คิดให้เครียดจนคลาย...เบาๆบวกๆ


ขอบพระคุณพี่อั้มกับครอบครัวและทีมงานศูนย์สุขภาวะการเรียนรู้ของสสส. รวมทั้งกัลยาณมิตรผู้อบรม เช่น คุณแม่และคุณป้าคุณน้าและเพื่อนๆสาธิตรามฯ ป้าหนูและทีมสายใย ทีมงานแสนสิริ ทีมโรงแรมเอส 36 และผู้ลงทะเบียน 180 ท่านและมาเข้าร่วม 150 ท่านของผมที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้หลายช่วงวัยนับเป็นเวลาที่มีคุณค่ามากมายครับผม

เคล็ดไม่ลับในการจัดการความเครียด หรือ STRESS คือ

1. Self หรือ รู้ใจตัวเอง หมายถึง ทุกๆขณะของการคิดบวกคิดดีมีสุข ให้หลับตาทบทวนเรื่องราวที่ดีงามในวัยเด็กจนถึงเรื่องราวที่ตั้งใจจะทำดีในปัจจุบันและจะทำดียิ่งขึ้นด้วยรอยยิ้มเมื่อลืมตาขึ้นด้วยความมั่นใจ

2. Test หรือ วัดใจตัวเอง หมายถึง ก่อนและหลังคิดบวกคิดดีมีสุขแล้วลองทำให้ร่างกายเครียดเบาๆบวกๆ ให้วัดชีพจรเสมอ ค่าที่ไม่เครียดมากนักคือ 60-100 ครั้งต่อนาที หากเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ให้นั่งพักสัก 5 นาที แล้ววัดต่อไม่เกิน 3 รอบ สังเกตแรงกดวัดชีพจร ห้ามใช้นิ้วโป้งวัด ถ้ายังเต้นเร็วหรือช้าเกินไปอีก ให้ลองฝึกการบำบัดด้วยกิจกรรมข้างล่าง ควรพบแพทย์ถ้าเต้นเร็วใกล้ 150 ครั้งต่อนาที หรือเต้นน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที

3. Rest หรือ พักผ่อนใจตัวเอง หมายถึง การฝึกหลับตา ทำสมาธิ และการฝึกหายใจเข้าจมูกนับในใจ 1-4 ให้ค้างลมหายใจในท้องจนป่องนับในใจ 1-7 (โน้มตัวเล็กน้อยให้วางหน้าท้องสังเกตการป่องที่งานขึ้นบนฝ่ามือรองใต้สะดือ) แล้วเป่าลมออกทางปากนับในใจหรือออกเสียงด้วย 1-8 หากต้องการปรับให้หายใจเข้าจมูกไหลสู่ท้องป่องนับในใจ 1-5 ออกทางจมูกนับในใจ 1-10 หากรู้สึกมีลมในท้องมาก เป็นลมบ่อย รู้สึกเหนือย หรือชอบหายใจตื้นๆบริเวณหน้าอก ให้เป่าลมออกทางปากก่อนสัก 5 ครั้งหรือให้ถอนหายใจแรงๆยาวๆ สัก 3 ครั้ง แล้วค่อยๆฝึกหายใจเข้าทางจมูก ควรฝึกฝนให้ร่างกายปรับตัวแบบตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม (หายใจเข้าสดชื่น หายใจออกเบิกบาก หายใจเข้าผ่อนคลาย หายใจออกสบาย หายใจเข้าเต็มที่ หายใจออกอายาวๆ หรือคล้ายถอนหายใจแรงๆ) ทำแบบนี้ไม่เกิน 5 รอบ

4. Ease หรือ ให้ร่างกายอยู่ในท่าทางสบายๆ พร้อมเผชิญความท้าทาย แปลกใหม่ เรียนรู้อยู่เสมอ เช่น การบำบัดหรือการพัฒนาด้วยกิจกรรมที่มีอยู่รอบตัวด้วยเป้าหมายเดียวชัดเจน ได้แก่ การเคี้ยวอาหาร 20 ครั้งต่อหนึ่งคำโดยไม่คุย อย่างน้อย 1 คำต่อมื้อ และ 1 มื้อต่ออาทิตย์ การฟังเพลงภาษาแปลกๆแล้วตั้งใจค้นหาความหมายของคำสำคัญในเพลงหรือฮัมเพลงในลำคอหรือค่อยๆเปล่งเสียงพร้อมโยกร่างกายเป็นจังหวะตามลมหายใจอย่างอารมณ์ดี การฟังบทสวดภาวนาที่มีจังหวะเสียงดนตรีที่มีเนื้อหาสั้นๆมีความหมายในชีวิต (ตัวอย่าง บทสวดโอม มณี ปัท เม หุม [Acknowledgement Youtube.com] แปลว่า คิดดีพูดดีทำดี มหากรุณา มหาปัญญา ทันที) การดูคลิปที่เรียนรู้ชีวิตอารมณ์จากลบเปลี่ยนเป็นบวก การดูหนังเงียบและได้แรงบันดาลใจ การดูฟังเสียงเด็กทารกส่งเสียงหัวเราะมีรอยยิ้ม แม้จะล้มก็ร้องไห้นิดหน่อยก็หยุดเพราะศูนย์เศร้าเจ็บปวดที่ทาลามัสไม่ต้องทำงานมากนัก การฟังเพลงดูภาพจินตนาการแล้วนึกย้อนความสุขสนุกที่สุดในชีวิตอย่างน้อยเขียนออกมา 5 กิจกรรม การฟังเพลงค่าน้ำนมแล้วจินตนาภาพถึงคุณแม่ การฟังจังหวะลาตินแล้วโยกเป็นจังหวะตามธรรมชาติ ฯลฯ

5. Sense หรือ ขณะทำกิจกรรมให้ทำความเข้าใจการรับความรู้สึกจากตา หู จมูก ลิ้น (รวมอวัยวะในการสื่อสารและทานอาหารในช่องปาก) กาย (ทรงตัว สัมผัส เคลื่อนไหว) และใจ [อารมณ์จากศูนย์หัวคือกลัวสู่ศูนย์หน้าอก/หัวใจคือเศร้าสู่ศูฯย์ท้องคือโมโหหิว (ให้จิบน้ำ อย่าพยายามทะเลาะ - เรียนรู้การเคาะอารมณ์และพูดเสียงดังมั่นใจให้ตัวเองได้ยิน ได้แก่ ถึงแม้เราจะกลัว เศร้า โกรธ เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ สับมือ เคาะกลางกระหม่อม เคาะหัวคิ้ว เคาะใต้จมูกหรือใต้คางหรือแยกส่วน มือตบเบาๆใต้ปุ่มกระดูกไหปลาร้าบริเวณต่อมไทมัส และมือตบเบาๆ ตรงสะดือ - ใช้แรงกดถ้ามีหน้าท้องมาก จนถึงการพูดย่อๆ หายกลัว เข้มแข็ง หายเศร้า ร่าเริง หายโกรธ มีเมตตา เงยหน้าเล็กน้อย ยืนเขย่งขา แล้วเอื้อมมือคว้าอากาศบอกตนเองว่า เอาสติคืนมา 3 ครั้ง แล้วกำมือชกบนอากาศเหนือศรีษะ พร้อม เฮ 3 ครั้ง]

6. Share หรือ หาโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสารเชิงบวกสร้างสรรค์ เป็นผู้รับฟังที่ดี คิดดีฟังดีอ่านดีเขียนดีก่อนตั้งคำถาม ถามด้วยความสนใจใคร่รู้แล้วเสนอแนะความคิดต่อยอดที่สร้างสรรค์ เอาใจเข้ามาใส่ใจเรา แล้วฝึกทักษะเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความจริงใจ

กิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ร่างกายได้คิดดี เครียดดี แล้วผ่อนคลายตามกลไกสมองและจิตตามธรรมชาติ คือ ความมหัศจรรย์ หรือ MAGIC ได้แแก่ ปรับสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้สมดุลกับความรู้สึกนึกคิดจิตใจดีในตัวเราด้วย Music ดนตรี Art ศิลปะ Game เกมส์ Idea ความคิดใหม่ และ Create สร้างสรรค์พัฒนาตนเองและผู้อื่น ลองดูภาพตัวอย่างข้างล่างนี้



การนั่งฟังเสียงดนตรีชื่นชมภาพสไลด์ที่ชนะเลิศการประกวดนานาชาติ จากนั้นก็ค้นหากลุ่มเพื่อนที่ชอบสิ่งใดๆในภาพที่เหมือนกัน คล้ายกัน หรือถ้าหาไม่ได้ก็ทบทวนให้ใจตนเองปรับเปลี่ยนความคิดอย่างยืดหยุ่นได้


การฝึกท้าทายวาดรูปเพื่อนให้งดงามที่สุดบนโลกใบนี้ ด้วยการสบตามองด้วยรอยยิ้ม ไม่มองกระดาษ ไม่ยกปากกา แล้วเขียนคำให้กำลังใจในภาพพร้อมลงชื่อแสดงความเป็นกัลยาณามิตรสุดประทับใจ


การแลกเปลี่ยนเรียนความรู้สึกนึกคิดถึงเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตคิดบวกของเพื่อนๆใหม่ๆ ที่เรากล้าคิดดี กล้าฟังพูดดี และกล้าถามตอบด้วยความดีงาม


การฝึกหายใจในรูปแบบหลากหลาย และมีการปิดไฟเพื่อกระตุ้นบรรยากาศให้กลัวๆกล้าๆ และเพิ่มความมั่นใจในการเดินถอยหลังไปตำแหน่งต่างๆ หลังจากเดินมีเป้าหมายถึง 10 ตำแหน่ง


การย้อนรอยนึกถึงความเศร้าจนคลายเศร้าด้วยความร่าเริงสนุกสนาน ร้องเพลงสามัคคีชุมนุน เต้นรำประกอบจังหวะ และสร้างสรรค์ความสนุกในกลุ่มพลวัติเป็นตัวของตัวเองและเป็นพลังกลุ่มของตัวเอง


สังเกตเรียนรู้ระบบการหลับตาสัมผัสมือจนถึงการฟังเสียงปรบมือและการรับรู้ภาพของเพื่อนให้ระลึกจำชื่อเพื่อนและความทรงจำที่ดีในอดีต



การทำความเข้าใจในพื้นที่สมองต่างๆ สีแดงท้าทอยคือการมองเห็นพร้อมจินตนาการทั้งจมอดีตจนถึงจดจ่อในปัจจุบันเชื่อมกับสมองส่วนหน้าสีฟ้าและจินตนาการสร้างสรรค์ในอนาคตเชื่อมสีเหลืองคือความเข้าใจในความรู้สึกสัมผัสเคลื่อนไหวทรงท่าตาหูใจกับสมองส่วนหน้าสีฟ้า เรียนรู้การรับรู้เสียงที่ไวต่อการปรับเปลี่ยนอารมณ์ที่มีแนวโน้มแรกเป็นบวกแล้วเชื่อมกับสมองส่วนหน้าหน้าสีฟ้าใกล้หัวคิ้ว ที่ปรับอารมณ์ได้ด้วยจิตใต้สำนึกที่มีสติมากขึ้น มีบริเวณมากมาย แม้จะสมองบาดเจ็บใดๆ ก็จะทำให้เซลล์สมองกว่า 800 ล้านเซลล์ช่วยซ่อมแซมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ที่สำคัญมีการหายใจในระดับสมองต่อไขสันหลังที่ควบคุมหายใจเงียบและตั้งใจหายใจได้ลึกขึ้นเพื่อทำให้เกิดจิตมุ่งมั่นและมีชีวิตชีวาได้ แม้สมองจะเสื่อมและตายในบางส่วน

คำถามที่น่าสนใจว่า สมองจะเศร้าจนถึงซึมเศร้า เมื่อเราให้ยืนหลับตา ก็จะกระพริบตาเครียดแบบถี่ๆ หายใจตื้น เสียงไม่กังวาน ร่างกายเหงื่อยออกขยับแบบแข็งๆ เพราะ รปภ.ศูนย์ความกลัวหรืออมิคดาลาเริ่มเตือนว่า ร่างกายอารมณ์กลัวต้องทำให้รู้ตัวมีสติบอกตัวเองให้มีความกล้าและเข้มแข็งด่วน ซึ่งส่งสัญญาณสื่อสารกันระหว่างคุณพ่อทาลามัสกับลูกไฮโปทาลามัสให้สมดุลร่างกายระหว่างศูนย์อิ่มศูนย์หิว ฮอร์โมนความสุขกับความเครียด การรับรู้สึกสัมผัสต่างๆ ที่เชื่อมโยงสมองอารมณ์ลิบบิคและสมองกระเพาะ รวมถึงการปรับตัวต่ออุณหภูมิ-พลังงาน-การขับถ่าย-การไหลเวียนระบบน้ำเหลืองและหลอดเลือด ถ้าสองพ่อลูกนี้ทะเลาะกันก็จะทำให้ระบบร่างกายไม่สมดุล จากเศร้ากลัวก็จะลงไปที่โมโหตามศูนย์อารมณ์หัว หัวใจ และท้อง กลับไปกลับไป ถ้ามีประสบการณ์เชิงลบตั้งแต่ 0-14 ปี ก็จะดึงอดีตมารบกวนให้เศร้ามากขึ้น ร่าเริงเกินเหตุ และหงุดหงุดเกินไป จนทำให้มีอารมณ์สองขั้วแปรปรวน ถ้าให้หลับตาก็จะหลับไม่ค่อยลง ก้าวขาไม่ออก ถ้าให้นำมือแตะหัวใจหลับตาแล้วถามสะกิดใจว่า "เกิดมาทำไม" ก็จะตอบไม่ได้ หรือตอบช้ามากๆ แต่ถ้าเศร้ามากๆ ก็จะน้ำตาไหลพรากในเหตุการณ์จำฝังใจไม่ดีในอดีต

จุดสำคัญคือ เมื่อพ่อทาลามัสและลูกไฮโปทาลามัสทำงานไม่ลงรอยกัน คุณแม่เบซัลแกงเกลียหรือศูนย์สติสัมปชัญญะร่วมกับระบบเซลล์คุณธรรมกระจกเงากับระบบตื่นรู้เรติคูลาร์ฟอร์เมชั่นในเซลล์ประสาทต่างๆในภาพข้างบน จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่พ่อลูกและแม่สามัคคีดึงศักยภาพภายในให้อยู่ตัวได้แก่ "ความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราสนใจและให้คุณค่าจากสิ่งเล็กๆบวกๆภายใต้ความขัดแย้งแห่งวิกฤติในชีวิตแม้จะเป็นปมฝังใจที่ร้ายแรงในชีวิต...การคิดสื่อสารอารมณ์เครียดจนร่างกายทั้งระบบผ่อนคลาย ก็จะเป็นวงจรกระตุ้นกระบวนการสร้างความมั่นใจในสมรรถนะแห่งตนและความเชื่อคุณค่าในความเป็นตัวตนให้หัวใจงามออกมาในทุกๆขณะของการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย มีความหมาย และมีความดีงาม ก็จะกระตุ้นศูนย์รางวัลระหว่างทาลามัสและเบซัลแกงเกลียได้อย่างลงตัวทำให้ลูกไฮโปทาลามัสทำงานกับระบบสมองอารมณ์ได้อย่างบวกๆ เป็นการคลายเครียดได้อย่างลุ่มลึกภายใต้การฝึกหายใจให้รู้สติและมีสัมปัชชัญญะในการรับรู้สึกนึกคิดสมดุลดีงามอย่างน้อย 21 วันจนถึง 6 เดือนหรือ ถ้าซึมเศร้าเรื้อรังก็อย่างน้อย 1 ปี


เพื่อรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้น ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชวนมาสนุกกับกิจกรรม "บ๊ายบายความเครียด" ด้วยการศึกษาสาเหตุของความเครียด พร้อมเทคนิคบอกลาความเครียด คลายอารมณ์หงุดหงิด กลัว เศร้า และเหนื่อยล้าให้หมดไป และสามารถนำวิธีการ กลับไปทำเองที่บ้านได้

ดร.ป๊อบ-ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยากรกิจกรรม "บ๊ายบายความเครียด" กล่าวว่า ความเครียดคือปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจที่ตอบสนองต่อการกระทำต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความพึงพอใจ ดังนั้น ไม่ว่าเราหรือผู้อื่นจะทำอะไรก็ตามที่มีผลต่อการมีส่วนได้ส่วนเสียทั้งเรื่องงาน เรียน เรื่องส่วนตัว หรือสังคมรอบข้าง ย่อมทำให้เราเกิดความเครียดไม่มากก็น้อย

เมื่อเราเกิดความเครียด จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และอารมณ์ รวมทั้งด้านพฤติกรรม เช่น หงุดหงิด กลัว เศร้า เหนื่อยล้า ฯลฯ แต่เมื่อเวลาผ่านไป และความเครียดเหล่านั้นคลายลง ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคนทุกคนจะทนและจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ไม่เท่าเทียมกัน และไม่เหมือนกัน คนที่ทนและจัดการได้ดีก็จะเกิดผลข้างเคียงของความเครียดน้อยลง ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่สามารถทนและจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดผลข้างเคียงเป็นอันตรายต่อตนเอง อาจถึงขั้นคิดสั้นตัดสินใจผิดพลาดจนถึงกับเสียชีวิตก็มีโดยทั่วไปคนเรามักค้นหาเทคนิคง่ายๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดอย่างชั่วคราว เช่น การไปดูหนัง ฟังเพลง ทานอาหาร ฯลฯ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักการคลายความเครียดไม่ได้อยู่ที่การใช้อุปกรณ์หรือการปรับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่การใช้หลักการสรีรวิทยาของการผ่อนคลายระบบประสาท (สมอง ร่างกายจิตใจ) ด้วยกิจกรรมการออกกำลังกายและการใช้ขั้นตอนของกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามแนวคิดของกิจกรรมบำบัด นับว่าเป็นหลักการที่ให้ผลดีที่สุด

สำหรับเคล็ดไม่ลับในการจัดการความ เครียด คือ หนึ่ง "ต้องรู้ใจตัวเอง" หมายถึง ทุกๆ ขณะของการคิดบวกคิดดีมีสุข ให้หลับตาทบทวนเรื่องราวที่ดีงามในวัยเด็ก จนถึงเรื่องราวที่ตั้งใจจะทำดีในปัจจุบัน และจะทำดียิ่งขึ้นด้วยรอยยิ้มเมื่อลืมตาขึ้นด้วยความมั่นใจ

สอง "วัดใจตัวเอง" หมายถึง ก่อนและหลังคิดบวกคิดดีมีสุขแล้วลองทำให้ร่างกายเครียดเบาๆ บวกๆ ให้วัดชีพจรเสมอ ค่าที่ไม่เครียดมากนักคือ 60-100 ครั้งต่อนาที หากเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ให้นั่งพักสัก 5 นาที แล้ววัดต่อไม่เกิน 3 รอบ สังเกตแรงกดวัดชีพจร ห้ามใช้นิ้วโป้งวัด และควรพบแพทย์ถ้าเต้นเร็วใกล้ 150 ครั้งต่อนาที หรือเต้นน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที

สาม "พักผ่อนใจตัวเอง" หมายถึง การฝึกหลับตา ทำสมาธิ และการฝึกหายใจเข้าจมูกนับในใจ 1-4 ให้ค้างลมหายใจในท้องจนป่อง นับในใจ 1-7 (โน้มตัวเล็กน้อยให้วางหน้าท้องสังเกตการป่องที่งานขึ้นบนฝ่ามือรองใต้สะดือ) แล้วเป่าลมออกทางปากนับในใจหรือออกเสียงด้วย 1-8 หากต้องการปรับให้หายใจเข้าจมูกไหลสู่ท้องป่องนับในใจ 1-5 ออกทางจมูกนับในใจ 1-10 หากรู้สึกมีลมในท้องมาก เป็นลมบ่อย รู้สึกเหนื่อย หรือชอบหายใจตื้นๆ บริเวณหน้าอก ให้เป่าลมออกทางปากก่อนสัก 5 ครั้ง หรือให้ถอนหายใจแรงๆ ยาวๆ สัก 3 ครั้ง แล้วค่อยๆ ฝึกหายใจเข้าทางจมูก ควรฝึกฝนให้ร่างกายปรับตัวแบบตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม (หายใจเข้าสดชื่น หายใจออกเบิกบาน หายใจเข้าผ่อนคลาย หายใจออกสบาย หายใจเข้าเต็มที่ หายใจออกอายาวๆ หรือคล้ายถอนหายใจแรงๆ) ทำแบบนี้ไม่เกิน 5 รอบ

สี่ "ให้ร่างกายอยู่ในท่าทางสบายๆ" พร้อมเผชิญความท้าทาย แปลกใหม่ เรียนรู้อยู่เสมอ เช่น การบำบัดหรือการพัฒนาด้วยกิจกรรมที่มีอยู่รอบตัวด้วยเป้าหมายเดียวชัดเจน ได้แก่ การเคี้ยวอาหาร 20 ครั้งต่อหนึ่งคำโดยไม่คุย อย่างน้อย 1 คำต่อมื้อ และ 1 มื้อต่อสัปดาห์ การฟังเพลงภาษาแปลกๆ แล้วตั้งใจค้นหาความหมายของคำสำคัญในเพลงหรือฮัมเพลงในลำคอหรือค่อยๆ เปล่งเสียงพร้อมโยกร่างกายเป็นจังหวะตามลมหายใจอย่างอารมณ์ดี ฯลฯ ห้า"ขณะทำกิจกรรมให้ทำความเข้าใจการรับความรู้สึกจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ" โดยเรียนรู้การเคาะอารมณ์และพูดเสียงดังมั่นใจให้ตัวเองได้ยิน ได้แก่ ถึงแม้เราจะกลัว เศร้า โกรธ เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ และ หก "หาโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสารเชิงบวกสร้างสรรค์" เป็นผู้รับฟังที่ดี คิดดีฟังดีอ่านดีเขียนดีก่อนตั้งคำถาม ถามด้วยความสนใจใคร่รู้แล้วเสนอแนะความคิดต่อยอดที่สร้างสรรค์ เอาใจเขามาใส่ใจเรา แล้วฝึกทักษะเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความจริงใจ และเหล่านี้คือเทคนิคในการบอกลาความเครียดที่สามารถนำวิธีการไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมกิจกรรมโดยส่งชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ และเบอร์โทร. ระบุกิจกรรมมาที่ [email protected] สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 08-1731-8270 (09.00-17.00 น. จันทร์-เสาร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) Line ID: thaihealth_center ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ www.thaihealthcenter.org.

ป้าแทมมี่-ลิกุล ศุภมณี อายุ 66 ปี แม่บ้าน บอกว่า ตนเองสนใจเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่ชื่อกิจกรรม "บ๊ายบายความเครียด" แล้ว เพราะว่าความเครียดเป็นสิ่งที่เราต้องเอาออกจากร่างกายให้ได้ ซึ่งก็อยากจะรู้วิธีในการกำจัดความเครียดของตัวเองด้วย โดยวิทยาการ ดร.ป๊อบ ก็ได้ให้ความรู้ เทคนิควิธีการที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน พร้อมกับให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามได้ไปพร้อมๆ กัน ทำให้เรารู้สึกสนุก รู้สึกเป็นกันเอง ความเครียดมันก็จะผ่อนคลายลงได้ค่ะ.

ป้าเพ็ญ-วันเพ็ญ สิมศิริ อายุ 66 ปี แม่บ้าน บอกว่า รู้สึกดีกับกิจกรรมที่จัดขึ้น ทำให้เรารู้จักวิธีคลายความเครียด สามารถนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ หากเมื่อไหร่ที่เครียด เราสามารถที่จะแก้ไขให้ห่างไกลจากความเครียด ซึ่งปกติวิธีคลายเครียดของตนจะใช้การสวดมนต์ วิธีการหายใจ และการมาร่วมกิจกรรมทำให้เราได้ฝึกเทคนิคการหายใจได้ง่ายขึ้น ทำให้เรามีสมาธิมากขึ้นด้วยค่ะ.

ป้านิด-ภิญญดา เธียรชาติอนันต์ อายุ 62 ปี ที่ปรึกษาองค์กร บอกว่า เป็นกิจกรรมที่ดีมาก เพราะคนส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่มีความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว การได้มาร่วมกิจกรรมทำให้เราได้เทคนิคการฝึกหายใจไปใช้ประโยชน์ได้ หากยิ่งฝึกทุกวันก็ยิ่งดี แม้ตนจะไม่ค่อยเครียด แต่เมื่อฝึกก็ทำให้เกิดสมาธิ ช่วยในการผ่อนคลายร่างกาย จึงอยากให้ทาง สสส.จัดกิจกรรมในรูปแบบนี้บ่อยๆ เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนค่ะ.

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2495865




และยินดีอย่างยิ่งเมื่อรายการนารีกระจ่างได้ต่อยอดโปรแกรมกิจกรรมบำบัดชุด "คิด เครียด คลาย" แก่สาธารณะ ด้วยความขอบพระคุณคุณทอมและทีมงานมากมาย คลิกชื่นชมที่ช่องไทยพีบีเอส

หมายเลขบันทึก: 612636เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2017 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

-สวัสดีครับ

-คิดบวก...++++++

-ฝึกใจ..นะครับพี่หมอ..

-ขอบคุณครับ


ขอบพระคุณมากครับและส่งกำลังใจให้คิดบวกและมีความสุขทุกๆวันนะครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ขอบพระคุณมากครับอ.วินัย และอ.ชยันต์

เรียนคอร์สออนไลน์ของมหิดลค่ะ ขอบคุณกิจกรรมดีๆ

ขอบคุณกิจกรรมดีๆค่ะ

ศิณีกาญจน์ ศุภจีระภัทร์

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะ

ฮัก🧸❤

ขอบคุณมากๆค่ะ ขอบคุณกิจกรรมดีๆนะคะ

อ่านแล้วลองทำตาม ดีมากเลยครับ รู้สึกโล่ง จากความเครียด

ผ่อนคลายจากความเครียด

เนื้อหาดีเข้าใจตัวเองมากขึ้น

เนื้อหาดี ขอบคุณมากๆค่ะ

เป็นบทความที่มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตมากๆค่ะเนื่องจากทุกวันนี้ชีวิตคนเรามักจะเครียดกันบ่อยค่ะ

เนื้อหาเข้าใจง่าย

จุดสำคัญคือ เมื่อพ่อทาลามัสและลูกไฮโปทาลามัสทำงานไม่ลงรอยกัน คุณแม่เบซัลแกงเกลียหรือศูนย์สติสัมปชัญญะร่วมกับระบบเซลล์คุณธรรมกระจกเงากับระบบตื่นรู้เรติคูลาร์ฟอร์เมชั่นในเซลล์ประสาทต่างๆในภาพข้างบน จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่พ่อลูกและแม่สามัคคีดึงศักยภาพภายในให้อยู่ตัวได้แก่ “ความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราสนใจและให้คุณค่าจากสิ่งเล็กๆบวกๆภายใต้ความขัดแย้งแห่งวิกฤติในชีวิตแม้จะเป็นปมฝังใจที่ร้ายแรงในชีวิต…การคิดสื่อสารอารมณ์เครียดจนร่างกายทั้งระบบผ่อนคลาย ก็จะเป็นวงจรกระตุ้นกระบวนการสร้างความมั่นใจในสมรรถนะแห่งตนและความเชื่อคุณค่าในความเป็นตัวตนให้หัวใจงามออกมาในทุกๆขณะของการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย มีความหมาย และมีความดีงาม ก็จะกระตุ้นศูนย์รางวัลระหว่างทาลามัสและเบซัลแกงเกลียได้อย่างลงตัวทำให้ลูกไฮโปทาลามัสทำงานกับระบบสมองอารมณ์ได้อย่างบวกๆ เป็นการคลายเครียดได้อย่างลุ่มลึกภายใต้การฝึกหายใจให้รู้สติและมีสัมปัชชัญญะในการรับรู้สึกนึกคิดสมดุลดีงามอย่างน้อย 21 วันจนถึง 6 เดือนหรือ ถ้าซึมเศร้าเรื้อรังก็อย่างน้อย 1 ปีสำหรับเคล็ดไม่ลับในการจัดการความ เครียด คือ หนึ่ง “ต้องรู้ใจตัวเอง” หมายถึง ทุกๆ ขณะของการคิดบวกคิดดีมีสุข ให้หลับตาทบทวนเรื่องราวที่ดีงามในวัยเด็ก จนถึงเรื่องราวที่ตั้งใจจะทำดีในปัจจุบัน และจะทำดียิ่งขึ้นด้วยรอยยิ้มเมื่อลืมตาขึ้นด้วยความมั่นใจ

สอง “วัดใจตัวเอง” หมายถึง ก่อนและหลังคิดบวกคิดดีมีสุขแล้วลองทำให้ร่างกายเครียดเบาๆ บวกๆ ให้วัดชีพจรเสมอ ค่าที่ไม่เครียดมากนักคือ 60-100 ครั้งต่อนาที หากเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ให้นั่งพักสัก 5 นาที แล้ววัดต่อไม่เกิน 3 รอบ สังเกตแรงกดวัดชีพจร ห้ามใช้นิ้วโป้งวัด และควรพบแพทย์ถ้าเต้นเร็วใกล้ 150 ครั้งต่อนาที หรือเต้นน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที

สาม “พักผ่อนใจตัวเอง” หมายถึง การฝึกหลับตา ทำสมาธิ และการฝึกหายใจเข้าจมูกนับในใจ 1-4 ให้ค้างลมหายใจในท้องจนป่อง นับในใจ 1-7 (โน้มตัวเล็กน้อยให้วางหน้าท้องสังเกตการป่องที่งานขึ้นบนฝ่ามือรองใต้สะดือ) แล้วเป่าลมออกทางปากนับในใจหรือออกเสียงด้วย 1-8 หากต้องการปรับให้หายใจเข้าจมูกไหลสู่ท้องป่องนับในใจ 1-5 ออกทางจมูกนับในใจ 1-10 หากรู้สึกมีลมในท้องมาก เป็นลมบ่อย รู้สึกเหนื่อย หรือชอบหายใจตื้นๆ บริเวณหน้าอก ให้เป่าลมออกทางปากก่อนสัก 5 ครั้ง หรือให้ถอนหายใจแรงๆ ยาวๆ สัก 3 ครั้ง แล้วค่อยๆ ฝึกหายใจเข้าทางจมูก ควรฝึกฝนให้ร่างกายปรับตัวแบบตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม (หายใจเข้าสดชื่น หายใจออกเบิกบาน หายใจเข้าผ่อนคลาย หายใจออกสบาย หายใจเข้าเต็มที่ หายใจออกอายาวๆ หรือคล้ายถอนหายใจแรงๆ) ทำแบบนี้ไม่เกิน 5 รอบ

สี่ “ให้ร่างกายอยู่ในท่าทางสบายๆ” พร้อมเผชิญความท้าทาย แปลกใหม่ เรียนรู้อยู่เสมอ เช่น การบำบัดหรือการพัฒนาด้วยกิจกรรมที่มีอยู่รอบตัวด้วยเป้าหมายเดียวชัดเจน ได้แก่ การเคี้ยวอาหาร 20 ครั้งต่อหนึ่งคำโดยไม่คุย อย่างน้อย 1 คำต่อมื้อ และ 1 มื้อต่อสัปดาห์ การฟังเพลงภาษาแปลกๆ แล้วตั้งใจค้นหาความหมายของคำสำคัญในเพลงหรือฮัมเพลงในลำคอหรือค่อยๆ เปล่งเสียงพร้อมโยกร่างกายเป็นจังหวะตามลมหายใจอย่างอารมณ์ดี ฯลฯ ห้า”ขณะทำกิจกรรมให้ทำความเข้าใจการรับความรู้สึกจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ” โดยเรียนรู้การเคาะอารมณ์และพูดเสียงดังมั่นใจให้ตัวเองได้ยิน ได้แก่ ถึงแม้เราจะกลัว เศร้า โกรธ เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ และ หก “หาโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสารเชิงบวกสร้างสรรค์” เป็นผู้รับฟังที่ดี คิดดีฟังดีอ่านดีเขียนดีก่อนตั้งคำถาม ถามด้วยความสนใจใคร่รู้แล้วเสนอแนะความคิดต่อยอดที่สร้างสรรค์ เอาใจเขามาใส่ใจเรา แล้วฝึกทักษะเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความจริงใจ และเหล่านี้คือเทคนิคในการบอกลาความเครียดที่สามารถนำวิธีการไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

ได้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท