ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21


ความสามารถในการทำงาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ารู้มากหรือรู้น้อย แต่ขึ้นอยู่กับทักษะการเรียนรู้

วันนี้เพิ่งเข้ารับการอบรมจาก อ.ชลชาสน์ ศักดาลักษณ์ เรื่อง การพัฒนาครูด้วยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอิงมาตรฐาน ในศตวรรษที่ 21 รู้สึกคล้าย ๆ กับว่าในใจร้องเพลงท่อนนี้ของพี่ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ "ฉันต้องทำ ทำอะไรสักอย่างแล้ว" :)

ได้รับฟังที่มาที่ไป ความสำคัญที่เราต้องลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนแนวคิดตัวเองเพื่อเป็น Facilitator ให้ผู้เรียน(ที่น่ารัก)ของเราเพื่อให้เขาได้ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุขในศตวรรษที่ 21 แล้วรู้สึกตื่นเต้น อยากรู้เรื่องนี้มากขึ้น จะได้ทำตัวถูก:)

ยิ่งได้เห็นคลิปวีดีโอที่ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช พูดถึงเรื่องนี้ ทำให้รู้สึกมีไฟตามไปด้วย เลยตามอ่านบทความของอาจารย์ในเว็บไซต์ ก็ไปเจอหนังสือเล่มนี้ http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf รู้สึกว่าโดนใจตั้งแต่คำนิยมแรกของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ที่ว่า " ความสามารถในการทำงานมิได้ขึ้นกับรู้มากหรือรู้น้อย แต่ขึ้นกับทักษะการเรียนรู้ พร้อมเรียนรู้ ใฝ่เรียนรู้ อยากเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ตลอดเวลาจากทุกสถานที่ มีทักษะชีวิตที่ดีปรับตัวได้ทุกครั้งเมื่่อพบอุปสรรค ยืดหยุ่นตัวเองได้ทุกรูปแบบเมื่อพบปัญหาชีวิต" และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ว่า เวลาเราทำงานนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรู้มากหรือรู้น้อยจริง ๆ แต่ขึ้นอยู่กับการที่เราพร้อมจะเรียนรู้มากกว่า เรื่องนี้ประสบด้วยตัวเอง เพราะก่อนหน้าที่จะสอบบรรจุเข้ามารับราชการครูได้นั้น ได้ไปใช้ชีวิตเป็นพนักงานโรงแรมเพื่อจะได้ใช้ภาษาอังกฤษตามที่เรียนและจบมา บอกได้เลยว่า เราเรียนภาษาอังกฤษมาก็จริง แต่นั่นก็ทำให้เราแค่มีเครื่องมือในการสื่อสารเท่านั้น แต่จะสื่อสารอะไรนั่นเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ในงานของเรา เช่นทำงานอยู่ในตำแหน่งพนักงานต้อนรับของแผนกสปา ก็ต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ Treatment, Product, benefit, cost control ฯลฯ เพื่อให้เราทำงานได้ ตอนนั้นรู้แต่ว่า ก็ไม่ได้ชอบงานนะ แต่มีความรับผิดชอบพอที่จะทำงานให้ออกมาดีที่สุด ก็ต้องเรียนรู้งานและพัฒนาตนเอง

ชอบอีกอย่างคือที่อ.วิจารณ์พูดถึงเรื่อง Critical Thinking ว่าการสอนเรื่องนี้ง่าย ๆ เลยคือการเล่าข่าว วิเคราะห์ข่าว ตั้งคำถาม หาคำตอบ ยอมรับว่าตอนที่ได้ยินครั้งแรกเกี่ยวกับการสอนการคิดวิเคราะห์ มืดแปดด้านค่ะ จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะใช้วิธีไหนดี แต่พออาจารย์มาชี้ทางสว่างก็รู้สึกว่า ที่แท้ มันก็ใกล้ตัวนิดเดียว

ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดลึกมากเกี่ยวกับเรื่อง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 แต่คิดว่าน่าจะมีประเด็นอะไรอีกเยอะที่ทำให้รู้สึก "มีไฟ" :)

หมายเลขบันทึก: 616659เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2016 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2016 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท