ประเพณีฮีต 12 คลอง 14


ประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ประเพณีของดีอีสาน ภาคอีสานเป็นภาคที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือฮีตสิบสองคลองสิบสี่

ฮีตสิบสอง คือประเพณี12เดือนของชาวอีสานที่ต่างจากประเพณี12เดือนของภาคอื่นหลายประเพณี คลองสิบสี่คือแนววิถีที่ควรที่ต้องปฏิบัติ 14ประการเปรียบได้ว่าเป็นกฎหมายที่ต้องทำตามอย่างเข้มงวดซึ่งมีทั้งพิธีของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ พระภิกษุสงฆ์และประชาชนทั่วไป

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอดเพราะมีการยึดมั่นที่เปรียบเหมือนธรรมนูญชีวิตชาวอีสานตราบเท่าจนปัจจุบัน(บางส่วน) แต่ก็มีหลายแห่งที่ทิ้งฮีตเก่าคลองเดิม นำวัฒนธรรมต่างชาติมาโดยไม่พิจารณาทำให้สังคมส่วนนั้นมีความวุ่นวาย เกิดปัญหาหลายๆอย่างขึ้น โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต 12 ฮีต และคลอง 4ประเภท มี14 คลอง ได้แก่ ฮีต บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) ฮีต บุญคูณลาน เดือนยี่ ฮีต บุญข้าวจี่(เดือนสาม) อีต บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) ฮีต บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) ฮีตบุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) ฮีตบุญซำฮะ(บุญเดือนเจ็ด) ฮีตบุญเข้าพรรษา ฮีตบุญข้าวประดับดิน ฮีตบุญข้าวสาก ฮีตบุญออกพรรษา ฮีตบุญกฐิน ฮีตสิบสอง เป็นประเพณีการทำบุญที่มีประจำเดือนชาวอีสาน ประสมประสานระหว่างแนวคิดของพระพุทธเจ้า พราหมณ์และผี ก่อนที่ศาสนาพุทธเข้าสู่ไทย โดยเฉพาะดินแดนอีสานนั้นประเพณีตามฮีตคลองเดือนต่างๆมีมานาน สมัยก่อนจะเน้นพิธีทางของผีและพราหมณ์มากกว่าเพราะเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ เปรตเทวดาอารักษ์ต่างๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีที่มองไม่เห็นตัวจะมีอิทธิพลต่อชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นพิธีกรรมส่วนใหญ่จึงวนเวียนอยู่กับเรื่องผีโดยมีพ่อกะจ้ำเป็นผู้นำทางพิธี เมื่อศาสนาเข้าสู่ไทยดินแดนอีสาน ความเชื่อและพิธีกรรมจึงได้เปลี่ยนไปบ้าง ได้นำพิธีกรรมทางศาสนาเข้าประสมประสาน มีพระสงฆ์องค์เจ้าเข้ามีส่วนร่วมมีพระเป็นผู้นำในบางพิธี แต่ส่วนใหญ่ยังมีปราชญ์หมู่บ้านเป็นผู้นำและจะเอนไปทางแนวพราหมณ์และผีมากกว่าคลองสิบสี่ มีหลายประเภทแต่สามารถแบ่งประเภท ได้แก่คลองประเภทสอนผู้ปกครอง คลองประเภทสอนพระสงฆ์ คลองสอนประชาชนทั่วไปและสุดท้ายที่สำคัญคือคลองสอนคนทุกเพศ วัย ทุกฐานะ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีเพื่อขัดเกลาคอยบ่งชี้ให้ผู้คนต้องปฏิบัติตามทำให้สังคมอีสานมีความสงบสุข ร่มเย็น จึงนำเสนอความเป็นมา ความสำคัญต่างๆของ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่เพื่อให้รับทราบข้อปฏิบัติต่างๆที่ทำให้คนในอดีตที่มีวิถีชีวิตที่อยู่ดีมีสุขและเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมชาวอีสานให้มีสืบไป


ฮีตบุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) เป็นบุญที่ทำในเดือนอ้าย(เจียง) เดือนแรกของปีที่ชาวอีสานทำกันจนเป็นประเพณี ทำในวันข้างขึ้น/แรมก็ได้ เป็นบุญที่เกี่ยวกับพระโดยตรง มีความเชื่อว่าทำบุญร่วมกับพระแล้วจะได้อานิสงส์มาก จึงมีการทำบุญเข้ากรรมขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อให้พระต้องอาบัติสังฆาทิเลส นี้แล้วต้องทำพิธีเข้ากรรมที่เรียกอีกอย่างว่า วุฏฐานพีธี คือระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ประกอบพิธีปริวาสมานัตต์ ปฏิกัสสนาและอัพภาน เป็นขั้นตอนการอยู่กรรมของพระที่ต้องจำกัดที่อยู่เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรม เป็นการชำระจิตใจให้หายมัวหมองบางแห่งถือว่า เมื่อบวชแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรมเพราะมารดาก็เคยอยู่กรรมเมื่อคลอดบุตร โดยเชื่อว่า มีพระรูปหนึ่งได้ต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยที่เอามือไปทำใบตระไคร้น้ำขาดแล้วไม่ได้แสดงตนว่าต้องอาบัติเมื่อมรณะจึงเกิดเป็นนาค เพียงเพราะอาบัติที่เล็กน้อย ดังนั้นจึงมีพิธีการอยู่วาสกรรมเพื่อพ้นอาบัติ โดยมีสถานที่เข้ากรรมที่เงียบสงบ มีกุฏิให้พักเพื่อเข้ากรรมคนเดียว โดยพระที่ต้องอาบัติแล้ว ต้องบอกพระสี่รูปให้รู้ว่าได้เวลาแล้วจึงเข้ากรรม ซึ่งตามวินัยมุขผู้เข้าต้องประพฤติมานัตต์ คือ นับราตรี ครบหกราตรี จึงสวดระงับอาบัติ อัพภาน ในระหว่างการเข้ากรรมต้องสารภาพความผิดต่อพระ 4 รูปเป็นผู้รับรู้ ส่วนการออกต้องมีพระ 20รูปให้อัพภาน พระผู้ออกจากกรรมแล้วถือว่าหมดมลทิณ เป็นผู้บริสุทธิ์ การรับภิกษุผู้ต้องอาบัติหนักได้ลงโทษ คืออยู่ปริวาสหรือมานัตต์ให้กลับเป็นพระบริสุทธิ์โดยพระสวดระงับอาบัติ ว่า อัพภาน ซึ่งทำให้หมดมลทิณ บริสุทธิ์ สำหรับชาวเข้ามาส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้อุปถัมภ์ด้วยจตุปัจจัยแด่ภิกษุตลอดเวลาเข้ากรรมและวันออกจากกรรมต้องมีการทำบุญให้ทาน ซึ่งปัจจุบันมีการทำบุญนี้พียงบางตำบลบางหมู่บ้านเท่านั้นที่ทำจริงๆจังๆแบบดั่งเดิม โดยมีคำบอกเล่าทางศาสนามีคำสอนของคนเฒ่าแก่ก็เน้นย้ำให้ลูกหลานได้จดจำไปปฏิบัติ คือพอถึงเดือนเจียง (เดือนอ้าย)ภิกษุสงฆ์จะต้องเตรียมพิธีเข้าปริวาสกรรม เพราะถือเป็นธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณอย่าได้ทิ้ง หาไม่แล้วจะทำให้เกิดภัยพิบัติได้ ด้วยคำสอนนี้ชาวอีสานจึงนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


ฮีต บุญคูณลาน เดือนยี่ เป็นบุญที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความเคารพ ในปัจจัยยังชีพของคน คือข้าวที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับลูกหลานในการที่จะได้ข้าวมานั้นยากลำบากและถือว่าปีใดบุญลานมีข้าวเยอะแสดงว่าปีนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ดีและเป็นการทำให้เกิดสิริมงคลแก่ชาวบ้านและขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย ผีปู่ตา ผีตาแฮก เจ้าแม่โพสพ ที่ประทานข้าวมาอย่างอุดมสมบูรณ์

เมื่อครั้งพุทธกาลมีหนุ่มสองพี่น้องทำนาที่เดียวกัน พอข้าวออกรวงน้องชวนพี่ทำข้าวมธุปายาสแต่พี่ไม่เห็นด้วยเลยแบ่งนากันทำ เมื่อทำนาคนเดียว ผู้น้องได้ทำบุญอย่างต่อเนื่องเป็นระยะตามเวลาของการเก็บเกี่ยวข้าวเป็นช่วงๆเก้าครั้ง ตั้งแต่ข้าวเป็นน้ำนมจนกระทั้งเก็บเกี่ยวใส่ยุ้งฉากโดยปรารถนาสำเร็จพระอรหันต์ในอนาคต พอถึงพุทธศาสนาสมณโคดม และเกิดได้ออกบวชสำเร็จพระอรหันเป็น อัญญาโกฑัญญะ ส่วนพี่ทำบุญครั้งเดียวตอนทำนาเสร็จ เกิดเป็น สุภัททปริพาชก สำเร็จอนาคามิผลเป็นพระอริยบุคคลองค์สุดท้ายในพุทธศาสนา เนื่องจากอานิสงส์จากการทานข้าวน้อย เมื่อชาวบ้านทราบอานิสงส์จากการทำบุญนี้จึงนิยมทำบุญคูณลานต่อๆกันมา โดยการทำพิธีใช้บริเวณวัดเป็นลานข้าว โดยดายหญ้าออกแล้วใช้มูลควายผสมน้ำเทราด ก่อนวันงานจะนำข้าวมารวมกันตามศรัทธา นิมนต์พระ9รูปจาก9วัดมาเจริญพุทธมนต์ที่ลานข้า เอาด้ายสายสิญจน์พันรอบฐานพระพุทธรูปและภาชนะใส่น้ำมนต์ผ่านพระ และรอบลานข้าวเมื่อเสร็จแล้วก็เทศฉลอง 1กัณฑ์ กลางคืนอาจมีมหรสพคบงัน ตอนเช้าถวายอาหาร พรมน้ำมนต์และนำน้ำไปรดที่นาตนเอง เชื่อว่าข้าวในนาจะงามไม่มีศรัทตรูพืชรุกรานพร้อมกรวดน้ำอุทิศแก่ญาติผู้ร่วงลับตลอดเทพยาดาเมื่อได้รับกุศลก็จะอวยพรให้ฝนตกตามฤดูกาลเมื่อเสร็จพิธีก็จะนำข้าวเก็บยุ้งฉากวัดหรือขาย

ฮีต บุญข้าวจี่(เดือนสาม)ข้าวจี่

เป็นข้าวเหนี่ยวปั้นเท่าไข่เป็ดทาเกลือแล้วเสียบไม้ย่างไฟด้วยถ่าน ที่สุกเหลืองพอดีทาไข่แล้วย่างอีกครั้งบางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อยดังคำโบราณว่า เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา

ซึ่งการทำบุญข้าวจี่ในเดือนสามเป็นช่วงที่ชาวนาหมดภาระในการทำนาแล้วข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมทำบุญถวายพระ โดยมีเรื่องเล่าว่า มีนางปุณทาสี ทำขนมปังจี่ถวายองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์และคิดว่าพระองค์ไม่เสวยเอาให้สัตว์ต่างๆกินเมื่อพระองค์ทราบจึงได้เสวยทำให้นางปลื้มปรีติยิน และได้ฟังเทศนาที่พระพุทธเจ้าสอนก็บรรลุโสดาปัตติผลด้วยอานิสงส์ถวายขนมปังจี่ ทำให้ชาวอีสานเชื่อแล้วทำข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ โดยสถานที่ทำพิธีแต่แห่งอาจไม่เหมือนกันซึ่งพอถึงเวลาชาวบ้านก็จะจัดทำข้างจี่ตั้งแต่เช้ามืดจากบ้านแล้วนำไปรวมกันเพื่อถวายพระสงฆ์ แต่บางแห่งก็รวมกันนำข้าวและฟืนไปรวมกัน ทำข้าวจี่อยู่ที่วัดเพราะถือว่าร่วมกันทำบุญและสามัคคีมากขึ้น และนิยมนิมนต์พระ7-9 รูปหรือตามความเหมาะสม ซึ่งการนัดทำบุญข้าวจี่เป็นวันใดก็ได้ในเดือนสาม ในหมู่บ้านจะมีการจัดเตรียมข้าวจี่แต่ย่ำรุ่งวันนั้นเพื่อให้สุกทันใส่บาตร ปกติจะใส่7-9ก้อนต่อครอบครัวนอกจากนี้ก็อาจนำข้าวเกรียบย่างไฟพองไปถวายพร้อมอาหารคาวหวานซึ่งถึงเวลาถวายจะมีการกล่าวคำถวายข้าวจี่แล้วนำไปใส่บาตรและถวายอาหารขอพรเป็นอันเสร็จพิธี

อีต บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่)

เป็นบุญที่ทำเกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดรนิยมทำในเดือนสี่ ซึ่งก่อนจัดงานมีการประชุมจัดเตรียมอาหารคาวหวานเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ และแขกผู้มาร่วมงานและปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ ทางวัดก็มีการแบ่งหนังเป็นกัณฑ์มอบให้พระ ภิกษุสามเณรวัดต่างๆเตรียมไว้เทศน์ ซึ่งมีเรื่องเล่าในเรื่องมาลัยหมื่นมาลัยแสน ว่ามีพระมาลัยไปไหว้พระธาตเกษแก้วจุฬามณีสวรรค์ดาวดึงส์พบพระศรีอริยไตรย ได้สั่งกำพระมาลัยว่า ถ้าอยากพบพระองค์จงอย่าทำบาปหนัดชก เช่นการฆ่า ข่มเหงบิดามารดา สมณพราหมณ์ณาจารย์ ทำร้ายพุทธเจ้าและยุยลพระแตกกันให้ ฟังเรื่องรวพระเวสสันดรชาดกให้จบในวันเดียวและนำไปปฏิบัติ เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์จึงได้บอกให้ทาบทั่วกันผู้ปราถรถนาเช่นว่านี้จึงพากันทำบุญเผวสสืบต่อกันมมา โดยเป็นบุญเกี่ยวกับศาสนาโดยตรงสถานประกอบพิธีจึงอยู่ที่วัดส่วนใหญ่ การเทศน์บางครั้งก็นำไปเทศน์ในงานอุทิศกุศลต่างๆก็มี แต่งานบุญเผวสจริงๆจะต้องทำในบริเวณวัดเท่านั้น และมีพระครบจำนวนกัณฑ์เทศน์อาจมีพระถึง 30-60รูปหรืออาจหมุนเวียนกันก็ได้ โดยก่อนมีงานบุญนี้ชาวจะไปรวมกันที่วัดจัดสถานที่ ที่พัก ตกแต่งดอกไม้ในศาลา พวงมาลัย ธงทิว มีการทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียนธูป มีดดาบ อย่างละพันและข้าวตอกดอกไม้ไว้บูชาคาถาพัน ประกอบด้วย ดอกบัว กางของ ผักตบชวาอย่างละพันดอกธงพันผืนกระดาษสี ขึงด้ายสายสิญจน์ ตั้งหม้อน้ำมนต์ ขันหมากเบ็งแปดอัน โอ่งน้ำ4 โอ่งตั้งสี่มุมธรรมาสน์ในโองมีจอกแหน ดอกไม้ชนิดต่างๆและใบบัวปั้นรูปสัตว์ต่างไว้ใต้ธรรมาสน์ใหญ่8อัน ปักรอบธรรมาสน์นอกศาลาทั้งแปดทิศเพื่อหมายเขตปลอดภัยป้องกันมารทั้งหลาย ตามเสามีที่ใส่ข้าวพันกองศาลามีหอพระอุปคต คือ บาตรกระโถน กาน้ำ ร่ม สบงจีวร ถวายพระอุปคต ที่ต้องจัดก่อนวันงาน โดยวันโฮม หรือวันรวมนออกจากจะเพื่อนบ้านมาร่วมงาน มีพิธีสำคัญ2 อย่าง การนิมนตต์พระอุปคต ในตอนเช้ามืดวันรวมประมาณสี่ห้านาฬิกาโดยการนำก้อนหินขนาดใหญ่สามก้อนไปวางในวังน้ำหรือที่ใดก็ได้พอถึงเวลาก็แห่ดอกไม้ธูปเทียน ขันห้าขันแปดไปที่ก้อนหินวางอยู่ที่สมมุติว่าเป็นพระอุปคุต แล้วมีคนหยิบก้อนหินชูขึ้นถามว่าเป็นพระอุปคตหรือไม่ สองก้อนรับคำตอบว่าไม่ ก้อนสามตอบว่าใช่จึงกล่าวราทนาอุปคตแล้วเชิญหินก้อนสามใส่พานพร้อมจุกปะทัดต่างๆ แห่แหนพระอุปคตอย่างครึกครื้นเข้ามายังวัดแล้วนำประดิษฐ์สถานที่ศาลาที่เตรียมไว้ การนิมนต์พระอุปคตมาบุญเพื่อสิริมงคลชัยเพื่อการจัดงานสำเร็จราบรื่น และการแห่เผวส จะทำตอนประมาณบ่ายสามเพื่ออัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมติว่าอยู่ในป่า มีพระพุทธรูป พระภิกษุ 4 รูปขึ้นนั่งบนเสลี่ยงหามไปยังที่สมมติว่าพระเวสสันดรกับนางมทรีอยู่แล้วอารธานาศีลห้าก่อนแห่พร้อมบายศรีพระเวสสันดรเข้าเมืองกับนางมัทรี และนิมนพระเทศน์กัณฑ์กระษัตริย์เสร็จแล้วเชิญเข้าเมือง ตอนค่ำให้พระสวดพุทธมนต์เสร็จและสวดบนธรรมาสน์ 4 ครั้งคือ อิติปิโส โพธิสัตว์ สวดชัย และเทศน์ พระมาลัยหมือนมาลัยแสนก่อนเทศเอาคาถาอุปคต 4 บท ปักข้างธรรมาสน์ เนอันเสร็จพิธีตอนค่ำ จนกระทั่งประมาณ 3 -4 นาฬิกาชาวร้องแห่ข้าวพันก้อนไปถวายพระอุปคตที่วัดพร้อมวางตามธงเมื่อเสร็จพระสงฆ์ก็เทศน์สังกาสแล้วอาราธนาเทสมหาชาติ ตลอดทั้งวันตั้งแต่กัณฑ์เทศน์พร-นครกัณฑ์จบทุกกัณฑ์ก็ค่ำพอดีเสร็จแล้วก็จัดขันดอกไม้ธูปเทียนกล่าวคารวะพระรัตรนตรัยจบเป็นอันเสร็จพิธีบุญเผวส

ฮีต บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า)

บุญมหาสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ ของภาคอีสานกำหนดขึ้นในเดือนห้า มี3วัน ตั้งแต่13วันมหาสงกรานต์14 วันเนา 15 วันสุดท้ายเป็นวันเถลิงศก ชาวอีสานถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ พิธีในแจ่ละท้องถิ่นอาจต่างกัน เหมือนกันก็คือการสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาว่า เศรษฐีผู้หนึ่ง กับภรรยามานานไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้นักเลงสุราที่มีบุตร2คน วันหนึ่งนักเลงได้กล่าวคำหยาบว่าเศรษฐีมีสมบัติมากไม่มีบุตรตายแล้วสมบัติก็สูญเปล่าและว่าตนนั้นประเสริฐกว่า เมื่อได้ยินเช่นนั้นเศรษฐีจึงทำการบวงสรวงขอบุตรต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์สามปีไม่ได้ผล จึงขอแก่ต้นไทรจึงได้บุตรชื่อว่า ธรรมบาล ผู้มีความฉลาดทุกเรื่องเกินความสามารถเด็ก7ขวบ ต่อมามีบิลพรหมจากพรหมโลกได้ถามปัญหาโดยต่างให้ศรีษะเป็นประกันให้เวลาเจ็ดวันในการตอบปัญหา ว่า คนเราในวันหนึ่งๆเวลาเช้าศรีอยู่ไหน เวลาเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน เวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหนจนกระที่วันที่ 6 ธรรมบาลยังตอบไม่ได้คิดกังวนใจเดินเข้าป่าและได้ยินนกอินทรีคุยกันจึงได้รู้คำตอบว่า ยามเช้าศรีษะอยู่ที่หน้าคนจึงล้างหน้าในตอนเช้า กลางคืนอยู่ที่อกคนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่หน้าอก เวลาเย็นศรีสะอยู่ที่เท้าคนจึงล้างเท้า เมื่อธรรมบาลตอบปัญหานี้ได้กบิลพรหมจึงตัดศรีสะตนโดยศรีษะนี้ถ้าตกพื้นเกิดไฟไหม้ ทิ้งในอากาศจะทำให้เกิดฝนแล้ง ทิ้งลงมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง ดังนั้นธิดาจึงได้นำพานมารองและแห่รอบเขาพระสุเมรุ 1ชั่วโมง

การแห่ศรีษะนี้จึงทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้นทุกปีและถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวไทยโบราณจะมีพิธีการทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายก็จะทำน้ำอบ หอมดอกไม้ธูปเทียนไปรวมกันที่วัด แล้วทำพิธีสรงน้ำพระแล้วนำน้ำที่ได้จากการสรงพระนั้นไปพรมหัวลูกหลานสัตว์เลี้ยงเพื่อความอยู่ดีมีสุขตามความเชื่อนอกจากนี้แล้วก็มีพิธีการสรงน้ำภิกษุสามเณร รดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ เพื่อแสดงความเคารพและขอพร วันที่14ก็จะเป็นวันหยุดที่ทุกคนต้องมาร่วมกันเล่นน้ำ การนำธงไปแห่และแขวนเพื่อบูชาพระรัตนตรัยเป็นเครื่องหมายของชัยชนะ วันที่15มีการขนทรายเข้าวัดเพื่อต่ออายุชีวิตในการทำลูกเจดีย์รอบๆฐานเจดีย์และนึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แปปดหมื่นสี่พันธรรมขันธ์และก็จะทำพิธีบวชพระสงฆ์ 5รูปมาสวดพุทธมนต์และบวชองค์พระเจดีย์ทราย ซึ่งการก่อเจดีย์จะได้บุญตามความเชื่อแล้วยังทำให้พื้นที่ตรงนั้นของวัดสูงขึ้นอีกด้วย

ฮีต บุญบั้งไฟ(บุญเดือนหก)
บุญบั้งไฟมีความสำคัญต่อชาวอีสานมาก เพราะเชื่อว่าบุญประเพณีนี้จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของฟ้าฝนข้าวปลาอาหารพืชพรรณเจริญเติบโตงอกงามดีและนำมาซึ่งความสนุกสนาน เกิดความหวังในชีวิต เหมือนมีที่พึ่ง อยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเชื่อมาจากเรื่องพญาแถน(เทวดาชาวอีสาน)ที่ดลบันดาลให้ความอุดมสมบูรณ์จึงมีการทำบุญบูชาพระญาแถน และบูชามเหศักดิ์หลักเมืองทุกปี เพราเชื่อว่าหากไม่ทำจะทำให้ฝนตกไม่ตามฤดูการ เกิดโรคระบาดต่างๆได้

โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าบนฟ้ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พญาแถน คือเทวดาที่คอยประธานฟ้าฝน ความอุดมสมบูรณ์แห่งฤดูกาล บั้งไฟคือเครื่องบูชาที่จะบอกกล่าวให้พญาแถนทราบว่าชาวโลกยังให้ความเคารพ นับถือบูชาไม่เคยขาดขอจงดลบันดาลหรือประทานฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งมีนิทานเล่าต่อกันมาว่า นานมาแล้วบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อน ฟ้าฝนไม่ตกตามฤดูกาลเกิดความลำบากถ้วนหน้า ผืนดินแตกระแหงแห้งแล้ง มีพญาคันคาก(คางคก)สัตว์วิเศษปกครองอยู่พื้นดิน ออกตรวจหาสาเหตุว่าทำไมฝนฟ้าจึงไม่ตกจึงรู้ว่าเป็นพญาแถน จึงมีการต่สู่กันกับพญาแถนโดยเอาฝนฟ้าเป็นเดิมพันและพญาแถนสู่พญาคันคากไม่ได้ จึงต้องทำให้ฝนตกโดยต้องจุกบั้งไฟบอกว่าให้ตกเมื่อใด

ดังนั้นเมื่อถึงช่วงทำนาก็จะทำบุญบั้งไฟ จุดบั้งไฟบอกกล่าวให้ทำฝนตก ชาวอีสานจึงมีการทำประเพณีนี้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน เมื่อถึงช่วงเดือนหกก็จะมีการทำบุญนี้เป็นประจำโดยทำร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียงให้ทำบั้งไฟมาจุดร่วมกันโดยเมื่อมีการทำบุญจะแบ่งเป็นสองวันคือวันโฮม ที่มีการแห่บั้งไฟประดับประดาสวยงามเป็นรูปต่างๆและมีการละเล่นที่เชื่อว่ายิ่งเล่นสกปรก ลามก ยิ่งจะทำให้ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์เท่านั้น วันที่2 เป็นวันจุด ซึ่งก่อนจุดจะมีการทำการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายหรือบูชาพญาแถน เทพารักษ์ก่อนเสร็จแล้วจึงจุดบั้งไฟใหญ

ฮีต บุญซำฮะ(บุญเดือนเจ็ด) เป็นบุญที่จัดขึ้นเพื่อทำพิธีปัดรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออกจากหมู่บ้าน บางแห่งเรียกว่า บุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้านเป็นบุญที่แต่ละหมู่บ้านจะทำไม่ขาด เป็นบุญเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีตาแฮก มเหศักดิ์หลักเมือง ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้านชาวบ้านเชื่อว่าจะรวมผีบรรษบุรุษอยู่ด้วยที่ช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านเมืองมีความสุข
มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่า ครั้งหนึ่งเมืองไพสาลี เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ประชาชนขาดแคลนอาหาร(ทุพภิกขภัย)เพราะฝนแล้ง สัตว์เลี้ยงตาย มีโรคห่าทำให้ผู้คนล้มตายจึงพากันไปนิมนต์พระพุทธเจ้ามาปัดเป่าภัยพิบัติ โดยมีพระ500 รูป เดินทางเรือ 7วันจากกรุงราชคฤห์ เมื่อมาถึงเมืองไพลาสี ฝนก็ตกหนักพัดพาซากศพออกจากหมู่บ้านไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าได้ทำน้ำมนต์ ใส่บาตรและมอบให้พระอานนท์ไปพรมทั่วเมือง โรคภัยไข่เจ็บก็หาย ดังนั้นคนโบราณและคนในอีสานจึงทำบุญชำฮะมาจนถึงปัจจุบัน ในเดือน 7 ของทุกๆปี
ซึ่งบุญนี้จะเป็นการทำบุญตักบาตรในหมู่บ้านและมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์4-9 รูปมาเจริญพุทธมนต์ แล้วมีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านที่ได้ฝ้ายจากการทำพิธีและมีการน้ำกรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบๆหมู่บ้านหรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผีหรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน นอกจากพิธีเหล่านี้แล้วชาวบ้านก็จะเก็บสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้านตน เช่นของเก่า เสื้อผ้าขาด ก่องข้าว เพื่อให้บ้านเรือนตนสะอาด บริสุทธิ์และเชื่อว่าเมื่อเอาของเก่าออกจากบ้านเมื่อผีเห็นของเหล่านี้อยู่นอกบ้านแล้วจะไม่เข้าบ้านจึงมีการเลี้ยงผีให้ถูกต้องตามประเพณี

ฮีต บุญเข้าพรรษา พรรษา คือ ฤดูฝน ฝน ปี ซึ่งชาวอีสานออกสำเนียง บุญเข้าวัดสา ส่วนไทยปัจจุบันนิยมใช้คำว่า พรรษา ซึ่งเป็นบุญที่สำคัญแก่ทุกคนในไทย เป็นช่วงที่พระต้องจำพรรษา เพื่อศึกษาธรรมไม่ต้องเดินทางไปค้างคืนที่ไหน และเชื่อว่าการทำบุญช่วงนี้จะได้กุศลมากเหมือนบุญออกพรรษาเพราะเป็นช่วงที่พระมีเจตนาสร้างบุญ สะสมบารมีจิตแน่วแน่ในคำสอน ซึ่งการทำบุญกับพระที่มีเจตนาดีจึงถือว่าได้อานิสงส์มาก ชาวอีสานจึงให้ความสำคัญโดยไม่ว่าจากอยู่ถิ่นไกลเมื่อถึงฤดูทำบุญนี้ก็ต้องกลับบ้านเพื่อร่วมปวารณาตนต่อพระและญาติพี่น้องแต่บ้างคนก็กลับเพราะร่วมทำบุญกับญาติพี่น้องเพียงเท่านั้นและบางแห่งก็มีการเคารพพ่อธรรมหรือ พ่อฮักษา ที่เป็นเหมือนตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีการนำดอกไม้ธูปเทียนไปเคารพ เรียกว่า ขึ้นต่อ ลูกเผิ่งลูกเทียน เพื่อให้ผูกข้อมือประพรมน้ำมนต์บอกกล่าวให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุขเมื่อถึงออกพรรษาก็กลับมาทำเช่นนี้กับพ่อธรรม พ่อฮักษาอีกที

ซึ่งการจำพรรษาของภิกษุนั้นมีเรื่องเล่าว่า สมัยก่อนโลกยังไม่เจริญมีการเดินทางด้วยเท้าเวลาไปโปรดญาติโยมจะต้องเดินลัดทุ่งนาและเมื่อฤดูฝนทำให้ฝนตกต้องเดินลุยโคลนเกิดความเดือดร้อนในการไปเหยียบย้ำนาข้าว ต้นกล้า ชาวบ้านและถูกว่ากล่าวว่าขนาดนกแจวแวว ช่วงเข้าพรรษาจะไม่ส่งเสียงจะอยู่ถิ่นตนจนกว่าออกพรรษาแล้วเหตุใดพุทธสาวกจึงออกมาเดินย่ำข้าวกล้าให้เดือดร้อน เมื่อมีการร้องเรียนพระพุทธองค์จึงประทับอยู่ที่เวฬุวัน และให้สงฆ์จำพรรษาที่วัด 3 เดือนเริ่ม แรม 1ค่ำ เดือนแปด ถึงขึ้น15ค่ำเดือนสิบเอ็ด คือพรรษาแรก ซึ่งจะไม่อนุญาตให้ภิกษุไปพักวัดอื่นหรือมีเหตุจำต้องพักได้ไม่เกิน 7วัน

เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษาชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่องปัจจัยไททายต่างๆโดยเฉพาะเครื่องสำหรับให้แสงสว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริยแล้วแต่ยังรักษาฮีตเดิมโดยการนำเทียน ตระเกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม และการนำถวายผ้าอาบน้ำฝนเพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝน ซึ่งเดิมก่อนพระพุทธเจ้าให้ภิกษุใช้เพียง 3 ผืน คือสังฆาฏิ ผ้าห่มและผ้านุ่ง แต่พออาบน้ำฤดูฝนไม่มีผ้าเปลี่ยนอาบจึงเปลือยกายอาบ เมื่อนางวิสาขาทราบเช่นนี้จึงนำความทูลพรพุทธเจ้า ว่า อยากขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่ภิกษุ ท่านจึงอนุญาตและให้ภิกษุใช้ผ้าอาบน้ำฝนเป็นวัตรปฏิบัติเป็นต้นมา

ฮีต บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญสิ้นเดือนเก้า ที่เรียกอีกอย่างว่า บุญข้าวสาก นำอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่จัดใส่กระทงวางไว้บนพื้น ใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่มีความสำคัญต่อชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเป็นบุญที่ต้องส่งส่วยให้กับผีฮักและผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ ทรัพย์สิน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ไม่มีภัยร้ายใดๆมาเยือน

เนื่องจากคนลาวไทยอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมานาน ว่ากลางคืนเดือนเก้าดับ (แรมสิบค่ำเดือนเก้า)เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลปล่อยผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์คืนเดียวในรอบปี จึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว และมีการอ้างเรื่องเปรตของพระเจ้าพิมพิสารด้วยว่า ครั้งพุทธกาลญาติของท่านกินของสงฆ์ ตายไปแล้วเกิดเป็นเปรตเมื่อท่านถวายอาหารแด่พระเจ้าและภิกษุเปรตไม่ได้รับผลบุญจึงส่งเสียงดังเพื่อขอส่วนบุญ เมื่อท่านได้ยินรุ่งเช้าจึงได้หาสาเหตุจากพระพุทธเจ้าและทรงทราบจึงได้อุทิศบุญไปให้เปรต ต่อจากนั้นมาเปรตเหล่านี้ก็ไม่มารบกวนอีกเพราะได้รับผลบุญชาวอิสานจึงถือเอาเหตุการณ์นี้ทำบุญข้าวประดับดิน
โดยเตรียมอาหารถวายสงฆ์และการห่อข้าวประดับดินโดยใช้ใบตองห่อข้างเหนียว กับเนื้อปลา ไก่ หมู่ใส่เล็กน้อยพร้อมของหวานเช่นน้ำอ้อย กล้วยสุก มะละกอสุก พร้อมกับหมากคำ พลูคำ บุหรี่ เมี่ยงห่อใบตองโดยเมื่อถึง14ค่ำเช้ามืดชาวบ้านจะนำสิ่งที่เตรียมไปวางตามที่ต่างๆพร้อมจุดธูปเทียนหรือบอกกล่าวก็ได้

บุญข้างสากเป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าวประดับดินเพียง 15วันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน ซึ่งทั้งสองบุญนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกันคือการห่อข้าวส่งให้เปรต รวมทั้งบรรพบุรุษญาติพี่น้องของผู้ทำบุญด้วยและเปรตไม่มีญาติด้วย และทุคนให้ความสำคัญกับบุญนี้มาก เพราเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะมีความหิว กำลังรอส่วนบุญจากงานนี้เมื่อถึงงานบุญจึงทำกันอย่างศรัทธา และพี่น้องแม้จะอยู่ห่างไกลก็ต้องกลับบ้านไปเยี่ยมเยียนกัน และมีของฝากให้กัน

โดยมีเรื่องเล่ากันว่า มีบุตรชายกฎุมพี ผู้หนึ่ง เมื่อพ่อสิ้นชีวิตแม่ได้หาหญิงมาให้เป็นภรรยาแต่อยู่ด้วยกันหลายปีไม่มีบุตรแม่จึงหามาให้อีกและมีลูกเมียหลวงอิฉาจึงคิดฆ่าทั้งแม่และลูก และเกิดความอาฆาตของเมียน้อย ชาติต่อมาทั้งเกิดเป็นไก่และแมว แมวจึงกินไก่และไข่ ต่อมาเกิดเป็นเสือ และกวาง เสือจึงกินลูกและกวาง ชาติสุดท้ายเกิดเป็นคนและเป็นยักษิณีพอฝ่ายที่เกิดเป็นคนและมีลูกยักษิณีก็กินลูกถึงสองครั้งต่อมาพอมีครรภ์ที่สามจึงไปอยู่กับพ่อแม่เมื่อคลอดเห็นว่าปลอดภัยจึงจึงพาสามีและลูกกลับวัดมหาวิหาร ซึ่งพอดีกับที่พระพุทธเจ้ากำลังเทศนาอยู่นางจึงนำลูกและสามีเข้าขอชีวิต ยักษ์จะเข้าไปในเขตวัดไม่ได้เพราะเทวดากั้นทาง พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์เรียกยักษ์มาฟังธรรมเพื่อไม่ให้พยาบาทจองเวรกัน แล้วให้ยักษ์ไปอยู่ที่หัวไร่ปลายนาเพราะมีความรู้เกี่ยวกับน้ำ ฝนดีเพื่อแจ้งให้ชาวเมืองทราบจึงเกิดความนับถือมากมีการนำอาหารไปส่งโดยสม่ำเสมอแล้วนางยักษ์ก็นำไปเป็นสลากภัตแด่ภิกษุวันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานจึงถือการถวายสลากภัตหรือบุญข้าวสากนี้เป็นปะเพณีสืบมา และนอกจากจะเอาข้าวสากไปถวายภิกษุและวางบริเวณวัด เพื่ออุทิศกุศลแก่ญาติพีน้องผู้ล่วงลับชาวนายังเอาอาหารไปเลี้ยงนางยักษ์หรือนางผีเสื้อนาในบริเวณนาของตนแต่เรียกว่า ตาแฮก

โดยเมือถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน สิบ จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด ถวายทานอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ตอนเพลจะทำเป็นสำรับพานอาหารถวายอีกหรือถวายสลากภัต และการจับสลาก ใบแรกมักเป็นสนใจแก่ชาวบ้านมาเพราะหากจับได้ของคนที่มีฐานะไม่ค่อยดีก็จะทำนายตามนั้นหากจับได้ผู้มีฐานะดีก็ทำนายว่าข้าวกล้าในนาดี อุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุขหลังจากนี้ก็มีการฟังเทศน์ถวายฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศกุศลก็เสร็จสิ้น

ฮีต บุญออกพรรษา

เป็นวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11 เป็นวันออกพรรษา วันปวารนา เป็นบุญที่ความสำคัญเพราะเชื่อว่าพระสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3เดือน)ย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญและได้บุญมาก ชาวอีสานเชื่อว่าเหมือนได้บุญจาก นิโรธสมาบัติ (การออกจากการพักผ่อนของพระอรหันต์) ดังนั้นลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นจึงนิยมกกลับบ้านเพื่อมาทำบุญนี้และออกพรรษากับ พ่อธรรม หรือ ของฮักษา ที่ได้เข้าไว้ในช่วงบุญเข้าพรรษา

บุญนี้มีความเป็นมาแยก 2 ส่วน คือ พิธีสงฆ์ และพิธีฆราวาส ซึ่งพิธีสงฆ์โดยพระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระที่จำพรราครบไตรมาสสามารกสรรจรไปที่ต่างๆได้ตามความต้องการ แต่ที่สำคัญสุด คือพระภิกษุเมื่ออยู่ด้วยกันในที่แห่งเดียวเป็นเวลานาน โอกาสกระทบกระทั่งกันไม่พอใจกัน เกิดความขุ่นเคืองแก่กันย่อมมีเป็นธรรมดา พระองค์จึงให้ถือวันออกพรรษาเป็น วันมหาปวารณาเพื่อให้สงฆ์ได้ปวารณาตนกับเพื่อนพระด้วยกันว่าแต่ต่อไปนี้หากทำผิดพลาดประการใดขอให้แนะนำจะได้ปรับปรุง ซึ่งสามารถกล่าวตักเตือนกันได้ ส่วนของฆราวาสญาติโยมที่ให้ความสำคัญนั้น เพราะเชื่อกันว่าการทำบุญกับพระที่ออกพรรษาแล้วจะได้บุญกุศลมากเนื่องจากพระที่อยู่ครบไตรมาสไม่ใช่พระธรรมดามีความมั่นคงในธรรมปฏิบัติ จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวขึ้นในวันออกพรรษาและบางแห่งอาจมีการไหลเรือไฟ จัดงานลอยกระทงหรือแห่ปราสาทผึ้งด้วย และเหตุที่ต้องทำบุญตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา ถือเอาเหตุการณ์เสด็จลงจากสวรรค์ของพระพุทธเจ้า ที่เล่าว่าพระพุทธเจ้าทรงมีความต้องการโปรดพระมารดาที่สวรรคตไปอยู่สวรรค์แล้วทรงไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นจนครบไตรมาสออกพรรษาจึงกลับเมืองมนุษย์และมีพุทธศาสนิกชนไปรอรับและรอใส่บาตรมากมาย จึงทำให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าใกล้ใส่บาตรได้จึงมีการโยนข้าวใส่บาตรจึงทำให้เกิดประเพณีการตักบาตรและโยนเครื่องไทยทานขึ้น พอถึง 15 ค่ำ เดือน 11ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีปเพื่อความสว่างไสวพร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดังสนุกสนานหวั่นไหวด้วย

ฮีต บุญกฐิน กฐิน คือไม้สะดึง ที่ใช้สำหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้ากฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่จะนำไปถวายพระนั่นเองบุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนำเข้าไปถวายพระเป็นสำคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของอีตเดือนสิบสองของชาวอีสานชาวอีสานจึงรู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนำจีวรไปถวายในช่วงนี้ซึ่งมีกาลเวลา ที่เรียกว่าเทศกาลกฐิน ที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทำบุญอย่างมากเพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส เท่านั้นและเป็นบุญที่อยู่ในช่วงข้าวใหม่ปลามัน

ซึ่งในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุชาวเมือง ปาฐาจำนวน30รูปเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่พระเชตุวันมหาวิหารเนื่องจากการเดินทางใกล้วันเข้าพรรษาและหนทางระยะไกลและไม่สามารถไปถึงพระเชตวันมหาวิหารได้จนถึงกำหนดเข้าพรรษาก่อนจึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรจึงรีบเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ระยะทางไกลพร้อมกับช่วงฤดูฝนจีวรจึงเปียก จนถึงพระเชตะวันมหาวิหารก้พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที พอพระองค์เห็นพระทั้งหลายเปียกจึงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ มีกำหนด 1เดือน นับแต่แรม 1ค่ำเดือน 11 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 จึงมีประเพณีทอดกฐินต่อๆกันมา
โดยสามารถแบ่งจุดมุ่งหมายของฮีตได้ชัดเจน คือบุญเกี่ยวกับพระสงฆ์โดยตรง บุญลักษณะนี้มี 6 บุญ บุญเข้ากรรม บุญข้าวจี่ บุญเผวส บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษาและบุญกฐิน บุญเกี่ยวกับการทำมาหากิน เกี่ยวกับการขอพรหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเช่นฟ้าฝน ข้าวปลาอาหาร มีบุญคูณลานและบุญบั้งไฟ บุญเกี่ยวกับขวัญกำลังใจการดำรงอาชีพ เกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ว่าสิ่งสักดิ์สิทธิ์จะอำนวยความสุข สวัสดีภาพ มี บุญสงกรานต์และบุญซำฮะ บุญเกี่ยวกับความกตัญญู ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับการทำบุญอุทิศเป็นสำคัญ คือ บุยข้าวประดับดินและบุญข้าวสาก

คลองสิบสี่ หมายถึง แนวทางปฎิบัติวิถีทางที่ดีที่นักปราชญ์บรรพบุรุษชาวอีสานวางไว้ เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปเป็นแนวทางในการปกครอง พ่อแม่นำไปสอนลูกปู่ย่าตายายนำไปสอนหลาน พระนำไปสอนพุทธศาสนิกชนและประชาชนเพื่อนำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีทั้งหมด 14 ข้อซึ่งเป็นแนวปฏิบัติระดับบุคคลครอบครัวและส่งผลต่อส่วนรวม ซึ่งยกได้ 2แนวคือบุคคลทั่วไปและสำหรับท้าวพระยาข้าราชการผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งความเป็นจริงคลองสิบสี่มีความเป็นมาจากประเทศลาวเพราะกฎหมายมีคลองสิบปรากฎชัดเจนและชาวอีสานก็ใช้ภาษาอักษรลาวและคบประชนแก่ก็อ่านออกได้มากทำให้คลองสิบสี่ถูกนำเข้าสู่อีสานได้ง่าย เป็นแบบอย่างฮีตคลองจนถึงปัจจุบัน
คลองสิบสี่มีหลายประเภทต่างกันแต่สามารถแบ่งได้มี3ประเภท ได้แก่ สำหรับประชาชนทั่วไป พระสงฆ์ และผู้ปกครองตั้งผู้ใหญ่บ้านจนถึงมหากษัตริย์



คลองสิบสี่ประเภทสอนผู้ปกครองเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ชาวลาวไทยนับถือเคารพเหมือนกันเป็นศูนย์รวมจิตใจ คือพระมหากษัตริย์ และชาวอีสานจะให้ความเคารพเชื่อถือมาก หากผู้นำมีคุณธรรมยิ่งเคารพและนับถือมาก ดั้งนั้นจึงบัญญัติคลองสิบสี่ขึ้น เพื่อผู้ปกครองจะได้ปกครองจะได้ปกครองให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข



คลอง 1 ผู้ปกครองต้องรู้จักแต่งตั้งอำมาตย์ราชมนตรีผู้มีความรู้ฉลาดและตั้งมั่นในพรหมวิหารธรรมคือ มีความซื่อสัตย์ สุจริตไม่คตโกงเป็นผู้ปกครองที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

คลอง 2 ผู้ที่เป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ต้องตั้งมั่นในคุณธรรม10ประการ คือ ให้ทาน รักษาศีล บริจาค ซื่อตรง อ่อนโยน ความเพียร ไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน อดทน ไม่ประพฤติผิด

คลอง3 ปีใหม่ผู้นำต้องนำน้ำอบน้ำหอมไปสรงพระตามประเพณี
คลอง4 เมือถึงสงกรานต์ต้องมีพิธี แห่พระสงฆ์ สรงน้ำพระและพิธีเลื่อนตำแหน่งพระ



คลอง5ต้องทำพิธีสู่ขวัญเพื่อถวายพระพรแด่พระราชาและสงน้ำพระราชา

คลอง6พอวันปีใหม่ประชาชนทำพิธีดื่มน้ำสาบานเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระราชา

คลอง7ถึงเดือนเจ็ดทำพิธีบูชาถวายเครื่องสังเวยแด่เทพารักษ์หลักเมือง เป็นการแก้บน

คลอง8จัดให้มีพิธีทำขวัญเมืองสะเดาะเคราะห์เมืองยิงปืนหว่านกรวดทรายไล่ภูตผี

คลอง9ให้ทำบุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาตเปรตผู้ล่วงลับไปแล้ว
คลอง10ให้ทำบุญข้าวสากเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไป

คลอง11ให้ทำบุญออกพรรษามีพิธีปวารณาประทีปโคมไฟตามสถานที่ต่างๆล่องเรือไฟ
คลอง12ให้แข่งเรือเพื่อบูชาพระญานาคสิ่งสถิตใต้บาดาล
คลอง13ให้มีพิธีสมโภสแห่แหนพระราชา ทำบุญให้ทาน ฉลองแสดงความจงรักภักดี
คลอง14ให้พระราชาจัดหาสิ่งที่ทำให้บ้านเมืองอยู่ดีมีสุขเป็นปึกแผ่นและเจริญก้าวหน้า


คลองสิบสี่ ประเภทสอนพระสงฆ์ เพื่อเตือนพระสงฆ์ให้ปฏิบัติถูกต้องตามทำนองธรรม

คลอง 1 ให้พระศึกษาพระธรรม227ข้อ อย่าให้ขาด
คลอง2 ให้ดูแลกุฏิวิหารปัดกวาดเช็ดถูอย่าให้เศร้าหมอง
คลอง3 ให้กระทำปฏิบัติและสนองศรัทธาประชาชน
คลอง 4 ถึงเดือนแปดให้เข้าพรรษา3 เดือนและเดือน12รับผ้ากฐินครบสี่เดือน
คลอง5 ออกพรรษาแล้วภิกษุต้องเข้าอยู่ปริวาสกรรม
คลอง6ให้ถือบิณฑบาตรเป็นวัตร
คลอง7 ให้สวดมน ทำวัตรเจริญสมาธิทุกคืนอย่าขาด

คลอง8 วันพระประชุมลงอุโบสถทำสังฆกรรมไม่ขาด
คลอง9 ปีใหม่ให้นำน้ำสรงพระพุทะรูปพระเจดีย์
คลอง10 ถึงศักราชปีใหม่พระเจ้าแผ่นดินให้ไหว้พระสรงน้ำในพระราชวังและทำบายศรี
คลอง11 ให้ทำตามกิจนิมนต์ชาวบ้าน
คลอง12 ให้สร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์
คลอง13 ให้รับสิ่งของทายกให้ทาน
คลอง14 พระมหากษัตริย์ ข้าราชการขั้นผู้ใหญ่มีศรัทธานิมนต์ให้มาประชุมกันในพระอุโบสถในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดเป็นงานใหญ่อย่าขาด ชาวอีสานและลาวได้ถือคลองร่วมกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติทำให้พระสงฆ์ของอีสานในอดีตไม่มีปัญหาและมีพระอริยสงฆ์เกิดขึ้นมากมายเพราะท่านเคร่งครัดทำให้วัตรปฏิบัติท่านดีงามนามาซึ่งความสุขคุณธรรม คำสอนที่ดี



คลองสิบสี่ ประเภทสอนประชาชนทั่วไป
โดยสรุปได้เป็นแนวปฏิบัติ คือ เมื่อฤดูข้าวออกรวงเก็บผลผลิตอย่าพึ่งนำมารับประทานให้นำไปทำบุญก่อน อย่าเป็นคนโลภมาก เห็นแก่ตัว ให้สร้างหอบูชาสี่มุมบ้าน รั้วกำแพงวัด ก่อนขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้า เมื่อถึงวันพระให้คาราวะก้อนเส้า บันไดบ้านประตูบ้าน และนำดอกไม้ธูปเทียนคาราวะสามี และวันอุโบสถให้ถวายพระสงฆ์ ก่อนนอนให้ล้างเท้าให้สะอาด และพอถึงวันดับขึ้นหรือแรม15ค่ำให้นิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์และตักบาตรบ้าน เมื่อพระมาใส่บาตรอย่าให้ท่านได้รอ และเมื่อพระเข้าปริวาสกรรมเสร็จให้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ภิกษุเดินผ่านให้นั่งลงยกมือไหว้ก่อนพูดด้วย อย่าเยียบเงาพระสงฆ์ อย่าเอาอาหารเหลือกินไปถวายและอย่าให้สามีกินเพราจะบาปตลอดชาตินี้และหน้าและสำคัญเมื่อถึงวันพระ เข้าพรรษา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ห้ามเสพเมถุน(ร่วมเพศ)เพราะลูกหลานจะสอนยาก จากคลองคำสอนที่กล่าวมาถ้าปฏิบัติได้จะนำมาซึ่งความสงบสุข

คลองงสิบสี่ประเภทสอนทุกเพสทุกวัยทุกฐานะ
ฮีตเจ้าคลองขุนคือแบบแผน คำสอน ที่ผู้ปกครองระดับสูงพึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสุข ปกครองด้วยความเท่าเทียมกันทุกคน มีความเสมอภาค
ฮีตท้างคลองเพีย คือเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ปกครองปล่อยปะละเลยห่างจากทศธรรมทำให้ประชาชนละเลยศีลธรรมปัญหาจึงเกิด ฮีตไพร่คลองนาย คือผู้ปกครองอย่าอวดอ้าง อย่าลืมตัว เจ้านายจะดีคนเดียวไม่ได้ ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว เป็นใหญ่แล้วให้รักผู้น้อยและใครทำดี ได้ดีก็ให้เคารพ
ฮีตบ้านคลองเมือง คือ มุ่งให้ทุกคนรู้จักอีตสิบสองคลองสิบสี่เพื่อทุกคนได้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีความสุขและผู้ปกครองต้องมีใจเป็นธรรมและกล้าหาญ
ฮีตผัวคลองเมีย มุ่งให้สามีภรรยาปฏิบัติดีต่อกัน
ฮีตพ่อคลองเมีย มุ่งสอนพ่อแม่ให้อบรมเลี้ยงดูลูกให้ถูกทาง
ฮีตลูกคลองหลาน สอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มี
ความยำเกรงต่อผู้ใหญ


ฮีตใภ้คลองเขย มุ่งสอนลูกสะใภ้และลูกเขยให้ปฏิบัติต่อพ่อตาแม่ยายปู่ย่าตายายให้ถูกต้องตามคลองธรรม
ฮีตป้าคลองลุง สอนให้ป้าลุงปฏิบัติต่อกันญาติพี่น้องให้ดี
ฮีตปู่คลองย่า ฮีตตาคลองยาย สอนให้ปู่ยาตายายปฏิบัติเป็นปูชนียบุคคลที่ดี
ฮีตเฒ่าคลองแก่มุ่งสอนคนแก่ทั่วไป
ฮีตปีคลองเดือน สอนชาวอีสานรักษาฮีตสิบสองคลองสิบสี่
ฮีตไฮ่คลองนา มุ่งสอนให้ชาวนารู้จักรักษาดูแลไร่นา
ฮีตวัดคลองสงฆ์ มุ่งสอนให้ปฏิบัติ วัตรฐาก ดูแลวัดวาอาราม บำรุงสงฆ์

คลองสิบสี่ เป็นแนวแบบแผนประพฤติปฏิบัติของบุคคลกลุ่มต่างๆที่ให้ผู้คนต้องปฏิบัติตามจึงทำให้สังคมอีสานมีความสุขสงบ ร่มเย็นตลอดมา

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่ชาวอีสาน และคนภาคอื่นควรเรียนรู้ แล้วนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่การปกครอง การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมได้



หมายเลขบันทึก: 609872เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2016 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2016 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท