องค์ประกอบของการดำเนินชีวิต (Elements of Living) ตอนที่ 1


... คำถามต่อมาที่น่าสนใจคือ แล้วอะไรหละที่จะช่วยเป็นทั้ง "เลนส์" สะท้อน และ "กรอบ" รองรับ ปัจจัยต่างๆภายใต้บริบทเหล่านี้ เพื่อการบริหารจัดการชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...

ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่ต้องการ "ความสุข" และ "ความสำเร็จ" ให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง แต่หากถามว่า ถ้าจะให้เกิดความสุขและความสำเร็จแก่ตนเองได้นั้น จะต้องทำอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน ส่งผลให้แต่ละคนมีความสุขและความสำเร็จที่ไม่เหมือนกัน หากแต่องค์ประกอบที่จะทำให้ทุกคนก้าวไปสู่จุดที่ตนพึงพอใจ ทั้งความสุขและความสำเร็จ คงไม่ต่างออกไปจากที่จะกล่าวในบทความนี้

จากภาพที่ 1 หากเริ่มต้นมองจากตัวเรา ภายนอกตัวเรา (External) คือสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินอย่างเป็นพลวัตรไม่หยุดนิ่ง (Dynamic) ประกอบกับการมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้หรือได้บ้างเป็นส่วนน้อย ส่วนภายในตัวเรา (Internal) คือสิ่งที่เป็นตัวเราทั้งทางกายภาพลงไปจนถึงระดับจิตวิญญาณ และไม่ว่าจะเป็นภายนอกตัวเราหรือภายในตัวเราก็ล้วนแต่มีสิ่งที่สามารถจับต้องได้ (Tangible) และสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible) ปะปนกันไป ในที่นี้เราจะวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นส่วนภายในตัวเรา ที่ส่งผลต่อการไปสู่เป้าหมายของการดำเนินชีวิต

life_factors_1

หนึ่งในกรอบการวิเคราะห์ที่คลาสสิคและทรงพลังในทางการบริหารจัดการ ได้แก่ การวิเคราะห์ SWOT ที่คิดขึ้นโดยอัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) อันประกอบไปด้วย จุดแข็ง (S: Strengths) จุดอ่อน (W: Weaknesses) โอกาส (O: Opportunities) และอุปสรรค (Threads) โดยสองส่วนแรกมาจากสภาพการณ์ภายในตัวเราเอง และสองส่วนหลังมาจากสภาพการณ์ภายนอกตัวเรา ดังแสดงไดด้ในภาพที่ 2

life_factors_2

หากควบรวมทั้งสองภาพเข้าด้วยกัน ดังแสดงในภาพที่ 3 ก็จะอธิบายได้ว่าคนเราดำเนินชีวิตโดยขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะควบคุมได้หรือไม่ได้ ไม่ว่าจะจับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโอกาสและอุปสรรค ประกอบกับปัจจัยภายในตัวราที่หลอมรวมกัน สะท้อนออกมาเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละคน ทั้งที่จับต้องมองเห็นหรือรู้สึกได้ กับส่วนที่เราไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นของส่วนหนึ่งของเรา ปัจจัยภายในและภายนอกนี้หมุนเวียน สอดประสาน ถ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยน ให้เกิดเป็นความไม่นิ่งของปัจจัยภายใต้ความเป็นเหตุเป็นผล มีที่มามีที่ไปในกรรมที่เกิด จึงเป็นที่มาของความไม่แน่นอนอันเป็นผลมาจากภานในของแต่ละคนกับภายนอกที่ก่อตัวเป็นสังคม ความไม่แน่นอนนี้เองที่ทำให้ชีวิตคนเราหนีไม่พ้นกับสิ่งที่เรียกว่า "ความเสี่ยง" คำถามต่อมาที่น่าสนใจคือ แล้วอะไรหละที่จะช่วยเป็นทั้ง "เลนส์" สะท้อน และ "กรอบ" รองรับ ปัจจัยต่างๆภายใต้บริบทเหล่านี้ เพื่อการบริหารจัดการชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงได้ในส่วนที่แรเงาของภาพที่ 3

life_factors_3


อ้างอิง : http://www.thanakrit.net/elements-of-living-1/

Slideshare : http://www.slideshare.net/lersmethasakul/integrate...

หมายเลขบันทึก: 616631เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2016 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท