บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 3 เรื่องระบบการสอบชิงทุนการศึกษา (ทัศนะของข้าพเจ้า)


บาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 3 เรื่องระบบการสอบชิงทุนการศึกษา (ทัศนะของข้าพเจ้า)

ฟังดูแล้วว่าดีน่ะครับ ผมเองก็เห็นด้วยว่าดีครับ ซึ่งในอดีต น่าจะเป็นการให้โอกาสคนที่เรียนเก่ง แต่มีรายได้น้อย สอบชิงทุน ด้วยความรู้ความสามารถที่มีอยู่

เพื่อไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ ลืมตาอ้าปาก จริงหรือไม่ครับ ??

แต่ทว่าในปัจจุบันมีการแข่งขันเยาะ มีคู่แข่งมากมายนั้น และเกิดพฤติกรรมบางประการ ที่ทำให้ผมต้องเขียนบทความนี้ขึ้นมาครับ

นั้นได้แต่ พฤติกรรมค่านิยม สอบชิงทุน เพื่อให้ตัวเองได้มีเกียรติบัตร ได้ยกย่อว่า สามารถสอบชิงทุนได้ และมีโอกาสเข้าวังได้ไปรับทุนจากผู้ให้ทุน ต่างๆ น่าๆ

พฤติกรรมค่านิยมนี้ สร้างปัญหาให้กับระบบชิงทุน คนที่ได้ทุนไม่ใช้คนที่มีรายได้น้อยอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากระบบการสอบชิงทุนไม่มีการคัดกรองคุณสมบัติรายได้ของครอบครัว

ต้องมีรายได้น้อย

ปรากฎว่า คนที่มีรายได้มากน่ะแหละครับมักจะชิงทุนได้ อันเนื่องค่านิยมที่ว่าได้มีการให้ลูกตัวเองไปติว ข้อสอบชิงทุน ไปเรียนพิเศษ

จากอาจารย์ผู้ออกข้อสอบบางล่ะ จากนักเรียนที่เคยสอบแล้วได้ทุนบ้างล่ะ เพื่อเข้าสอบชิงทุนเป็นการเฉพาะ เสียเงินค่าเรียนสิ่งหล่าวนี้มากมาย

ล่าสุดที่ผมทราบกว่าไม่ต่ำกว่า 2-3หมื่นบาท เพื่อจะให้ลูกได้ทุนการศึกษา แค่ สามพันบาท จะได้เอาเกียรติบัตรที่ว่ามาเทิดทูน โชว์ อวดคนอื่นๆว่าลูกชิงทุนได้

จากที่นั้นที่นี้ และยังได้รับจากมือของคนนั้นคนนี้ นำมาตกแต่งประวัติ เพื่อเป็นการแสดงว่าลูกเก่ง เป็นเกรียติของวงศ์ตระกูลทำนองนี้

ระบบชิงทุนจึงได้บิดเบียว แทนที่จะให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสได้ทุนเพื่อเรียนต่อก็ต้องถูกเบียบบังโอกาสที่คนมีรายได้มากที่มีโอกาสอยู่แล้วแย่งไป

แทนที่จะได้ช่วยคนรายได้น้อย ได้ลืมตาอ้าปาก แต่กับเยียบย่ำเข้าไปอีก ปรากฎว่าผู้มีรายได้น้อยก็ต้องไปกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา

ติดหนี้ยืมสิน (การกู้ยืมนั้น จะกล่าวให้อ่านอีกในบาปบริสุทธิ์ในระบบการศึกษา ตอนที่ 4 เรื่องระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (หากมีเวลาน่ะครับ)) เป็นห่วงโซ่ไม่รู้จักจบจักสิ้น

ท่านคิดว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องแก้ไขปรับปรุง ให้ผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสมากกว่านี้ครับ ?

ปัจจุบันระบบชิงทุนเป็นระบบที่ให้คนเก่งๆ แข่งขันกัน ซึ่งก็ได้ให้โอกาสกับคนที่เก่งได้เรียนต่อ ได้ทุนการศึกษษ เช่นนี้ถูกต้องแล้วหรือครับ ?

ต่อไปนี้ขอแสดงความตามคิดของข้าพเจ้า ในเรื่องระบบชิงทุน

สำหรับผมแล้วระบบชิงทุนควรให้โอกาสกับคนทุกระดับความรู้ความสามารถ ไม่เช่นนั้นคนที่เรียนเก่งก็จะได้เสมอไปครับ เอ....ทำอย่างไรน่ะ ?

นอกจากจะต้องดูเรื่องคุณสมบัติของผู้ชิงทุนต้องรายได้ของครอบครัวน้อยเข้ากฎเกณฑ์แล้ว และยังต้องแบ่งคะแนนอีกด้วย ครับ

กล่าวคือ ในที่นี้ยกตัวอย่าง ใช้คะแนน เกรตเฉลี่ยของนักเรียนเป็นเกณฑ์ (อาจใช้คะแนน O-net/a-Net แล้วแต่น่ะครับ)

ชิงทุนโดยแบ่งตามระดับคะแนนเฉลี่ยเกรต ในแต่ล่ะระดับก็จะชิงทุนแข่งกันไนระดับคะแนนเฉลี่ยด้วยกันเช่น

ระดับที่ 1. ต่ำกว่า 1.5 มาชิ่งทุนด้วยกัน

ระดับที่ 2. ต่ำกว่า 2.0 มาชิ่งทุนด้วยกัน

ระดับที่ 3. ต่ำกว่า 2.5 มาชิ่งทุนด้วยกัน

ระดับที่ 4. ต่ำกว่า 3.0 มาชิ่งทุนด้วยกัน

ระดับล่ะ ร้อยทุน สองร้อยทุนก็ได้ครับ แบ่งๆ กันไปครับ แต่ล่ะระดับก็คิดจำนวนจากสัดส่วนร้อยล่ะจากคนชิงทุน ก็ได้ครับ

ส่วนทุนล่ะเท่าไรนั้นก็คงต้องขึ้นกับผู้ให้ทุนแล้วล่ะครับ ว่าระดับไหนควรได้มากน้อยครับ

ขออธิบายขยายความเฉพาะ ระดับที่ 1 ผลการเรียนต่ำกว่า 1.5 น่ะครับ เพราะจะเป็นลูกโซ่ไปต่อเนื่องครับ

ท่านผู้อ่านคงตั้งคำถามว่าทำไมคนที่มีเกรตต่ำกว่า 1.5 ได้มีโอกาสชิงทุน ใช่ครับ ท่านลองคิดตามผมน่ะครับ

ปัจจุบันนักเรียนที่มีระดับเกรตต่ำกว่า 1.5 ถือได้ว่ามีความรู้น้อยใช้หรือไม่ครับ แล้วถ้านักเรียนเหล่านี้กับไม่มีทุนสนับสนุนให้เรียนต่อเพื่อมีความรู้มากกว่านี้

ภายภาคหน้านักเรียนเหล่ะนี้จะทำอย่างไรครับ ทำงานอะไร สุดท้ายก็ไม่มีความรู้ไม่มีอาชีพที่ดี เป็นขโมย เป็นโจร เป็นนักเลง ท้ายสุดก็เป็นภาระของสังคมอยู่ดีครับ

สู่ส่งเสริมให้นักเรียนหล่าวนี้ได้มีโอกาสเรียนมากขึ้น จะได้เป็นพละของสังคมไม่ดีกว่าหรือครับ

อีกอย่าง นักเรียนหล่าวนี้ก็ได้แข่งขันกับนักเรียนในระดับเดียวกัน เรียกกันว่าไม่เกินเอื้อม เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเหล่านี้ขยั้นอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น

เพราะมองแล้วมีโอกาสได้ทุนการศึกษาสูง และง่ายกว่าเดิม เพราะแข่งกับนักเรียนในระดับเกรตเดียวกัน ถ้าเป็นมวยก็คือรุ่นเดียวกัน ก็จะทำให้นักเรียนเหล่านี้ได้ยกระดับต้องเอง

ไปแข่งขันสอบในระดับสูงขึ้นต่อไปด้วยครับ

นักเรียนที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 1.5 ขยั้นจนได้ทุน ผลทางอ้อม จากความขยั้นก็คือ นักเรียนเหล่านี้มีความรู้เพิ่มขึ้น เพราะการอ่านชิงทุน ผลการเรียนโดยปรกติ ก็ต้องสูงขึ้นเป็นธรรมดา

สูงขึ้นเองเป็นอัตโนมัติ เมื่อผลการเรียนสูงขึ้นอาจได้มากกว่า 1.5 แต่ไม่ถึง 2.0 เขาก็จะได้โอกาสแข่งเลือนชั้นต่อไปอีก ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยไม่สูงจนเกินเอื้อมไงครับ

คนด้อยโอกาส จะมีโอกาสได้ ถ้าคนที่มีโอกาสดีอยู่แล้ว ได้ให้โอกาส หยิบยื่นให้กัน ใช่ไม๋ครับ ????

หมายเลขบันทึก: 608009เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2016 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2016 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การศึกษาไทยเต็มไปด้วยการแข่งขันนะคะ

สมัยหนึ่งการให้ทุน มักจะให้เด็กที่เรียนดีแต่ยากจน ก็ไม่ควรเลิกไป แต่จะเพิ่มเฉพาะคนเก่งอีกประเภทหนึ่งในปัจจุบันก็ไม่ว่ากัน เพราะในบางสาขาวิชา ถ้าไม่เก่งจริงก็ไม่สามารถจะเรียนได้สำเร็จ ดังนั้นทุนประเภทนี้ต้องเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ต้องการเข้าชิง สิ่งที่ควรกังวลมากกว่าก็คือทำอย่างไรจะให้คนที่เรียนจบมาแล้วสามารถมาคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ประเทศได้เอง ไม่ต้องซื้อเขามาใช้ดังเข่นทุกวันนี้ ก็มีอยู่บ้างที่คิดสร้างเครื่องมือราคาถูกที่มีประสิทธิภาพสูงแทนการซื้อเข้ามาใช้ แต่ยังไม่พอเพียง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท