จิตครูมุ่งมั่น...ศิษย์คิดเปิดใจ


วันนี้คืออึกหนึ่งวันที่ผมดีใจที่สุด...เมื่อเห็นรับฟังสัมผัสใจในบรรยากาศสนทนาแลกเปลียนเรียนรู้จับประเด็นความรู้สึกนึกคิดอย่างลุ่มลึกยืดหยุ่นและสร้างสรรค์...ขอบพระคุณนศ.ปีสี่ อ.อ้อม อ.แอน อ.เดียร์ และอ.ป๊อปกับห้องเรียนกลับทางที่เปิดโอกาสผสมผสานการออกชุมชนดอนตูมกับการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัดเชิงเล่าเรื่องเอาใจเขามาใส่ใจเราและการอ่านจับใจสะท้อนคิดตีความเชื่อมโยงคุณค่าความเป็นมนุษย์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องประสบการณ์หลากหลายแบบอ่อนน้อมถ่อมตนและเปิดใจจุดดีเพื่อพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นอย่างดีงาม

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผสมผสานทั้งวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณศาสตร์ชวนให้ผู้เรียนทั้งอาจารย์สี่ท่านกับนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 รวม 19 คนที่เพิ่งกลับจากการออกเยียมชุมชนรอบรพ.ดอนตูมและบ้านผู้สูงวัย 9 กรณีศึกษากับพี่ๆนักกิจกรรมบำบัดเมื่อวาน ได้ประสานใจให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อจิตมุ่งมั่น (วิญญาณหรือความมีชีวิตชีวาแห่งสุขภาวะปัญญา) จึงได้เปิดใจและยอมรับจุดดีจุดด้อย สู่การน้อมรับปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดได้อย่างน่าประทับใจให้เกิดการตกผลึกทางความรู้ความเข้าใจดังต่อไปนี้:-

งานนี้ผมต้องขอบคุณอ.น้องอ้อม…ผมมองได้เหมาะสมแล้วที่เชิญน้องมาถ่ายทอดประสบการณ์การให้เหตุผลทางคลินิกเชิงพรรณนาความรู้สึกนึกคิดและการเรียนรู้อารมณ์ สังคม วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะด้วยการฝึกทักษะการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น (Deeper Learning) ผ่านกิจกรรมจินตนาการกับการเขียนสะท้อนความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น กิจกรรมเล่าเรื่องราวชีวิตกับรับฟังอย่างปล่อยวางความคิดตนเอง กิจกรรมการตั้งคำถามตามใส่ใจในความรู้สึก กิจกรรมการอ่านกรณีศึกษาอย่างใคร่ครวญด้วยความเงียบ กิจกรรมการระดมความรู้สึกนึกคิดเป็นทีม และกิจกรรมการรับรู้กระบวนการให้เหตุผลแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอ.แอนกับอ.เดียร์ (ซึ่งผมได้ฝึกฝนน้องๆทั้งคู่แบบพี่เลี้ยงในและนอกชั้นเรียนมาได้อย่างน้อย 6 เดือนและนศ.ผู้ผ่านประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกอย่างน้อย 3 เดือน (ผู้เรียนรุ่นพี่กับรุ่นน้องแบบไม่มีผิดไม่มีถูก)

ที่สำคัญกระบวนการแรกที่นักกิจกรรมบำบัดทุกช่วงวัยควรสะสมทักษะการสร้างสัมพันธภาพด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์คือ RAPPORT

ผมจึงขอถอดบทเรียนว่า “การรับรู้ผลกระทบจากทุกขภาวะ โรคภัยไข้เจ็บแห่งตนกับครอบครัวที่ตนรัก ความขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ความอยุติธรรมในชุมชน และความกดดันทางสังคม จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงความมั่นใจในระดับสมรรถนะที่แตกต่างกันรายบุคคล โดยเฉพาะกระบวนการรู้คิดจิตมุ่งมั่นหรือเจตจำนงที่ประกอบด้วยความสามารถในการจัดการทักษะชีวิตด้วยตนเอง ได้แก่ การจัดการอารมณ์ลบเป็นบวก การจัดการตัวกระตุ้นเครียดจนเกิดความล้า กังวล เศร้า และโมโห การสงวนพลังงานทางร่างกาย-จิตใจ-สังคม การจัดการเวลาและการบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เกิดจากการไตร่ตรองจนมีเหตุผลที่เหมาะสมทั้งทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasoning) ร่วมกับทางศิลปะการสร้างสัมพันธภาพแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Narrative Reasoning) จนกลายเป็นเงื่อนไขของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสุขภาวะ (Conditional Reasoning) [ คลิกดูตัวอย่างชั้นเรียนกายภาพบำบัดได้ที่นี่] จนสามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละรายบุคคลจนถึงรายชุมชนจนเรียกว่าบทเรียนที่ดี (Pragmatic Reasoning) [คลิกดูตัวอย่างการอบรมกิจกรรมบำบัดสุขภาวะได้ที่นี่] ซึ่งเมื่อยิ่งฝึกทักษะการให้เหตุผลในบริบทต่างๆ เช่น ทางคลินิก ทางชุมชน ทางนโยบาย ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดประสบการณ์ระดับผู้เชี่ยวชาญในช่วงการเรียนรู้หลังจบเป็นนักกิจกรรมบำบัดใหม่ คือ เรียนป.ตรี 4 ปี ทำงานสัก 1 ปี จนถึง 10 และ 20 ปีขึ้นไปจนตลอดชีวิตสูงวัยแห่งความสำเร็จและความสงบในวาระสุดท้ายกับการพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัดผสมผสานกับทุกสรรพสิ่งในกิจกรรมการดำเนินชีวิตโดยแท้จริงและคุ้มค่าของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ดังเช่นตัวอย่างโครงการจิตอาสากิจกรรมบำบัดคลิกที่นี่


ลองศึกษาจุดดี จุดเด่น เหตุผล และผลลัพธ์ ในแต่ละประเภทของการให้เหตุผลตามกรอบอ้างอิงของกิจกรรมบำบัดข้างต้น

หมายเลขบันทึก: 612852เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2016 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2016 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จบการเรียนการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ในห้องนี้ รับรู้ได้ทันทีว่า ทุกคนมีความสุข พร้อมเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่มีเส้นกั้นระหว่างอาจารย์ กับนักศึกษา...เยี่ยมยอดมากครับ

ขอบพระคุณและชื่นชมอ.วินัยด้วยครับผม ยอดเยี่ยมมากๆครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท