วันที่สามสิบสาม ปริศนาแทนแกรม (28 มิถุนายน 2559)


ดีใจปนเศร้าแต่เช้า...

วันนี้ครูยุ้ย ครูสอนภาษาจีนได้สอบบรรจุข้าราชการติดที่จังหวัดนครสวรรค์ จึงจำเป็นต้องย้ายไปจากสาธิตของเรา ทางโรงเรียนจึงจัดการอำลาครูยุ้ย นักเรียนต่างพากันนำการ์ดอวยพร ของที่ระลึกเล็ก ๆ น้อยมามอบให้ บางคนก็ร้องไห้ เข้ากอดกันอย่างซาบซึ้งใจ


"หนูไม่อยากให้ครูไปเลย"


ปริศนาแทนแกรม

แทนแกรม (Tangram) เป็นแผ่นตัวต่อปริศนามี 7 แผ่น ซึ่งสามารถนำมาประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ โดยเมื่อขณะไม่ได้เล่นจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เชื่อว่าแทนแกรมมีต้นกำเนิดจากราชวงศ์ซ่ง ของประเทศจีน โดยแทนแกรมนั้นมีชื่อเรียกภาษาจีนอีกชื่อหนึ่งว่า “ฉีเฉียวตู” แทนแกรมเป็นชิ้นส่วนรูปเรขาคณิตสองมิติที่สามารถสร้างขึ้นได้โดยเขียนเส้นต่าง ๆ ลงบนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากเล็ก 2 ชิ้น รูปสามเหลี่ยมขนาดกลาง 1 ชิ้น รูปสามเหลี่ยมมุมฉากขนาดใหญ่ 2 ชิ้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ชิ้น และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานอีก 1 ชิ้น ซึ่งรูปสามเหลี่ยมขนาดกลาง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ล้วนแล้วแต่มีพื้นที่เป็นสองเท่าของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากเล็ก สามเหลี่ยมมุมฉากขนาดใหญ่ แต่ละชิ้นมีพื้นที่เป็น 4 เท่าของสามเหลี่ยมมุมฉากเล็ก 1 ชิ้น และมุมที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนทั้ง 7 ชิ้น มีอยู่เพียง 3 แบบ คือ มุมฉาก มุม 45 องศา และ มุม 135 องศา

กฎของแทนแกรม กติกามาตรฐานสากลในการต่อแทนแกรม คือการเลื่อน หมุน และพลิกชิ้นส่วนทั้งเจ็ดนั้นให้เป็นภาพต่างๆ โดยอาจจะเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ การต่อภาพแทนแกรมแบบมาตรฐานนั้น จะต้องไม่มีชิ้นส่วนใดเสริมขึ้นมา หรือขาดไปจากเจ็ดชิ้นส่วนมาตรฐานจึงจะสมบูรณ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากแทนแกรมคือ ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์จากการต่อชิ้นส่วนของแทนแกรมเป็นรูปต่าง ๆ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการต่อชิ้นส่วน แทนแกรมเป็นรูปต่างๆได้อย่างไม่จำกัดตามจินตนาการ สามารถทำแทนแกรมขึ้นมาใช้ได้ด้วยตัวเอง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยฝึกการใช้สมาธิ อีกทั้งยังช่วยฝึกการใช้ความจำ

วันนี้มีโอกาสในคาบกิจกรรมสร้างสรรค์กับสัปดาห์คณิตคิดสนุก จึงนำเเทนแกรมมาลองให้นักเรียน ป.2/1 เล่นดู ตอนที่ครูยกตัวอย่างภาพบนกระดานนั้น เด็กตื่นเต้นมาก ใจหนึ่งก็กลัวว่าเด็กจัมองรูปที่ครูโต้งทำนั้นออกไหม ปรากฎว่าเด็กก็มองออกอยู่เราก็โล่งใจล่ะ พอถึงตอนให้ทำเองบ้างเริ่มมีปัญหาละ เพราะไม่รู้ว่าจะต่อเป็นรูปตัวอะไรดี และต่อยังไงด้วย สุดท้ายครูโต้งได้มาช่วยเกือบทุกกลุ่มเลย


"อันนี่ มันคือรูปอะไรนิ นักเรียน"



"เด็กชายสไตล์เด็กแนว"



"เด็กหญิงใส ๆ หัวใจดวงเล็ก ๆ"



"ผลงาน 2/1 ธรรมดาที่ไหน"


หมายเลขบันทึก: 609876เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2016 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2016 01:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท