ทำไมพม่า...จึงเสียเมือง (จบ)






พระเจ้าสีป่อ เป็น พระราชโอรส ของพระเจ้ามินดง กับ เจ้าหญิงจาก เมืองสีป่อ ในดินแดนไทใหญ่ มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายหม่องปู

น่าเสียดายที่แผ่นดินพม่าอันยิ่งใหญ่เรืองรอง .... ต้องมาล่มลงด้วยน้ำมือของคนไม่รักชาติเพียงกลุ่มเดียวที่นำโดย พระนางอเลนันดอ พระมเหสีในรัชกาลก่อน ซึ่งเป็นผู้บงการให้เลือก พระเจ้าสีป่อ ขึ้นครองราชย์ แซงหน้าพระโอรสองค์อื่นของ พระเจ้ามินดง แล้ว. ... พระนางก็วางหมากให้ลูกสาวของตนขึ้นมาเป็นพระมเหสีด้วย พระมเหสีองค์นี้ดังมากในหน้าประวัติศาสตร์ของพม่ เรียกว่าถ้าพูดถึง พระเจ้าสีป่อ แล้วไม่คุยถึง พระราชินี นี่ถือว่าขาดตอนสำคัญไปทีเดียว โดย พระราชินีองค์นี้มีพระนามว่า “พระนางศุภยาลัต” มีเรื่องราวเกี่ยวกับ พระนางศุภยาลัต อยู่มากมายที่ถูกบันทึกไว้ แต่ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ ซึ่งต่อมาภายหลังมีนักข่าวไปสัมภาษณ์พระนางถึงเรื่องนี้ เมื่อมีพระชนม์มากแล้ว แต่พระนางก็ปฏิเสธในเรื่องราวต่างๆ

ด้วยเรื่องราวของพระเจ้าสีป่อนี้ เริ่มขึ้นด้วยความโกลาหลวุ่นวาย ตั้งแต่ในการครองราชสมบัติ จนเมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วก็ทรงถูก “ครอบ” ไง้ด้วยผู้ที่มีอำนาจฝ่ายพระมเหสีองค์ก่อน (พระราชมารดาของ พระนางศุภยาลัต) จนเป็นเหตุให้เกิดการนองเลือดครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เป็นการสังห่รหมู่ราชวงศ์

เพราะพระเจ้าสีป่อ ทรงขึ้นครองราชย์อย่างไม่ถูกตามกฎมณเฑียรบาล ด้วยเป็นพระโอรสองค์รองลงมามาก ดังนั้นฝ่ายที่เชิดพระองค์จึงวางแผน “กำจัด” เสี้ยนหนามผู้ที่อาจเป็นภัยในภายหลังได้เสีย ซึ่งก็คือพระราชวงศ์ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยวางแผนอย่างแยบยลให้มีการจัดงานฉลองใหญ่ในพระราชวัง ให้มีการระดมวงมหรสพและมโหรีมาเล่นดนตรีถวาย โดยให้เล่นอย่างดังในงานประหารหมู่

เพราะการสังหารหมู่ราชวงศ์ ครั้งมโหฬารครั้งนั้นเป็นเรื่องที่น่าสังเวชใจยิ่ง โดยบรรดาพระราชวงศ์ที่เป็นพระโอรสพระธิดาของกษัตริย์พระองค์ก่อน ต่างถูกจับมัดมือให้เดินเป็นหมู่ไปยังลานหลังพระราชวังที่ได้ขุดหลุมใหญ่รอเอาไว้

พระราชวงศ์หลายพระองค์ที่ยังเยาว์พระชันษา จะร้องไห้ดิ้นรนหรือพระมารดาของโอรสธิดาเหล่านั้นจะคร่ำครวญร่ำไห้สักปานใดก็ตาม .... แต่เพชฌฆาตก็ทำหน้าที่ของตนอย่างเลือดเย็น ...ด้วยการทุบด้วยท่อนจันทน์ ... แล้ว "ผลักลงไปรวมกันในหลุม ก่อนจะกลบทั้งคนตายและคนที่ยังไม่ตายนับร้อยๆ คนไปพร้อมกัน" ... ยังเกิดเสียงร้องอันน่าขนลุก เสียงร้องขอชีวิตของคนหมู่มากนั้นดังไปถึงที่ประทับ

และเมื่อนั้นนางศุภยาลัต ก็จะถลึงตาไปยังวงมโหรีพม่าสักทีหนึ่ง ... แล้วเสียงประโคมดนตรีอันดังสนั่นหวั่นไหว ก็จะบังเกิดขึ้น ซึ่งหากท่านใดได้เคยไปฟังวงดนตรีแบดั้งเดิมของพม่าสักครั้งหนึ่งก็จะเข้าใจได้ทีเดียวว่าเสียงนั้นดังครึมโครมสักเพียงใด

ส่วน พระเจ้าสีป่อ ที่ประทับพระองค์สั่นอยู่เคียงข้างยามได้ยินเสียง .... พระญาติร้องครวญครางมาตามสายลม ... ก็จะถูกถวายน้ำจัณฑ์ให้เสวยเสียทุกครั้ง ...

ผ่านไปหลายวัน ศพในหลุมพองอืดดันดินขึ้นมา ... ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ววัง พระนางสุภยาลัต จึงสั่งให้นำ ช้างมาเหยียบย่ำ พื้นจนเรียบ ... แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะศพ เยอะเกินไป สุดท้ายต้องขุดศพใส่เกวียนนำไปทิ้งแม่น้ำและฝังนอกเมืองทำให้ประชาชนรู้ความจริง... ซึ่งครั้งนี้เป็นการปลงพระชนม์เจ้านายพม่าครั้งใหญ่ที่สุด ...จนทำให้เชื้อพระวงศ์พม่าเหลืออยู่น้อยมาในปัจจุบัน

พระราชาผู้ทรงทศพิธธรรม ... จะเป็นสง่าแห่งแคว้นและทำให้ชาติอื่นเกิดความยำเกรงในพระบรมเดชานุภาพ .... แต่เมื่อรัชกาลแห่ง พระเจ้าสีป่อ เริ่มด้วยเรื่องอันไม่เป็นมงคลอย่างนี้แล้ว ... ก็ราวกับเป็น ลางร้าย ที่นำมาก่อนที่พม่า จะมีเรื่องราวขัดแย้งกับอังกฤษครั้งใหญ่ต่อมาเรื่อยๆ




จนกระทั่ง ฟางเส้นสุดท้าย ของฝ่ายอังกฤษขาดลง ... เมื่อพม่าให้สัมปทานกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติคู่แข็ง ... แถมยังเรียกเอา ค่าปรับจากอังกฤษอีกเป็นเงินจำนวนมหาศาล

รัฐบาลอังกฤษได้ส่งสัญญาณให้กองทัพเข้ามาบุกพม่า ... ซึ่งก็ปรากฏว่าอังกฤษผ่านเข้ามาได้อย่างสะดวกแทบจะเรียกว่า ปราศจากการต่อต้าน จนถึง เมืองหลวงมัณฑะเลย์ ทัพอังกฤษที่นำโดย นายพลแฮรี เพรนเดอกาสต์ จึงได้บุกเข้าไปถึงในพระราชวังที่ประทับของพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัต

ก่อนจะมีคำสั่งให้ “สละพระราชสมบัติ” และ เสด็จออกนอกประเทศ ซึ่งบัดนี้นายพลชาวต่างชาติ ...ได้มายืนอยู่ตรงหน้า พระพักตร์ของกษัตริย์และราชินี โดยที่ไม่ต้องกระทำตามราชประเพณีอีกต่อไป




อนิจจา ราชวงศ์พม่า ...ที่เคยยิ่งใหญ่เป็นที่น่ายำเกรงของนานาประเทศน้อยใหญ่ มานับแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง ถึงตอนนี้ด้วยความ.... ที่คนในชาติไม่รักกันก็พาให้แผ่นดินที่เคยเกรียงไกรต้องถึงแก่อวสานลงอย่างน่าเสียดาย

ทางอังกฤษได้มี...คำสั่งให้พาเสด็จพระเจ้าแผ่นดินของพม่า....ออกไปนอกประเทศ โดยพาหนะ ที่นายพลเพรนเดอกาสต์ จัดถวายนั้น ก็คือ เกวียนบรรทุกของที่เทียมด้วยโค หลังหนึ่ง ซึ่งเป็น การตั้งใจหลู่พระเกียรติ ในแบบของผู้ชนะ ...โดยในระหว่างทางนั้นก็... มีประชาชนชาวพม่ามายืนดูขบวนเสด็จที่น่าเศร้านี้กันอยู่ 2 ข้างทาง ถือเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ประชาชนของพระเจ้าสีป่อจะได้เห็นพระองค์หลังจากที่ทรงอยู่แต่ในพระราชวัง หลังจากนี้ไปมัณฑะเลย์ก็เป็นเพียงอดีตเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของราชวงศ์พม่าเท่านั้น

ฝ่ายอังกฤษได้เตรียมเรือกลไฟไว้รอรับ กษัตริย์และราชินี เพื่อที่จะส่งพระองค์ไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย.... ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น ... แล้วดินแดนพม่าที่เก่าแก่มานับพันปี... มีพระราชวงศ์ปกครองกันมาหลายชั่วคนก็ตกเป็น “เมืองขึ้น” ของประเทศอังกฤษอย่างสมบูรณ์





เรื่องราวแห่งพระชนม์ชีพของ พระเจ้าสีป่อ กับ นางศุภยาลัต ต่อจากนั้นเป็นเรื่องราวที่น่าเศร้าใจ เพราะพระองค์ทรงอยู่กันอย่างเงียบๆ กับข้าราชบริพารเพียงไม่กี่คนในที่ประทับที่อังกฤษจัดให้ ... พร้อมกับเงินปีที่ถวายเพียงไม่มาก และยังลดลงอีกเรื่อยๆ ในปีหลังๆ

ต่อมาไม่นาน พระเจ้าสีป่อ ... ก็เสด็จสวรรคตในประเทศอินเดียนั้นเอง ซึ่งตรงกับ สมัยรัชกาลที่ 6 ของไทยเรา ... ทิ้งอดีต พระมเหสี ให้ใช้ชีวิตอยู่พระองค์เดียว .... อีกนานหลายปีก่อนที่อังกฤษจะอนุญาตให้พระนางกลับคืนสู่พม่าที่เมืองย่างกุ้ง

ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพของพระราชินีที่กุมชีวิตคนไว้ทั้งประเทศนั้น .... พระนางศุภยาลัต ทรงอยู่อย่างเงียบเหงา โดยเลี้ยงสุนัขเป็นเพื่อน และพระอนามัยส่วนพระองค์ก็ไม่ค่อยดีนัก ... ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์เมื่ออายุได้ 65 พรรษา ... เป็นอันสิ้นสุด กษัตริย์และราชินี องค์สุดท้ายแห่งพม่าอย่างแท้จริง


พระเจ้าธีบอ และ พระนางศุภยาลัต มีพระราชธิดาองค์ 4 องค์ คือ

- เจ้าหญิงเมียะพยากเล

- เจ้าหญิงเมียะพยาจี

- เจ้าหญิงเมียะพยา

- เจ้าหญิงเมียะพยาลัต หรือ เจ้าหญิงมยะพะยาละ


เจ้าหญิงเมียะพยาลัต หรือ เจ้าหญิงมยะพะยาละ





พระเจ้าสีป่อ ...ไปประทับที่ รัตนคีรี ประเทศ อินเดีย ซึ่งอยู่ใกล้ ทะเลอาหรับ ... ในช่วงห้าปีแรก ทรงได้รับเงินจากอังกฤษ เดือนละ 100,000 รูปี .... หลังจากนั้นเงินจำนวนนี้ ลดลงครึ่งหนึ่ง และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ได้เพียงเดือนละ 25,000 รูปีเท่านั้น ... พระองค์สวรรคตเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 พระศพ ของพระองค์ถูกฝังไว้ใกล้ๆ สุสานของชาวคริสต์ หลังจากพระองค์สวรรคต .... ลูกหลานของพระองค์ส่วนหนึ่งเดินทางกลับพม่า ... บางส่วนยังคงอยู่ในอินเดีย ... เมียะพยาจี (Myat Phayagyi) พระธิดาองค์โตของพระองค์ยังอยู่ในอินเดีย.... ส่วน เมียะพยา (Myat Phaya) พระธิดาองค์เล็กที่ประสูติที่รัตนคีรี เมื่อ พ.ศ. 2430 ....ได้เดินทางกลับมายังพม่าใน พ.ศ. 2462 พระนางสมรสกับ อูเนียงใน พ.ศ. 2464 และสิ้นพระชนม์ใน มะละแหม่ง เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2478 ลูกหลานของพระนางยังอยู่ในพม่า และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีสิทธิ์สืบทอดราชบัลลังก์ของพม่า

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 เทียน เส่ง ประธานาธิบดีพม่า .... ได้เดินทางไปเยี่ยมหลุมฝังศพของ พระเจ้าสีป่อ และพบกับลูกหลานของพระองค์ที่อาศัยอยู่ที่นั่น .... ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประมุขรัฐบาลพม่า เดินทางไปเยือนสุสานของพระองค์

เมื่อ พม่าตก เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อย่างสมบูรณ์ พระเจ้าสีป่อ, แม่ยาย,พระนางสุภยาลัต, พระนางสุภยาคยี ถูกเนรเทศ ไปอยู่ เมืองรัตนคีรี ในอินเดีย ชะตากรรมของแต่ละคนเป็นดังนี้

1. พระเจ้าสีป่อสิ้นพระชนม์ที่ อินเดีย

2. พระนางอเลนันดอ ทะเลาะ กับ พระนางสุภยาลัต

ต้องไปอยู่เมือง มะละแหม่ง (เมืองมะเมี๊ย) อยู่จนตาย

3. พระนางสุภยาคยี พี่สาวสิ้นพระชนม์ที่ อินเดีย

4. พระนางสุภยาลัต กลับมาประทับที่ เมืองร่างกุ้ง จนสิ้นพระชนม์

พระธิดาบางองค์อภิเษกสมรสประทับอยู่กับพระมารดา

บางองค์แต่งงานกับคนเฝ้าวังที่อินเดียลำบากทุกข์ยาก

บางองค์ถูกไล่ไปอยู่ เมืองมะละแหม่ง




ขอบคุณข้อมูลจาก

- http://pantip.com/topic/31150568

- Myanmar Historical Archive

http://www.clipmass.com/story/2131

https://www.google.co.th/search?q

http://board.postjung.com/780917.html

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/20...

http://www.wikiwand.com/th/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B...

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E...

http://www.nangseugao.com/product/493/%E0%B8%9E%E0...





สร้อยคอและต่างหูของกษัตย์



ผู้เขียน ขอยกประโยคดีดีสอนใจดังนี้ .... ระราชาผู้ทรงทศพิธธรรมจะเป็นสง่าแห่งแคว้นและทำให้ชาติอื่นเกิดความยำเกรงในพระบรมเดชานุภาพ ... น่าเสียดายที่แผ่นดินพม่าอันยิ่งใหญ่เรืองรองต้องมาล่มลงด้วยน้ำมือของคนไม่รักชาติเพียงกลุ่มเดียว....และ...ประชาชนชาวพม่ามายืนดูขบวนเสด็จที่น่าเศร้านี้กันอยู่ 2 ข้างทาง ... ถือเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ที่ประชาชนของ พระเจ้าสีป่อ จะได้เห็นพระองค์ .... หลังจากที่ ทรงอยู่แต่ในพระราชวัง ... หลังจากนี้ไปมัณฑะเลย์ ... ก็เป็นเพียง อดีตเมืองหลวง แห่งสุดท้ายของราชวงศ์พม่าเท่านั้น ค่ะ


ขอบคุณค่ะ

24 ธันวาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 620636เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2016 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2016 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณพี่เปิ้ลมากครับ

ละเอียดและชัดเจนมาก

จบด้วยความเศร้าเลยครับ

ทศพิธราชธรรม สำคัญมากเลยครับ

เป็นเรื่องราวในประวัติศาตร์..ที่น่าเรียนรู้...เพื่อ ปัจจุบัน..ที่จะไม่ผิดพลาด....นะเจ้าคะ...

ขอบคุณ ดร. ขจิต ฝอยทอง มากๆ ค่ะ


  • น่าเศร้าใจนะครับ ขอบคุณความรู้ครับ..
  • มีความสุขยิ่งๆขึ้นไปครับ สวัสดีปีใหม่ครับ!

น่าสนใจมากๆ ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีปีไก่ครับพี่เปิ้ล...ขอให้มีความสุขสวัสดีตลอดทั้งปีนะครับ

ขอบคุณพี่ใหญ่ ค่ะ คุณพี่ นงนาท สนธิสุวรรณ มากๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท