ไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนาประเทศกับ ๒ จุดแข็ง เปลี่ยนแปลง ๓ มิติ ๔ แนวทางพัฒนา และ ๕ เทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมาย


ประเทศไทย ๔.๐ ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ โดยชู ๒ จุดแข็ง เปลี่ยนแปลง ๓ มิติ กับ ๔ แนวทางการพัฒนา และ ๕ เทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมาย

ช่วงต้นปีมานี้ คงไม่ใครไม่ได้ยินคำว่า "ไทยแลนด์ ๔.๐" บันทึกนี้ จะเขียนแบบสรุปความจากข้อมูลฑุติยภูมิ (ความรู้มือสอง) ที่สืบค้นจากข่าว และเอามาสังเคราะห์รวมให้จำง่ายขึ้น คิดว่าไม่น่าจะผิดลิขสิทธิ์ ใครนะครับ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้เลยว่า "ประเทศไทย ๔.๐" คืออะไร

หากท่านใดยังไม่ได้ยินคำว่า ไทยแลนด์ 4.0 จริง ๆ แนะนำให้ดูคลิปนี้ก่อนครับ



สำหรับผู้ที่เคยรู้ แต่ยังไม่เข้าใจว่า การส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยในอีก ๒๐ ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร?

เชิญเลยครับ .... ฟังคลิปสัมภาษณ์พิเศษผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ของประเทศไทย คือ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเข้าใจมากขึ้นครับ เชิญ

ท่านบอกว่า

  • ประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ยากจน ซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยสินค้าเกษตร หรือเรียกว่า "ประเทศไทย ๑.๐"
  • ตอนนี้ประเทศไทยจัดว่า เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งขับเคลื่อนด้วย "ประสิทธิภาพ" หรือ efficiency economy เรียกว่าเป็น "ประเทศไทย ๓.๐"
  • ณ วันนี้ ไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว เพราะสิ่งที่เรามีอยู่นั้น เราไม่ได้ผลิตสินค้าบนฐานความรู้ (Knowledge based) บนฐานนวัตกรรม (Innovation) หรือสินค้าที่เน้นความแตกต่างในการสร้างแบรนด์ในตัวสินค้า (Differentiate based, Brand )
  • ภาคเอกชนต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ "ประเทศไทย ๔.๐"
  • "ประเทศไทย ๔.๐" ก็คือ ประเทศไทยที่จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Innovative Driven นั่นคือขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์" หรือ Creativity นั่นเอง และสิ่งที่เรากำลังทำกันอยู่ก็คือ "Startup"
  • หากเราสามารถขับเคลื่อน "Startup" ได้ จะทำให้ประเทศไทยหลุด "กับดักประเทศผู้มีรายได้ปานกลาง" ไปได้
  • ธุรกิจต่อไปนี้ อย่างน้อยจะต้องขับเคลื่อนไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้
    • Productive Growth Engine คือ ขับเคลื่อนด้วย "ผลิตภาพ" ด้วยนวัตกรรม
    • Green Growth Engine คือ ต้องตอบโจทย์เรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    • Inclusive Growth Engine คือ จะต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม เป็น Smart Enterprise (วิสาหกิจอัจฉริยะ...ผู้เขียน) ไม่ใช่ SMEs (Small and Medium Enterprises (วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง))
  • โลกของธุรกิจแห่งอนาคต ไม่ใช่เรื่องที่ว่า ใครจะใหญ่หรือใครจะเล็ก แต่ขึ้นกับว่า ใครจะฉลาดกว่ากัน
  • ธุรกิจในอนาคต จะต้องเป็น Value Based Business โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
    • Beyond Product ไม่ใช่แค่คิดเรื่องตัวสินค้า หรือความแตกต่างบนตัวสินค้าอีกต่อไป แต่ต้องมาเน้น Business Model อะไร คุณกำลังขายใคร สิ่งที่คุณทำมีคุณค่าอย่างไร และคุณจะต้องถักทอร่วมกันคนอื่นอย่างไร และจะต้องตอบให้ได้ว่า อะไรคือ Profit Model ของคุณ
    • Service Economy ต้องก้าวไปสู่การบริการ คือต้องคิดถึงการผสมผสาน ระหว่างความต้องการและการบริการ สองส่วนนี้จะต้องติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ บางเรื่อง Service จะเป็นตัวนำแล้วค่อยตามมาด้วย Product เช่น เวลาเราไปโรงพยาบาล ฯลฯ
    • Market คือ ตลาดของเรา อยากให้ผู้ที่จะทำธุรกิจทุกคน คิดถึงการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน กลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศอาเซียนลุ่มน้ำโขง กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) และให้มองเป็นเมือง มากกว่าจะมองเป็นประเทศ
  • ธุรกิจใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องของการแข่งขันระดับชาติหรือประเทศ (Nation Competitiveness) อีกต่อไป แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเรื่องของ Enterprise Competitiveness คือ การทำให้ธุรกิจนั้นเข้มแข็ง ซึ่งต้องมีสิ่งต่อไปนี้
    • Competitive คือ แข่งขันได้
    • Collaborative คือ ร่วมมือกันได้
    • Connect to the World คือ ต้องเชื่อมกับโลก ไม่ว่าจะผ่านตลาด Crystal Marketplace หรือ Digital Marketplace
  • ธุรกิจในยุคใหม่นี้ แม้แต่นักวิชาการก็จะคาดเดาได้ยาก มองไม่ออก หรือที่เรียกกันว่า "New Normal" อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็หนี้ไม่พ้น ๓ สิ่งต่อไปนี้
    • Custom Focus คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร
    • Competency คือ ต้องรู้ว่าตนเองเก่งอะไร
    • Collaborative Network เนื่องจาก ธุรกิจแบบใหม่นั้น มองไปที่ Business Model ไม่ได้มองที่ตัวสินค้าดังที่กล่าวไปแล้ว ดังนั้น เครือข่ายความร่วมมือจึงถึอว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด
  • ธุรกิจสมัยใหม่ จะไม่ขึ้นอยู่กับการมาก่อนมาหลัง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนมากน้อย แต่จะขึ้นอยู่บนฐาน Brain Based ล้วนๆ ใครที่จะทำธุรกิจนั้น ขอให้คุณเริ่มด้วย ไอเดีย และความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับว่า คุณสามารถทำให้ไอเดียนั้นเกิดขึ้นเป็นเรื่องเป็นราวได้แค่ไหน
  • ตอนนี้รัฐบาลกำลังจัดตั้ง Thailand Startup Center ซึ่งจะรวบรวมเอาเงินลงทุนจากเอกชน ทำ่เรื่อง "Cloud funding" เรื่องของ "Angel Fund" เรื่องของ "Incubator" เรื่อง "Accelerator" ต่าง ๆ คือรัฐบาลกำลังจะส่งเสริมเรื่อง ผู้ประกอบการใหม่ หรือ Entrepreneur อย่างจริงจัง
  • ซึ่งสังคมแห่ง Entrepreneur (อ่านว่า อ็อง เทอร์ เพอร์ นัวร์ ในภาษาฝรั่งเศส) นั้น คือ สังคมที่กล้าเสี่ยงเมื่อเห็นโอกาส และเก่งในการประเมินความเสี่ยง ความเก่ง และโอกาสของตนเอง
  • ซี เค พราฮาราร์ด (C.K. Prahalad) ปรามาจารย์ด้านบริหารจัดการ ทิ้งท้ายไว้ก่อนเสียชีวิตว่า " the Future of competition is collaboration" ดังนั้น สิ่งที่ต้องมีในการทำธุรกิจในอนาคตคือ คุณต้อง
    • Collaborative คือ ร่วมมือกับคนอื่น
    • Open คือ เปิดเผย เปิดกว้าง
    • Sharing คือ ต้องแบ่งปันกับคนอื่นด้วย
  • เนื่องจาก มีเงินทุนที่พร้อมจะสนับสนุนไอเดียเจ๋ง มีเทคโนโลยีมากมากยที่พร้อมแล้ว การเข้าถึงตลาดก็ง่ายออนไลน์ได้หมด ดังนั้น คนยุคใหม่ ให้คิดว่า เมื่อไหร่มีไอเดีย เมื่อนั้นเขามีโอกาส และเขาสามารถรวยได้ ... หรือเรียกได้ว่า นี่คือ "สังคมแห่งโอกาส" ... พร้อมที่จะให้คนยุคใหม่นั้น "Startup" ธุรกิจของตนเอง
  • กล่าวโดยสรุปคือ ใครที่จะ "Startup" จะต้องมี ๒ สิ่งต่อไปนี้คือ
    • Entrepreneur spirit คือ มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการใหม่
    • Innovative Idea คือ ต้องมีไอเดียที่เป็นนวัตกรรม
  • สองสิ่งนี้รวมกันจะได้ Business model เมื่อมี Business Model เรื่องอื่น รัฐบาลกำลังหนุนเต็มที่

ผมสรุปเองถึงความหมายของคำสำคัญ

โดยสรุป คือ.... มีคำสำคัญ ๓ คำที่ท่านควรจะเข้าใจ ได้แก่ "ประเทศไทย ๔.๐" "Startup" และ "Smart Enterprise" ผมสรุปสั้นดังนี้

  • "ประเทศไทย ๔.๐" หรือ " Thailand 4.0" คือ ประเทศไทยที่ก้าวสู่ประเทศผู้มีรายได้สูง ด้วย "ผลิตภาพ" (Productivity) บนฐานแห่งความรู้ นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องผสานกับการบริการคุณค่าสูงบนฐานของวัฒนธรรม
  • "Startup" คือ "ธุรกิจเกิดใหม่" หรือ "บริษัทเกิดใหม่" ที่เจ้าของ "ไอเดีย" ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุน มีเทคโนโลยี จะมีนักลงทุนซึ่งกำลังมองหาความสามารถและโอกาสเช่นกัน
  • "Smart Enterprises" หรือ วิสาหกิจอัจฉริยะ คือ การร่วมมือ (Collaboration) การเปิดกว้าง (Open) ให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมพัฒนา และ รวมถึงการแบ่งปัน (Sharing) กับลูกค้าและผู้อื่น โดยคำนึงถึงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม

สรุปรัฐบาลจะขับเคลื่อนอย่างไร?

จากข้อมูลฑุติยภูมิที่สืบค้น อ่านได้ที่นี่และที่นี่ และศึกษาจากคลิปวีดีโอข้างต้น และนำมาสังเคราะห์สรุป เกี่ยวกับแนวทางที่คาดว่า ประเทศไทยจะถูกขับเคลื่อนไป เผื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย ดังนี้

"ผู้ใหญ่" บอกว่า ประเทศไทยมีจุดแข็ง ๒ ด้าน ๑ คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ และ ๒ คือ ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม ทำให้แนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุค "ประเทศไทย ๔.๐" ต่อไปต้องเน้น ๒ สองด้านนี้ มุ่งเปลี่ยนแปลง ๓ มิติ โดยใช้การพัฒนา ๔ แนวทาง และ ๕ เทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมาย ... ดังแสดงในภาพ ... ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนคำอธิบายใดๆ เพิ่มอีก

ผู้สนใจจะนำไปเล่าต่อ นำเสนอต่อ ก็เชิญเถิดครับ...... ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆ






วันนี้... ผมยังอยู่ในตำแหน่งงานที่น่าจะสามารถสร้างคนไว้สำหรับยุค "ประเทศไทย ๔.๐" เหมือนกับเพื่อน ๆ ครูอีกหลายคน ... ก็คงต้องพยายามสู้ต่อไปเท่าที่จะทำได้ ... แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ หากจะเตรียมคนไว้สำหรับยุค "ประเทศไทย ๕.๐" คุณครูจะทำอย่างไร?????

หมายเลขบันทึก: 612686เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณจ้ะที่นำมาแบ่งปัน



ขอบพระคุณที่รวบรวมไว้ให้อย่างดี มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้อีกทอดหนึ่ง

แต่ตัวผมค่อนข้างสวนกระแสกับกับดักตัวนี้ เห็นด้วยส่วนหนึ่ง ไม่เห็นด้วยส่วนหนึ่ง

แต่ยังไงๆก็ชอบที่อาจารย์รวบรวมไว้ให้นะครับ

ขอขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ ขอให้ท่านได้รับความรู้มากเท่าทวีคูณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท