๑๐๒๒ ความครอบคลุมในการจัดพื้นที่ ปลอดบุหรี่ และ สูบบุหรี่ ในสถานประกอบการของเอกชน จ.พิษณุโลก


นับเป็นเวลา 5 ปี ที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ไม่มีการจัดพื้นที่ปลอดบุหรี่เท่าที่ควร เพราะสถิติการพบเห็น/ได้กลิ่น/เห็นก้นบุหรี่ภายในสถานที่สาธารณะ ในตลาดสดหรือตลาดนัดสูงถึงร้อยละ 82.72 เป็นการสะท้อนภาพการปล่อยปะละเลยการจัดพื้นที่ “เขตสูบบุหรี่” หรือ “เขตปลอดบุหรี่” จึงเป็นที่มาของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อประเมิน ความครอบคลุมในการจัด “เขตสูบบุหรี่” หรือ “เขตปลอดบุหรี่” ของสถานประกอบการเอกชนในจังหวัดพิษณุโลก และหาแนวทางที่จะทำให้สถานประกอบการจัด “เขตสูบบุหรี่” และ “เขตปลอดบุหรี่” ซึ่งสถานประกอบการในที่นี้ หมายถึง สถานบริการด้านห้องพัก คือ โรงแรม รีสอร์ท อพาทเมนต์ เท่านั้น

ข้อมูลจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด มีสถานประกอบการ จำนวน 125 แห่ง เป็นข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2558 และได้ทำการแยกประเภทของสถานประกอบการเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก มีจำนวนห้องพักไม่เกิน 30 ห้อง ขนาดกลาง มีจำนวนห้องพักไม่เกิน 100 ห้อง และขนาดใหญ่ มีจำนวนห้องพัก 100 ห้องขึ้นไป จากนั้นใช้วิธีสุ่มโทรศัพท์สัมภาษณ์สถานประกอบการแต่ละขนาด จำนวนร้อยละ 30 เพื่อขอข้อมูลการจัดการพื้นที่ปลอดบุหรี่ และ สูบบุหรี่ของแต่ละสถานประกอบการ และเชิญตัวแทนผู้ประกอบการ จำนวน 8 แห่ง มาร่วมระดมสมองหาแนวทางการสื่อสารให้ผู้เข้าพัก สูบบุหรี่ในที่ที่จัดไว้ให้ และไม่สูบในที่ห้ามสูบ


ผลที่ปรากฏจากการเจาะพื้นที่ คือ สถานบริหารทุกแห่งมีป้ายเตือนห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย สถานประกอบการทุกขนาด มีป้ายเตือนห้ามสูบบุหรี่ในห้องพัก โถงทางเดิน และ ภายในห้องอาหาร สถานการณ์โดยรวม มีคนสูบบุหรี่ลดลงมาก ตามโรงแรมขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ ผู้เข้าพักจะถามพนักงานก่อนเสมอว่าสูบบุหรี่ได้บริเวณใดบ้าง ส่วนโรงแรมขนาดเล็ก รีสอร์ท และ อพาทเมนต์ ยังมีการสูบในห้องพักอยู่บ้างเนื่องจากการดูแลไม่ทั่วถึง หรือ มีการเข้าพักแบบเหมาเดือน จึงเป็นการยากที่จะห้ามสูบบุหรี่ได้

ข้อมูลจากการระดมสมอง พบว่า ในการจัดพื้นที่ปลอดบุหรี่ ต้องการปฏิบัติตามกฎหมาย และ อำนวยความสะดวกแก่ทั้งผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และผู้สูบบุหรี่ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่ในตัวเมือง ได้รับการตรวจเตือนจากเจ้าหน้าที่หลายครั้ง และผู้เข้าพักมีความหลากหลายต่างจากสถานประกอบการขนาดเล็ก หรือสถานประกอบการที่อยู่นอกเมือง ที่ผู้เข้าพักยังมีการละเมิดกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง

ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการสนทนา คือ ต้องการให้มีป้ายเตือนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าพักมองเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องการให้มีการจับกุม หรือ ตักเตือนผู้กระทำผิด โดยเจ้าหน้าที่จากทางราชการ เพราะหากพนักงานโรงแรม หรือ เจ้าของสถานประกอบการตักเตือนผู้เข้าพักเอง อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจได้


ศจย. www.trc.or.th

๒๒ ธ.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 620559เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2016 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2016 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีจังเลยครับ

ได้ทำงานช่วยคนอื่น

ขอบคุณมากๆครับ

ชื่นชมและยินดีกับงานนี้ค่ะ

ชื่นชม ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ประเมินค่ะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท