ประชาชน ประชาพิจารณ์ร่าง แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัย และจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี่(2560 -2564)


ทั้งๆที่ภาคประชาชนอยากรู้อยากฟังอยากทำความเข้าใจ อยากนำไปสื่อสารถึงชุมชน แต่ด้วยเวลาอัน จำกัด เพียง 4 ชั่วโมง จึงรับรู้ร่วมรับฟังร่วมแสดงความคิดเห็นได้ไม่มากนัก


<p “=””>
</p>


<p “=””><p “=””>พี่ต่วน อัษฎา บุษบง ภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา โทรมาบอกว่าให้ขึ้นไปร่วมประชาพิจารณ์ร่างแผน
ยุทธศาสตร์เรื่องนาโน ได้แจ้งชื่อผู้เขียนเข้าไปประชาพิจารณ์ ด้วยกัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิต ทั้งๆที่ไม่มีความรู้เรื่องนาโน แต่พี่ต่วน บอกว่าเราภาคประชาสังคมต้องเรียนรู้และต้องเข้าไปมีส่วน
ร่วมรับฟัง ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้นำความรู้เรื่องแผนมาสื่อสารให้ชุมชนได้รับรู้….
.แล้วสองผู้สูงวัยจากสองจังหวัดของภาคใต้ก็ร่วมเดินทางไกลไปตามคำเชิญไปสู่อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ.อาคารศูนย์ประชุม(CC)
เป็นครั้งแรกที่ได้มาสัมผัสสถานที่แห่งนี้ แท็กซี่มาส่งถึงหน้าอาคารที่ประชุม โชคดีที่มาก่อนเวลาประชุมจึง
ได้ลงทะเบียนรับเอกสารมาศึกษาได้อ่านแบบทานมาม่า ก็พอเข้าใจประเด็นจับใจความได้ ในการที่ทางผู้จัด
ทำร่างยุทธศาสตร์ ที่ต้องการให้ภาคประสังคมได้มารับรู้เรื่อง นาโน ผลิตภัณฑ์นาโน สินค้านาโน และแผน
ยุทธศาสตร์นาโน บรรยากาศในเวทีรู้สึกไม่คุ้นชิน และไม่เห็นหน้าคนทำงานพัฒนาสังคม เพราะมีแต่อาจารย์
ผู้วิจัยและสื่อ
แต่พอได้ฟังการเสวนาจากอาจารย์ ก็ชวนให้ฉุกคิดติดตามและเห็นเป็นความสำคัญที่คนทำงานชุมชน
ต้องนำความรู้ไปสื่อไปบอกชุมชน ไปสร้างกระแสตื่นรู้ในเรื่อง นาโน ซึ่งในยุทธศาสตร์ทั้ง3 ยุทธ์มีความ
สำคัญอย่างยิ่ง
ยุทธ์ที่ 1การสร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี่และผลิตภัณฑ์นาโน
ยุทธที่ 2การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของมาตรการและกลไกการควบคุมกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่วนยุทธที่ 3 เป็นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
ซึ่งพวกเราก็เข้าไปรับฟังแสดงความเห็นในยุทธศาสตร์ที่ 3 มีดร. ศิรศักดิ์ เทพาคำ นำพูดคุย
เปิดประเด็นด้วย วิสัยทัศน์ “นาโนปลอดภัย พัฒนาไทย ก้าวไกลอย่างยั่งยืน” ซึ่งได้อภิปรายแสดงความเห็น
กันอย่างกว้างขวาง แล้วพี่ต่วนขอให้เพิ่มวิสัยทัศน์ ว่าต้อง เพราะตอนนี้นี้ยังไม่มีหลักประกันว่านาโน
ปลอดภัยจริง จึงเสนอว่า “นาโนต้องปลอดภัย”จะได้เพิ่มความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์นาโน
และในประเด็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสื่อสารถึงชุมชน ก็ได้เสนอให้มีการเพิ่มช่องทางการรับรู้
ของสื่อกระแสรองและสื่อท้องถิ่น เสียดายที่การแบ่งห้องย่อยไม่ได้นำมาเรียนรู้ร่วมกันในห้องห้องใหญ่อีก
ครั้ง ทั้งๆที่ภาคประชาชนอยากรู้อยากฟังอยากทำความเข้าใจ อยากนำไปสื่อสารถึงชุมชน แต่ด้วยเวลาอัน
จำกัด เพียง 4 ชั่วโมง จึงรับรู้ร่วมรับฟังร่วมแสดงความคิดเห็นได้ไม่มากนัก
ในการมีส่วนร่วม พวกเราตระหนักว่า ต้องร่วมคิด ร่วมพูด ร่วมฟัง ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต
ได้แต่คาดหวังว่าคงมีโอกาสได้มาร่วมแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมมากกว่านี้
เดินทางไกล1000 กิโล มีเวลาแค่4 ชั่วโมง ภาคประชาชนได้มาแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่….
.แม้จะไม่ใช่ตัวแทนภาคประชาสังคงหมด แต่ก็จะนำไปสื่อสารให้ถึงชุมชนอย่างแท้จริงต่อไปในเรื่อง นาโน…ที่เราต้องเยส ไม่ใช่โน

</p>



<p “=””>
</p>

ศาสตราจารย์ ดร นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ประธานกรรมการจัดทำแผน กล่าวเปิดประชุม


<p “=””>เสวนา ดร.ศิริศักดิ์ เทพาคำนำเสนอการดำเนินงานยุทธศาสตร์ (พศ. 2555 -2
ภญ.ดร. สุมาลี พรกิจประสาน นำเสนอนำเสนอการบริหารจัดการความรู้
ภญ.ดร. ยุพิน ลาวัณประเสริฐ นำเสนอ

</p>

มาตรการและกลไกการควบคุมกำกับดูแล

<p “=””>ดร.วรรณี ฉินศิริกุล นำเสนอ บทบาทของศูนย์นาโนเทคโนโลยี่ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 2560 -2564
ดำเนินการเสวนาโดย คุณ พงศ์สิทธิ์ รัตนกรวิทย์


</p>


หมายเลขบันทึก: 620553เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2016 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2016 01:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

-สวัสดีครับ

-วันนี้ผมก็ วสช.คร้าบ..


น่าสนใจมาก

มีข้อมูลเพิ่มไหมครับ

สวัสดี น้องเพชร ลุงวอชุมที่ศูนย์ธรรมศาสตร์รังสิต

มีครับอาจารย์ แล้วสรุปรายละเอียดลงบล็อก

เรียนอาจารย์ ขจิต ประชุมที่ กทม เสร็จ ตั้งใจจะไปเยี่ยมลูกสาวคนสวยที่เมืองพล

แต่รู้ข่าวน้ำท่วมรอบสองรีบกลับลงมา

และก็มีภาระกิจลงไปทำที่เกาะลันตาด้วย

สวัสดี น้องมะเดื่อ

มะงั่ว ถึงบ้านลุงวอเรียบร้อยแล้ว บอบช้ำเอาการไร้ก้ายกิ่ง

รอให้ฟื้นคืนสถาพ บำรุงสักหน่อยค่อยลงดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท