745. "ความชรา 4.0"


สมัยนี้โอกาสดีๆ มีมากขึ้นกว่าเดิม ตอนนี้มไล่เรียนหลักสูตรที่อยากเรียนทาง Online หลายหลักสูตรเป็นของมหาวิทยาลัยดีๆ อย่างเรื่อง Rethinking Ageing: Are we prepared to live longer? สอนโดยคณาจารย์จาก University of Melbourn ที่นี้เปิดหลักสูตร Master of Aging ... น่าสนใจเลยครับ หลักสูตรนี้สอนโดยอาจารย์กว่า 15 ท่าน พูดหลายประเด็นตั้งแต่สุขภาพกาย จิต เศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผมโดนใจมากๆ เป็นเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น (Intergeneration Relationship) เพราะครอบครัวยุคนี้ คนมีอายุขัยยาวนานขึ้น ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวกลายเป็นเรื่องใหญ่

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว (Solidarity) ของคนต่างรุ่นนครอบครัวจึงเป็นอะไรที่สำคัญนัก ผมเองเจอคนไม่อยากอยู่กับพ่อกับแม่ หรือสามีเข้ากับครอบครัวภรรยาไม่ได้ ภรรยาเข้ากับครอบครัวสามีไม่ได้ จึงคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมไทยควรหันมาศึกษา ลองดูทฤษฎีนี้ครับ น่าสนใจทีเดียว

Benson และ Roberts (1991) ได้แบ่งความสามัคคีกลมเกลียวของครอบครัว (Six Dimension of Solidarity) เป็น 6 มิติ ดังนี้ครับ


นี่คือวิชาการ ครอบครัวคุณมีอะไรมากน้อยครับ และการเตรียมตัวเตรียมใจเป็นอย่างไร เมื่อชีวิตเปลี่ยนไป เมื่อเราสูงวัยขึ้น เราจะทำอย่างไร ตรงนั้นเป็นประเด็นที่น่าคิด

เราคงต้องหาความรู้กันเรื่องนี้มากๆ

ผมเองมีประสบการณ์ที่ดีครับกับครอบครัวของภรรยา ผมว่าครอบครัวภรรยาผมมีจุดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมาก ที่เด่นๆคือเรื่อง Affectual Solidarity ตรงที่รักกันมาก รักกันอย่างไร และเกี่ยวอะไรกับผม ผมชอบพ่อตาแม่ยายของผมมากครับ ท่านน่ารักมากๆ ให้เกียรติผม ทั้งสองท่าน ให้เกียรติอย่างไม่เคยคิดว่าจะได้รับเกียรติจากใครขนาดนี้ ตอนนั้นตอนไปจีบลูกสาวเขา เขาปฏิบัติกับผมอย่างผู้ใหญ่ รัก คอยดูแลผมอย่างดี ทั้งๆที่ตอนนั้น ผมรู้สึกว่าผมยังทำอะไรโง่ๆ อยู่มาก ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ แต่เมื่อลูกสาวเขารักผม เขาก็ปฏิบัติกับผม เหมือนผมเป็นลูกชายบ้านนั้นจริงๆ ผมจำได้ว่าผมมีโอกาสได้นั่งสนทนากับพ่อตา ได้คุยได้ ปรึกษา ได้ฟังท่านเล่าเรื่องดีๆ ให้ฟังเยอะมาก ผมรู้สึกทึ่งถึงการเปิดใจของบ้านนี้มาก

การได้รับเกียรติจากบ้านภรรยา ทำให้ผมรู้สึกว่ามันส่งผลถึงบ้านผมมาก ผมรู้สึกเรื่อง Normative Solidarity ของผมที่มีต่อครอบครัว เล็กๆของผมสูงมากๆ ผมทุ่มเทชีวิตเพื่อครอบครัวด้วย แม้ตอนนี้พ่อตาท่านจะเสียไปหลายปีแล้ว แต่ก็ยังจำบรรยากาศการคุยกับท่านได้เป็นอย่างดี รู้สึกว่ายังไงต้องดูแลลูกสาวกับหลานท่านให้ดีที่สุด ไม่ให้ท่านผิดหวัง นี่เองที่ผมรู้สึกว่าพ่อตาแม่ยายของผมเป็นต้นแบบเรื่อง Affectual Solidarity มากๆ ผมว่าใครกำลังจะเป็นพ่อตาแม่ยายคน ครอบครัวภรรยาผมเป็นต้นแบบได้เลย ความสัมพันธ์ของท่านกับครอบครัวลูกสาวจะยั่งยืนมากๆ

ถามว่าทำไมต้องมีครับ เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่เท่าที่ดู คนจำนวนมากรู้ไม่รู้ทัน มองไม่ออก ปัญหาตามมาแน่ครับ

อย่าง Associative Solidarity ความถี่และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ผมไปทำงานให้ปปส. มีครั้งหนี่งลองถามเรื่องครอบครัวที่เด็กติดยากับครอบครัวที่เด็กไม่ติดยาต่างกันอย่างไร เห็นชัดมากครับครอบครัวที่เด็กมีภูมิคุ้มกันยาเสพติด คือครอบครัวที่พ่อแม่กับลูกทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากันบ่อยๆ ครอบครัวที่ตัวใครตัวมัน มีปัญหาเรื่องยาเสพติดครับ ชัดมากๆ ผมว่าเรื่องนี้ต้องเข้าใจและต้องทำ ไม่อย่างนั้นคุณแก่แล้ว ลูกหลานเป็นบ้าก่อน คงไม่คุ้มครับ

ในสามก๊กมีร่องรอยความความไม่กลมเกลียวในครอบครัวที่ส่งผลต่ออะไรหลายอย่าง เช่นกรณีซุนกวนกับจิวยี่ ทำแผนลวงยกน้องสาวให้เล่าปี่ ล่อเล่าปี่มาที่ง่อก๊ก เล่าปี่ก็มา แต่ก็พยายามลอบฆ่าเล่าปี่ ที่สุดง่อก๊กไถ้รู้ความ เลยขอดูตัวเล่าปี่ เกิดโดนใจเลยรักเล่าปี่และยกลูกสาวให้อย่างเต็มใจ แถมปกป้องเล่าปี่ด้วย ซุนกวนและจิวยี่นี่เงิบครับ นอกจากเสียน้องสาวแล้วยังเสียรู้ ถ้าประเมินตามทษฎีความกลมเกลียวนี้ แผนนี้พังเพราะครอบครัวซุนกวนอาจขาดเรื่อง Consensual Solidarity คือการมีทัศนคคติ ค่านิยม ความเชื่อต่างกัน เรื่องนี้เหนือความคาดหมายของซุนกวนและจิวยี่ เรียกว่าคาดไม่ถึงเลยว่าท่านแม่และน้องสาวจะคิดต่างขนาดนี้ ความไม่กลมเกลียวเรื่องนี้ทำให้แผนล้มจ๊กก๊กพังแต่ต้น และทำให้จ๊กก๊กเติบใหญ่ขึ้นในที่สุด ผมว่าครอบครัวซุนกวน อาจไม่ค่อยได้ทานข้าวร่วมกันเท่าไหร่ เลยไปคนละทิศ


ความกลมเกลียวเป็นเรื่องที่ไม่ใช่คนสูงอายุจะต้องเข้าใจเท่านั้น คนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องรู้เท่าทัน ต้องเตรียมตัว ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์ ความกลมเกลียวในครอบครัวเป็นเรื่องใหญ่ ลองหาต้นแบบดีๆ มาเรียนรู้กันดูนะครับ

ตอนนี้ประเทศไทยถึงยุค 4.0 แล้วนะครับ ยุค 4.0 เป็นยุคของความรู้แล้ว คนสูงอายุ (และคนที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุ) ก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ 4.0 ครอบครัวก็ต้อง 4.0 นะครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียวเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ



Reference: https://www.coursera.org/learn/ageing/home

หมายเลขบันทึก: 616635เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คิดถึงอาจารย์เลยครับ

หายไปนานมากๆ

ปัจจุบันผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นนะครับ

ความเป็นครอบครัวทุกวันนี้ สำคัญมาก ย่อมห่างออกไปทุกๆ ที การทานข้าวร่วมกันต้องมีทุก ๆ วัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท