การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ ๒๑




ผมได้รับ อีเมล์ นี้ และเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทย เพื่อปลดล็อกมิจฉาทิฐิของการประเมินผลที่ใช้กัน

อยู่ในวงการศึกษาไทยจึงนำมาบอกต่อ

"สอนแบบไหน..วัดแบบนั้นนะครับ


สุทัศน์ เอกา with Suthee Rattanamongkolgul and ครูอ้อ วงศ์จันทร์


วิธีวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21...


การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ Constructivist assessment ที่คนส่วนใหญ่มักเรียกว่า "การวัดผลเชิงประจักษ์ หรือ Authentic Assessment" นั่นเอง


ขอกราบเรียนมาเพื่อความเข้าใจอันถูกต้อง "ตรงกัน" ตลอดสายของการจัดการบริหารการศึกษา ตั้งแต่ระดับบนสุด จนถึงระดับล่างสุดของผู้มีหน้าที่โดยตรงในวงการศึกษาของชาติ ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครองของเยาวชนวัยเรียนทั่วประเทศไทย..ว่า

***การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นระบบ เรียกว่า "The instructional process of constructivist approach" ระบบการเรียนการสอนแบบนี้ "การเรียนการสอน และ การวัดผลเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน Instruction and assessment occurs at the same time."***

***การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21.เป็นการวัดผลแบบ "Constructivist assessment" ซึ่งมักนิยมเรียกว่า "การวัดผลเชิงประจักษ์ หรือ Authentic Assessment" ตามทฤษฏีการเรียนรู้ Constructivism Theory ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ A student-centered learning.หรือ Experience Learning ด้วยมุมมองที่ว่า ผู้เรียนที่ "ผ่าน"ประสบการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแล้ว ย่อมมีความรู้ความสามารถแท้จริงในเรื่องนั้นๆ และผู้เรียนที่ได้ "ลงมือทำจริงๆ" โดยการ Learning by Doing มาแล้ว ย่อมสามารถสร้างคุณสมบัติให้พวกเขา มีบุคลิกลักษณะ "Character" ที่ "คิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหาได้"นั่นเอง***

ดังนั้นจึง "มองเห็นความแตกต่างอย่างเด่นชัด The difference can be seen clearly" ระหว่าง การวัดผลประเมินผลแบบดั้งเดิม หรือ Traditionally assessment กับการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.หรือ "Constructivist assessment" ดังนี้

การวัดผลประเมินผลแบบดั้งเดิม หรือ Traditionally assessment จะขึ้นอยู่กับการทดสอบ. based on testing ซึ่งมีความจะเป็นอย่างยิ่ง ที่นักเรียนจะต้องหาคำตอบที่ถูกต้อง "มาตอบคำถามให้ได้ In this style, it is important for the student to produce the correct answers.

แต่..ในการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21. "In constructivist teaching" กระบวนการเรียนการสอน การได้รับความรู้ และการตรวจสอบความรู้ คือกระบวนการเดียวกัน และเกิดขึ้นพร้อมๆกันในขณะที่มึการเรียนการสอนเกิดขึ้น..ดังนั้น การประเมินจะไม่เป็นเพียง แต่ในการทดสอบ การประเมินจะไม่เป็นเพียงแต่ใน "การทดสอบ"เท่านั้น แต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียน และ ประเมินไปถึงมุมมองของนักเรียนด้วย.. Assessment is based not only on tests, but also on observation of the student, the student's work, and the student's points of view..

วิธีการประเมินบางอย่าง เช่น…

>>>.การอภิปรายปากเปล่า Oral discussions... ครู "เสนอหัวข้อที่น่าสนใจ หรือ อาจร่วมมือกันกับนักเรียนหยิบยกเอาสิ่งที่นักเรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้ออภิปราย. หรือให้มีการอภิปรายในหัวข้อต่างๆที่ต้องการประเมิน..การวัดผลประเมินผล "ปากเปล่า"ในลักษณะเช่นนี้ ผู้ประเมินสามารถจะรู้ได้ถึง "คุณภาพ และคุณสมบัติ"ของผู้ถูกประเมินได้อบ่างชัดเจนทีเดียว

>>> แผนภูมิ KWL (H).. (What we know,สิ่งที่เรารู้ What we want to know, สิ่งที่เราต้องการจะรู้ What we have learned สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว, How we know it วิธีการที่เราหาความรู้).เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ตลอดระยะเวลาของการศึกษา เพื่อประเมินหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เป็นเทคนิคการประเมินที่ดี ที่เป็นการแสดงถึงความคืบหน้าของนักเรียนตลอดระยะเวลาของการศึกษาอีกด้วย.. This technique can be used throughout the course of study for a particular topic, but is also a good assessment technique as it shows the teacher the progress of the student throughout the course of study.<<<

>>>แผนที่ความคิด Mind Mapping...แผนที่ความคิดคือแผนการในการปฏิบัติการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ว่า จะทำอะไร จะทำอย่างไร จะทำเมื่อไร เพื่อให้เกิดผลอย่างไร..และ ถ้าไม่ป็นตามที่คาดหวังจะแก้ไขอย่างไร..เป็นต้น ..ใน "กิจกรรมนี้" นักเรียนมีรายการ จัดหมวดหมู่แนวคิด และความคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Students list and categorize the concepts and ideas relating to a topic<<<

>>>ลงมือทำจริงๆ Hands-on activities. สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมให้นักเรียนในการจัดการสภาพแวดล้อมของพวกเขา หรือโดยการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ. ผู้วัดผลประเมินผลสามารถใช้แบบตรวจสอบรายการ และสังเกต เพื่อประเมินความสำเร็จของนักเรียน ด้วยสิ่งของเครื่องใช้จริงๆ.. These encourage students to manipulate their environments or a particular learning Teachers can use a checklist and observation to assess student success with the particular material.<<<

>>>ทดสอบล่วงหน้า Pre-testing..การทดสอบล่วงหน้า "หรือการตรวจสอบสภาพก่อนการเรียนรู้ "Inspection prior learning".นี้จะช่วยให้ครูตรวจสอบความรู้เก่า ที่นักเรียนจะนำมาต่อยอดความรู้ใหม่ เพื่อที่คุณครูจะนำมาใช้ประโยชน์ในการ "จัดประสบการณ์ และสิงแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ Experience and Learning environment" อันมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนต่อไป...<<<


นี้เป็นเพียงตัวอย่างบางประการของการ "วัดผลประเมินผลแห่งการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21. Assessment of learning in the 21st century." เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคนที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ มากกว่า การวัดค่าความรู้ความจำ และความเข้าใจที่ได้จากหนังสือเรียน ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีความหมายสำหรับพวกเขา แต่ประการใด..

อยากขอความร่วมมือกับ "กัลยาณมิตรทางการศึกษาทั่วประเทศ"ทำให้ กระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. ทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้ให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงของโลกการศึกษาเสียที ด้วยความหวังว่า สักวันหนึ่ง เราอาจตามทันเพื่อนบ้านใน AEC ก็ได้.."


และ ผศ. พัชริน ดำรงกิตติกุล ได้สรุปประเด็นไว้ดังนี้


"การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นระบบ เรียกว่า "The instructional process of constructivist approach" ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ A student-centered learning หรือ Experience Learning ดังนั้นวิธีวัดผลประเมินผลการเรียนการสอน และ การวัดผลเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน (Instruction and assessment occurs at the same time.)

ผู้เรียนที่ "ผ่าน"ประสบการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแล้ว ย่อมมีความรู้ความสามารถแท้จริงในเรื่องนั้นๆ และผู้เรียนที่ได้ "ลงมือทำจริงๆ" โดยการ Learning by Doing มาแล้ว ย่อมสามารถสร้างคุณสมบัติให้พวกเขา มีบุคลิกลักษณะ "Character" ที่ "คิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหาได้"นั่นเอง

กระบวนการเรียนการสอน การได้รับความรู้ และการตรวจสอบความรู้ คือกระบวนการเดียวกัน การประเมินจะไม่เป็นเพียงแต่ใน "การทดสอบ" เท่านั้น แต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียน และ ประเมินไปถึงมุมมองของนักเรียนด้วย.. (Assessment is based not only on tests, but also on observation of the student, the student's work, and the student's points of view.)

การอภิปรายปากเปล่า Oral discussions... ครู "เสนอหัวข้อที่น่าสนใจ หรือ อาจร่วมมือกันกับนักเรียนหยิบยกเอาสิ่งที่นักเรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้ออภิปราย. หรือให้มีการอภิปรายในหัวข้อต่างๆที่ต้องการประเมิน..การวัดผลประเมินผล "ปากเปล่า"ในลักษณะเช่นนี้ ผู้ประเมินสามารถจะรู้ได้ถึง "คุณภาพ และคุณสมบัติ"ของผู้ถูกประเมินได้อบ่างชัดเจนทีเดียว

การแสดงถึงความคืบหน้าของนักเรียนตลอดระยะเวลาของการศึกษา What we know (สิ่งที่เรารู้) What we want to know, (สิ่งที่เราต้องการจะรู้) What we have learned (สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว), How we know it (วิธีการที่เราหาความรู้). เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ตลอดระยะเวลาของการศึกษา เพื่อประเมินหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง (This technique can be used throughout the course of study for a particular topic, but is also a good assessment technique as it shows the teacher the progress of the student throughout the course of study.)

แผนที่ความคิด (Mind Mapping) คือแผนการในการปฏิบัติการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ว่า จะทำอะไร จะทำอย่างไร จะทำเมื่อไร เพื่อให้เกิดผลอย่างไร..และ ถ้าไม่ป็นตามที่คาดหวังจะแก้ไขอย่างไร..เป็นต้น ..ใน "กิจกรรมนี้" นักเรียนมีรายการ จัดหมวดหมู่แนวคิด และความคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Students list and categorize the concepts and ideas relating to a topic

ลงมือทำจริงๆ (Hands-on activities) สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมให้นักเรียนในการจัดการสภาพแวดล้อมของพวกเขา หรือโดยการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ. ผู้วัดผลประเมินผลสามารถใช้แบบตรวจสอบรายการ และสังเกต เพื่อประเมินความสำเร็จของนักเรียน ด้วยสิ่งของเครื่องใช้จริงๆ.. (These encourage students to manipulate their environments or a particular learning Teachers can use a checklist and observation to assess student success with the particular material)

ทดสอบล่วงหน้า (Pre-testing) การทดสอบล่วงหน้า หรือการตรวจสอบสภาพก่อนการเรียนรู้ (Inspection prior learning) นี้จะช่วยให้ครูตรวจสอบความรู้เก่า ที่นักเรียนจะนำมาต่อยอดความรู้ใหม่ เพื่อที่คุณครูจะนำมาใช้ประโยชน์ในการ "จัดประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ (Experience and Learning environment) อันมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนต่อไป"


หมายเลขบันทึก: 589130เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2015 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2015 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท