แนวทางการสื่อสารเชิงรุก สำหรับกลุ่มผู้นำ และเครือข่ายต่าง ๆ อ.ทับสะแก.. จัดโดย กฟผ.


สวัสดีครับชาว Blog

วันนี้และพรุ่งนี้ (26 - 27 ธันวาคม 2559) ผมและทีมงานได้รับเกียรติจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเชิญมาบรรยายและเปิดเวทีระดมความคิดเห็นให้แก่กลุ่มผู้นำและเครือข่ายต่างๆ อ.ทับสะแก เรื่อง แนวทางการสื่อสารเชิงรุกให้แก่ประชาชนในพื้นที่..บรรยากาศการเรียนรู้ในวันนี้ดีมากครับ ขอบคุณ..คุณชวัล ขวัญเชียร ลูกศิษย์หลักสูตรผู้นำฯ ที่ กฟผ. รุ่นที่ 10 ที่วันนี้ทำให้เกิด "ทฤษฎีกระเด้ง" และกำลังกระเด้งไปสู่งานที่สำคัญมากๆ ต่อ กฟผ.ในอนาคต โดยงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นผู้นำชุมชนที่เข้าใจบทบาทพัฒนาพื้นที่ทับสะแก สู่การสร้างคุณค่าในอนาคต ค้นหาศักยภาพและพัฒนาการสื่อสารเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ อาทิ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาควิชาการ และร่วมกันสร้างสังคมการเรียนรู้ในระดับชาวบ้านให้เข้มแข็งและยังยืน

ผมจึงถือโอกาสเปิด Blog นี้เพื่อเป็นชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

....................................................................................

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

บรรยายเรื่อง “แนวทางการสื่อสารเชิงรุก” สำหรับกลุ่มผู้นำ และเครือข่ายต่าง ๆ ณ อ.ทับสะแก

<p “=””>วันที่ 26 ธันวาคม 2559
</p>

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

งานในวันนี้เป็นทฤษฎีกระเด้ง ซึ่งเป้าหมายในระยะยาวต้องดูแลการไฟฟ้าต่อไป ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากต่างประเทศว่าไม่มีเวลาดับเป็นเวลานาน กฟผ.ส่งไฟฟ้าไปที่ กฟภ. และนครหลวง สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไม่ถึง 50% และต้องมีการนำเข้าจากที่อื่นเข้ามาด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การสื่อสารเชิงรุก คือไม่รอให้เกิดการวิกฤติก่อน แต่เราจะนำเสนออย่างไรให้เกิดประโยชน์สุขกับทุกฝ่าย

พันธกิจที่สำคัญของ กฟผ.คือต้องหาพลังงาน ประเทศขับเคลื่อนด้วย เสาการเมือง เสาเศรษฐกิจ เราต้องไม่รอให้เกิดวิกฤติ

การสื่อสารแบบผู้นำ และในขณะเดียวกันมีการประสานเครือข่าย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำท้องถิ่นบางคนที่นี่มีความกล้าหาญมากเนื่องจากได้รวมตัวกันไปเสนอต่อกระทรวงพลังงานว่าที่ทับสะแกมีพื้นที่ที่ซื้อมาแล้วกว่า 4,000 ไร่ที่น่าจะเป็นแหล่งผลิตพลังงาน เห็นด้วยกับ กฟผ.ในการทำสิ่งนี้ต่อไป โดยมีการไปเสนอโครงการผลิตไฟฟ้าที่ทับสะแก ต่อกระทรวงพลังงาน

อยากให้ทุกท่านเขียนแผนถ้าจะดำเนินงานให้ EGAT ร่วมกับผู้นำท้องถิ่นเสนอข้อมูลให้ประชาชนรับทราบด้วย ทุกท่านคือทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุด

ถ้าจะเก่งในอนาคตผู้นำท้องถิ่นต้องเก่งเรื่องเทคโนโลยีด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยุทธศาสตร์คือ เราหวังดีต่อประเทศชาติ เราทำงานในลักษณะเครือข่ายที่กฟผ.ดูแลว่ามีความสำคัญ ในพื้นที่ใครจะเก่งเท่ากับคนในพื้นที่ไม่มี แต่วิธีการคือ เราจะเลือกอะไรพูดก่อน อะไรพูดหลัง วิธีการคือ ฝึกให้ทุกท่านคิดร่วมกันโดยนำจุดเด่นออกมา อยากให้ทุกท่านมีเป้าหมายเดียวกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนเขียนแผนเชิงรุก เราต้องมีปัญญาก่อน แล้วค่อยเรียบเรียงให้เป็นระบบ ไม่มีใครรู้เรื่องทับสะแกเท่าทุกคน อาจารย์เพียงแค่เสริมเขี้ยวเล็บของแต่ละท่านที่มีอยู่แล้ว

ต้องการให้คนในทับสะแกดูแลพื้นที่ทั้งหมด สามารถนำชุมชนอื่นได้ด้วย

Workshop แบ่งกลุ่มระดมความคิด 5 กลุ่ม

  • ทบทวนการทำงาน “เรื่องการสื่อสารในชุมชนของท่าน” ในช่วงที่ผ่านมา.. เสนอ จุดแข็ง 3 เรื่อง และจุดอ่อน 3 เรื่อง หากจะเพิ่มจุดแข็งและลดจุดอ่อนเพื่อการสื่อสาร เชิงรุกในชุมชนของท่านจะต้องทำอย่างไร 3 ข้อ
  • การสื่อสารเชิงรุกกับการเป็นผู้นำเกี่ยวข้องกันอย่างไร คิดว่าคุณสมบัติที่สำคัญของการเป็นผู้นำ คืออะไร 5 ข้อ และวันนี้ที่ผู้นำชุมชนที่ทับสะแกต้องการพัฒนาในด้านใดบ้าง เสนอแนะวิธีการพัฒนาที่เหมาะสม
  • งานของท่านในระยะยาว..

3.1 ต้องการจะเพิ่มศักยภาพในด้านใดบ้าง

3.2 แผนงานที่อยากทำ/จะทำในช่วง 3 ปีข้างหน้า คืออะไร อธิบาย

3.3 เสนอแนะวิธีการสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะทีมที่มาขากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

อื่น ๆ เช่น พระ นักวิชาการ ข้าราชการ ภาคเอกชน/ธุรกิจ

  • เสนอแนะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Medias) เพื่อการสื่อสารเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องมียุทธวิธีอย่างไร (อธิบายเป็นข้อ ๆ) และปัจจัยของความสำเร็จคืออะไร
  • หลังจากวันนี้แล้ว.. ท่านจะทำอะไรต่อ 3 เรื่องเพื่อสร้างการสื่อสารเชิงรุกในชุมชนของท่าน เพราะอะไร และเสนอ 3 โครงการที่อยากจะทำร่วมกับ กฟผ. ในอนาคต

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทฤษฎีที่ใช้คือ 2 R’s คือความจริง และตรงประเด็น ทุกกลุ่มจะเป็นอาจารย์ซึ่งกันและกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1 แต่ละกลุ่มเลือกประธานที่เหมาะสม

2. เลือกเลขาที่สรุปได้

3. ประธานต้องบริหารเวลา

4. ต้องให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม

5. ชุมชนต้องมีส่วนร่วม

6. เขาเก่งอะไรพูดสิ่งนั้น

7. สร้างบรรยากาศให้เขามีเกียรติและศักดิ์ศรี

8. ต้องพูดความจริง

9. เวลาใกล้จบประธานถามว่าความคิดเห็นครบหรือไม่ขาดอะไร และให้ไปสร้างแรงบันดาลใจ

บรรยายเรื่อง “แนวทางการสื่อสารเชิงรุก”

วัตถุประสงค์

  • เป็นผู้นำชุมชนที่เข้าใจบทบาทพัฒนาพื้นที่ทับสะแก หรือ อาจจะหมายถึงพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคตให้มีคุณค่าต่อไป
  • ค้นหาศักยภาพของตนเองว่าจะเป็นผู้นำได้หรือไม่
  • พัฒนาการสื่อสารแบบเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ
  • สร้างสังคมการเรียนรู้ระดับชาวบ้านให้เข้มแข็ง ยั่งยืน
  • ทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ เช่น ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ

วันนี้เป็นทฤษฎีกระเด้ง จากลูกศิษย์กฟผ.รุ่นที่ 10

จุดแข็งของ กฟผ.คือความเป็นคนดีของสังคม ไม่มีใต้โต๊ะ ไม่มีชื่อเสียงที่เสียเรื่องธรรมาภิบาลดังนั้นความดีอันนี้เป็นสิ่งที่ต้องพูดให้คนทั่วไปเข้าใจ แต่ EGAT มีจุดอ่อนคือบุคลากรส่วนใหญ่เป็นวิศวะ

อยากให้ทุกท่านเข้าใจทั้งจุดแข็งหรือจุดอ่อนของ กฟผ.ด้วย ประเทศไทยเติบโตมา 40 กว่าปี ไฟฟ้าไม่เคยดับ มีการวิจัยที่ World Bank ว่าไฟฟ้าคือการผลิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประเทศไทยขาดไฟฟ้าไม่ได้ และในอนาคตข้างหน้าถ้าประเทศไทยไม่มีอาชีพสร้างโรงไฟฟ้าประเทศไทยจะมีความภูมิใจได้อย่างไร

การสื่อสารเชิงรุก

1. สิ่งที่เป็นอยู่คืออะไร

2. เป้าหมายคืออะไร

3. กลยุทธ์คืออะไร

4. ทำอย่างไรถึงจะสำเร็จ

ส่วนใหญ่คนจะไปเสียที่ข้อ 4 คือ คนไม่เห็นด้วย ต้องทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

หลักการของการสื่อสารเชิงรุกในความเห็นของผม คือ

1. มีความจริงใจในวิธีการทำงาน

2. เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา รู้จริง ศึกษาข้อมูลทั้งเชิงกว้างและลึก

3. เข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าคือใคร

4. มีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ไปสู่ผู้ฟัง อย่างน่าสนใจ

กฟผ.และชุมชนต้องทำงานร่วมกัน มีพันธมิตรทำงานร่วมกัน และพันธมิตรที่อยากเปลี่ยนใจคือ NGOs ที่ไม่เห็นด้วย

5. ทำงานเป็นทีม

6. ทีมจะต้องมีความหลากหลาย และนอกจากทีมแล้วจะต้องมีพันธมิตรทางด้านวิชาการ พระ ปราชญ์ชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชน

7. ทำงานอย่างต่อเนื่อง แบบ 3 ต. กัดไม่ปล่อย

8. ชนะเล็ก ๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้น

9. การสื่อสารไม่จำเป็นจะต้องเน้นปริมาณหรือจำนวนคนอย่างเดียว อาจจะเน้นบางกลุ่มแต่เขาสามารถขยายไปยังกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อชุมชนหรือสังคม

10. ต้องสามารถอธิบายทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของ กฟผ. อย่าเน้นเฉพาะจุดแข็ง เพราะว่าจุดอ่อนก็ยังมี แต่เน้นว่าจุดอ่อนนั้นแก้ไขได้ โดยเฉพาะบทเรียนในอดีต เช่น แม่เมาะ เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี

11. ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น

  • เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
  • ทำอะไรให้ระเบิดจากข้างใน
  • การทำงานให้ได้ผลระยะยาว
  • ยั่งยืน
  • เข้าใจภูมิสังคม
  • การทำงานอย่างมีความสุข

12. หลักการทำงานของผม ผมใช้ทฤษฎี “H – R –D –S” คือ การทำงานโดยยึดถือ..

Happiness – ความสุข

Respect – การเคารพนับถือซึ่งกันและกัน

Dignity - การยกย่องให้เกียรติ / ศักดิ์ศรี

Sustainability – ความยั่งยืน

Leadership Role ของ ดร.จีระ

  • Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต
  • Anticipate change คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้
  • Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม
  • Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง
  • Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น
  • Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว
  • Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ
  • Teamwork ทำงานเป็นทีม
  • Uncertainty Management การบริหารความไม่แน่นอน

กฎ 9 ข้อ Chira Change Theory

  • Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต
  • Anticipate change คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้
  • Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม
  • Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง
  • Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น
  • Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว
  • Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ
  • Teamwork ทำงานเป็นทีม
  • การบริหารความไม่แน่นอน

สรุป อยากเห็นวันนี้เป็นวันรวมพลังที่ทับสะแก ชนะเล็ก ๆ ในทับสะแกอาจหมายถึงการชนะใหญ่ ๆ ในอนาคต ก้าวเล็ก ๆ ในวันนี้คือการก้าวใหญ่ ๆ ในธรรมชาติ ความสำเร็จอยู่ที่การเห็นคุณค่าของการทำงานร่วมกัน

ผู้นำที่ทับสะแก แม้มีจำนวน 50 คนแต่ก็เป็นจำนวนที่ดีมากอยากให้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่แต่ละคนในวันนี้แต่ละท่านนำกฟผ.เป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญให้กับพื้นที่ เราไม่ได้ทำงานให้ กฟผ. เราเป็นเครือข่าย คนต้องการความจริงใจต่อพื้นที่

กฟผ.มีสิ่งที่น่าสนใจเพราะธรรมาภิบาล แม้โดนโจมตีตลอด

ขั้นตอนที่ 1 ดร.จีระ ให้แต่ละท่านรู้จักแผนที่ ติดอาวุธทางปัญญา

ขั้นตอนที่ 2 ให้ดูว่าเรามีจุดแข็งอะไร

กฟผ.ทำงานแบบดูว่าสังคมใกล้ สังคมไกล

ขั้นตอนที่ 3 เสาที่ 1 ทำอย่างไรให้สังคมเกิดประโยชน์สุขให้ได้ ต้องมีการสื่อสารเชิงรุกไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เสาที่ 2 รากเหง้าของคนทางใต้เป็นแบบไหน กฟผ.ดูแลดีหรือไม่ เสาที่ 3 เป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีอยู่ตามอัตภาพ แล้วกฟผ.ขาดอะไรให้ร้องขอ

ขั้นตอนที่ 4 เราจะสื่อสารทางรุกอย่างไร

Workshop แบ่งกลุ่มระดมความคิด 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ทบทวนการทำงาน “เรื่องการสื่อสารในชุมชนของท่าน” ในช่วงที่ผ่านมา.. เสนอ จุดแข็ง 3 เรื่อง และจุดอ่อน 3 เรื่อง หากจะเพิ่มจุดแข็งและลดจุดอ่อนเพื่อการสื่อสาร เชิงรุกในชุมชนของท่านจะต้องทำอย่างไร 3 ข้อ

ทบทบวนการทำงานที่ผ่านมา

1. พื้นที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ อ.ทับสะแก ประชาชนมีความพร้อม ซึ่งนอกจากตำบลนาหูกวาง พื้นที่ตำบลทับสะแก มีความพร้อม ความเข้าใจร้อยละ 90

2. พวกเรามีความรู้ ความพร้อม มีความเป็นผู้นำ

3. พร้อมที่จะเป็นนักสื่อสาร ที่เมื่อกลับไปแล้วจะเป็นนักสื่อสารที่ดี

ความมุ่งมั่น มองถึงลักษณะผู้นำและโอกาสดีทุกคน

จุดแข็ง

1. กฟผ.มีความจริงใจ การสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละที่ กฟผ.ส่งทีมงานด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ทำตามหลักธรรมาภิบาล

2. การเข้ามาในชุมชน ชุมชนทับสะแกมีความเข้มแข็งมาก

3. ยุทธภูมิ ทำเลที่ตั้ง เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้า

จุดอ่อนและการลดจุดอ่อน

1. นโยบายยังไม่ชัดเจนว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง

2. ข้อมูลไม่ชัดเจนต้องมีการแก้ไข

3. ขาดความต่อเนื่อง ไม่มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์ สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ

4. ขาดการมีส่วนร่วม ต่างคนต่างแยกกันอยู่ กลับไปต้องแก้ไขการมีส่วนร่วม น่าจะมีการแบ่งหน้าที่ว่าใครจะทำอะไรสายไหน ทำงานให้มีชัดเจนมากขึ้น ต้องดูนโยบายของ กฟผ.ชัดเจนหรือไม่

สิ่งที่จะทำเพื่อชุมชน 3 ข้อ

1. ขาดเครือข่าย ยังทำไม่ครบ

2. ข้อมูลข่าวสารที่ลงไปชุมชนยังไม่ครบ ไม่ชัดเจน

3. ช่องทางการสื่อสารของชุมชนยังไม่พร้อม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

เสนอให้เขารวมตัวกันและแบ่งหน้าที่ว่าจะทำอะไร และกระเด้งไปที่ชุมชนอื่น ๆ ด้วย ส่วนใหญ่จะมอบในสิ่งที่ยาก เช่น ถ่านหิน ต้องคิดให้เขามีนโยบาย อย่ารอให้มีนโยบาย ขอให้เราล้อบบี้ให้เขามีนโยบายที่เร่งรัด

ช่องทางการสื่อสารต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ถ้าขาดก็บอกให้ กฟผ.รับทราบ มีตัวละครนักวิชาการ นักธุรกิจ สร้างเครือข่ายให้ครบ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน พระ เพราะจะเป็นพลังที่ดี

ใน 40 คนนี้ต้องกลับไปคุยกัน มีการประชุมที่ชัดเจน

กลุ่มที่ 2 การสื่อสารเชิงรุกกับการเป็นผู้นำเกี่ยวข้องกันอย่างไร คิดว่าคุณสมบัติที่สำคัญของการเป็นผู้นำ คืออะไร 5 ข้อ และวันนี้ที่ผู้นำชุมชนที่ทับสะแกต้องการพัฒนาในด้านใดบ้าง เสนอแนะวิธีการพัฒนาที่เหมาะสม

ผู้นำควรมี

1. ความรู้ ความน่าเชื่อถือ ต้องมีศรัทธาจากประชาชน ต้องสร้างและสะสมมา ต้องมีความรู้ว่าสิ่งไหนถูกผิด สิ่งไหนเพื่อสังคมและส่วนรวมใครได้ประโยชน์ ต้องแยกแยะให้ออกว่าปฏิบัติได้หรือไม่ แล้วไปขอจากหน่วยงานอื่น แล้วค่อยมาพูดเหตุและผล

2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. มีความตื่นตัวและแก้ไขปัญหา ทุกท่านต้องตอบสนองให้ได้ประโยชน์สูงสุด แก้ตรงไม่ได้ต้องแก้ทางอ้อม ไม่เช่นนั้นจะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเลย

4. มีวิสัยทัศน์

5. วิสัยทัศน์และความสามัคคี ทุกคนมีปรัชญาในการดำเนินชีวิต ต้องแน่วแน่ในสิ่งที่ทำจะทำอะไร

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความตื่นตัว มีวิสัยทัศน์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

ผู้นำต้องเป็นนักแก้วิกฤติ เช่นวิกฤติพลังงานเป็นเรื่องมวลชน เราต้องฝึกแก้ Crisis เพราะวิกฤตินั้นมาแล้วต้องมาอีก ดังนั้นการสื่อสารที่ดีผู้นำต้องสามารถแก้วิกฤติได้ในเรื่องพลังงาน ไม่ใช่แค่ NGOs อย่างเดียวแต่อาจเป็นเรื่องเงินด้วย แล้วผู้นำเหล่านี้ต้องไปสร้างผู้นำต่อ แล้วผู้นำจะเป็นฐาน ในวันนี้ยังไม่มีนโยบาย การเดินไปหากระทรวงพลังงานเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

อยากให้คนในห้องนี้เป็นผู้นำก่อน เป็นนักสื่อสารเชิงรุก ผู้นำต้องฝึก ฝึก ฝึกให้ยิงอยู่ที่ตัวเราเอง และเราจะได้แบบอย่างของ กฟผ.เนื่องจากเขามีคุณธรรม จริยธรรม อยากให้นำสิ่งเหล่านี้ไปปลูกฝังความดีให้เกิดการยอมรับในชุมชน

กลุ่มที่ 3 งานของท่านในระยะยาว..

3.1 ต้องการจะเพิ่มศักยภาพในด้านใดบ้าง

- อยากให้มีการจัดทีมงานออกไปให้ความรู้ ข่าวสาร กฟผ. ข้อดี ข้อเสีย ให้ชาวบ้านรับรู้รับทราบถึงข้อดี ข้อเสีย อย่างถ่านหิน แสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ

- ให้ความรู้ต่อผู้บริหารตำบล หมู่บ้านที่จะเป็นปากเสียงในการสร้างโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นที่ทับสะแกได้

3.2 แผนงานที่อยากทำ/จะทำในช่วง 3 ปีข้างหน้า คืออะไร อธิบาย

- การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะการศึกษาทำให้คนมีความคิดต่อยอดได้ ช่วยให้เด็กและเยาวชนมีการศึกษาที่ดีขึ้นด้วย เคยเสนอเรื่องมหาวิทยาลัยไป 1 ครั้ง มีการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เน้นให้เด็กและเยาวชนคิดเชิงบวก

- ด้านเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพชุมชนให้อยู่กับโรงไฟฟ้า

- พัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร

- การยอมรับเหตุผลในการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะอาชีพประมง มีแรงต่อต้าน มีแรงกระเพื่อมมาก ได้รับความรู้และข่าวสารมากมาย

- การท่องเที่ยวอยากให้อำเภอทับสะแกเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพราะทับสะแกมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย หน้าติดทะเล หลังติดภูเขา มาสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน เมื่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้วให้อยู่ร่วมกับท่องเที่ยวได้ด้วย

- การส่งเสริมอุปกรณ์การแพทย์มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย

3.3 เสนอแนะวิธีการสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะทีมที่มาขากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

อื่น ๆ เช่น พระ นักวิชาการ ข้าราชการ ภาคเอกชน/ธุรกิจ

- ต้องรวมตัวกันทุกภาคส่วน

- ต้องฟังความคิดเห็น และความคิดต่าง เพื่อหาข้อสรุป และทำงานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อทำงานได้ต่อไปในอนาคต

กลุ่มที่ 4 เสนอแนะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Medias) เพื่อการสื่อสารเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องมียุทธวิธีอย่างไร (อธิบายเป็นข้อ ๆ) และปัจจัยของความสำเร็จคืออะไร

การใช้สื่อ Social Medias เช่น Youtube Facebook Line E-Office E-mail เราจะใช้สื่อเหล่านี้ในการเข้าถึงประชาชน ใช้ยุทธศาสตร์ PDCA เพื่อปรับปรุงการทำงานต่อเนื่อง

P-Plan

ทำความเข้าใจระบบก่อนว่าสื่อไหนเข้าถึงได้ง่ายและเหมาะสมกับบุคคล และพบว่า Facebook เข้าถึงได้มาก ส่วน Line มีข้อจำกัดในการใช้

D - Do

การจัดอบรมให้ความรู้ เช่นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ใช้ใหม่ ดูเนื้อหาสาระในการนำเสนอ พยายามเอาเรื่องไปลงให้กับประชาชนให้มาก ๆ

C- Check

เป็นการตรวจเช็คว่ากระบวนการทำงานได้ผลหรือไม่

A-Action

มีการปรับปรุงกระบวนการสมัยใหม่ ติดตามผล อาจใช้สื่อโซเชี่ยลทำงานร่วมกับระบบเดิม มีการปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่องและได้ผลมากที่สุด

สรุป พบว่า Facebook และ Line สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด การให้ความรู้ ถ้าขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอสมควร จะยากต่อการทำโรงไฟฟ้า มีการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทุกคนรับทราบ ความสำเร็จจะเกิดได้ต้องมีความจริงใจ และความจริงจังที่เกิดขึ้น ประชาชนต้องมีการรับรู้และสร้างความเข้าใจตรงนี้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมหมด ต้องมีงบประมาณและแผนปฏิบัติการเพื่อนำงบประมาณไปใช้ให้เกิดวัตถุประสงค์และความคุ้มค่า มีการติดตามผล ถ้าดีใช้ต่อไป มีการปรับปรุง ถ้าไม่ดี อาจยกเลิกหรือปรับปรุงใหม่

กลุ่มที่ 5 หลังจากวันนี้แล้ว.. ท่านจะทำอะไรต่อ 3 เรื่องเพื่อสร้างการสื่อสารเชิงรุกในชุมชนของท่าน เพราะอะไร และเสนอ 3 โครงการที่อยากจะทำร่วมกับ กฟผ. ในอนาคต

พบว่าเรื่องที่ถูกโจมตีคือโรงไฟฟ้า ได้ทำการวิเคราะห์ในกลุ่มช่วยกันทำช่วยกันคิด สิ่งที่จะทำต่อหลังจากวันนี้

ในกลุ่มมีความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่มคล้ายกับความหลากหลายของทับสะแก สมาชิกมีหลายบุคลิก ถือความเห็นของสมาชิกในกลุ่มคล้ายตัวแทนของชุมชน

สิ่งที่จะทำต่อ 3 เรื่อง

1. เข้าพบชุมชนในทุกระดับ เนื่องจากมีความหลากหลายชุมชน บางคนเข้าใจ บางคนไม่เข้าใจ นำความหลากหลายเก็บเป็นข้อมูล แล้วกลับไปที่ชุมชน เพื่อ เข้าไปให้ความรู้ ในการสร้างโรงไฟฟ้า คาดว่าจะได้ปฏิกิริยาตอบกลับ เอาทั้งบวกและลบมาคิดวิเคราะห์

2. ดูข้อดี และข้อเสียคืออะไร

3. ความเข้าใจที่คาดเคลื่อนของชุมชน มีวิธีการแก้อย่างไร อาจจำเป็นต้องอาศัยผู้รู้เข้ามาให้ความรู้ในชุมชน หรือหากจำเป็นต้องไปศึกษาดูงานก็จำเป็นต้องทำ เช่นพาไปศึกษาดูงานที่แม่เมาะ

ประโยชน์จากการศึกษาดูงาน นอกจากเห็นของจริง น่าจะนำประโยชน์ตรงนี้มาขยายผลให้ได้มากกว่าเดิม

สรุปคือ เป้าหมายหลักเพื่อหาแนวร่วมให้มากขึ้น

เสนอ 3 โครงการที่ทำร่วมกับกฟผ.

1. โครงการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับกฟผ. เช่น ประเพณี เทศกาลต่าง ๆ ขึ้นบ้านใหม่ หรืองานบวช การฝึกอาชีพ ให้เงินช่วยเหลือชุมชน เช่นเขียนโครงการและมีอนุมัติโครงการเปลี่ยนเป็นจัดทีมเข้าหาชุมชน เพื่อสร้างสายสัมพันธุ์ชุมชน

2. โครงการส่งเสริมอาชีพ พบว่ามีอาชีพที่สร้างเป็นธุรกิจต่อเนื่องได้

3. โครงการสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สวัสดิการเรื่องความเป็นอยู่ของชุมชน

ผอ.เดชา

ความคิดที่เกิดขึ้นมาจากพี่น้องชุมชนอย่างแท้จริง หลายความคิดเห็นดีมาก ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร มีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมเข้มแข็ง

คุณสุรีย์

ที่ผ่านมาในวันนี้เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง เป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานของประเทศไทยเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ และสะท้อนศักยภาพของคนทั้งหลาย

หลังจากนี้แต่ละท่านต้องไปรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นไวทยากรณ์มีการจัดกลุ่มทำงานกันต่อไป แต่อย่าลืมบุคคลสำคัญคือ โกมิ่ง

โกมิ่ง

ที่ผ่านมามีปัญหาเล็กน้อยเช่นเรื่องการซื้อที่ สร้างโรงไฟฟ้า 2 โรงใหญ่ ๆ มีความหวังที่จะให้ไปพัฒนาโรงไฟฟ้าที่ตำบลหูกวาง อำเภอทับสะแก เราทำเพื่อผลประโยชน์ไม่ใช่เพื่อโรงไฟฟ้า แต่เพื่อบ้านเมืองของเรา ต้องสร้างความรัก ความสามัคคี ทำงานด้วยกันต้องไปด้วยกัน การเข้าถึงผู้อื่นต้องเข้าถึงจิตใจผู้อื่น ต้องเป็นคนเด็ดเดี่ยว ใจกว้าง มั่นคง เราต้องมีหลักการ

คุณขนิกา

สิ่งที่เห็นและดีใจในวันนี้คือได้เห็นอาจารย์จีระและทีมงานดึงศักยภาพ ความรู้ ความเข้าใจ เห็นคนไทยมีความคิดความอ่านที่ต้องการให้ประเทศเจริญ ชุมชนเจริญ เห็นแล้วภูมิใจ

ดร.ณัฐ

อยากเห็นอาจารย์ช่วยทับสะแก ทำให้ทับสะแกเป็นต้นแบบประจวบคีรีขันธ์ ต้นแบบประเทศไทย ต้นแบบโลก เป็นเมืองต้นแบบพลังงานแห่งโลก

คุณชวัล

สิ่งที่นำคำสอนของผู้นำมาคือ อย่าไปเป็นนิ่วในร่างคนอื่น ควรไปเป็นมุกในตัวเขา เขาจะเคลือบเราเอง แล้วเราจะมีคุณค่า

ดร.จีระ

โจทย์ในวันพรุ่งนี้คือให้ทุกกลุ่มไปเขียนแผน

เคยพูดไว้หลายแห่งว่าถ้าเรามาปะทะกันทางปัญญา คือ Learn –Share-Care อยากให้มีรัฐธรรมนูญผู้นำกับการสื่อสารเชิงรุก และเมื่อปูพื้นไปตอนแรก พรุ่งนี้ลองวิ่งตามสูตรนี้คือ

1. ถามตัวเองว่าผู้นำกับการสื่อสารของตัวเรากับทับสะแกอยู่ตรงไหน

2. เราจะไปไหน

3. เราจะไปอย่างไร

4. ถ้าเรามีอุปสรรค ความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกันเราจะชนะอุปสรรคได้หรือไม่

5. เขียนแผนนำเสนอ ว่า 6 เดือน 2 ปี 3 ปีจะทำอย่างไร เช่นถ้าเขียนแผนไปกระทรวงพลังงานเราอาจไปพบคุณกรสิทธิ์เลย

ทุกอย่างมี Story สอนผู้นำในห้องนี้มีศักยภาพตามที่ควรจะมี ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนเชิงปฏิบัติได้จริง



สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 27 ธันวาคม 2559

เสนอโครงการที่อยากทำที่สุดเพื่อ “แนวทางการสื่อสารเชิงรุก” สำหรับกลุ่มผู้นำ และเครือข่ายต่าง ๆ ณ อ.ทับสะแก

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้เขียนโครงการปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3

การแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือ กระตุ้นให้คิดถึงภาพกว้าง แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของชุมชนที่กระตุ้น กฟผ.

อยากให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่า

1. นโยบายไปให้คุณกรสิทธิ์รับทราบ

2. ใช้เวลาไม่มากแต่ได้การปะทะกันทางปัญญา

3. จัดเป็นโครงสร้างที่มีประธาน รองประธานมีบทบาท

4. ควรพูดถึงการบริหารจัดการ 40 คน

5. ใครที่อยู่ใน กฟผ.ต้องคิดเรื่องชุมชนร่วมกัน

ถ้ามีโอกาสอยากผลักดันผู้ช่วยกลุ่มนี้ ไม่ทำเฉพาะที่ทับสะแก

ครูบาสุทธินันท์ แนะนำว่าถ้า กฟผ.พลางตัวสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนกับ กฟผ.ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจหรือ Trust

ในทับสะแกต้องคิดว่า ถ้าอยากให้ กฟผ.มาทำอยากได้โครงสร้างใหญ่ ๆ มีโรงงานสัก 1 โรง ใช้ทฤษฎีคู่ขนาน เป็นแนวร่วมกัน

การสื่อสารไม่จำเป็นที่ปริมาณ การสื่อสารต้องเน้นที่คุณภาพ และคุณภาพต้องทำให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เมื่อวานได้อะไรบ้าง

1. การสื่อสารเบื้องต้นมี 4 อย่าง

- สาร

- ช่องทางส่งสาร

- ผู้ส่งสาร

- ผู้รับสาร

สรุปคือเห็นว่าผู้ส่งสารมี 2 ฝ่าย คือการออกแบบจากประชุมเชิงปฏิบัติการ สารที่ส่งสารผ่านกระบวนการ Learn-Share-Care

ผู้รับสาร 2 ฝั่ง อยากให้ผลโดยตรงออกมาเป็นแบบไหน

1. จุดแข็งของชุมชนคือพื้นที่ของทับสะแกเป็นชัยภูมิที่ดีมาก ประชาชนมีความพร้อม 90% ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความพร้อมการเป็นผู้นำและสื่อสารที่ดี พร้อมเป็นเครือข่ายในการรับสารและสะท้อนกลับ และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ อยากให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข พัฒนาอย่างยั่งยืน

2. เรื่องสุขภาพ การศึกษาของประชาชน จะสร้างหรือไม่สร้าง กฟผ.จะทำงานร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว ทำให้ท่านผู้นำไม่สามารถส่งสารที่ชัดเจนไปยังประชาชนได้

3. การขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

4. ขาดช่องทางในการส่งสาร

5. ขาดการมีส่วนร่วม

6. ขาดเครือข่าย

ทั้ง 40 ท่านต้องนำความรู้ไปสร้างผู้นำในพื้นที่เพื่อเป็นกำลังสำคัญ ควรมีการทำงานต่อเนื่องโดยใช้ 40 ท่านเป็นแนวหลักแล้วไปสร้างผู้นำต่อไป

การสร้างเครือข่ายต้องชัดเจน หาข้อมูลให้ชัดเจนมากขึ้น แล้วการสื่อสารจะเสริมอะไรต่อไปได้

การทำงานของแต่ละท่านควรมองว่าเราควรมีการทำงานที่เป็นโครงการฯชัดเจน เห็นปัญหาแล้วมีข้อดี ข้อเสีย มีส่วนใดบวกลบบ้าง แล้วมี Step ในการไปทำ

สิ่งที่ ดร.จีระฝากไว้คือก่อนมีการสื่อสารที่ดีต้องมีภาวะผู้นำที่ดีก่อน ผู้นำต้องสามารถนำเสนอได้

ข้อดีของคนในห้องนี้คือมีการมองเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมองเรื่องความยั่งยืนของชุมชน

กฟผ.เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ไม่มีเรื่องใต้โต๊ะ มีแต่ความจริงใจที่ให้ประชาชน

สิ่งที่ทำไปแล้วจะมีการวิเคราะห์ร่วมกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่เราได้วันนี้นอกจากสาระแล้ว ยังมีสังคมแห่งการเรียนรู้ อยากให้เน้นความต่อเนื่องทั้งหน่วยงานที่ทับสะแกและกฟผ.อย่าทำอะไรแบบไฟไหม้ฟาง เราต้องปูพื้นเรื่องชุมชนตลอดเวลา เรื่องความต่อเนื่องและการแบ่งงานเป็นส่วน ๆ แบบ Silo

แผนที่เราจะทำควรเน้นความจริงเน้นชนะเล็ก ๆ แต่เป็นประเด็นใหญ่ที่สามารถทำต่อได้ และถ้าคิดจะชนะคือ เราอยู่ไหน เราจะไปไหน เราจะมียุทธวิธียังไง และเราจะทำอะไรให้สำเร็จเราต้องต่อสู้กับเขา ท่านจะจัดการร่วมกับเขาได้หรือไม่

ทีม Network เครือข่ายมี 2 แนว

1. การรวมตัวกันไปทำข้างนอก

2. การเสริมด้วยนักธุรกิจ นักวิชาการ และเครือข่ายต่าง ๆ เป็นแนวร่วม

การทำงานร่วมกัน 40 คน ให้มีหน่วยงานอื่นมาร่วมฟังบ้าง การทำอะไรให้สำเร็จเราต้อง Break on the rule ดังนั้นผู้นำชุมชนต้องศึกษา กฟผ.ให้ดี ต้องศึกษาโครงสร้างใหญ่ที่อยู่ข้างบน

แผนการนำเสนอกลุ่มที่ 1 – 5

  • วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่.. สถานการณ์ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน (Where are we?)

(2) วิเคราะห์เป้าหมาย .. เราอยากจะไปไหน (Where do we want to go?)

  • วิเคราะห์กลยุทธ์.. เราจะไปด้วยวิธีอะไรได้บ้าง (How to do it?)
  • วิเคราะห์วิธีการทำให้สำเร็จ.. อุปสรรคและทางออก + ปัจจัยของความสำเร็จ

(How to do it SUCCESSFULLY?)

กลุ่มที่ 1 แนวทางการสื่อสารเชิงรุก

1.สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

- นโยบายยังไม่ชัดเจน

- ข้อมูลยังไม่ชัดเจน

- ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

- ขาดช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจรที่จะนำไปคุยกับประชาชนในพื้นที่

- ขาดความต่อเนื่องของข่าวสาร

- ขาดเครือข่าย

2. การแก้ไข

- ต้องขอความชัดเจนจากนโยบายที่ กฟผ.บอกกล่าวแก่เราได้ ถ้าจะทำต้องมีข้อมูลขึ้นมา ทำแผนการประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง

- เพิ่มช่องทางการสื่อสาร อาทิ ทีวี การประชาสัมพันธุ์ วิทยุ

- สร้างเครือข่ายให้ชัดเจน ให้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. เป้าหมายสิ่งที่อยากให้เป็น

3. กลยุทธ์

- นโยบายสร้างความสัมพันธ์ให้ชัดเจนพัฒนาการสื่อสารทุกทิศทาง

- ขาดข้อมูลทางการสื่อสาร ยังไม่ค่อยมีอะไร ขาดเทคนิค ขาดความต่อเนื่อง ต้องทำกิจกรรมที่ต่อเนื่อง โดยเชิญกลุ่มผู้นำไปพูดคุยให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง สามารถสื่อสารไปทิศทางเดียวกันได้

4. แผนที่จะทำ

- นโยบายควรมีความชัดเจนตั้งแต่แรก ทำให้ชัดเจนขึ้น

ระยะที่ 1 สร้าง Network

ระยะที่ 2 การสื่อสารรอบทิศทางและทำให้ต่อเนื่อง

ระยะที่ 3 การจัดคำถามข้อมูล สร้างฐานข้อมูล

- มีนโยบายที่ชัดเจน ช่วยชี้แนะ นำข้อมูลจากข้างบนมาบอกข้างล่าง และให้ครบวงจร

กลุ่มที่ 2

1.สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

- การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน การไฟฟ้าส่งมวลชนเข้ามาตั้งแต่ปี 2542 มีคนเข้าออก ข้อมูลที่แท้จริงไม่ได้รับ ทราบอย่างเดียวว่ามีแค่การสร้างโรงไฟฟ้า เกิดเสื้อเขียว มีการทำ MOU กระทรวงพลังงานกับเสื้อเขียว จนกระทั่งมี โกมิ่งเป็นผู้นำในทับสะแก สร้างฐานมวลชนเรื่อย ๆ ในพื้นที่ มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และในที่สุดสิ่งที่อยู่ในใจของประชาชนคืออยากได้โรงไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2540 ตั้งแต่เริ่มซื้อพื้นที่ จึงมีความต้องการทำให้ได้มาซึ่งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ จึงอยากทำอะไรที่ดีขึ้นมา นั่นคือการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และได้ยื่นขอต่อกระทรวงพลังงาน แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับว่าเป็นอย่างไร แต่ผลจะไปสร้างที่กระบี่ ที่เทพา ทั้ง ๆ ที่ที่ยังไม่ได้ซื้อ แต่ในวันนี้ผู้นำชุมชนมีความพร้อมที่จะออกมาเคียงข้าง และยินดีที่จะไปสื่อสารให้กับประชาชนรับรู้แต่บางครั้งยังมีชุมชนที่มองในด้านลบคิดว่าผู้นำมีส่วนได้เสียกับ กฟผ. ดังนั้นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดของผู้นำคือ ต้องการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงจากกระทรวงพลังงาน ถ้าผู้นำไปพูดกับชุมชน ชุมชนจะมองว่ารับเงิน ถ้า กฟผ.ไปพูดกับชุมชน จะเสมือนว่าอยากสร้างโรงไฟฟ้า เปรียบเสมือนผู้แทนคนหนึ่งที่หาเสียง แต่ความจริงแล้ว กฟผ.ใช้เงินเพื่อการพัฒนา แต่ชาวบ้านไม่คิดเช่นนั้น

การตอบคำถามที่ดีคือกระทรวงพลังงานที่จะตอบคำถามได้ดีที่สุด พลังงานที่เหลือใช้พลังงานสำรองที่มากที่สุดในโลก แต่ไม่รู้ได้คำตอบนั้นมาจากนั้น ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจผิดของชุมชน

การลงสู่ชุมชนได้ดีที่สุดคือ การร่วมกิจกรรม 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายผลิต ฝ่ายชุมชน ฝ่ายผู้นำชุมชน

2. โครงการที่อยากทำมากที่สุดคือ

การทำมวลชน ทำให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารได้ถูกต้อง ให้ 3 ฝ่ายร่วมทำ เป็นสิ่งที่ดีของประชาชน

ปีที่ 1 ทำเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจจัดสัมมนา สิ่งที่จะตอบคำถามคือกระทรวงพลังงาน ในสิ่งที่กระทรวงควรบอกกับประชาชนคือ ตอนนี้ แก๊ซเหลือเท่าไหร่ อีกกี่ปีหมด การทำครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้น

ปีที่ 2 หลังจากกระทรวงทำความเข้าใจให้กระทรวงประกาศเลยว่าสร้างโรงไฟฟ้าทับสะแก

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

เชื่อว่ากระทรวง Regulator คนที่มาควบคุม นายกฯ ต้องมาช่วยเราและเชื่อว่าถ้ามีสัมมนาแบบนี้บ่อยๆ ถ้าทำสำเร็จในระดับชุมชนจะกระเด้งไปหลายเรื่อง ภูมิปัญญาอยู่ข้างใน

ใช้ทฤษฎี 3 ต. – ต่อเนื่องคือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง เพราะการปรับพฤติกรรมของคนต้องใช้เวลา

เสนอให้มีการจัดประชุมต่อเนื่องเชิญเสื้อเขียวมาฟัง บางครั้งคนไม่เห็นด้วยอาจทำให้เขาเข้าใจมากขึ้น อยากขอให้เชิญเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานเข้าร่วมฟังด้วย เนื่องจากเป็นเจ้ากระทรวง กฟผ.เป็นส่วนเล็ก ๆเพื่อไม่ทำให้กฟผ.ถูกมองเป็นจำเลย หลังจากวันนี้อยากให้สร้างโครงสร้างองค์กรด้วยตนเอง

กลุ่มที่ 3

1.สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

การตระหนักรู้ของชาวบ้าน การรับรู้ข้อมูลชาวบ้านในพื้นที่ทับสะแกรู้ในเชิงลึกน้อยมาก มีเพียงกลุ่มผู้นำเท่านั้นที่รู้มีเพียงแค่รู้ว่าจะสร้าง แต่ไม่รู้ถึงข้อดี ข้อเสียที่แท้จริง

2. เป้าหมาย

อยากให้เข้าชุมชนเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ชุมชนทับสะแกมี 65 หมู่บ้าน มีการประชุมชัดเจน อยากให้รู้ข้อดี ข้อเสีย พลังงานต่าง ๆ ถ้ารู้แล้ว ตัดสินใจแล้วเสื้อไหนเวลาไปพูดก็ไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับเรา ชาวบ้านอยากรู้ แต่ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ

3. โครงการที่จะทำ

1. โครงการเกี่ยวกับพลังงานกับชุมชน

2. โครงการให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องโรงไฟฟ้าทับสะแก

3. โครงการสร้างอาชีพมั่นคงและถาวร ตามสารของพระราชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

กล่าวเสริมว่า 40 คนต้องมา มีชาวบ้านไปกับเรา มีการรายงานสรุปตรงนี้ ชุมชนมาแค่ไหนต้องปรึกษากัน

มีหลายเครือข่ายที่ไปช่วย กฟผ.

หลักการคือ 1. ยกย่องให้เกียรติ 2. ให้ศักดิ์ศรี

นอกจากชาวบ้านแล้วให้เอาตัวละครอื่น ๆ

กฟผ.กับกระทรวงพลังงานคิดจะทำคือการจ้างงานทางเศรษฐกิจ สร้างให้ชาวบ้านพึ่งตนเอง

ต้องหาประเด็นที่เกิดขึ้นในห้องนี้แล้วมีการเปลี่ยนแปลงที่เด็ดขาด แนะนำว่าในคราวหน้า อย่าให้เขาฟังอย่างเดียว แต่ให้เขามีส่วนร่วมด้วย ดัง Training for Trainer

การประชุมครั้งต่อไป อาจเชิญชุมชนที่ไม่ได้อยู่ในแกนนำมาออกความเห็น มีการป้อนข้อมูล ให้ชุมชนคิดเอง เพราะการสื่อสารยุคใหม่ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว

กลุ่มที่ 4

1.สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

- ความต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเช่น การศึกษาดูงานไปดูงานมาแล้วจบเลย อยากให้โครงการทุกโครงการติดตามผล ประเมินผล ว่าจะทำต่อหรือต่อเนื่อง เราต้องติดตามผล ประเมินผล แล้วสรุปผล อย่าทำอะไรที่ทำแล้ว แล้วเลิก อยากให้มอบหมายงานแล้วมาติดตามกัน

- การสื่อสารไม่ครอบคลุม

- การให้ความรู้ความเข้าใจ เคยเสนอ กฟผ.ไปที่โรงเรียนไปเสนอสื่อให้เด็กได้รับความหลากหลายเด็กคือเยาวชนโตขึ้น แล้วไปสื่อสารกับพ่อแม่ได้ การหาเสียงให้หากับนักเรียนได้ แล้วไปบอกพ่อแม่ได้

- เป้าหมายคือมีนโยบายที่ชัดเจน ให้ลงพื้นที่แล้วตอบคำถาม เป้าหมายคือความหลากหลาย ทุกคนตอบคำถามไม่ตรงกัน ดังนั้น ถ้ามีโอกาสอย่างไรให้ กฟผ.ทำคำตอบให้ สร้างโรงไฟฟ้าอย่างไร ทำไม่ต้องใช้ถ่านหิน ตอบให้ตรงกัน

2. กลยุทธ์

- สร้างความรู้ความเข้าใจหลายช่องทาง ให้สร้างแกนนำ แล้วขยายผลผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู หลายคนรู้ทุกอย่าง รู้ทุกเรื่อง ทำอย่างไรเราถึงมาพูดกันว่ากฟผ.มานำแล้ว เราจะไปให้ความรู้อย่างไรไม่ให้เราเดือดร้อน

- การทำอย่างไรก็ตามต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง ติดตาม ประเมินผล

- การสร้างเวทีให้ กฟผ.ลงไปเข้าหา

- งบประมาณในการทำกิจกรรมให้คุ้มค่า ทำอย่างไรก็ทำให้เกิดประโยชน์ ทับสะแกต้องยอมรับสิ่งที่ดี ๆ เข้ามา

3. โครงการ

ปีที่1 ให้ความรู้จัดอบรมในพื้นที่ต้องมีการลงพื้นที่ กลุ่มเด็กยังต้องการความรู้ที่ชัดหน่วยงานใหญ่ ๆ อย่าง กฟผ.ต้องมีข้อมูลที่สุดและสามารถโน้มน้าวใจประชาชนได้

ปีที่ 2 จัดวิทยุ กฟผ.ร่วมกับประชาชน บางคนสื่อ Social Media ไม่สามารถเข้าได้ทั้งหมด แต่สื่อวิทยุสามารถเข้าถึงได้

เด็กมีความรู้มากมายแต่ไม่ได้รับการสนับสนุน

ปีที่ 3 ต้องมีเครื่องมือตรวจวัดชัดเจนแล้วนำข้อมูลมาปรับปรุง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

อาจให้สื่อต่าง ๆ เข้ามาร่วมเช่น สื่อวิทยุ เชิญครู ผู้บริหารคนอื่น ๆ หรือคนที่มีบทบาทท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย

ความต่อเนื่องต้องใช้ 3 ต.คือต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต้องกัดไม่ปล่อย

การพูดไปแล้วต้องทำด้วย เพราะพูดอย่างเดียวไม่พอ

กลุ่มที่ 5

1.สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

กฟผ.ส่งเจ้าหน้าที่มาทำมวลชนสัมพันธ์ เน้นวิธีการง่าย ๆ เข้าหาชาวบ้านเชิญผู้นำมาคุยกัน ตรงกับหลักการของโกมิ่งคือคุยกันง่าย ๆ

ส่วนชุมชนรับฟังให้ความช่วยเหลือ ชุมชนไหนต้องการอะไร ทำเรื่องมา

มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

2. สิ่งที่อยากให้เป็น

กฟผ.ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อมวลชน ต้องการสร้างโรงไฟฟ้าทับสะแก แต่20ปีผ่านมาถูกดองเย็น ดังนั้นจึงยิงตรงเข้าไปที่กระทรวงพลังงาน

ชุมชนต้องการความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มองว่าถ้ามีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ความเป็นอยู่คงดีขึ้น

3. กลยุทธ์

เห็นผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่าย หัวหน้าฝ่าย ผู้นำต่าง ๆ ดร.จีระเข้ามา อยากให้ผู้ฟังยกระดับศักยภาพ

ชุมชนให้ความร่วมมือ เป็นสิ่งที่ดี

4. สิ่งที่ทำเพื่อให้เกิดความสำเร็จ

กฟผ.ต้องจริงใจ ชัดเจน ไม่ใช่เปลี่ยนคนตลอด ไม่อย่างนั้นจะเกิดความเบื่อ จึงอยากให้ชัดเจน

ชุมชน ในวันนี้ค่อนข้างเป็นปึกแผ่นมากที่สุดเท่าที่ทำมา

ยกตัวอย่างมีกลุ่มนักเลงคีย์บอร์ดได้ขึ้นรูป โรงไฟฟ้าในอดีตแล้วมีคนแชร์จำนวนมาก ทำให้คนมีความสนใจมาก

5. โครงการ

ปีที่ 1 โครงการ กฟผ.พบปะชุมชนสร้างสานสัมพันธ์

ปีที่ 2 โครงการจัดการศึกษาดูงานเชิงประจักษ์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและนำมาปรับใช้ สามารถเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า เพียงแค่หน่วยงานมวลชนสัมพันธ์ไม่พอ อาจต้องดึงบางหน่วยงานมาประสานกับมวลชนสัมพันธ์ แล้วประสานกัน แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคอยู่คือเรื่องมลภาวะ

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

เราจะไปไหนไม่ใช่แค่โรงไฟฟ้า แต่บวกเรื่องรายได้ 4.0 ด้วย การไฟฟ้าเหมือนการลงทุนใหม่ ถ้า Control สิ่งแวดล้อมได้ จะทำให้ประชาชนมีงานทำ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และถ้าชาวบ้านเข้าใจว่าแต่ละชนิดของพลังงานไปกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างไรจะเป็นประโยชน์

อาจารย์พิชญ์ภรี จันทรกมล

สิ่งที่ได้ในวันนี้

1. Rตัวที่ 1 คือ Reality ความจริง พบว่าประมาณ 90% ประชาชนคิดเชิงบวกด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ผลักดัน มีประชาชนมีบางส่วนที่คิดต่างคือ ไม่ได้ความรู้ แล้วจะให้ความรู้อย่างไร ทำ 10% กลับมาบวกได้อย่างไร ทำอย่างไรให้ 10% เป็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เสียอย่างไรให้น้อย และไม่จำเป็น

2. Rตัวที่ 2 คือ Relevance ทำอย่างไรต้องตรงประเด็น ทุกอย่างต้องชัด ต้องเคลียร์ ทุกอย่างที่ตรงประเด็นและได้ผลสิ่งที่ กฟผ.ต้องทำคือ จะสร้างโรงไฟฟ้าและไม่สร้างโรงไฟฟ้าอย่างไร กฟผ.ทำเพื่อยกระดับชีวิตที่ดีของชุมชนที่อยู่ใน กฟผ. ด้วยเศรษฐกิจ ระหว่างรอโรงไฟฟ้าก็ยังคงทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับชุมชนต่อไป

3. กฟผ.มีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งแรงที่สุด

4. การทำมวลชน 4 ฝ่าย

5. การพัฒนาส่วนด้านอื่นประกอบเช่นระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว

6. โครงการที่อยากทำ ระยะที่ 1 ต้องมีแผนยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตระยะที่ 2 การให้ความรู้เชิงประจักษ์ระยะที่ 3 การส่งเสริมอาชีพ เศรษฐกิจพอเพียง

สรุปคือ โรงงานไฟฟ้าจะเกิดหรือไม่ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

นอกจากการดูเรื่องสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว ผู้นำชุมชนต้องอยู่ความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย ต้องมีการฝึกอาชีพ มีกิจกรรมพร้อมกันไป โรงไฟฟ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของหัวใจของ 4.0 ได้ เป็นการทำให้ต้นทุนทางธุรกิจต่ำลง เราจะเพิ่มความอยู่ดีกินดีของคนในทับสะแก


หมายเลขบันทึก: 620740เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2016 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2016 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท