วิจารณ์หนังเรื่อง อารโก้ แผนฉกฟ้าแลบลวงสะท้านโลก


เมื่อคืนผมดูหนังเรื่อง อาร์โก้ แผนฉกฟ้าแลบลวงสะท้านโลก เนื้อเรื่องเล่าความเป็นมาของอิหร่านว่าสมัยก่อนเรียกกันว่าเปอร์เซีย ปกครองโดยพระเจ้าชาร์ต่อมาชาร์ โดยที่ประเด็นที่หนังเรื่องนี้เล่าถึงวิกฤติตัวประกันที่อิหร่าน ช่วงปลายยุค70 –ต้น 90 (ประมาณ พ.ศ.2522 ขึ้นไป) กล่าวคือหลังอิหร่านมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างสายฟ้าแลบในช่วงต้นปี พ.ศ. 2522 เมื่อพระเจ้าชาร์ปัลลาวีของอิหร่านซึ่งเป็นผู้นำที่โปรตะวันตกอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ในเรื่องการศึกษา และวิถีแบบทุนนิยม ต้องเสด็จลี้ภัยไปอเมริกาเพราะถูกประชาชนประท้วงขับไล่ลงจากอำนาจ และแม้ว่า พระเจ้าชาร์ จะทรงลี้ภัยไปยังอเมริกาแล้วแต่รัฐบาลของอิหร่านภายใต้การค้ำจุนของกองทัพก็ยังคงทำการบริหารประเทศต่อไปได้อยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง

ทว่าจุดเปลี่ยนมาเกิดขึ้นเมื่ออายะตุลลอฮ์ โคมัยนี ซึ่งครั้งหนึ่งหลังจากปราศรัยขัดแย้งกับรัฐบาลเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โคมัยนีก็ถูกจับไปขังคุกที่กรุงเตหะรานผลของการจับโคมัยนีทำให้ประชาชนโกรธแค้นมาก และพากันออกมาเดินขบวนเต็มไปหมดในถนนทุกสาย เหตุการณ์ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี ลุกลามรุนแรงถึงขั้นนองเลือด จนกลายเป็นจุดหักมุมของประวัติศาสตร์อิหร่าน รัฐบาลตัดสินใจเนรเทศโคมัยนีออกนอกประเทศในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 4 โดยให้ไปอยู่ตุรกี และต่อมาย้ายไปอยู่เมืองนาจาฟในอิรัก จากอิรักได้ไปอยู่ที่ฝรั่งเศส รวมเป็นเวลาถึง 13 ปี โดยหวังว่าจะทำให้ความนิยมในตัวโคมัยนีจางหายไป แต่สุดท้ายไม่หาย 555+

อายะตุลลอฮ์ โคมัยนี่เป็นผู้นำทางศาสนาหัวรุนแรงที่เคยถูก พระเจ้าชาร์เนรเทศออกจากอิหร่านไปเมื่อ 13 ปีก่อน ได้ออกจากฝรั่งเศสกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนในอีกไม่กี่เดือนถัดมา โดยโคมัยนี่เองเป็นที่เคารพรักของชาวอิหร่านและนักศึกษาในยุคนั้นทำให้เขามีกองกำลังผู้สนับสนุนอยู่ในมือจำนวนมาก (ขณะอยู่ที่ฝรั่งเศสได้อัดเสียงของตนเอง แล้วมาเผยแพร่ที่อิหร่านตลอด) ซึ่งภายหลังกลุ่มผู้สนับสนุนเหล่านี้จะก่อสงครามจลาจลกับฝ่ายกองทัพและรัฐบาล (ช่วงนี้อเมริกา และตะวันตกเริ่มประกาศเตือนให้คนของตนเองออกจากอิหร่านแล้ว) จนในที่สุดหลังความวุ่นวายต่างๆผ่านไป ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2522 โคมัยนี่ ก็สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุดของประเทศ และประกาศ "การปฏิวัติอิสลาม" ไปทั่วอิหร่านโดยหันมายึดถือแนวทางของศาสนาอิสลามในการปกครองประเทศแทนระบอบทุนนิย

กลับมาที่เนื้อหาเรื่องอาร์โกต่อ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเตหะราน เพื่อตอบโต้กรณีที่ซีไอเอมีส่วนร่วมในความขัดแย้งในอิหร่าน เจ้าหน้าที่สถานทูตกว่า 50 คนถูกจับเป็นตัวประกัน แต่มีหกคนหนีออกมาได้และไปซ่อนตัวอยู่ในบ้านของเคน เทย์เลอร์ ซึ่งเป็นทูตแคนาดา ในขณะที่เหตุการณ์การหลบหนีของตัวประกันยังถูกปกปิดเป็นความลับ เพราะทำลายข้าวของทุกอย่างในสถานทูต กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้พยายามหาทางที่จะนำตัวประกันออกจากอิหร่าน และโทนี เมนเดซ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนำคนออกจากประเทศของซีไอเอได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมหารือแผนดังกล่าวด้วย เมนเดซวิจารณ์แต่ละแผนที่มีผู้เสนอมาว่าไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เช่น ฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศบอกว่าน่ามีการปลอมเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ที่เมนเดซบอกว่าตอนนี้ครูสอนภาษาไม่มีเหลืออยู่ในอิหร่าน และน่าจะมีการปลอมเป็นนักชีววิทยา แต่เมนเดซบอกว่านี่เป็นหน้าหนาว คงไม่มีใครเอาพืชผักและผลไม้ไปปลูกดอก แต่เขาเองก็ไม่สามารถเสนอแผนที่ดีกว่านี้

จนกระทั่งเมื่อเขาคุยโทรศัพท์กับบุตรชายและได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Battle for the Planet of the Apes จากโทรทัศน์ เขาจึงเริ่มคิดแผนสร้างเรื่องปลอมให้ผู้หลบหนีหกคนเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ชาวแคนาดา ผู้มาดูสถานที่ในต่างแดนเพื่อใช้สำหรับสร้างหนังแนวไซไฟดังกล่าว เมนเดซและหัวหน้าของเขา แจ็ค โอดอนเนลติดต่อไปยังจอห์น เชมเบอร์ส ช่างแต่งตัวในฮอลลีวูดที่เคยทำเรื่องอำพรางรูปลักษณ์ให้กับซีไอเอ เชมเบอร์สให้พวกเขาไปหาโปรดิวเซอร์ที่ชื่อเลสเตอร์ ซีกัล ทั้งหมดช่วยกันสร้างสตูดิโอภาพยนตร์ มีการเปิดเผยแผนการต่อสาธารณชน และลวงให้เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องอาร์โก ภาพยนตร์แนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ไซไฟที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้การสร้างเรื่องเป็นผู้ถ่ายทำภาพยนตร์มีน้ำหนักมากขึ้น

ในระหว่างนั้นในที่พักของทูตแคนาดา ผู้หลบหนีทั้ง 6 เริ่มเกิดความกลัว ในขณะที่คณะปฏิวัติ (พวกของโคมัยนี่) พยายามนำเอกสารในสถานทูตที่ถูกตัดทำลายมาเรียงต่อกันจนพบว่ามีคนบางคนหนีไปได้ (ใช้แรงงานเด็กและผู้หญิง ซึ่งอาจรับได้ในยุคโน้น แต่ยุคนี้รับไม่ได้แน่นอน 555+)

เมนเดซซึ่งแสดงตัวเป็นโปรดิวเซอร์ของอาร์โกเข้าไปยังอิหร่านและสามารถติดต่อกับผู้หลบหนีได้ เขาให้หนังสือเดินทางแคนาดาและอัตลักษณ์ปลอมของแต่ละคนเพื่อฝึกทุกคนให้ผ่านการตรวจตราที่สนามบินไปได้ ผู้หลบหนีทั้งหมดที่รู้สึกไม่เชื่อกับแผนนี้แต่แรกตัดสินใจที่จะยอมทำตามแผนนี้ไป เพราะรู้ว่าเมนเดซก็เสี่ยงชีวิตเขาเองด้วย การสำรวจสถานที่ที่บาซาร์เพื่อทำให้เรื่องการสร้างภาพยนตร์ยังมีน้ำหนักอยู่เป็นไปอย่างไม่ดีนัก มีการถ่ายภาพคนทั้ง 7 ส่งไปให้คณะปฏิวัติ แต่คนอิหร่านซึ่งมาด้วยกันสามารถพาพวกเขาออกจากสถานการณ์อันย่ำแย่ได้

ต่อมาเมื่อเมนเดซได้รับการบอกกล่าวว่าปฏิบัติการนี้ยกเลิกเพื่อไม่ให้กระทบกับปฏิบัติการทางทหารที่จะเข้าช่วยเหลือตัวประกัน เขากลับดื้อดึงที่จะดำเนินแผนต่อไป ซึ่งตรงนี้ตรึงอารมณ์เราให้ลุ้นไปตลอด เมื่อเมนเดซไม่ยอมทำตามแผนรอง ทำให้โอ'ดอนเนลต้องเร่งขออนุญาตเพื่อดำเนินแผนการนี้ต่อเพื่อให้ทุกคนได้ตั๋วเครื่องบินในเที่ยวบินของสวิสแอร์ ความตึงเครียดเกิดขึ้นที่สนามบินเมื่อครั้งแรกสายการบินสวิสแอร์บอกว่ายังไม่มีการจองตั๋วเครื่องบิน แต่เมนเดซบอกว่าให้ตรวจสอบดูอีกที สุดท้ายตั๋วเครื่องบินได้รับการยืนยันในนาทีสุดท้าย และโทรศัพท์ของหน่วยรักษาความปลอดภัยที่สนามบินที่โทรไปยังสตูดิโอที่ฮอลลีวูด ตอนนั้นเชมเบอร์กับซีกัลไม่สามารถเข้าไปที่หน่วยโปรดิวเซอร์ได้ เพราะติดกับการถ่ายหนัง แต่สุดท้ายก็ไปรับโทรศัพท์ในนาทีสุดท้าย เมนเดซและผู้หลบหนีทั้งหมดขึ้นเครื่องบินได้ก่อนที่หน่วยรักษาความปลอดภัยของอิหร่านจะทราบความจริงและพยายามสกัดเครื่องบินไม่ให้ขึ้นบิน แต่ก็ไม่ทัน เพราะเครื่องบินบินออกจากอิหร่านไปเรียบร้อยแล้ว

เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวประกันที่เหลือในเตหะรานถูกแก้แค้น สหรัฐฯ จึงไม่มีชื่อในฐานะผู้เกี่ยวข้องในการพาคนหลบหนีครั้งนี้เลย โดยให้แคนาดาและทูตเทย์เลอร์เป็นผู้รับความดีความชอบไปทั้งหมด ทูตเทย์เลอร์และภรรยาใช้สถานะความเป็นทูตออกจากอิหร่านระหว่างวิกฤตตัวประกันนั้นเอง ส่วนแม่บ้านชาวอิหร่านผู้ทราบถึงเรื่องคนอเมริกันหลบหนีแต่โกหกกับคณะปฏิวัติเพื่อช่วยพวกเขาได้หลบหนีไปยังอิรัก

หนังเรื่องนี้พยายามพูดถึงความแตกต่างภายใต้รัฐสาธารณะ (secular state) กับ รัฐศาสนา (religious state) แต่ไม่ชัดเจนนัก รัฐสาธารณะยึดถือแต่สมบัติส่วนตัว เช่น บ่อน้ำมัน แต่รัฐศาสนาถือว่าทุกอย่างในโลกนี้เป็นของพระเจ้า ความคิดเช่นนี้น่าทำให้คนที่คิดคนละระดับขัดแย้งกันได้ แต่เอาเถอะ 2 กว่าชั่วโมงในการชมก็ได้อรรถรสความตื่นเต้นไปพอสมควร อีกอย่างได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์อิหร่านด้วยถือเป็นของแถม 555+


หมายเลขบันทึก: 616457เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท