๔ ความประทับใจเหนือความคาดหวัง รายงานจากภาคสนามการวิจัยเศรษกิจ อยู่-เหลือ


ปรัชญาที่กลั่นออกมาจากสนามนี้ คือ เราค้นหา ความเท็จ ความจริง ได้ที่ตลาด นี่เอง คนทุกประเภท ก็พบได้ที่ตลาด แต่เราต้องเล่น บทบาท ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย


...นึกย้อนทบทวน จาก ระยะเวลาเริ่มต้นลงสู่ภาคสนาม ประมาณ ๖ เดือน

  • พื้นที่การขาย ในตลาดสด พ่อค้าแม่ค้าต้องแย่งชิงพื้นที่ขายสินค้า สุดท้ายจึงมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ เกิดขึ้นหลากรูปแบบ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐฯ และเอกชน ผู้เขียน เคยเป็นเพียงผู้ซื้อ เท่านั้น จึงได้ข้อสรุป ในนาทีนี้ว่า เราเป็นผู้บริโภคที่น่าสงสาร ไม่มีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าอย่างเสรีแท้จริง เพราะผู้ขาย ไม่มีโอกาส ใครใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่ค้าม้า ค้า นั่นเอง ในตลาดนัด ผู้จัดตลาด ไม่เคยให้ความสำคัญกับสินค้าคุณภาพ ผลประโยชน์ และอารมณ์ของผู้จัดตลาด มาก่อนเสมอ พ่อค้าแม่ขาย ช่างน่าสงสาร...
  • คุณธรรมของผู้ขาย ในงานเทศกาลไหว้ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่น ผู้เขียน ได้รับ ความเมตตา จากเถ้าแก่เจ้าของร้านขายข้าวสารในตลาด ให้วางสินค้าหน้าบ้านเขาได้ในช่วงกลางคืน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ แถมยังเปิดไฟหน้าบ้านให้มีแสงสว่าง ผู้เขียนประทับใจ ในน้ำใจของท่านยิ่งนัก เพราะ เริ่มหาได้ยากเต็มที ในสังคมปัจจุบัน เมื่อจบงานฯ เราจึงนำส้มแก้วจากตลาดน้ำฯ ไปให้ท่านและภรรยา เป็นการแสดงความขอบคุณ ตามธรรมเนียมคนเชื้อสายจีน ได้รับคำอวยพรกลับมามากมาย ถ้าสังคมไทย มีคนแบบนี้ จำนวนมาก คงมีความสุขไม่น้อย...
  • คุณธรรมของผู้ซื้อ จะมีผู้ซื้อบางราย ชอบสินค้า และจองไว้ โดยไม่ได้มัดจำ ไม่ว่าจะเป็น ครูสาว หนุ่มสำนักงาน ฯลฯ ล้วนไม่รักษาคำพูด ผิดศีล๕ ข้อที่ ๔ เราเก็บรองเท้าไว้ให้ โดยไม่ยอมขายให้กับลูกค้ามาทีหลังแต่มีเงินให้ทันที เขาคงไม่คิดว่าว่าผู้ขายจะสูญเสียโอกาส... แต่มีกรณีที่แตกต่าง ผู้เขียนประทับใจ ลุงขี้เมา ที่ตลาดมอญ ในเย็นวันหนึ่ง เขาไม่ใส่เสื้อ เดินเข้ามาที่ร้าน ตอนตลาดใกล้จะวาย มีอาการเมาเล็กน้อย แต่ยังควบคุมสติได้ ผู้ขายร้านใกล้เคียง และบุคคลอื่นๆ เมียงมอง คล้ายเป็นเรื่องแปลก เขาจะทำอะไร? เขาบอกผู้เขียนว่า อยากได้ รองเท้าตัดสักคู่ มีเงินอยู่ ๑๐๐ บาท ผู้เขียนมีรองเท้าราคาต่ำสุดขณะนั้น ๑๓๙ บาท เป็นสีดำล้วน ผู้เขียน ยินดี เลี้ยงลุงในส่วนที่ขาด ลุงสวมได้พอดี ผู้เขียนใส่ถุงให้ รับเงินมา ๑๐๐ บาท เขารับสินค้า เดินเมียงมองสินค้าบนแคร่ บอกว่าเปลี่ยนใจ ต้องการคู่ที่มีสีสัน ดูสวยงามกว่า ผู้เขียนบอก ราคา ๑๗๙ บาท และไม่สามารถขายในราคา ๑๐๐ บาท ลุงบอกว่า มาอีกเมื่อไร เสียเงินทั้งที ขอสวยหน่อย วันนี้เลิกกินเหล้าตอนเย็น ฝากเงิน ๑๐๐ บาท ไว้กับผู้เขียน จะกลับมาเอารองเท้าคู่สวย พร้อมเงินจำนวนที่ขาดอยู่ เขาทำงานรับเหมาก่อสร้าง ตอนเย็นจะดื่มเหล้าจนหมดเงินค่าแรง ไม่มีเงินออม ... ผู้เขียนเก็บรองเท้าคู่ที่เขาต้องการไว้ให้ ...เขากลับมาตามคำพูด ผู้เขียนจึงขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกความประทับใจ ในการรรักษาศีลข้อ ๔ แต่ในวันนี้ลุงดูแจ่มใสไม่ได้ผิดศีลข้อ ๕ เลย ความสุขของผู้เขียนข้อหนึ่ง คือ แสวงหา คนจริง เรื่องจริง ซึ่งจะดูเพียงเปลือกนอกที่ห่อหุ้มไม่ได้เลย
  • ปรัชญาที่กลั่นออกมาจากสนามนี้ คือ เราค้นหา ความเท็จ ความจริง ได้ที่ตลาด นี่เอง คนทุกประเภท ก็พบได้ที่ตลาด แต่เราต้องเล่น บทบาท ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย
หมายเลขบันทึก: 612151เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2016 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2016 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับ

-ตามมาอ่านบทความนี้ครับ

-ชอบใจคุณลุง...คนมีสัจจะ...

-อบอุ่นใจในทุกๆ ที่...หากใจเราเป็นสุขนะครับ..


สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้ำหนึ่ง

ที่ผู้เขียนประทับใจเขามาก เพราะมองภายนอก คนจำนวนมากรังเกียจเขา แต่เมื่อได้สัมผัสตัวตน เขาน่าคบค้า มากกว่า ครู และพนักงานสำนักงาน ซึ่งแต่งตัวดี เป็นข้อพิสูจน์ เรื่องเปลือกนอกไม่ได้บ่งบอก เนื้อแท้ ในวันที่มารับสินค้าลุงกำเงินแบงค์ ๒๐ ยู่ยี่ ให้เพื่อนข้างบ้านพาซ้อนมอร์เตอร์ไซด์มาที่ตลาด (ปกติเขาขี่จักรยานมาเอง) เพื่อรักษาคำพูดของเขา เขามีความตั้งใจ มีความรับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ที่เราสัมผัสได้ชัดเจนมาก เขาถามว่าผู้เขียนเป็นนักข่าว หรือเปล่า? ผู้เขียนประหลาดใจ จนต้องพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพี่แม่ค้าร้านใกล้เคียง เขาบอกว่า คนมอญ เคร่งครัดศาสนาพุทธ หรือศีล นั่นเอง ยามเขาปฎิบัติในวันสำคัญทางศาสนา จะไม่ได้เห็นเขาในสภาพนี้เลย นี่เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ผู้เขียน ดั้นด้น ไปขาย ที่ตลาดมอญ ตามคำแนะนำ ของนายตำรวจใหญ่สันติบาลวัยเกษียณ เพราะ ต้องการพิสูจน์ เรื่องหลักปฏิบัติที่ถูกต้องของพุทธ ถ้าทำถูกต้องสังคมจะมีความสุขมาก

ขอบคุณค่ะ

คุณลิขิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท