การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking Understanding)


ในการจัดการเรียนการสอนภาษาที่เน้นกระบวนการแบบ PPP (นำเสนอ, ปฏิบัติ, ผลิต) หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายๆกัน ภาษาที่สอน (target language) เช่น โครงสร้าง หรือคำศัพท์ จะนำเสนอในบริบท ต่อมาจึงถูกแยก และวิเคราะห์ตามลำดับ

การวิเคราะห์ภาษาจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน กล่าวคือ การเน้นหนัก (highlighting) และการตรวจสอบสังกัป (concept checking)

การเน้นหนัก คือการนำโครงสร้างที่เป็นแบบ (model sentence) และแสดง, บอก, เลียบเคียง (eliciting) ว่าปัญหาต่างๆในรูปฟอร์ม (form), หน้าที่ (function), และการออกเสียง (phonology)คืออะไร

การตรวจสอบสังกัป คือ การตรวจสอบความเข้าใจต่อแง่มุมที่ยากๆของโครงสร้างภาษาที่เรียน ในลักษณะของหน้าที่ (function) และ ความหมาย (meaning) การตรวจสอบสังกัปเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เพราะนักเรียนจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างก่อนที่จะมีการฝึก และการออกเสียง

วิธีการต่างๆในการตรวจสอบสังกัป

โดยปกติแล้ว การตรวจสอบสังกัปจะทำได้โดยการใช้คำถาม ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ครูมั่นใจได้ว่านักเรียนมีความรู้เรื่องภาษาที่สอน, ยกระดับปัญหาต่างๆ และบ่งชี้ได้ว่านักเรียนเข้าใจอย่างเต็มเปี่ยม

คำถามที่ว่า “นักเรียนมีเข้าใจหรือไม่?” หรือคำถามในลักษณะที่ว่า “รู้แล้วหรือไม่?” ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ และมีโอกาสจะได้รับคำตอบแบบลวงๆจากนักเรียนทั้งหลายด้วย คำถามเชิงสังกัป (concept question) เป็นวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบสังกัป และบ่อยครั้งมักจะใช้คู่กับวิธีการแบบอื่นๆ เช่น ใช้ภาพ, หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของภาษาที่เรียน ข้างล่างก็คือแนวทาง

1. ภาพวาดที่แบ่งแยกจากของที่เหมือนกัน เช่น ภาพถ้วย กับ เหยือก ภาพทางแคบๆ, ถนน, หรือทางด่วน

2. การแบ่งแยกในการตรวจสอบหน้าที่ (function) หรือ ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ (register) เช่น ฉันควรพูดว่า hey กับเจ้าหมายหรือไม่?

3. การตรวจสอบเชิงลบ เช่น ฉันพูดคำว่า I were หรือไม่?

4. การแปล (หากจำเป็น)

5. การขยายเพื่อให้ครอบคลุมถึงความเข้าใจ (extension to consolidate understanding) การบ้านเป็นวิธีที่ไร้ประโยชน์ รวมทั้งการให้แบบฝึกหัดที่เป็นการปฏิบัติเชิงควบคุม (guided practice exercises)

คำถามเชิงสังกัป (concept question)

คำถามเชิงสังกัปโดยตัวของมันเองแล้วยากที่จะสร้าง เพราะว่าคำถามนี้ต้องเกี่ยวข้องกับการอธิบายหน้าที่และความหมาย โดยที่การใช้ภาษาที่ง่าย แต่ไม่ใช่ภาษาที่ต้องสอน

นอกเหนือจากค่านิยมของชั้นเรียนแล้ว การคิดคำถามที่ดีจะช่วยครูที่ไม่มีประสบการณ์เข้าใจถึงความซับซ้อนของรูปฟอร์ม (form), หน้าที่ และความหมาย รวมถึงการยกระดับภาษาด้วย จะมีคำแนะนำสำหรับคำถามเชิงสังกัปที่ดี

1. จงให้แน่ใจว่าคำถามนั้นง่าย และไม่มีภาษาที่ยากเกินไป คำถามที่ตอบว่าใช่หรือไม่ คำถามที่ให้เลือกระหว่างของ 2 อย่าง หรือคำถามแบบ wh questions โดยมากแล้วจะมีประสิทธิภาพ

2. จงอย่าใช้ไวยากรณ์ใหม่ๆในคำถาม

3. จงอย่าใช้คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย

4. ใช้สังกัปที่เป็นพื้นฐาน เช่น เวลา และ กาลเวลา ในคำถาม

5. พยายามใช้คำถามนี้บ่อยๆ ให้ครอบคลุมกับแง่มุมของภาษาและครอบคลุมจำนวนนักเรียนให้ได้มากที่สุด

ตัวอย่างของคำถามเชิงสังกัป

ข้างล่างจะแสดงให้เห็นถึงคำถามเชิงสังกัปในการแยกแยะระหว่างหน้าที่หลักของ Present Simple กับ Present Continuous.

ประโยคที่ต้องการจะสอน (target sentence): Look! They’re painting the wall.

คำถามเชิงสังกัป

1. สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ ตอบ ใช่

2. คุณสามารถเห็นมัน ตอบ ใช่

3. การทาสีเสร็จแล้วหรือไม่ ตอบ ยัง

4. ช่างสีกำลังทาอยู่ ตอบ ใช่

5. เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ตอบ ปัจจุบัน

ประโยคที่ต้องการจะสอน She’s a shop assistant. She works in a shop.

คำถามเชิงสังกัป

1. หล่อนทำงานใช่หรือไม่ ตอบ ใช่

2. หล่อนทำงานในตอนนี้ ตอบ ไม่รู้

3. หล่อนทำงานทุกวัน ตอบ ใช่

4. เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ตอบ ปัจจุบัน ไม่ใช่อดีต บางครั้งเป็นอนาคต

คำถามข้างล่างนี้คือการใช้คำถามเชิงสังกัปในการแยกแยะความหมายของโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น

ประโยคที่ต้องการจะสอน If I won the lottery, I’d buy a new car.

คำถามเชิงสังกัป

1. ฉันถูกหวย ตอบ ไม่

2. ฉันกำลังจะถูกหวย ตอบ อาจไม่

3. ฉันกำลังจะซื้อรถใหม่ ตอบ อาจไม่

4. เขาได้ซื้อหวย ตอบ บางที

5. สิ่งนี้เป็นจริง หรือจินตนาการ ตอบ จินตนาการ

การเรียนรู้ที่จะสร้างคำถามเชิงสังกัป

วิธีการหนึ่งในการเริ่มต้นที่จะสร้างคำถามเชิงสังกัปก็คือการแบ่งแยกความหมายของคำ หรือโครงสร้างเป็นส่วนๆ คำศัพท์อาจถูกนำเสนอเป็นแผนภาพได้ นี่คือตัวอย่างของสังกัปที่อยู่ในคำว่า bed-sit (ที่เช่าอาศัย ที่อยู่ภายในบ้าน)

คำถามอาจสร้างได้หลายๆแบบ

1. คำถามใช่หรือไม่ใช่ เช่น Is a bed-sit a room? Are there other room in the house? Can you sleep in it?

2. คำถามที่ต้องใช้คำว่า หรือ (or) เช่น Is it a room or a building? Is it cheap or expensive? Do you buy it or pay money every week or month?

3. คำถามที่เป็นข้อมูล เช่น Who lives in it? How many people live in it?

4. คำถามในเชิงแบ่งแยก เช่น Do you only sleep in it? Can you cook a meal in it? Is it the same as a flat?

5. คำถามการแบ่งประสบการณ์ เช่น Is there a bed-sit in the building?

6. คำถามในเชิงวัฒนธรรม หรือ ประสบการณ์ชีวิต เช่น Have you ever lived in a bed-sit? Are there bed-sits in your city/ country?

7. จงจำไว้ว่าคำตอบประเภท “บางครั้ง, มันขึ้นอยู่กับ, และ ฉันไม่รู้ สามารถจะใช้แทนคำถามแบบใช่หรือไม่ใช่ได้

จะมีอีกวิธีหนึ่งในการสร้างคำถามเชิงสังกัป คือ การเขียนประโยค ที่มีองค์ประกอบของสังกัป ซึ่งคำถามสามารถสร้างได้จากสังกัปนั้น นี่เป็นวิธีการที่มีประโยชน์ เมื่อต้องแยกแยะระหว่างหน้าที่ 2 ประการของโครงสร้างที่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ที่ถูกนำเสนอด้วยฟอร์ม หรือกาลเวลาที่แตกต่างกัน เช่น

1. He’s been eating garlic.

สังกัป He isn’t eating garlic now, and I didn’t see him eating it, but I know he was eating garlic because I can smell it.

2. Harry’s been working here for two years.

สังกัป He started working here two years ago, he’s still working here, and he’ll probably continue working here.

สรุป

คุณค่าของคำถามเชิงสังกัปมิอาจถูกเมินค่าได้อีกต่อไป แต่ครูจำนวนมากอาจลืมในการใช้มัน หรือไม่ก็เห็นว่ายากยิ่งที่จะสร้าง บางครั้งครูหลายคนพอใจอยู่แค่เห็นผู้เรียนเข้าใจในเรื่องพื้นฐานการปฏิบัติในขั้นการปฏิบัติเท่านั้น มีประเด็นที่สำคัญอยู่บางประเด็นสมควรจำ

1. คำถามเชิงสังกัปจะมีคุณค่าอย่างยิ่งหลังจากนำเสนอและอธิบายภาษาที่จะสอน และอาจถามในขั้นตอนได้ก็ได้ในบทเรียน คำถามนี้จะมีคุณค่าหลังจากการปฏิบัติแบบควบคุม (guided practice) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่ดูเหมือนจะไม่เข้าใจภาษาที่สอน และในตอนจบ อาจใช้ในช่วงการตรวจสอบย้อนกลับ (final check) และการทบทวน

2. การกำหนดเวลา (time lines) และเครื่องมืออื่นๆไม่เป็นตัวแทนของคำถามเชิงสังกัป พวกมันเป็นเพียงการอธิบาย แต่ไม่ใช่การตรวจสอบสังกัป อย่างไรก็ตาม คำถามเชิงสังกัปสามารถที่จะใช้กำหนดเวลาจากผู้เรียนได้

3. คำถามเชิงสังกัปจะมีคุณค่าอย่างยิ่งเมื่อสังกัปไม่ปรากฏ หรือแตกต่างจากภาษาแม่ เช่นพวก perfect และ วิธีการในการนำเสนออนาคต และที่ที่ภาษาแตกต่างกันระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และอังกฤษ

4. คำถามเชิงสังกัป มีประโยชน์ในการช่วยให้เราตระหนักรู้ในการรวมกัน (association) และการมีความหมายโดยนัย (connotation) และยังช่วยให้เรารู้ถึงคำปรากฏร่วมกัน (collocation) และสำนวนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (fixed expression) คำถามเชิงสังกัปนั้นยังเป็นการฝึกการฟังที่ดีสำหรับผู้เรียน และยังสามารถนำไปสู่กิจกรรมในห้องเรียน เช่น เกมการเดาในลักษณะต่างๆได้

5. ครูไม่จำเป็นต้องใช้คำถามเชิงสังกัปสำหรับภาษาใหม่ๆเสมอไป ในบางกรณี หน้าที่ และความหมายมีความชัดเจนอยู่แล้ว เพราะปรากฏอยู่ในบริบท

6. เมื่อผู้เรียนปฏิบัติการฝึกแบบควบคุม หรือค่อนข้างอิสระได้ไม่ดีนัก นั่นเป็นเพราะว่าเด็กๆยังไม่ชัดเจนในเรื่องหน้าที่ หรือความหมายที่ได้เรียนไป นี่อาจเป็นเพราะว่าครูเอาแต่ถามว่า เธอมีปัญหาอะไรหรือเปล่า หรือ นั่นชัดเจนแล้วใช่ไหม มากกว่าที่จะใช้คำถามเชิงสังกัปในการอธิบายกับผู้เรียน

แปลและเรียบเรียงจาก

.Steve Darn & Ian White. Checking Understanding. https://www.teachingenglish.org.uk/article/checking-understanding

หมายเลขบันทึก: 612849เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2016 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2016 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีจ้ะท่านอาจารย์ต้น

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่แบ่งปันจ้ะ

มีทุเรียนย่านซื่อ เมืองสามอ่าวมาฝากจ้าา



ขอบคุณค่ะ เรื่อง การตรวจสอบสังกัป .... การตรวจสอบความเข้าใจต่อแง่มุมที่ยากๆของโครงสร้างภาษาที่เรียน ในลักษณะของหน้าที่ (function) และ ความหมาย (meaning) .... อยากให้คนอ่านเยอะๆ จังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท