เรียนรู้จากวิกฤต ของ ศิรดา เทียมประเสริฐ หญิงเก่งแห่งวงการ Wealth Management


การที่ คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในวงการ Wealth Management ในสายงาน Private banking ที่ธนาคารสัญชาติสวิส ณ สำนักงานภูมิภาค (regional office) ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ทำให้คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ มีโอกาสดูแลและให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการลงทุน จัด asset allocation พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านการลงทุน เกี่ยวกับการซื้อขายตราสารต่างๆ ในพอร์ตการลงทุนของกลุ่มลูกค้าผู้มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง

โดยจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมานั้น คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ พบว่าระบบการทำงานของธนาคารใหญ่ในระดับโลก ไม่จำกัดอยู่ที่ตราสารเพียงไม่กี่ประเภท แต่มีความเป็น Product Universe กล่าวคือ การครอบคลุมถึงตราสารที่กว้างไกลแบบไร้พรหมแดนไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ ตราสารทุน Currencies, Private Equity, Hedge Fund, Mutual Funds, REITS ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ และยังมีอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง

คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ กล่าวว่า “จำได้ขึ้นใจว่าตลาดเคยเคลื่อนไปในจุดที่สูงมาก ในปี พ.ศ. 2550 เพียงดอกเบี้ยเงินฝากประจำในสกุลเงิน US dollar ระยะเวลา 1 สัปดาห์จ่ายดอกเบี้ยสูงมากถึง 5% ต่อปี กองทุนรวมลงทุนในหุ้นประเทศจีน (Mutual fund China A-share) เป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนทางแถบเอเชียมาก มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ปรับขึ้นไปเกิน100% ภายในเวลาชั่วพริบตา

แต่แล้วก็เริ่มมีการขาดการชำระเงิน (default) ของ mortgaged back security (MBS) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ผันแปรเรื่อยมาจนถึงวันที่สถาบันการเงิน Lehman Brothers ต้องปิดกิจการลง วิกฤตครั้งนั้นในเดือนกันยายนปี 2551 คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ กล่าวว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น ผู้ที่เสียหายมากที่สุดคือนักลงทุนที่ได้ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่มีสัดส่วนการ Leverage สูง เชื่อมโยง (Link) กับอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange) ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือผู้ที่ในระยะเวลานั้นถือเงินสดพร้อมลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพในราคาที่ปรับตัวถูกลง และผู้ที่ไม่เสียหายคือผู้ที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและหรือผู้ที่มีการจัดสัดส่วนสินทรัพย์ (asset allocation) ที่เหมาะสม คำถามว่าเราเคยให้คำแนะนำปรึกษาผู้ลงทุนผิดพลาดบ้างหรือไม่ คำตอบคือเคยและความผิดพลาดนี้ที่ได้ทำให้เราเรียนรู้ เมื่อเรามีประสบการณ์มากขึ้นจะรู้ได้ว่าอะไรผิดเราจะไม่ทำอีก”

จากหลายวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ผ่านมา จึงสอนให้ต้องมีความหนักแน่นและมั่นคง ไม่เชื่อข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ภายนอกดูดีสวยงาม แต่แท้จริงแล้วความเสี่ยงนั้นมีมากเกินกว่าคุณภาพหรือโอกาสที่จะเกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า ธุรกิจ Wealth Management ในที่สุดแล้ว ต้องวัดกันที่เวลา และอีกหนึ่งปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ของนักลงทุน นั่นคือความจริงใจจากผู้ให้คำปรึกษาการลงทุนที่มีต่อลูกค้า ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด

“สิ่งที่เราจะแนะนำให้ลูกค้าได้จะต้องเป็นสิ่งเดียวกันกับที่เรามีความกล้าและอุ่นใจที่จะแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องของเราเอง สินทรัพย์ทางการลงทุนเหล่านั้นจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่ถึงแม้จะต้องผ่าน crisis มานักต่อนักแต่ก็จะผ่านไปได้ พร้อมเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน” - ศิรดา เทียมประเสริฐ

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนการตัดสินใจลงทุน

---------------------------------------------------------------------------------------------------

บทความจาก : ศิรดา เทียมประเสริฐ

ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เดนาลี เพรสทีจ จำกัด [Denali]

57 อาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ ชั้น 15 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

www.denali-asset.com

เรียบเรียงบทความ โดย TMDspace Digital Agency

หมายเลขบันทึก: 611224เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2016 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2016 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท