สัตว์ ๔ ทิศ


กิจกรรมสัตว์ ๔ ทิศหรือผู้นำ ๔ ทิศ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมจิตปัญญาที่มีจุดประสงค์ เพื่อให้เข้าใจตนเองจากภายในเเละเข้าใจผู้อื่น โดยเป็นต้นทุนนำไปสู่การดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ให้งานได้ผลเเละคนเป็นสุข โดยเราใช้ การเสริมความเข้าใจในนิสัย เเละข้อดี ข้อเสียของตนเอง เพื่อพร้อมปรับเเละเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความยืดหยุ่นในตนเอง เพื่อพร้อมรับกับภาวะทั้งภายนอกเเละภายในที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเเนวคิดจริต ๖ เเนวทฤษฎีจิตวิทยาการศึกษาของยุโรป โดยมีส่วนเนื้อหา ดังนี้

กระทิง (ทิศเหนือ,โทสะจริต,ฐานกาย,ธาตุไฟ)
ธาตุไฟ ใจร้อน โทสะจริต ดุดัน ขยัน ประจันหน้า กล้าแสดงออก รักเพื่อนพ้อง จริงใจ ตรงไปตรงมา จิตคิดไว ใจเร็ว ตอบสนองเร็วทันใจ สุดโต่ง รักเเรงเกลียดเเรง กัดไม่ปล่อย ทำอะไรจริงจัง อุดมการณ์ ผู้นำ มุ่งมั่น นักปฏิับติ ใช้พลัง ไม่ค่อยระวัง ชอบอยู่เนวหน้า บ้าพลัง หวังอำนาจ ทะเลาะขัดเเย้งได้ง่าย โมโหร้าย ไม่รักษาน้ำใจ

การเสริมกระทิง คือ ฝึกทำทันที ฝึกไม่สนเรื่องไม่ควรสน ฝึกคิดให้น้อยทำให้มาก
การลดกระทิง คือ วรรณกสิน 4 พรหมวิหาร 4 (ตามเเนวทางพุทธ) หรือ ฝึกใตร่ตรองมากขึ้น ฝึกความใจย็น เเละฝึกใส่ใจผู้อื่นมากยิ่งขึ้น

หนู (ทิศใต้,โมหะจริต,ฐานใจ,ธาตุน้ำ)
ธาตุน้ำ อ่อนไหว ใจดี ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ใส่ใจความรู้สึกเเละอารมณ์ของคนรอบข้าง ชอบช่วย ชอบให้ ใจอ่อน ขี้สงสาร มนุษยสัมพันธ์ดี ไม่เรียกร้อง ประนีประนอมเก่ง ไม่เปิดเผย ขี้อาย บ่อยที่น้อยใจว่าไม่ให้ความสำคัญ ง่ายๆ สบายๆ ทำทุกอย่างให้คนข้างๆรู้สึกดี เข้าได้กับทุกคน ประสานงานเก่ง มักเป็นราคะจริต บางทีช่วยจนไม่คิด ทำให้ตนเองเดือดร้อน

การเสริมหนู คือ ฝึกเอาใจผู้อื่นมาใส่ใจตนเองมากขึ้น ฝึกมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เเละฝึกความรักความเมตตาต่อผู้อื่น เป็นต้น
การลดหนู คือ อสุภะ 10 นวสี 9 กายคตานุสสติ (ตามแนวทางพุทธ) หรือ การฝึกให้มองโลกตามความเป็นจริง มีดีชั่วเเละไม่ดีไม่ชั่ว ฝึกสติเห็นกายตามจริง เเละเห็นใจตามจริง

อินทรี (ทิศตะวันออก,วิตกจริต,ฐานคิด,ธาตุลม)
ธาตุลม มีลมเป็นฐาน สายตามองไกล ชอบพูด วิสัยทัศน์กว้างไกล มองได้จากที่สูง เห็นภาพรวม เชื่อมโยง จิตคิดไว ชอบการเปลี่ยนแปลง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำไว รวบรัด รวดเร็ว รักอิสระ นักฝัน สนใจทุกเรื่อง อยากรู้ทุกอย่าง นักวางแผน เจ้าโปรเจค ไม่ชอบจำเจ ไม่ต่อเนื่องอาจถึงขั้นหยิบโหย่ง ชอบสิ่งประหลาด เกินความคาดหมาย หงุดหงิดที่ต้องติดระบบ ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ สนุกสนาน มีสีสัน แต่เอาเป็นชิ้นเป็นอันหาแก่นสารได้ยาก

การเสริมอิทรี คือ ฝึกคิดนอกกรอบ ฝึกพูด ฝึกอ่าน ฝึกคิดสร้างสรรค์ เป็นนักเรียนรู้ ฝึกวางแผน คาดการณ์ เเละตีความ ฝึกมองภาพกว้างไกล เป็นต้น
การลดอินทรี คืออานาปานสติ กสินทั้ง 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโลกกสิน อากาสกสิน (ตามแนวทางพุทธ) หรือ ฝึกพูดให้น้อยทำให้มาก ฝึกสมาธิ-ความตั้งมั่น ฝึกสติ ฝึกเอาใจเขามาใส่ใจเรา ฝึกทำงานเป็นขั้นตอนไปทีละอย่าง ฝึกรับฟังผู้อื่นอย่างสงบใจ เป็นต้น

หมี (ทิศตะวันตก,โมหะจริต,ฐานคิด,ธาตุดิน)
ธาตุดิน หนักแน่น มั่นคง จิตนิ่ง ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยง คิดวิเคราะห์ วิจัย ต้องเป็นไปตามขั้นตอน มีโลกส่วนตัว สันโดษ นักวางแผน คิดล่วงหน้า ยึดกติกา กฎเกณฑ์ ใจเย็น มีหลักการสูง ทำอะไรเคร่งเครียด ไม่ยืดหยุ่น เหมือนคนสื่อสารยาก คิดการไกลแบบแคบๆ เลือกทีรักมักทีชัง เชื่อว่าทำอะไรช้าๆจะสำเร็จ มีประสิทธิภาพ

การเสริมหมี คือ ฝึกคิดถึงกรอบ กฎเกณฑ์ทางสังคม มีหลักวิชาการ-ทฤษฎีในการทำกิจอยู่เสมอ อ่านให้มาก เรียนรู้ให้มาก เป็นต้น
การลดหมี คือ อานาปานสติ (ตามแนวทางพุทธ) หรือ ฝึกคิดในกรอบให้น้อยเเต่ปฏิบัติหาความรู้จากประสบการณ์ตรงให้มาก ฝึกคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดกฎเกณฑ์ทางสังคม ฝึกยืดหยุ่น เเละออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆทางการทำงาน เป็นต้น

กระบวนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  • ใช้คำถามนำหรือกิจกรรมเชคอิน หรือกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้ากิจกรรม
  • ใช้กระบวนการเดินเเล้วอ่าน อย่างใคร่ครวญ ทำความเข้าใจในตัวสัตว์เเละสะท้อนเข้าในความคิดเเละใจของตนเองอย่างลึกซึ้ง ว่าสัตว์ตัวไหนที่เป็นตัวเรามากที่สุด
  • หลังจากการเดินมองเเล้ว ให้ตัดสินใจเลือกสัตว์ตัวที่เราเป็นมากที่สุด เเละสัตว์ที่รองลงมาที่เหมือนตนเอง
  • เขียนกราฟตัวตน โดยในเเต่ละเส้นให้ขีด ๑๐ จุด หมายถึง สัตว์เเต่ละตัวมีคะเเนน ๑๐ คะเเนน จากนั้นให้ลองให้คะเเนนสัตว์เเต่ละตัวภายใต้คะเเนน เต็ม ๑๐ เเละเขียนจุดลากกราฟหากัน(จะเห็นตัวตนชัดเจนยิ่งขึ้น) จากนั้นหาเหตุผลโดยตนเองด้วยการใคร่ครวญจากภายใน ในความเหมือน ความต่าง เเละวิธีการเสริมจุดด้อยของตนเองให้ดีขึ้น
  • จับกลุ่มร่วมสะท้อนเรื่องสัตว์ที่ตนเองเป็นสู่ตนเองที่เป็นอยู่ ว่ามีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร ตนเองมีข้อเด่น เเละจุดด้อยอย่างไร เมื่ออยู่คนเดียว เเละอยู่ในสังคม

สรุป
กิจกรรมสัตว์ ๔ ทิศ เป็นกิจกรรมจิตปัญญาในการเข้าใจตนเองเเละผู้อื่นเพื่อดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยสัตว์ทั้ง ๔ ตัว เป็นตัวตนที่อยู่ในตัวเราทุกๆตัวเเต่จะเเสดงออกมาต่างกันออกไป เหมือน มะม่วงเล็กๆจะเขียวเข้ม ต่อมาเริ่มเขียวอ่อน เเละแก่มาเริ่มสุกเหลือง เเต่เป็นมะม่วงลูกเดียวกน เป็นต้น ซึ่งในตัวตนนี้มากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี เพราะมีจุดเด่นเเละจุดด้อยเเตกต่างกันคนละทิศ เมื่อใคร่ครวญเห็นจุดด้อยเราต้องเสริม เเละเมื่อจุดเด่นที่มากเกินไปเราต้องลดตัวตนนั้นลง ซึ่งในเเนวทางที่จะเพิ่มหรือลดนั้นคนที่จะตอบได้ดีที่สุด คือ ตนเองเท่านั้น

สัตว์ทุกตัวสามารถเป็นผู้นำได้ เราทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ เเต่จะเเตกต่างกันออกไปตามจริตของตนเท่านั้นเอง


หมายเลขบันทึก: 608240เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2016 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2016 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณน้องแสนมากนะครับ หวังว่ากิจกรรมนี้จะได้นำไปปรับใช้ในการทำงานจริงๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท