ผู้เขียนมีโอกาสเป็นวิทยากรหลายครั้ง วิทยากรหลักบ้าง วิทยากรร่วมบ้าง ซึ่งกลุ่มผู้เข้าฟังมีหลากหลายทั้งนิสิต/นักศึกษาและผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีความต่างทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ จึงเป็นความยากในการถ่ายทอดให้ได้ผลดี
สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนประเมินตนเองแล้วยังพัฒนาได้อีก เป็นเรื่องเทคนิคการถ่ายทอดให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจลึกซึ้ง และนำไปปฏิบัติจริงได้โดยง่ายมากกว่า ดังนั้นสิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม คือ เทคนิคในการบรรยายที่สามารถถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นที่มาของการแสวงหาหลักสูตรเพื่อพัฒนาและสร้างความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น จนได้พบหลักสูตร “การพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร” ของ บริษัท พีเพิ่ล ไดนามิค จำกัด และได้เข้าอบรมในวันที่ 22-23 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา โดยมี อ.ยุทธวินัย โชติจิรชยา เป็นวิทยากร มีสมาชิกร่วมรุ่นที่ 25 จำนวน 19 คน จากหลากหลายวิชาชีพ
เนื้อหาการอบรมสองวันนี้คล้ายกับกำหนดการที่ให้ไว้ เพียงแต่หากใครคาดหวังทฤษฏีอาจจะผิดหวังไปบ้าง เพราะในชั้นเรียนอาจารย์เน้น how to ของอาจารย์เองล้วนๆ ตามที่อาจารย์เกริ่นนำไว้แต่แรก ซึ่งเป็นความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ที่หาได้ยาก สมเจตนารมย์ของผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ส่วนของเนื้อหารายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้อีก
2 วันของการอบรม ผู้เขียนได้เทคนิคมากมาย ได้ภาพสะท้อนตัวเองที่อยากได้มานานแล้ว
และสิ่งที่ได้มากกว่านั้นคือ “เพื่อนและครู ผู้เรียนรู้ไปด้วยกัน”
...
ตัวอย่างหนึ่งของบุคลิกภาพวิทยากร เช่นท่าทางการยืนบรรยาย (นำมาให้ดูเปรียบเทียบกันค่ะ)
ของผู้เขียนเอง ยืนกางขามากไป และยืนพักขา... (อิอิ) ไม่ถูก ค่ะ
ดูท่ายืน ท่าสอนของอาจารย์ เป๊ะ...
...
ขอขอบคุณ บริษัท พีเพิ่ล ไดนามิค จำกัด นำโดย อ.ยุทธวินัย โชติจิรชยา ที่ถ่ายทอดเทคนิคโดยไม่มีปิดบัง ด้วยความตั้งใจของอาจารย์ที่ว่า ที่ผ่านมาได้มากเพียงพอแล้ว ขอ “คืนให้สังคม” บ้าง...
น่าชื่นชมค่ะ
ขอขอบคุณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเฉพาะภาควิชาวิสัญญีวิทยา ที่ผู้เขียนปฏิบัติงานอยู่ ที่อนุม้ติและให้โอกาสเข้าอบรมแม้จะอยู่ในช่วงท้ายของปีงบประมาณ
และสำหรับผู้เขียน หลักสูตรนี้ถือเป็นสุดยอดของการเติมเต็มให้ชีวิตวิทยากรของผู้เขียน ซึ่งถ้าถามถึงความคุ้มค่า
ตอบได้เลยว่า “คุ้ม ยิ่งกว่าคุ้ม...” และประมาณค่า มิได้...
กฤษณา สำเร็จ
3 ตุลาคม 2559
ไม่มีความเห็น