ปรัชญาและจริยธรรมสำหรับนักพัฒนา มคอ.3


มคอ. 3 รายละเอียดรายวิชา

(Course Specification)

0102311 ปรัชญาและจริยธรรมสำหรับนักพัฒนา

( Philosophy and Ethics for Community Development Worker )

รายวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

รายละเอียดรายวิชา

(Course Specification)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา: สงขลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์

1. รหัสและชื่อวิชา :0102311 ปรัชญาและจริยธรรมสำหรับนักพัฒนา

2. จำนวนหน่วยกิจ 2 (2-0-4 )

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งาน ภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

30 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

-

-

60 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

3. จุดมุ่งหมายของรายวิชา: เพื่อให้ผู้เรียน

  • มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ของการพัฒนาชุมชนและเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ ตามที่สังคมพึงประสงค์
  • สามารถนำหลักปรัชญาไปอธิบาย วิเคราะห์ วิจัย ประเด็นทางสังคมได้อย่างมีวิจารณญาณ บนพื้นฐานของความรู้ เหตุผล คุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่อสังคม
  • มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับความเป็นนักพัฒนาชุมชน มีทักษะและเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมได้อย่างมีคุณภาพ

4.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

เพื่อผลิตบัณฑิตทางการศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อ

ตนเองและสังคมประเทศชาติ

5. คำอธิบายรายวิชา

เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักปรัชญาเพื่อการพัฒนาสังคมและเข้าใจแนวคิดที่สำคัญที่เกี่ยวกับปรัชญาตลอดถึงการรู้จักนำความรู้จากหลักปรัชญา จริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตปัจจุบันและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้

6. แผนการสอน

สัปดาห์

ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวน*

(ชั่วโมง)

กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้

ผู้สอน

1

- แนะนำประมวลรายวิชา

- ตกลงกติกาของชั้น

- สนทนาความมุ่งหมายในการเรียน

2

- แจ้งประมวลรายวิชาให้กับนิสิต

2-3

บทที่ 1 มนุษย์ โลกและความหมายชีวิต

4

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

4-6

บทที่ 2 หลักปรัชญาและจริยธรรม

9

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

7-8

บทที่ 3 จรรยาบรรณและคุณธรรมของนักพัฒนา

4

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

9

สอบกลางภาค

-

10-16

บทที่ 4 บุคคลและโครงการที่ยึดหลักปรัชญาเป็นแนวทางพัฒนา

การนำหลักจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

14

บรรยาย/อภิปราย/อินเทอร์เน็ต

17-18

สอบปลายภาค

-

7 . แผนการประเมินผลการเรียนรู้

7.1ลักษณะการประเมิน

ลำดับการ

ประเมิน

ลักษณะการประเมิน

(เช่น สอบ รายงาน ฯลฯ)

สัปดาห์ที่

ประเมิน

สัดส่วนของ
คะแนนที่

ประเมิน

หมายเหตุ

1

คำถามและกิจกรรมกลุ่มท้ายบท

ประเมินด้านความรู้
- มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาและจริยธรรม
- มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถบูรณาการแนวคิดต่าง ๆได้
-มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางการพัฒนา
-รายงานกลุ่ม

40

2

การจัดกิจกรรมการเข้าเรียนรู้ร่วมกัน
การประเมินด้านทักษะปัญญา
- มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
- ประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม

10

3

การสอบกลางภาค
ประเมินด้านความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจในหลักปรัชญาและจริยธรรม

- มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถบูรณาการแนวคิดต่าง ๆ ได้
-มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางศาสนาให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต

ตามปฏิทินมทษ.

20

4

สอบปลายภาค
ประเมินด้านความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจในหลักปรัชญาและจริยธรรม


- มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถบูรณาการแนวคิดต่าง ๆ ได้
-มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต

ตามปฏิทินมทษ.

30

7.2 เกณฑ์ช่วงขั้นประเมินให้เกรด

เกณฑ์การประเมิน

80 - 100 คะแนน ระดับ A 

75 - 79.99 คะแนน ระดับ B+ 

70 – 74.99 คะแนน ระดับ B 

65 – 69.99 คะแนน ระดับ C+

60 - 64.99 คะแนน  ระดับ C

55 - 59.99 คะแนน  ระดับ D+

50 - 54.99 คะแนน  ระดับ D

00 - 49.99 คะแนน  ระดับ E/F

8. ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้

1 . เอกสารและตำราหลัก

อุทัย เอกสะพัง. ( 2557 ).ปรัชญาและจริยธรรมสำหรับนักพัฒนา. เอกสารประกอบการสอน . คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

2 . เอกสารและข้อมูลสำคัญ
คูณ โทขันธ์. ( 2537 ). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพ ฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. ( 2547 ). ศาสนา ชีวิตและสังคม. กรุงเทพ ฯ: สุภาพใจ.

ปิ่น มุทุกันต์. พ.อ.(2525).พุทธศาสตร์ ภาค2.กรุงเทพฯ:อมรการพิมพ์.
พระเทพเวที(ประยุทธ์ ประยุตฺโต).(2531).กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพ ฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุฟจำกัด.
---------------(2531).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการ

พิมพ์.
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ประยุตฺโต).(2546).พุทธธรรม.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย.
พระราชวรมุนี(ประยุทธ์ ประยุตโต).(2528).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.

พิมพ์ครั้ที่5.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์.
พุทธทาสภิกขุ.(2525).สันทัสเสตัพพธรรม.กรุงเทพฯ:ธรรมทาสมูลนิธิ.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. ( 2536 ). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพ ฯ: บุญดีการพิมพ์.
แสง จันทร์งาม.(2526).ประทีปธรรม.กรุงเทพฯ:กมลการพิมพ์.

3 . แหล่งค้นคว้าแนะนำ

ตำรา เอกสารวิชาการ ด้านปรัชญา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

วารสารทางสังคมศาสตร์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ

อ. ดร.อุทัย เอกสะพัง อาจารย์ประจำวิชา

5 มิ.ย. 2561

หมายเลขบันทึก: 611264เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2016 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2018 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท