​ที่มาและข้อเสียของ "ตัวตน"


ที่มาและข้อเสียของ "ตัวตน"

---------------------------------------
การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องพยายามลด "มัจฉริยะ" (ตระหนี่) และ "มานะ" (หยิ่งยะโส)

เพราะ คนที่ความคิดคับแคบ มีแนวโน้มจะยกย่องตัวเอง และดูถูกผู้อื่นทุกระดับ
*********************************
คนที่ไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจธรรม จะมองเห็นแค่ตัวเองเป็น "ตัวตน" ที่เป็นศูนย์กลางของโลก
คล้ายๆกับสมัยโบราณที่เชื่อว่า ทุกสิ่งในจักรวาล หมุนรอบโลก

ต่อมา พอเรียนรู้ไปนิดหน่อย ก็กลับไปเข้าใจว่า ทุกอย่างหมุนรอบดวงอาทิตย์ หรือหมุนรอบแกนกลางของทางช้างเผือก ฯลฯ ตามลำดับ

และพอเราเรียนจนเข้าใจมากขึ้นๆๆๆๆ เราจึงรู้ว่าไม่มีอะไรหมุนรอบอะไร เป็นเพียงสถานะการณ์ "ชั่วคราว" ตากกฎของ "ไตรลักษณ์" (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เท่านั้นเอง คงอยู่ได้ไม่นาน แล้วทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเหตุและปัจจัย (ที่ถ้าอยากเข้าใจจริงๆ ก็ต้องไปเริ่มต้นที่เหตุและปัจจัยเท่านั้น มาจับที่ผลเฉยๆ ไม่ได้)

ที่เรามองว่า "อยู่นาน" ก็เพราะเรามองแบบสั้นๆ และมีอายุเราสั้น จึงคิดแบบ "สั้นๆ" เท่าที่เห็น เท่านั้นเอง
--------------------------------------------
สาเหตุที่เราต้องเรียนกันยาวนาน เพราะเราแยกไม่ออกระหว่างความรู้จริงๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เมื่อ กว่า 2600 ปีมาแล้ว กับความเชื่อของตัวเอง กับหลักวิทยาศาสตร์ตื้นๆ ที่เราถือว่าเป็นความรู้ขั้นสูงสุดของเรา

จนในที่สุด หลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ก็แค่พิสูจน์และทำให้เรามั่นใจว่าคำตรัสของพระพุทธเจ้าเป็นจริง เท่านั้นเอง มิได้เป็นการค้นพบอะไรใหม่แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ความไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจธรรม ไม่เข้าใจไตรลักษณ์ ทำให้เรายึดถือ ตัวตน ของตน และถือว่าตัวเองเป็นหลัก เป็นศูนย์กลาง และมีความยั่งยืนที่สุด เท่าที่ตัวเองมี "ตัวตน"

ถ้าไม่มีตัวตน โลกทั้งโลกก็จะถือว่า "ไม่มี" ไปด้วย
------------------------------------------------------------

นี่คือที่มาของ "มัจฉริยะ" และ "มานะ" ที่ก็คือ ความตระหนี่ เห็นแก่ตัว และทนงตน ว่าเก่งกว่าคนอื่น

ทั้งสองลักษณะ "สภาวะธรรม" ของ "อวิชชา" และ มิจฉาทิฏฐิ" นี้ มักเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนที่มีความคิดแคบๆ แบบนั้นไม่สามารถคบหา หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม อย่างมีความสุขได้ และไม่สามารถสนับสนุน หรือช่วยเหลือให้ผู้อื่นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้

อย่างมากที่สุด ก็เพียงอยู่กับคน "ในระดับเดียวกัน" ได้อย่างชั่วคราวเท่านั้น
อีกไม่นาน เมื่อเริ่มมีความชัดเจนว่าตัวเองมีอะไรแตกต่างจากคนอื่น ก็จะเริ่มมี "มานะ" และ "มัจฉริยะ" ที่ทำให้อยู่ร่วมกันไม่ได้อีกต่อไปเรื่อยๆๆๆๆ
------------------------------------------------------------------
การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ในเรื่องนี้ ก็คือ การทำตนให้รู้และเข้าใจโลก เข้าใจธรรม เข้าใจสัตว์ร่วมโลก และสัจจธรรม ด้วยการทำความเข้าใจ ไตรลักษณ์

ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคม
------------------------------------
ที่จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจกัน และมีความสุขขั้นสูงสุดได้อย่างเสมอหน้ากัน
+++++++++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 616665เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2016 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2016 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you.

These cetasikas are veil that we are wearing but never seeing: "มัจฉริยะ" และ "มานะ" ที่ก็คือ ความตระหนี่-เห็นแก่ตัว และ ทนงตน ว่าเก่งกว่าคนอื่น...

Self-ness is a part of survival instinct (to preserve self first). But excessive degree of self-interest (beyond what "needed") is called 'greed'. Survival can fix a mind on 'winning' and believing in being the 'winner' always. (I think you would explain this better than me.)

"แจ่มแจ้งแดงแจ๋"..ขอใช้ศัพท์..สมัยเด็กๆเจ้าค่ะ...(ยายธี)..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท