บทสัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ เรื่องทหารกำลังจะทำอะไรในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้ ตอนที่ 4


4. ในฐานะเคยศึกษาการลุกขึ้นทางการเมืองในเดือนตุลาฯ มาก่อน คุณคิดไหมว่าจะเกิดการล้มรัฐบาลอย่างที่เคยเกิดมาแล้ว? หากไม่เกิด คุณคิดว่าอะไรคือเงื่อนไข, บริบท, และสภาพแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดเหตุในการลุกฮือของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งแวดล้อมของเรื่องอื้อฉาว, การขี้โกง, และการทุบทำลายที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลชุดนี้?

ผมได้เสนอไว้ในคำตอบบทแรกแล้ว 10 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงการเข้าร่วมและการทำงานประสานสอดคล้องกันของกลุ่มสาธารณะในประวัติศาสตร์สังคมไทยยุคปัจจุบัน มันดูราวกับว่าจะเหมือนนิยายน้ำเน่าทางการเมืองที่เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในสังคม แต่ในปัจจุบัน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังการรัฐประหาร บางคนอาจสงสัยว่าเหตุใดจึงไม่มีขบวนการสาธารณะ (public movement) ที่จะต่อต้านพวกทหารเอาเสียเลย? ผมคิดว่ามาจาก 2 ปัจจัย ก็คือ 1. ระดับของการควบคุมชาวพลเมือง และการกดขี่สิทธิโดยทหาร 2. การแตกแยกเป็น 2 ของอาณาบริเวณสาธารณะ ระหว่างคน 2 จำพวก หากพิจารณาถึงปัจจัยแรก ข้อมูลส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าการรัฐประหารครั้งนี้มีลักษณะของการกดทับถึงที่สุด ยิ่งกว่าการรัฐประหารปี 2006 (2549) วันแรกของการยึดอำนาจ ทหารได้จับกุมนักการเมืองและนักกิจกรรมทางการเมืองทั้งหลาย และในแต่ละวันการควบคุมมิได้ลดลงเลย เช่น กลุ่มนักเรียนถูกจับและเข้าคุก เพียงเสนอความเห็นที่บริสุทธิ์ ในช่วงรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญ การควบคุมนี้ยิ่งหนักข้อขึ้นไปอีก เราต้องเข้าใจว่าบรรยากาศแห่งความกลัวแบบนี้ เหตุใดจึงไม่มีขบวนการต่อต้านทหารเกิดขึ้น เพราะว่าคนกลัวการตายและการติดคุก สถานการณ์ในอดีตก็เป็นแบบนี้ คนตายจะเป็นคนธรรมดา เมื่อคุณตาย คุณก็ไม่สามารถหาความยุติธรรมได้

หากพิจารณาถึงปัจจัยข้อที่ 2 หรือการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มทางการเมืองในประเทศไทย สิ่งนี้แตกต่างจากเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม ปี 1973 (2516) หรือพฤษภาคม ปี 1992 (2535) ในช่วงนั้นคือความขัดแย้งกันระหว่างประชาชนกับรัฐ ถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่ยังมีข้อตกลงร่วมกัน (consensus) ก็คือ เราไม่ยอมรับเผด็จการทหาร และสังคมไทยมีโอกาสที่ดีขึ้น หากไม่ได้ปกครองโดยคณาธิปไตยทหาร แต่ตอนนี้ ข้อตกลงร่วมกันยังไม่เกิดขึ้น ทุกคนรู้ว่าสังคมแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ซึ่งก็คือ ความคิดที่เห็นว่าการปกครองโดยทหารดีกว่าการปกครองโดยนักการเมือง สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าประชาชนเห็นประโยชน์ในการปกครองแบบทหาร หรือมีความโปร่งใสมากกว่า แต่กลุ่มนี้เกลียดนักการเมืองอย่างเข้าไส้ เป็นอุดมการณ์ของการเกลียดนักการเมืองอย่างแท้จริง

ผลของการแบ่งแยกนี้ทำให้ชนชั้นนำง่ายที่เข้ามาควบคุม กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ทหารเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการแบ่งแยกนั้น นี่ยังไม่พูดถึงการปกครองที่แย่ๆในการบริหาร หรือการลดทอนสิทธิเท่านั้น ทหารสามารถควบคุมอย่างง่ายดายเพราะกลุ่มในสังคมไทยมีความอ่อนแอ เพราะกลุ่มที่ถูกแบ่งแยกไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงได้ การแบ่งแยกนี้ดำเนินการมาได้หลายปีแล้ว ยิ่งนานวันยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น ถึงแม้ว่าการสร้างข้อตกลงร่วมกันในเรื่องพื้นๆยากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะแต่ละกลุ่มขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน จริงๆแล้วมันไม่ยากหรอกที่เข้าใจทัศนะที่แตกต่างจากเรา แต่ความขัดแย้งและความเกลียดชังระหว่าง 2 กลุ่มยังอยู่ในระดับสูง ตราบใดที่การแบ่งแยกนี้ยังมีอยู่ กองทัพบกก็สามารถจะเข้ามาควบคุมได้โดยง่าย

ตอนนี้วิธีการที่จะหลุดจากชนชั้นนำทางทหารเป็นสิ่งยากยิ่ง มันจำเป็นต้องขอข้อตกลงทางสังคมอันใหม่ในกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน วันไหนภาคสังคมมีการรวมตัวกัน เราจึงหวังว่าสังคมไทยจะดีขึ้นในอนาคต และเราไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะของความกลัวและเกลียดชังอีกต่อไป แต่การเมืองของความหวังจะต้องให้กลุ่มทุกกลุ่มในหมู่ประชาชนมารวมตัวเพื่อสร้างอนาคตใหม่ให้กับประเทศนี้ สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราต้องมารวมตัวกันเพื่อเดินขบวนหรือปกป้องสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พวกเขาเพียงแต่รวมตัวกันในวิธีทางที่ทรงความหมายมากยิ่งขึ้น เช่น การร่วมตัวกันเพื่อขออำนาจที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ หรือให้รัฐธรรมนูญนี้ตอบสนองสภาพความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่าในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ชนชั้นนำไม่สามารถกำหนดทุกสิ่งได้ หรือการทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกที่ดีกว่าในตอนนี้ แน่นอนว่าทุกอย่างเป็นสิ่งที่ยากสุดยาก และต้องใช้ความพยายามที่เป็นจริงจึงจะได้รับความสำเร็จ

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Kornkritch Somjittranukit. Interview with Prajak Kongkirati on what military is trying to do during ‘the transition’ Translated from Thai to English by Andrew Alan Johnson.

http://www.prachatai.org/english/node/6137

หมายเลขบันทึก: 616815เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท