กิจกรรมบำบัดในการยศาสตร์และการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ (Home exam)


สวัสดีค่ะ กลับมาเขียน Blog ครั้งแรกของปี 4 ในหัวข้อเรื่อง

“กิจกรรมบำบัดในการยศาสตร์และการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ”

โดยเคสที่เลือกมานำเสนอในวันนี้มี 2 เคสด้วยกันค่ะ

“เคสวัย 65 ปีที่เป็นรูมาตอยด์มา 5 ปี ต้องดูแลแม่วัย 97 ปี ไม่ได้ทำงานประจำ เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ และชอบทำอาหารไทย กำลังกลุ้มใจเพราะมีหนี้สินกว่า 2 ล้านบาท”

เขียนตาม PEOP Model ได้ดังนี้ค่ะ

P(Person)

E(Environment)

O(Occupation)

P(Performance)

เคสวัย 65 ปี

โรคประจำตัว : Rheumatoid arthritis (5 ปี)

เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ

Habit : ชอบทำอาหารไทย

Physiological : มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรม เนื่องจากมีปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อต่อ, ขยับลำบาก

Mental : กลุ้มใจเรื่องหนี้สิน

Social : แม่วัย 97 ปี

Financial status : หนี้สินกว่า 2 ล้านบาท

Work : ไม่ได้ทำงานประจำ

Care of others : ดูแลแม่

Role : ลูก

Ability : มีความรู้ความสามารถเรื่องการจัดการเนื่องจากเคยเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ, สามารถทำอาหารทำได้

Skill : เมื่อผู้รับบริการได้รับบทบาทเป็นพ่อครัว/แม่ครัว ทำอาหารขาย ก็จะได้ทำอาหารซ้ำๆ จนเกิดเป็นทักษ

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดอันดับแรกคือการสร้างสัมพันธภาพ โดยการใช้ Therapeutic use of self เพื่อประเมินและค้นหาปัญหา, ความต้องการของผู้รับบริการ

ประเมินและเรียงลำดับปัญหาของผู้รับบริการได้โดย

  • ใช้ Clinical reasoning
    • Scientific reasoning
    • Narrative reasoning : ทราบถึงสิ่งที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญ,ให้คุณค่า, หรือความรู้สึกต่อตัวเอง
  • การให้ผู้รับบริการให้คะแนนความสำคัญกิจกรรมในตารางกิจวัตรประจำวันของตัวเอง และให้ Pain score ของอาการปวดข้อ
  • เฉพาะเจาะจงในกิจกรรมที่ชอบ เช่น กิจกรรมการทำอาหารไทย โดยให้ผู้รับบริการเลือกอาหารที่อยากทำหรือถนัดที่สุดมา 1-3 อย่าง เพื่อเป็นข้อมูลในการทำ Activity analysis และให้ผู้รับบริการให้ Pain score ในแต่ละขั้นตอน

Diagnostic reasoning : โรครูมาตอยด์เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เป็นการอักเสบของข้อและเป็นโรคที่มีการอักเสบของร่างกายทั้งระบบ อาการแสดงที่พบได้บ่อย คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บบริเวณข้อที่ปวดที่ข้อ, ข้อติด, อ่อนเพลีย,ซึมเศร้า, ไม่สบายตัว และอาจพบร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น น้ำหนักลด, ตาอักเสบ, Rheumatoid nodules

โดยเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ Return to work และ/หรือ Work Modification ด้วยสุขภาวะและศักยภาพการทำงานที่เป็นรูปธรรมใน 4 สัปดาห์

ปัญหาที่เลือกมาจากกรณีศึกษานี้ คือ

1.ปัญหาด้านจิตใจ ความกลุ้มใจเรื่องหนี้สิน

2.ต้องการกลับไปทำงาน โดยผู้รับบริการเป็น Rheumatoid arthritis

Intervention

1.Goal : ผู้รับบริการสามารถจัดการความกลุ้มใจ และสามารถวางแผนเพื่อแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง

Frame of reference : The cognitive-behavioral frame of reference, Psychological FoR.

Intervention implementation :

1.ผู้บำบัดทำหน้าที่ Coaching โดยการพูดคุยกับผู้บำบัดถึงเรื่องที่กังวลใจมากที่สุด กระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดวางแผนแก้ปัญหาด้วยตัวเอง(Self-management skills) โดยสนับสนุนการเข้าร่วม Peer group support, การค้นหาวิธีการแก้ปัญหาจากแหล่งต่างๆ และให้ผู้รับบริการเลือกวิธีการด้วยตัวเองโดยเป็นวิธีที่ตัวเองเชื่อมั่นว่าจะทำให้สำเร็จได้

2.ให้ผู้รับบริการจดบันทึกแผนการแก้ปัญหาทีละขั้นตอนและบันทึกผลการก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหานั้นๆ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือทำตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่องใน 4 สัปดาห์

3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการอารมณ์/ความเครียด เช่น mind-body exercises (เช่น yoga, qigong), diaphragmatic breathing, progressive muscle relaxation, Aromatherapy

2.Goal :ผู้รับบริการสามารถทำงานที่ต้องการได้ โดยมี Pain score ขณะทำกิจกรรมลดลง

Frame of reference : MOHO, Physical rehabilitation FoR.

Intervention implementation :

1.ผู้รับบริการและผู้บำบัดวางแผนการกลับไปทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากประเมินความสนใจในการจะกลับไปทำงานของผู้รับบริการ ตามความชอบและความสามารถที่ผู้รับบริการมี เช่น สนใจอยากรับเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับบริษัทก่อสร้าง หรืออยากเปิดร้านขายอาหารไทยตามที่ชอบ

2.หากต้องการเปิดร้านอาหารไทย สอบถามผู้รับบริการว่าอยากทำอาหารร่วมกับใคร วางแผนการทำงานและการดูแลแม่วัย 97 ปีอย่างไร หรือต้องการให้แม่มีส่วนร่วมในการทำร้านอาหารร่วมกัน จะให้ทำในขั้นตอนไหนได้บ้าง, ค้นหาปัจจัยที่ผู้รับบริการคิดว่าส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการทำงานของตัวเอง

วิเคราะห์ตาม MOHO

  • Volition Subsystem

Personal causation : ต้องการกลับไปทำงานเนื่องจากยังมีหนี้สินอยู่จำนวนมาก และต้องการดูแลแม่ด้วย
Value : ประเมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้คุณค่าของผู้รับบริการ เช่น ให้คุณค่าของการทำหน้าที่ลูกดูแลแม่, ให้คุณค่าในการให้แม่ได้มีส่วนร่วมในงานของตัวเอง
Interests : ประเมินความสนใจในการกลับไปทำงาน เช่น สนใจอยากรับเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับบริษัทก่อสร้าง, สนใจการทำงานที่บ้าน หรืออยากเปิดร้านขายอาหาร

  • Habituation Subsystem

Internalized Roles : ลูก

Roles Change : เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ เปลี่ยนเป็นคนว่างงาน, และกำลังวางแผนการทำงานเพื่อเปลี่ยนบทบาทเป็นคนทำงานอีกครั้ง

Habits : ชอบทำอาหารไทย, ต้องดูแลแม่วัยชรา

  • Performance Subsystem

มีความรู้ความสามารถเรื่องการจัดการเนื่องจากเคยเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ, สามารถทำอาหารไทยได้, การทำกิจกรรมต่างๆมีข้อจำกัดในเรื่องของการเคลื่อนไหว มีอาการปวดข้อ เหนื่อยง่าย

  • Environment

แม่

หนี้สินกว่า 2 ล้านบาท

ผู้รับประทานอาหารไทยที่ผู้รับบริการทำ และ Feedback ว่าอร่อย

3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เช่น

  • การแบ่งช่วงเวลาพัก ผู้รับบริการสามารถจัดแบ่งเวลาพักของตัวเองได้ โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการเหนื่อยเสียก่อน
  • การใช้เทคนิก Joint protection เช่น ใช้ข้อต่อช่วยในการออกแรงยกของการใช้ข้อต่อเล็ก,การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในครัว ใช้การปรับเปลี่ยนวิธีการการออกแรงยก เป็นการวางกับพื้นโต๊ะ และใช้การลากแทน, การใช้สองมือในการทำงาน
  • การให้อุปกรณ์ช่วย เช่น การเพิ่มด้ามจับของเครื่องครัวให้ใหญ่ขึ้น ให้ผู้รับบริการที่อาจจะขยับข้อนิ้วลำบากสามารถกำวัตถุได้อย่างมั่นคง และใช้พลังงานน้อยกว่า(Energy conservation)

Job analysis

กิจกรรมที่ทำในงาน

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมนั้น

ความสามารถช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคในการทำงาน

เลือกเมนูที่จะทำ และวางแผนการเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ

Cognitive function

ส่งเสริม ผู้รับบริการมีความชอบในการทำอาหารไทยอยู่แล้ว

ขัดขวาง ความรู้สึกกลุ้มใจหรือกังวลใจ อาจทำให้ผู้รับบริการไม่อยากทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือทำด้วยความรู้สึกกลุ่มใจ ไม่ผ่อนคลายในการทำงาน

ใช้มีดหั่นวัตถุดิบต่างๆ

Hand function

Hand dexterity

Eye-hand coordination

Strength of both UE

ส่งเสริม มีทักษะในการใช้อุปกรณ์

ขัดขวาง ความคล่องแคล่วในการใช้อุปกรณ์ลดลง เนื่องจากมีอาการปวดที่ข้อต่อ

ปรุงอาหาร

Cognitive function

Strength of both UE

ส่งเสริม สามารถปรุงอาหารไทยได้

ขัดขวาง การคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง เนื่องจากมีอาการปวดตามข้อ

เสิร์ฟอาหาร

Strength of both UE

Memory

Social skill

ส่งเสริม สามารถพูดคุยสื่อสารได้,มีทักษะการติดต่อประสานงานที่ดี

ขัดขวาง การคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง เนื่องจากมีอาการปวดตามข้อ

4.เริ่มจากการทำ Group dynamic โดยให้ผู้รับบริการรับบทบาทเป็นผู้นำกลุ่ม โดยเลือกอาหารที่ตัวเองมีความมั่นใจที่อยากจะทำ 1 อย่าง และวางแผนการเตรียมอุปกรณ์ และส่งเสริมให้แม่วัยชราเข้าร่วมในกลุ่มด้วย โดยแนะนำให้ผู้รับบริการนำเทคนิก Joint protection และ energy conservation มาปรับใช้ขณะทำกลุ่ม ผู้บำบัดประเมินท่าทางในการทำกิจกรรมไปด้วยเพื่อให้ Feedback เกี่ยวกับท่าทางและความปลอดภัยขณะทำกิจกรรม เมื่อเสร็จแล้วให้ผู้รับบริการนำอาหารให้แม่ชิม และอาจแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน เพื่อเป็น Feedback เกี่ยวกับรสชาติอาหาร

Reference

Annette Sverker, Ingrid Thyberg, Gunnel Östlund, Eva Waltersson & Mikael Thyberg. Participation in work in early rheumatoid arthritis: a qualitative interview study interpreted in terms of the ICF. Disability and Rehabilitation. 2013; 36(3): 242-249

Hector W.H.Tsang , et al. A Pilot Evaluation on a Stress Management Programme Using a Combined Approach of Cognitive Behavioural Therapy (CBT) and Complementary and Alternative Medicine (CAM) for Elementary School Teachers. Stress Health. 2015;31(1): 35–43

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ต่อมาคือกรณีศึกษาที่ 2 ค่ะ

“เคสวัย 70 ปี ที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกงานสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้”

เขียนตาม PEOP Model ได้ดังนี้

P(Person)

E(Environment)

O(Occupation)

P(Performance)

เคสวัย 70 ปี

โรคประจำตัว : สมองเสื่อมมา 3 ปี

เดิมเป็นทนายความ

Habit : ชอบปลูกต้นไม้ทานได้

Mental : เครียดด้วยภาวะหนี้สิน

Need : อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบ Work as a leisure

Social : ครอบครัว

Financial status : มีหนี้สินสะสม

Work : ปัจจุบันไม่ได้ทำงาน

Social participation :ไม่อยากออกงานสังคม เงียบอยู่คนเดียว

Role : ลูกหนี้, สมาชิกในครอบครัว, บทบาททางสังคมลดลง

Ability : มีความสามารถในการปลูกต้นไม้ทานได้


Clinical reasoning

Diagnostic reasoning : ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลต่างๆ การดำเนินโรคถดถอยลงเรื่อยๆ อาการแสดงที่สำคัญจึงเกี่ยวข้องกับความจำ โดยเริ่มจากความจำระยะสั้น อาการต่อมาคือ พบความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง (Cognitive Impairment) เช่น ปัญาหาการใช้ภาษา เลือกคำพูดไม่ค่อยถูก สิ่งที่เคยทำเป็นกิจวัตรเริ่มทำไม่ได้ ไม่สามารถตัดสินใจได้ บางรายมีความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและอารมณ์ร่วมด้วย

จากการประเมิน Behavioral ตาม OT diagnosis พบว่ากรณีศึกษามีลักษณะของ Occupational deprivation คือหลีกหนี ไม่อยากออกงานสังคม เงียบอยู่คนเดียว

ปัญหาที่เลือกมาจากกรณีศึกษานี้ คือ

1.ความเครียด และปัญหา Occupational deprivation

2.ผู้รับบริการมีพยาธิสภาพสมองเสื่อม ต้องการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง

Intervention

1.Goal : ผู้รับบริการมีความเครียดลดลง และลดภาวะหลีกหนี/เก็บตัว

Frame of reference : MOHO, Psychosocial FoR.

  1. ให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือผู้ดูแลของผู้รับบริการให้เข้าใจพยาธิสภาพของโรค โดยอาการที่พบคือ มีปัญหาเรื่องการจดจำ ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อารมณ์แปรปรวนง่าย หรือเริ่มมีอาการซึมเศร้า,
  2. ส่งเสริมผู้ดูแลเข้าร่วม Peer group support เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาและการดูแลผู้ป่วยจากผู้ที่มีประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจและนำมาปรับใช้ตามบริบทของตัวเอง เช่น การแก้ปัญหาเมื่อผู้รับบริการเกิดอารมณ์แปรปรวน ให้ผู้ดูแลเข้าหาด้วยความใจเย็น กระตุ้นให้ผู้รับบริการรับรู้ความรู้สึกของตัวเองในปัจจุบัน หรือใช้ Visual feedback มองภาพตัวเองจากในกระจก
  3. กรณีศึกษานี้เกิดความเครียดเรื่องหนี้สินสะสม จึงอยากช่วยเหลือครอบครัวโดยการทำงาน ดังนั้นครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างมากในการจัดการความเครียด โดยผู้บำบัดควรกระตุ้นให้ผู้รับบริการและครอบครัวมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
  4. ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้น Social participation ของผู้รับบริการ เพื่อลดอาการหลีกหนี ชอบอยู่คนเดียว คนในครอบครัวควรชักชวนผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆภายในบ้านร่วมกัน เช่น รับประทานอาหาร, ดูโทรทัศน์, ทำอาหาร และสนับสนุนการทำงานอดิเรกร่วมกัน เช่น การปลูกต้นไม้, ดูแลสวน

2.Goal : ผู้รับบริการสามารถทำงานปลูกต้นไม้ทานได้จำหน่าย

Frame of reference : MOHO, Occupational adaptation FoR., Physical rehabilitation FoR.

1.พูดคุยกับผู้รับบริการ เพื่อค้นหาความต้องการของรูปแบบการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ซึ่งอาจเป็นงานปลูกต้นไม้ทานได้

วิเคราะห์โดยใช้ MOHO ดังนี้

  • Volition Subsystem

Personal causation : อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง เพื่อชำระหนี้สิน

Value : ประเมินสิ่งที่ผู้รับบริการให้คุณค่าเพิ่มเติม โดยให้ผู้รับบริการให้คะแนนความสำคัญของแต่ละอย่าง

Interests : สนใจการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง

  • Habituation Subsystem

Internalized Roles : สมาชิกครอบครัว

Roles Change : เดิมเป็นทนายความ ปัจจุบันไม่ได้ทำงาน ต้องการกลับไปมีบทบาทการทำงานอีครั้ง โดยเลือกการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง

Habits : ชอบปลูกต้นไม้ทานได้

  • Performance Subsystem

เนื่องจากผู้รับบริการชอบปลูกต้นไม้เป็นงานอดิเรก มีหนี้สินสะสม อยากช่วยเหลือครอบครัว เกิดเป็นแรงจูงใจที่อยากจะทำงาน

  • Environment

ครอบครัว, มีภาระหนี้สินสะสม

2.ส่งเสริมให้ผู้รับบริการและครอบครัวได้วางแผนร่วมกันในการทำงาน เช่น อยากปลูกอะไร,จะจัดเตรียมการเพาะปลูกอย่างไร, จะจัดจำหน่ายอย่างไร, ผู้รับบริการต้องการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างไร

3.ปรับกิจกรรมให้ง่ายขึ้น โดยการพูดคุยกับผู้รับบริการและคัดเลือกต้นไม้ที่ปลูกง่าย, ไม่ต้องดูแลมาก, เก็บผลผลิตได้หลายครั้ง

4.ปรับขั้นตอนให้ง่ายขึ้น เช่น การใช้ดินสำเร็จรูป การปลูกใส่กระถางหรือพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้แล้ว และมีภาพประกอบวิธีทำแต่ละขั้นตอน, ภาพวัสดุอุปกรณ์ควรเหมือนที่ใช้จริงเพื่อให้เข้าใจง่าย, ทำตารางเตือนช่วงเวลาการรดน้ำหรือการพัก

5.แนะนำให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกและดูแลต้นไม้ กระตุ้นความรู้ความเข้าใจควบคู่ไปกับการทำกิจกรรม เช่น กระตุ้นให้อธิบายสิ่งที่กำลังทำ/ขั้นตอน, การใช้งานอุปกรณ์, ชื่อและสรรพคุณของต้นไม้ที่ปลูก

6.ส่งเสริม Social participation โดยการพาผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม เช่น การขายผลผลิตที่ปลูกได้ที่ตลาด

Reference

อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร;2556[เข้าถึง 2559 กันยายน 29].เมื่อสมองเสื่อม เราจะทำอะไรได้บ้าง; เข้าถึงได้ที่: https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2556/better-brain-health/dementia-alzheimer.

Hui-Mei CHEN, Mei-Feng HUANG, Yi-Chun YEH, Wen-Hui HUANG, Cheng-Sheng CHEN. Effectiveness of coping strategies intervention on caregiver burden among caregivers of elderly patients with dementia. Japanese Psychogeriatric Society.2014;15:20-25.

S. L. Saunders,B. Nedelec. What Work Means to People with Work Disability: A Scoping Review. J Occup Rehabil. 2014;24(1):100–110


ขอบคุณค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 616809เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท