒนวิเชียร, สาขาต่าง ๆ ของปรัชญา, 26 กันยายน 2553, https://www.gotoknow.org/posts/398516 & ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา, http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/hi... & ปรัชญาและศาสนา เรียนอะไร เรียนไปเพื่ออะไร, อ้างแล้ว

[8] ปรัชญาและศาสนา เรียนอะไร เรียนไปเพื่ออะไร, อ้างแล้ว

[9] สาขาของปรัชญา, 18 กันยายน 2550, อ้างแล้ว

หมายเลขบันทึก: 620969เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2017 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท