การศึกษาในศตวรรษที่ 21


การศึกษาในศตวรรษที่ 21

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ โดยพัฒนาวิสัยทัศน์กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจะต้องมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ได้แก่

  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

สาระสำคัญหลักก็มีความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยครูในศตวรรษที่ 21 จะมีการออกแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนประเมินความก้าวหน้าของตนได้โดยจัดเสริมความเข้าใจวิชาแกนหลักและสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมถึงทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทักษะด้านสารสนเทศทักษะด้านอาชีพซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้านโดยต้องข้ามสาระวิชาไปสู่ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งครูจะไม่ได้เป็นผู้สอนแต่ต้องเป็นนักเรียนที่เป็นผู้เรียนรู้เองโดยครูจะเป็น ผู้จะเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ทำหน้าที่เสมือนการเป็นโค้ช คอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยลักษณะหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่ยึดโครงงานเป็นฐานและขับเคลื่อนด้วยการวิจัยเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นประเทศซึ่งนักเรียนจะสามารถร่วมมือกับโครงงานต่างๆได้ทั่วโลกเป็นหลักสูตรที่เน้นการคิดขั้นสูง ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพกลายมาเป็นศูนย์รวมประสาทที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภายในห้องเรียนแต่จะเชื่อมโยงกับครูนักเรียนชุมชนและคลังความรู้จากทั่วโลก โดยนักเรียนจะมีลักษณะที่เป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีการทำงานทั้งอย่างเป็นอิสระและร่วมมือกับผู้อื่น การวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะเป็นการวัดผลแบบ "Constructivist assessment" ซึ่งมักนิยมเรียกว่าการวัดผลเชิงประจักษ์ ตามทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้โดยผู้เรียนที่ผ่านประสบการณ์สิ่งใดมาแล้ว ก็ยอมที่จะมีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นดีและผู้เรียนที่ได้ลงมือทำจริงๆก็สามารถสร้างคุณสมบัติให้พวกเขามีบุคลิกที่คิดเป็นทำเป็นและสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการประเมินจะไม่เป็นเพียงการทดสอบเท่านั้นแต่จะเป็นการสังเกตนักเรียนดูการทำงานของนักเรียนและประเมินไปถึงมุมมองของนักเรียนด้วยเช่น การอภิปรายปากเปล่าแผนภูมิ แผนที่ความคิด Mind Mapping เป็นแผนการปฏิบัติการทำงานว่าจะทำอะไรทำอย่างไรทำเมื่อไหร่และเกิดผลอย่างไรซึ่งจะทำให้นักเรียนได้เกิดการจัดหมวดหมู่แนวคิด การลงมือทำจริงๆ ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถจัดการสภาพแวดล้อมของพวกเขาหรือเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติโดยใช้สิ่งของเครื่องใช้จริงๆ การทดสอบล่วงหน้าเป็นการตรวจสอบสภาพก่อนการเรียนรู้ซึ่งจะทำให้ครูรู้และเข้าใจเพื่อที่จะได้ต่อยอดความรู้ใหม่ให้นักเรียนและสามารถทำให้ครูจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนต่อไป

อ้างอิง
Prof. Vicharn Panich.การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21.สืบค้นวันที่ 20 ,ตุลาคม, 2559.GotoKnow : https://www.gotoknow.org/posts/589130

การศึกษาในทศวรรษที่ 21.สืบค้นวันที่ 20 ,ตุลาคม, 2559: www.sk1edu.go.th/dta/8939

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนการสอน
หมายเลขบันทึก: 618750เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2016 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2016 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับ ข้อมูลมีประโยชน์มากๆเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท