กระบวนการตรวจออดิตสนามบิน


ขั้นตอนการประชุมภายหลังการตรวจสอบ (Final Meeting) การประชุมภายหลังการตรวจสอบเป็นการแจ้งผลการตรวจสอบแก่ผู้ถูกตรวจสอบหรือ ท่าอากาศยานว่ามีอะไรบ้างที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน กฎ ระเบียบ หรือมีอะไรที่หากแก้ไขปรับปรุง ก็จะทำให้ดียิ่งขึ้น คณะผู้ตรวจสอบต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report) ให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน คณะผู้ตรวจสอบต้องระมัดระวังในการเขียนรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report) และการนำเสนอ (Presentation) ผลการตรวจสอบให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่จะเขียนรายงาน ผลการตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Final Report) คณะผู้ตรวจสอบต้องใช้คำพูดในทางสร้างสรรค์ และควร กล่าวถึงการตรวจสอบว่าเป็นไปตามแผนการตรวจตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าหากมีการเสียเวลาด้วยเหตุใด เหตุหนึ่งก็ควรจะกล่าวถึงไว้ด้วย

กระบวนการตรวจออดิตสนามบิน

หรือ กระบวนการตรวจ Audit เพื่อตรวจวิธีการปฏิบัติ (SOP/WI/) ว่าเป็นไปตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการดำเนินงานสนามบิน (Aerodrome Manual)

By GURU ท่านวิสูตร อาชีวปาริสทธิ

ข้าราชการบำนาญ อดีตนักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ

หัวหน้ากลุ่มรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน กรมการบินพลเรือน

ICAO AUDIT OVERSIGHT MEMBER

วัตถุประสงค์คือ

ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะอันตราย (Unsafe Act) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ (Accident/Incident) และลดค่าระดับความปลอดภัย (ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดความไม่ปลอดภัย) ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ Acceptable Level Of Safety (ALOS) และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง(มาตรการด้านความปลอดภัยถูกแก้ไขปรับปรุงวิธีปฏิบัติที่ดีถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติงานและมีการ review revise กระบวนการ ทบทวนมาตรการ ประเมินซ้ำ และวิธีปฏิบัติใน SOP อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และมีแผนดำเนินการ Implement new Amended เพื่อให้เกิดการนำข้อกำหนดแนะนำ มาเริ่มใช้บริหารการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้ทันการณ์ตาม Stategy ที่ ICAO ประมาณการณ์ (%Implement) อย่างต่อเนื่อง ในการตรวจสอบสนามบิน

การตรวจสอบด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน (Aviation Safety and Security) เป็นกิจกรรม
ซึ่งดำเนินการภายใต้

กระบวนการรับรองการดำเนินงานสนามบิน (Aerodrome Certification)

แผนรักษาความปลอภัยแห่งชาติ (National Emergency Plan)

โปรแกรมควบคุมคุณภาพ (Quality Control Programme)

แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่

1. การตรวจสอบทั้งระบบ (Audit)

2. การตรวจสอบเฉพาะบางอย่าง (Inspection)

3. การสำรวจ (Survey)

4. การทดสอบ (Test)

ทั้ง 4 แบบ มีทั้งส่วนที่มีความเหมือนและส่วนที่มีความแตกต่างกัน

การตรวจสอบทั้งระบบ (Audit) และการตรวจสอบ
เฉพาะบางอย่าง (Inspection) ก็มีทั้งส่วนที่เหมือนกันและส่วนที่แตกต่างกัน

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่มีความเหมือนกันของการตรวจสอบทั้งระบบ (Audit) และการตรวจสอบเฉพาะ
บางอย่าง (Inspection) เท่านั้น


ขั้นตอนการตรวจสอบ

การตรวจสอบด้านการบินพลเรือน มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

1. เตรียมการตรวจสอบ

2. ประชุมก่อนการตรวจสอบ

3. ทำการตรวจสอบ

4. เขียนรายงานผลการตรวจสอบ

5. ประชุมภายหลังการตรวจสอบ

ขั้นตอนการเตรียมการตรวจสอบ (Preparing the Audit)

ขั้นตอนนี้มีสิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะเดินทางไปยังสถานที่ของผู้ถูกตรวจสอบหรือ
ท่าอากาศยาน ได้แก่

1. ศึกษาเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการกำหนดแผนการตรวจสอบ และจะช่วยให้การตรวจสอบดำเนินไปด้วยดี เช่น ศึกษาแบบสอบถามซึ่งได้ส่งให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานตอบมาก่อนที่จะไปตรวจสอบ (Pre-audit questionnaire) โปรแกรมการรักษาความปลอดภัยของ
ท่าอากาศยาน รายงานการประชุมของคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน แผนที่
ของท่าอากาศยาน ตารางเที่ยวบิน เป็นต้น

เอกสารดังกล่าวจะช่วยทำให้คณะผู้ตรวจสอบเข้าใจสภาพของผู้ถูกตรวจสอบหรือ
ท่าอากาศยาน การจัดองค์กร กฎระเบียบ มาตรการรักษาความปลอดภัย แผนปฏิบัติการ เครื่องมือ การแก้ไขปัญหา และรู้จักคุ้นเคยกับสถานที่ของผู้ถูกตรวจสอบ หรือท่าอากาศยานมากขึ้น ทราบได้ว่าควรประสานกับผู้ใด ทำให้การตรวจสอบดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการตอบรับที่ดี

2. กำหนดแผนการตรวจสอบ (Audit Plan) เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ก็จะช่วยให้

สามารถกำหนดแผนการตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น การกำหนดแผน การตรวจสอบควรพิจารณาว่าต้องไปพบกับใคร กำหนดวันเวลาประชุม วันเวลาตรวจ ในแต่ละด้าน รวมทั้งการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันที่จะส่งรายงาน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะของสถานที่ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน ระยะทางระหว่างจุดต่าง ๆ ที่จะต้องไปตรวจสอบ ตารางเที่ยวบิน ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบแต่ละจุด เวลาหยุดพักรับประทานอาหาร เวลาประชุม

คณะผู้ตรวจสอบ ระยะเวลาในการเขียนรายงาน เป็นต้น

3. ประสานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เมื่อกำหนดแผนการตรวจสอบแล้ว ก็จะประสานกับเจ้าหน้าที่
ของผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานซึ่งจะไปตรวจสอบ เพื่อเตรียมการด้านต่าง ๆ เช่น การเดินทาง ที่พัก
การประชุม เป็นต้น

4. แบ่งหน้าที่ในคณะตรวจสอบ คณะผู้ตรวจสอบประกอบด้วยผู้ตรวจสอบ และหัวหน้า
คณะผู้ตรวจสอบ (Leader) ทั้งผู้ตรวจสอบและหัวหน้าคณะจะมีหน้าที่ของตนเอง แต่ก็ต้องร่วมมือกัน
อย่างใกล้ชิดในการปฏิบัติงาน

หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบต้องเตรียมแผนการตรวจสอบ ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือ
แก่ผู้ตรวจสอบ ทำให้การประชุมก่อนการตรวจสอบ หลังการตรวจสอบ และการประชุมภายในของ
คณะผู้ตรวจสอบเป็นไปด้วยดี เขียนรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report)
และรวบรวมข้อมูลจากผู้ตรวจสอบเพื่อเขียนรายงานขั้นสุดท้าย (Final Report)

ผู้ตรวจสอบอื่น ๆ ก็ปฏิบัติการตรวจสอบ เข้าประชุมภายในของคณะผู้ตรวจสอบ การประชุมกับผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานก่อนที่จะเริ่มตรวจสอบ และเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้ว เขียนรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น ร่วมชี้แจงและตอบคำถาม ส่งข้อมูลและรายงานให้หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบ

ขั้นตอนประชุมก่อนการตรวจสอบ (Opening Meeting)

การประชุมก่อนจะเริ่มการตรวจสอบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโอกาสที่จะสร้าง
ความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างคณะผู้ตรวจสอบและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบซึ่งปฏิบัติงานอยู่
ณ สถานที่ซึ่งถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน ผู้ที่ถูกตรวจสอบอาจเข้าใจว่ากำลังถูกจับผิด อันอาจ
ทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อคณะผู้ตรวจสอบไม่ให้ความร่วมมือหรือร่วมมือน้อยเกินไป ดังนั้น การสร้าง
บรรยากาศของความเชื่อใจหรือไว้วางใจกันจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และคณะผู้ตรวจสอบต้อง
พยายามทำให้เกิดขึ้นในการประชุมนี้

การประชุมก่อนการตรวจสอบนี้ควรใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เวลาที่ใช้ในการประชุม
ก่อนการตรวจสอบขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนคนที่เข้าประชุม แบบของการตรวจสอบ
ชนิดของคำถาม เป็นต้น การประชุมก่อนการตรวจสอบควรจะมีการกล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ โดยอย่างน้อย
ที่สุดจะต้องมีเรื่องดังนี้

1. การกล่าวต้อนรับของผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน และการกล่าวขอบคุณของ
คณะผู้ตรวจสอบ

2. การแนะนำตัว การแนะนำตัวเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ผู้ตรวจสอบและเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงาน
อยู่ ณ สถานที่ซึ่งถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานได้รู้จักซึ่งกันและกัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่ถูกตรวจสอบหรือ
ท่าอากาศยานคนไหนที่เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) กับผู้ตรวจสอบคนใด งานแต่ละด้านอยู่ใน
ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คนไหน ผู้ตรวจสอบมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์น่าเชื่อถือ
อย่างไร

3. คณะผู้ตรวจสอบบอกวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ ผู้ถูกตรวจสอบมักจะกังวลว่า
กำลังถูกจับผิด คณะผู้ตรวจสอบจึงควรบอกให้ทราบว่าการตรวจสอบเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศกำหนดให้ประเทศภาคีทุกประเทศดำเนินการ เพื่อช่วยให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานแก้ไขปรับปรุงงานได้ถูกต้องตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือน
ระหว่างประเทศ

4. คณะผู้ตรวจสอบบอกให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานทราบว่าผู้ตรวจสอบมีจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น

4.1 ผู้ตรวจสอบไม่ได้ข่มขู่คุกคามหรือกระทำการในลักษณะที่จะสอบสวนเพื่อหาผู้กระทำความผิด

4.2 ผู้ตรวจสอบไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่จะทำให้ผู้ถูกตรวจสอบได้รับความอับอาย
ว่าได้กระทำผิด

4.3 ผู้ตรวจสอบถือว่าสิ่งที่ตรวจพบเป็นความลับ และเคร่งครัดในการไม่เผยแพร่สิ่งที่ตรวจพบ
ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ

5. คณะผู้ตรวจสอบบอกวิธีการตรวจสอบ ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานจำเป็นต้องทราบว่า
คณะผู้ตรวจสอบจะดำเนินการตรวจสอบอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมการให้ความร่วมมือได้ถูกต้อง
คณะผู้ตรวจสอบจึงต้องบอกวิธีการตรวจสอบให้ทราบด้วย การตรวจสอบมักจะมีวิธีการผสมผสานกัน
ดังนี้

5.1 การสังเกตการปฏิบัติงานรวมทั้งสภาพแวดล้อม (Observation)

5.2 การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ (Interview or on-site question)

5.3 การตรวจสอบเอกสาร (Document analysis)

5.4 การหารือเมื่อมีประเด็นที่สงสัย (Formal discussions)

ผู้ที่ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานอาจเกิดความกังวลเกี่ยวกับการถูกตรวจสอบ เช่น
กลัวว่าบุคคลทั่วไปจะทราบช่องโหว่ในการรักษาความปลอดภัย ภาพซึ่งคณะผู้ตรวจสอบถ่ายไว้จะถูก
เผยแพร่ไปถึงบุคคลที่ไม่สมควรจะได้รับทราบ เป็นต้น คณะผู้ตรวจสอบจึงควรแจ้งให้ผู้ถูกตรวจสอบทราบวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ รวมทั้งจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ของผู้ตรวจสอบ

ในช่วงเวลาที่มีการประชุมหรือการตรวจสอบ อาจต้องพบกับการต่อต้านการไม่ให้ความ
ร่วมมือเท่าที่ควร หรือเกิดความขัดแย้งขึ้น ผู้ตรวจสอบควรเตือนให้ระลึกถึงวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบ แสดงพฤติกรรมในทางสร้างสรรค์ (Positive Behaviour) รวมทั้งสร้าง
บรรยากาศของความไว้วางใจหรือเชื่อใจกัน (Establish a climate of trust) เพื่อลดปัญหาดังกล่าว

6. แผนการแก้ไขข้อบกพร่องหรือแก้ไขตามคำแนะนำ (Corrective Action Plan) เมื่อการ
ตรวจสอบพบว่ามีข้อบกพร่อง หรือไม่เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ก็จำเป็นต้องให้
ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานแก้ไขปรับปรุง หากมีการปฏิบัติถูกต้องแล้ว แต่หากมีการปรับปรุง
อะไรบางอย่างบ้างก็จะทำให้เกิดผลดีหรือทำให้เกิดการปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้น (the best practice) ก็สมควร
แนะนำให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานปรับปรุง

ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานควรมีแนวทางแก้ไขปรับปรุงปัญหาแต่ละอย่าง หน่วยงาน
ที่รับผิดชอบ รวมทั้งกำหนดเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จด้วย ในการประชุมก่อนการตรวจสอบนี้ คณะผู้ตรวจสอบต้องแจ้งผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานด้วยว่า หากต้องมีการแก้ไขปรับปรุงใด ๆ ผู้ถูกตรวจสอบหรือ
ท่าอากาศยานต้องกำหนดแผนการแก้ไขปรุงปรุง แล้วแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบทราบ
โดยมีกำหนดเวลาในการส่งแผนดังกล่าวด้วย

7. โปรแกรมการตรวจสอบ รวมทั้งการปรับโปรแกรม ในการประชุมก่อนการตรวจสอบ
ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานและคณะผู้ตรวจสอบควรพิจารณาว่าโปรแกรมการตรวจสอบแต่ละวัน
น่าจะดำเนินการได้ตามที่ได้กำหนดขึ้นไว้หรือไม่ หรือควรปรับปรุงโปรแกรมการตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้อง
กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เที่ยวบิน ระยะเวลา อุปสรรคอื่นๆ ในการปฏิบัติงาน ฯลฯ

8. กำหนดวัน เวลาประชุมหลังจากเสร็จการตรวจสอบแล้ว (Final Meeting) เมื่อปรับปรุง
โปรแกรมการตรวจสอบตาม 7 แล้ว ก็จะทำให้ประมาณได้ว่าการตรวจสอบน่าจะเสร็จสิ้นได้เมื่อใด และ
สมควรจะประชุมเพื่อให้คณะผู้ตรวจสอบแจ้งผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report)
ให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานทราบได้เมื่อใด เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าและเข้าร่วมประชุม
ในการประชุมก่อนการตรวจสอบจึงควรกำหนดวัน เวลาประชุมเพื่อแจ้งผลการตรวจสอบไว้ด้วย

9. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมการรักษาความปลอดภัยของผู้ถูกตรวจสอบหรือ
ท่าอากาศยาน เอกสารอื่น ๆ รวมทั้งแบบสอบถามซึ่งได้ส่งให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานกรอก
ล่วงหน้าแล้ว (pre-audit questionnaire) ก่อนจะมีการประชุมครั้งนี้ ผู้ตรวจสอบได้ศึกษาเอกสารต่าง ๆ
ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่อาจจะมีข้อสงสัยบางประการจากการศึกษา การประชุมครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่จะทำ
ความเข้าใจในข้อสงสัยดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องของผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน

ขั้นตอนการตรวจสอบ

หลังจากการประชุมก่อนการตรวจสอบแล้ว ก็ให้เริ่มการตรวจสอบโดยเก็บข้อมูลโดย

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อม

2. การสอบถามหรือการสัมภาษณ์

3. การตรวจสอบเอกสาร

4. การหารือเมื่อมีประเด็นที่สงสัย

ขั้นตอนเขียนรายงานผลการตรวจสอบ

เมื่อตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วจะต้องแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน
ทราบการตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนมีรายงานผลการตรวจสอบ 2 อย่าง คือ

1. รายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report) เป็นรายงานที่แจ้งให้
ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานทราบในการประชุมภายหลังการตรวจสอบ (Final Meeting) และ
อาจนับได้ว่าเป็นการแจ้งผลการตรวจสอบ “กึ่งเป็นทางการ” หลังจากผู้ประสานงาน (Coordinator)
ของผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานทราบอย่าง “ไม่เป็นทางการ” ในแต่ละวันแล้ว

การเขียนรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report) เป็นการเขียน
เพื่อแจ้งผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน “กึ่งเป็นทางการ” และมีเวลาน้อย จึงเป็นการเขียนแบบสั้น ๆ
เพื่อให้ทราบประเด็นที่ผู้ตรวจสอบเห็นว่าสมควรแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้การรักษาความปลอดภัยได้รับ
การปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินระหว่างประเทศ ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ
หรือทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

รายงานผลการตรวจสอบขั้นต้นจึงมักจะมีแค่สิ่งที่เป็นว่าควรแก้ไขปรับปรุง และ 7 หรือ
คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากผู้ตรวจสอบแสดงให้เห็นได้ว่าสิ่งที่สมควร
แก้ไขปรับปรุง หรือคำแนะนำนั้น มีมาตรฐาน กฎ ระเบียบ ใดที่ทำให้ผู้ตรวจสอบมีความเห็นเช่นนั้น
ก็จะทำให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานเชื่อถือผู้ตรวจสอบและยอมรับผลการตรวจสอบยิ่งขึ้น

รายงานผลการตรวจสอบขั้นต้นนี้จะใช้ในการแจ้งให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานทราบ
ในการประชุมภายหลังการตรวจสอบ (Final Meeting) ซึ่งผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานมีโอกาสชี้แจง
แสดงหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเห็นว่าข้อมูลที่รวบรวมมาในชั้นต้นยังไม่ครบถ้วน หรือสามารถ
ทำให้ผู้ตรวจสอบมีความเข้าใจบางอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นได้ ดังนั้น ประเด็นที่จะเขียนในรายงานผลการ
ตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Final Report) จะต้องมีเฉพาะเท่าที่ปรากฏอยู่ในรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding Report) เท่านั้น คณะผู้ตรวจสอบจึงต้องเขียนรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น
ให้ครอบคลุมประเด็นที่จะเขียนรายงานขั้นสุดท้าย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) ได้รับความ
เชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน

2. รายงานผลการตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Final Report) เป็นรายงานที่เขียน หลังจากเดินทาง
กลับจากท่าอากาศยานที่ตรวจสอบแล้ว และมีการส่งไปยังผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานเป็นลายลักษณ์อักษร และนับเป็นการแจ้งผลการตรวจสอบอย่าง “เป็นทางการ” ภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการบอกกันไว้
ในการประชุม

รายงานผลการตรวจสอบขั้นสุดท้ายต้องมีรายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน กฎ ระเบียบ และ/หรือ คำแนะนำที่ให้แก้ไขปรับปรุงเพื่อให้มีการปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้น ระดับความรุนแรงหรือความเร่งด่วนในการแก้ไขปรับปรุง หากมีข้อสังเกต ความเห็น หรือคำอธิบายของหน่วยงานอื่น ๆ
ในระหว่างการประชุม ก็ให้เขียนไว้ด้วย

ขั้นตอนการประชุมภายหลังการตรวจสอบ (Final Meeting)

การประชุมภายหลังการตรวจสอบเป็นการแจ้งผลการตรวจสอบแก่ผู้ถูกตรวจสอบหรือ
ท่าอากาศยานว่ามีอะไรบ้างที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน กฎ ระเบียบ หรือมีอะไรที่หากแก้ไขปรับปรุง
ก็จะทำให้ดียิ่งขึ้น คณะผู้ตรวจสอบต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate Finding
Report) ให้ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน

คณะผู้ตรวจสอบต้องระมัดระวังในการเขียนรายงานผลการตรวจสอบขั้นต้น (Intermediate
Finding Report) และการนำเสนอ (Presentation) ผลการตรวจสอบให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่จะเขียนรายงาน
ผลการตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Final Report) คณะผู้ตรวจสอบต้องใช้คำพูดในทางสร้างสรรค์ และควร
กล่าวถึงการตรวจสอบว่าเป็นไปตามแผนการตรวจตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าหากมีการเสียเวลาด้วยเหตุใด
เหตุหนึ่งก็ควรจะกล่าวถึงไว้ด้วย

การประชุมภายหลังการตรวจสอบควรจะมีการกล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้อง
มีเรื่องดังนี้

1. คณะผู้ตรวจสอบกล่าวขอบคุณที่ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานให้ความร่วมมือในการ
ตรวจสอบ จนทำให้การตรวจสอบสามารถดำเนินการไปได้ตามแผนที่ได้วางไว้ล่วงหน้า

2. คณะผู้ตรวจสอบกล่าวทบทวนวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ รวมทั้งมาตรฐาน กฎ ระเบียบ
ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ

3. คณะผู้ตรวจสอบนำเสนอผลการตรวจสอบ โดยกล่าวภาพรวมก่อน แล้วจึงกล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ
ที่ตรวจสอบ

4. ระดับของความรุนแรงหรือความเร่งด่วนในการแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ตรวจ พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน กฎ ระเบียบ และ/หรือ สิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุง

5. คณะผู้ตรวจสอบอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องก่อนที่จะ
สรุปผลการตรวจสอบ

6. คณะผู้ตรวจสอบแจ้งกำหนดส่งรายงานผลการตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Final Report) ให้แก่
ผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน

7. แผนการแก้ไขข้อบกพร่องหรือแก้ไขตามคำแนะนำ (Corrective Action Plan)

พฤติกรรมของผู้ตรวจสอบ (Behaviour of the Auditor)

การปฏิบัติของผู้ตรวจสอบเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะให้ผู้ถูกตรวจสอบเชื่อถือไว้วางใจ และ
ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี ในระหว่างการรวบรวมข้อมูลเมื่อปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบควรปฏิบัติดังนี้

1. แนะนำตนเอง การเข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบควรแนะนำตนเองให้ผู้ถูกสอบถาม
รู้จักก่อน เนื่องจากผู้ที่ถูกสอบถามอาจไม่ได้เข้าร่วมการประชุมก่อนที่จะตรวจสอบ

2. สบตาผู้ที่สนทนาด้วย การสบตาผู้ที่สนทนาด้วยจะช่วยให้เกิดความไว้วางใจและความเชื่อถือ

3. อย่าจ้องผู้ที่สนทนาด้วย การจ้องผู้ที่สนทนาด้วยจะเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกจ้องมองเข้าใจได้ว่า
กำลังถูกจับผิด ซึ่งจะทำให้ได้รับความร่วมมือในการตรวจสอบน้อยลงหรือไม่ยอมให้ความร่วมมือด้วยได้

4. อย่าอยู่ห่างจากผู้ที่สนทนามากหรือน้อยเกินไป ควรให้อยู่ห่างกัน 1 - 3 เมตร

5. อย่าขัดจังหวะในขณะที่ผู้ที่สนทนาด้วยกำลังพูด การขัดจังหวะในขณะที่คู่สนทนากำลังพูด
อาจทำให้เกิดการไหลของข้อมูลจากปากคู่สนทนาหยุดชะงัก จนอาจทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนได้

6. ให้เวลาในการตอบคำถาม หากผู้ตรวจสอบตั้งคำถามให้คู่สนทนาตอบก็ต้องให้เวลาในการ
ตอบคำถาม ไม่ป้อนคำถามใหม่อีกหากยังไม่ได้รับคำตอบจากคำถามเดิม

7. หลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมที่ไม่สมควร เช่น ยืนกอดอกฟัง นั่งไขว่ห้าง ในขณะที่ฟัง
เป็นต้น

8. พูดให้ชัดเจน และไม่พูดเร็วเกินไป

เทคนิคการตั้งคำถาม (Questioning Techniques)

ผู้ตรวจสอบต้องรู้จักใช้คำถามในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็ว
เรื่องเกี่ยวกับคำถามที่ผู้ตรวจสอบจะใช้มีดังนี้

1. ประเภทของคำถาม ได้แก่

1.1 คำถามเปิด (Open-ended Questions) เป็นคำถามซึ่งต้องการให้ผู้ถูกถามอธิบาย
โดยจะมีคำต่อไปนี้อยู่ในคำถามด้วย

(1) อะไร -What…..?

(2) เมื่อไร - When….?

(3) ผู้ใดหรือใคร - Who…...?

(4) อย่างไร - How……?

1.2 คำถามปิด (Closed Questions) เป็นคำถามซึ่งต้องการให้ผู้ตอบเลือกตอบได้เฉพาะตัวเลือกที่กำหนดไว้ในคำถามเท่านั้น ไม่ต้องการให้ผู้ตอบตอบเป็นอย่างอื่น เช่น

(1) 1, 2 หรือ 3

(2) ใช่ หรือ ไม่ใช่

(3) เมื่อวาน หรือ วันนี้

1.3 คำถามนำ และ คำถามที่เป็นกลาง (Leading/neutral questions)

คำถามนำ (Leading Questions) เป็นคำถามซึ่งผู้ถามมีความเห็นหรือความเชื่อว่า
คำตอบน่าจะเป็นอะไรอยู่แล้ว จึงได้เอ่ยถึงความเชื่อเช่นนั้นก่อนที่จะถาม คำถามประเภทนี้เหมาะที่จะใช้
ในการให้ผู้ถูกสอบถามยืนยัน เช่น

ผมพบว่าขั้นตอนการปฏิบัติไม่เหมาะสม คุณคิดอย่างไร ?

คุณไม่เชื่อว่ากุญแจแบบนี้จะใช้ได้ผล ใช่ไหม ?

1.4 คำถามที่เป็นกลาง (Neutral Questions) เป็นคำถามทั่ว ๆ ไป ซึ่งผู้ถามไม่ได้
สอดแทรกความเห็นหรือกำหนดคำตอบที่ต้องการล่วงหน้าไว้แล้ว เช่น

ในเวลากลางคืน อากาศยานได้รับการคุ้มครองป้องกันอย่างไร ?

การตรวจค้นผู้โดยสารมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ?

2. คำถามที่ควรใช้ ผู้สอบถามหรือสัมภาษณ์ต้องให้เวลาผู้ถูกสอบถามตอบก่อนที่จะตั้ง
คำถามต่อไป คำถามที่ควรจะใช้ในการหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ได้แก่

2.1 คำถามเปิด

2.2 คำถามที่เป็นกลาง

2.3 คำถามที่ใช้ควรเป็นคำถามง่าย ๆ ธรรมดา

3. คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง ผู้สอบถามต้องหลีกเลี่ยงคำถามบางอย่างซึ่งอาจทำให้ผู้ถูกถาม
เข้าใจผิด หรือก่อให้เกิดปัญหาในการตรวจสอบ อันจะนำมาซึ่งการเสียเวลาในการตรวจสอบมากเกิน
ความจำเป็น แต่ได้ข้อมูลน้อย คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

3.1 คำถามที่ชวนวิวาทหรือทำให้ผู้ตอบไม่สบายใจ เช่น ตั้งคำถามไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ
คำตอบก็ถามคำถามอื่นต่อไป ถามในลักษณะข่มขู่คุกคามผู้ตอบ

3.2 คำถามที่ซับซ้อน (multi-part questions) เช่น คำถามที่มีการขยายความในประโยค
หลายแห่ง

3.3 คำถามนำ

3.4 คำถามที่มีคำตอบอยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว

เทคนิคการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง

การสอบสวนหรือการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ผู้ตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรือนควรมีหลักอย่างน้อยที่สุด ดังนี้

1. ผู้ตรวจสอบต้องรู้เรื่องที่จะไปตรวจสอบ รู้ว่าผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยานมีหน้าที่
ต้องทำอะไรก่อนไปถึงสถานที่ตรวจสอบ รู้จักประเมินค่าของความแตกต่างออกไปจากหน้าที่ซึ่งผู้ถูก
ตรวจสอบหรือท่าอากาศยานต้องกระทำ ผู้ตรวจสอบไม่ได้ไปยังสถานที่ซึ่งถูกตรวจสอบเพื่อจะไปเรียนรู้

2. ยอมรับสภาพต่าง ๆ ของสถานที่ตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน เช่น การที่สถานที่ตรวจสอบ
หรือท่าอากาศยานจำต้องปฏิบัติหรือมีสภาพอย่างที่เห็น โครงการต่าง ๆ ที่มี ความรู้ กฎเกณฑ์ในการ
ปฏิบัติงาน ฯลฯ

3. สอบถามหรือสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่อย่างหลากหลาย เช่น หัวหน้า บุคลากร ระดับปฏิบัติงาน

4. ใช้ทั้งคำถามเกี่ยวกับทฤษฏี และคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติ

5. ใช้การฟังให้มากกว่าการพูด

6. การสอบถามหรือสัมภาษณ์จะต้องสอบถามทีละคน ไม่สอบถามเป็นกลุ่ม

7. บันทึกย่อในการเก็บข้อมูล

8. การสังเกตการปฏิบัติงานรวมทั้งสภาพแวดล้อม (Observation) อาจจะขอให้เจ้าหน้าที่สาธิต
การปฏิบัติซึ่งจะดีกว่าการอธิบายอย่างยืดยาว อาจใช้การทดสอบทางเทคนิค หรือการสุ่มตัวอย่างด้วยก็ได้

9. พิจารณาเอกสารซึ่งอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงาน เอกสารนี้อาจเป็นเอกสารทางวิชาการหรือ
เทคนิค รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจริง เช่น วิธีการปฏิบัติ บันทึกต่าง ๆ ปูมการปฏิบัติหน้าที่
สมุดรายงานกิจกรรมต่าง ๆ บันทึกเกี่ยวกับเครื่องมือชำรุดบกพร่อง เอกสารการฝึกอบรม ฯลฯ

ความชำนาญของผู้ตรวจสอบ

ผู้ตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนจำเป็นต้องมีความชำนาญเกี่ยวกับ
การเปรียบเทียบมาตรฐาน กฎ ระเบียบ ซึ่งเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยกับการปฏิบัติหรือสภาพสถานที่ของผู้ถูกตรวจสอบหรือท่าอากาศยาน

คุณลิขิตขอขอบพระคุณ : ข้อมูลดีดีทั้งหมดจาก GURU ท่านวิสูตร ICAO Security Audi Oversight Programmed

รวบรวมและจัดการเพจโดย #KMDCAIRPORT

-----------------------------------

หมายเลขบันทึก: 620747เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2016 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2017 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท