เกษตรประณีต กับ วปช.หนุ้ย ทิพย์ชื่น....ดักทาง (2)


วิถีเกษตรในอดีตที่ เกษตรกรทำเกษตรเพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปัน พึ่งตนเองพอเพียงตามอัตภาพ "เลี้ยงเป็ดไว้กินไข เลี้ยงไก่ไว้กินตัว เลี้ยงวัวไว้ใถนา เลี้ยงหมาไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงม้าไว้เดินทาง เป็นยุคไทยแลนด์ 0.0


เกษตรประณีตทำเอง


ทดลองเอง ของ บังหนุ้ย ที่ได้เยี่ยมชม ผู้เขียนแสดงตนเป็นพระรามชมดง รอบๆ สวนเก็บผักทุก


อย่างในสวน เอามาแกงเลียงให้สมาชิกชิมตกค่ำสมาชิกชาวบ้านเกาะหยี ทยอยมาร่วมวงคุย โดยมี สพม. สมาชิกสภา

พัฒนาการเมือง จังหวัด ตรัง อาจารย์ ชัยพรจันทร์ หอม ให้เกียรติมาร่วมวงคุยด้วย ซึ่งทุกครั้งที่คุยกันในภาคกลางคืน

พวกเราชาว วปช จะนอนถกแถลง

" เรียกว่าเป็นการนอนแคงแหลงกัน"

แต่ในคืนนี้ ขนำบังหนุ้ยไม่เหมาะแก่การนอนแคง จึงล้อมวงคุยกันไป กินกันไป แหลงกันไป อาจารย์ จำรัส ตั้งโจทย์

ในการคุยถกแถลงว่า

" ดักทาง" หมายถึงการทำงานของคน วปช ต้องดักทาง หรือเดินไปรอข้างหน้า นโยบายของรัฐ ดังนั้นคืนนี้ จึงดักทาง

ด้วยการ ทำความเข้าใจ ในไทยแลนด์ 4 .0 ปูพื้นที่มา ที่ไป ทำไมต้อง ไทยแลนด์ 4 .0

โดยเริ่มด้วยวิถีเกษตรในอดีตที่ เกษตรกรทำเกษตรเพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปัน พึ่งตนเองพอเพียงตามอัตภาพ

"เลี้ยงเป็ดไว้กินไข เลี้ยงไก่ไว้กินตัว เลี้ยงวัวไว้ใถนา เลี้ยงหมาไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงม้าไว้เดินทาง

เป็นยุคไทยแลนด์ 0.0

มาสู่ยุคเกษตรกรรม เป็นยุคเกษตรเชิงพานิชย์ ที่รัฐมีนโยบายในโครงสร้างพื้นฐาน "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์

ยุคไทยแลนด์ 1.0 ประเทศยังมีรายได้ต่ำ ใช้ทรัพยากรสูง

ประเทศไทยเคลื่อนตัวมาสู่ ยุคอุตสาหกรรมเบา (ซึ่งนักเคลื่อนไหวทางสังคม รียกยุคนี้ว่า ยุค อุส่าห์หากรรม)

มีการอพยพแรงงานจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองไหญ่ ทิ้งนาเข้าเมือง ซึ่งรายได้ของรัฐปานกลาง ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ

คือยุคเมืองไทย 2.0

จากยุคอุตสาหกกรมเบา ก็เข้าสู่ยุค อุตสากรรมหนัก" ที่รวยกระจุก จนกระจาย"เมืองไทย 3.0

คือยุคปัจจุบันที่เราท่านยังมีลมหายใจอยู่

แต่นโยบายเมืองไทย 4 . 0 ที่รัฐจะนำพาประเทศไปสู่ยุค ดิจิตัล ประเทศชาติจะมีรายได้สูง ซึ่งต้องขับเคลื่อนด้วย

นวัตกรรม

ถึงตอนนี้ อาจารย์ จำรัสได้เปิดให้ถกแถลงกัน ซึ่งก็ผู้เข้าร่วมวงคุยได้ย้อนอดีตที่ทำเกษตรเมื่อครั้งทรัพยากรยังอุดม

สมบูรณ์ บางคนบ่นรำพึงถึงอดีตกาลของคนชายเขาบรรทัด

อาจารย์จำรัสได้ชวนคุย ในประเด็นที่ต้องพึ่งตัวเอง ซึ่งคน วปช.ได้ตกผลึกความคิดในการในการพึงตัวเองว่า

"ต้องทำเอง ดักทาง ตางค์ยัง"

หมายความว่า ถ้าทำเกษตร ก็ต้องทำเอง เรียนรู้เอง คิดค้นเอง ทำแล้วต้องวางแผน ดักทาง นโยบาย ให้สอดคล้องกับ

นโยบาย ที่สำคัญคือต้องทำไปรอข้างหน้า นโยบาย คือดักทางให้ถูก แล้ว เงินจะมีมา

ซึ่ง อาจารย์ ได้ชี้ให้เห็นการพึ่งตนเอง พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน โดยใช้แผนแม่บทชุมชน

ซึ่งจุดเริ่มต้นของกระบวนประชาชน ที่อาจารย์ประยงค์ รณรงค์ ภาคประชาชนได้ขับเคลื่อนมา

เครื่องมือชิ้นที่ สองคือ สภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง และคณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคม

ซึ่งทั้งสภาองค์กรชุมชนและสภาพัฒนาการเมือง คือที่ยืนของชาวบ้าน

ส่วน วปช. วิทยาลัยป้องกันชุมชน คือ แผนชุมชนภาค ปรมัตถ์

ส่วนโปรเจค ซิติเซ่นเป็นแผนชุมชนภาคสากล

ดังนั้น ครัวเรือน ชุมชน ต้องวางแผนทำงาน ดักทางนโยบายให้ถูก.....

ดึกแล้วแต่วงถกแถลงยังถนัดในการเรียนรู้ร่วมกัน ติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 616976เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2016 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2016 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาคประชาสังคมเป็นภาคส่วนหนึ่งในสามของแนวคิดประชารัฐ บริบทของประชาสังคมเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ฉันทามติ เวทีถกแถลงจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่เข้าใจตรงกันก่อนนำสู่การปฏิบัติ การจัดการความรู้หรือถอดบทเรียน วิเคราะห์และสั่งเคราะห์สู่นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0

เรียนอาจารย์ จำรัส ตอน สามยังไม่ตกผลึก

คงรออีกนิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท