การปฏิรูปการศึกษาไทย (ตอนที่ ๘)


เราจะไป 'ไทยแลนด์ 4.0' แต่การศึกษาของเรายังเป็น 'การศึกษา -1.0' อยู่ ถ้าไม่ปฏิวัติการศึกษาไทย (หากปฏิรูปคงจะไม่ทัน) จะเป็นไปได้อย่างไร?

การปฏิวัติการศึกษาไทย

“การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องตระหนักว่าไม่มีใครเหมือนกันในโลก อย่าทำลายเยาวชนด้วยการยัดเยียดให้ท่องวิชาเหมือนกัน เยาวชนทุกคนต้องเก่งในทางที่ต่างกัน คนไทยทุกวันนี้ขาดความอดทน ไม่มีสมาธิอยู่ได้นานๆ เพราะวิธีการเรียนที่เปลี่ยนเป็นคาบๆ ไม่มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ชอบได้นานๆ ดังนั้นการศึกษาต้องวางแผนให้เด็กได้ทำสิ่งที่ชอบได้นานๆ ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิและความอดทน คนไทยยังขาดทักษะการจัดการซึ่งเป็นอันตรายมากในการทำงาน เพราะการศึกษาเน้นแต่ท่องวิชา หากให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจะเป็นการฝึกทักษะการจัดการ ทั้งนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความซับซ้อนไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงลำพังต้องอาศัยศักยภาพสูงสุดของมนุษย์ร่วมกันนั่นคือ การปฏิวัติจิตสำนึกและสัมพันธภาพแบบใหม่ เพราะทุกคนมีจิตสำนึกมีสมองส่วนหน้าเหมือนกัน ครูจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนได้ค้นพบและเป็นเมล็ดพันธุ์ความดีที่จะช่วยกู้สิ่งเหล่านี้” ศ.นพ. ประเวศ วะสี กล่าว

การสอนแบบให้เด็กท่องจำวิชา เพื่อสอบแข่งขันกัน ทั้งในห้องเรียน และให้ได้ที่นั่งเข้าเรียนต่อ เป็นการศึกษาไทยเวอร์ชั่น -1.0 เพราะเป็นการทำลายสุขภาวะและศักยภาพของเด็ก-เยาวชนไทย เด็กประถมจำนวนไม่น้อยยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เด็กมัธยมอ่านจับประเด็นไม่เป็น ไม่ต้องพูดถึงการความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ การแก้ปัญหา และทักษะในศตวรรษที่ 21 อื่นๆ เป็นการศึกษาที่ทำให้ได้คนไทยที่ด้อยคุณภาพ และประเทศไทยติดกับดัก

เราจะไป 'ไทยแลนด์ 4.0' แต่การศึกษาของเรายังเป็น 'การศึกษา -1.0' อยู่ ถ้าไม่ปฏิวัติการศึกษาไทย (หากปฏิรูปคงจะไม่ทัน) จะเป็นไปได้อย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 612926เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2016 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2016 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท