กฎหมายเกี่ยวกับเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ในเรือนจำประเทศปาปัวนิวกินี (ดินแดนแห่งชนเผ่ามนุษย์กินคน)


พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ปาปัวนิวกินี ปี ๑๙๙๕ (the Papua New Guinea Correctional Service Act ๑๙๙๕) กำหนดให้ผู้ต้องขังซึ่งมีเด็กติดมารดาเป็น ดูแล ผู้รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของเด็กในขณะที่เด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ............................


กฎหมายเกี่ยวกับเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ในเรือนจำของประเทศปาปัวนิวกินี (Laws on Children Residing with Parents in Papua New Guinea Prison) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ปาปัวนิวกินี ปี ๑๙๙๕ (the Papua New Guinea Correctional Service Act ๑๙๙๕) ซึ่งบัญญัติให้ “ผู้ต้องขังซึ่งมีเด็กติดมารดาเป็นผู้ ดูแล รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของเด็กในขณะที่เด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ” จากกฎหมาย ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ต้องขังซึ่งเป็นแม่ของเด็กมีสิทธิ์ขออนุญาตต่อผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อให้เด็กอายุไม่เกิน ๓ ปี อยู่กับเธอในเรือนจำ เพื่อช่วยให้เด็กได้รับโอกาสในการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดจากแม่ในเรือนจำ นอกจากนั้น ยังมีกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติต่อเด็กติดมารดาซึ่งอาศัยอยู่ในเรือนจำในเรื่องต่าง เช่น การเลี้ยงดู อาหาร ความปลอดภัย การรักษาพยาบาล การระเบียนของเด็ก การประเมินผลความเหมาะสมสำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่เรือนจำทำหน้าที่ในการช่วยดูแลความเรียบร้อย และ รักษาความปลอดภัยแก่เด็ก ในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอสำหรับการดูแลลูกของเธอ ได้กำหนดให้เรือนจำประสานความร่วมมือไปยังกรมสวัสดิการเด็ก หรือ องค์กรสวัสดิการอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ และ จากรายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัวนิวกินี ในปี ๒๐๑๒ พบว่า บางครั้งผู้ต้องขังหญิงซึ่งมีลูกติดในเรือนจำมีสภาพความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างแออัด โดยบางห้องมี ๑ เตียง แต่มีแม่อาศัยอยู่ถึง ๗ คน และ เด็ก ๙ คน นอกจากนั้น เรือนจำไม่ได้ให้อาหาร หรือ อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับทารก และเด็ก และ สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของแม่

โดยสรุป

ถึงแม้การปฏิบัติต่อเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่หรือเด็กติดผู้ต้องขังในเรือนจำปาปัวนิวกินี จะเป็นการดำเนินงานภายใต้กฎหมายรองรับอย่างชัดเจน ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ปาปัวนิวกินี ปี ๑๙๙๕ (the Papua New Guinea Correctional Service Act ๑๙๙๕) ซึ่งบัญญัติให้ “ผู้ต้องขังซึ่งมีเด็กติดมารดาเป็นผู้ ดูแล รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของเด็กในขณะที่เด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ” รวมตลอดถึงกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติต่อเด็กติดมารดาซึ่งอาศัยอยู่ในเรือนจำในเรื่องต่าง นั้น หมายความว่าผู้ต้องขังซึ่งมีเด็กติดมารดาของเรือนจำในประเทศปาปัวนิวกินี มีสิทธิ์ขออนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อให้เด็กอายุไม่เกิน ๓ ปี อยู่กับเธอในเรือนจำ และทางเรือนจำจะต้องปฏิบัติต่อเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ในเรือนจำปาปัวนิวกินีตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งด้านการเลี้ยงดู อาหาร ความปลอดภัย การรักษาพยาบาล การระเบียนของเด็ก การประเมินผลความเหมาะสมสำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ เป็นต้น แต่จากรายงาน พิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัวนิวกินี ในปี ๒๐๑๒ พบว่า การปฏิบัติต่อเด็กติดมารดาซึ่งอาศัยอยู่ในเรือนจำปาปัวนิวกินี ยังขาดสิ่งจำเป็นพื้นฐานหลายประการ ซึ่งเชื่อว่าเรือนจำปาปัวนิวกินี หรือ ประเทศปาปัวนิวกินี (ดินแดนแห่งชนเผ่ามนุษย์กินคน) จะสามารถหาทางแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป

..................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙


อ้างอิง

ข้อมูลเนื้อหาจากเว็บไซต์ https://www.loc.gov/law/help/children-residing-wit... และข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://search.mysearch.com/search?&q=Papua+New+Gui...


หมายเลขบันทึก: 617433เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2016 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องที่เป็นปัญหานะจ๊ะ

คิดว่า คงไม่เฉพาะแต่ที่ปาปัวนิวกินี

ก็คงจะเป็นปัญหากับทุก ๆ ประเทศ

ที่ผู้ต้องขังหญิงมีลูกอ่อนติดไปด้วย

น่าเศร้าจ้ะ

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันจ้ะ

ขอบคุณอาจารย์ Chaiwud Boonwiwattanakarn (คนใต้โดยภรรยา) มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผม ด้วยดีตลอดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท