beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

บันทึกทางการเงิน <๓.๒> การออมและการลงทุน (Saving and Investing) ของบีแมน โดยการวางแผนแบบหักเงินเดือนอัตโนมัติ


หักเงินเดือนอัตโนมัติรวมทั้งสิ้น 27.27% ของรายได้ต่อเดือน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2559
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบรอบ 70 ปี (ทรงพระเจริญ)
และวันคล้ายวันสวรรคตรัชกาลที่ ๘

บันทึกทางการเงินฉบับนี้ ขอเสนอเรื่อง "ความรู้ทางการเงิน" ในส่วนของการออมและการลงทุน โดยเป็นกรณีศึกษาของบีแมน (ตัวเอง) ที่เป็นการวางแผนการออมและการลงทุนแบบให้หน่วยงานต้นสังกัด (กองคลังมหาวิทยาลัย) หักเงินเดือนเพื่อการออมและการลงทุนโดยอัตโนมัติ (ไม่สงวนสิทธิ์ในการลอกเลียนแบบ) เรียงลำดับดังต่อไปนี้

  1. สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขามหาวิทยาลัยนเรศวร บีแมนเริ่มเป็นสมาชิกเมื่อเดือนกันยายน 2532 ซึ่งถ้านับถึงเดือนพฤษภาคม 2559 นั้นเป็นสมาชิกมาแล้ว 320 เดือน

    #เริ่มแรกให้สหกรณ์ฯ หักเงินเดือนร้อยละ 5 และเพิ่มมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน หักเงินเดือนร้อยละ 19.27 โดยปัจจุบัน มีผลตอบแทนจากการลงทุน (เงินปันผล+เงินเฉลี่ยคืน) อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งคิดเป็นต้วเงินผลตอบแทนประมาณ 1xx,xxx บาท ต่อปี และมีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปีอีกอย่างน้อยร้อยละ 10...ผลตอบแทนการลงทุน (เป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี) จะได้รับประมาณวันที่ 25-27 เดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายของปีนั้นๆ ต่อไป
  2. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เริ่มเป็นสมาชิกภาคสมัครใจ เมื่อวันที่่ 27 มีนาคม 2540 เริ่มส่งเงินสมทบเมื่อเป็นขรก.ซี 6 อัตราเงินเดือน 1x,xxx บาท ถูกหักเงินสะสมไว้ร้อยละ 3 และทางรัฐบาลสมทบให้อีกร้อยละ 3 รวมกับเงินชดเชย (รวมเงินประเดิม) อีกร้อยละ 2 (ส่งเอง 3%+รัฐบาลสมทบอีก 5%) ผลตอบแทนจากการลงทุน (คิดจากเงินผลประโยชน์ของเงินประเดิม/เงินประเดิม แล้ว*100) ๑๙ ปี ๒ เดือน เท่ากับ 244.92 % (2.449 เท่า)
    ต่อมาเดือนกรกฎาคม 2558 ออมเพิ่มอีกร้อยละ 2 และเดือนเมษายน 2559 ออมเพิ่มอีกร้อยละ 1 รวมเป็นเงินที่ออมเพิ่ม 3% (เหตุผลที่ออมเพิ่ม เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้=การบริหารภาษี)
    เงินต้น+เงินผลประโยชน์ จะขอรับได้เมื่อเกษียณอายุราชการ ซึ่งยอดสะสมปัจจุบันสำหรับผู้เกษียณอายุปี 2559 ตกอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านบาท ซึ่งของบีแมนเมื่อเกษียณอายุราชการก็จะได้ไม่ต่ำกว่านี้แน่นอน (เงินส่วนนี้ใช้ปลดหนี้สหกรณ์)
  3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สินสถาพร ( บลจ. บัวหลวง จำกัด) มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มตั้งกองทุนปลายปี 2553 ตามประกาศโฆษณา แต่บีแมนเริ่มสมัครเป็นสมาชิกและถูกหักเงินเดือนครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2557 (เมื่อกองทุนตั้งมาแล้ว 3 ปีกว่า=เริ่มช้าไป) ส่วนนี้หักเงินเดือนร้อยละ 2 และมหาวิทยาลัยสมทบให้อีกร้อยละ 2 เท่ากับเงินออมของเราเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100% เลยทีเดียว และผลตอบแทนของการลงทุน (แผน๒) ประมาณร้อยละ 3% ต่อปี คาดว่าเมื่อถึงเกษียณอายุ จะได้เงินส่วนนี้ประมาณ 1xx,xxx บาท เงินส่วนนี้เอาไว้ซ่อมแซมบ้าน (หลังที่ 1)

    สรุป เงินออมและเงินลงทุนที่บริหารโดยการให้หน่วยงานการเงินต้นสังกัดหักเงินเดือนอัตโนมัติต่อเดือน รวมกันเป็นเงินร้อยละ 19.27+6+2=27.27% (และได้รับเงินสมทบอีกรวม ๗% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ร้อยละ 10-50) ปานกลาง สมดุลกับรายได้เงินเดือนประจำ..

    หมายเหตุ : ที่มน. การเป็นข้าราชการ ได้เปรียบ พนักงาน อย่างหนึ่งคือ สามารถส่งเงินกองทุนฯ ได้ถึง ๒ กองทุน (กบข.,สินสถาพร) ซึ่งเงินที่ส่ง สามารถนำไปหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี (ส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้)


บีแมน
C 2-4 มน.นิเวศ3

หมายเลขบันทึก: 608070เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2016 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2016 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท