ฝึกอบรมทักษะการคิด และการจับประเด็น ตอนที่ 2


ฝึกอบรมทักษะการคิด และการจับประเด็น ตอนที่ 2

กิจกรรมที่ 4 ฝึกจับประเด็นจากการอ่าน

ในกิจกรรมการฝึกจับประเด็นจากการอ่านนี้ กระบวนกรได้ให้ผู้เข้าร่วมอ่านบทความที่มีความยาว 3 หน้ากระดาษ A4 โดยให้เวลาในการอ่านแล้วจับประเด็นสำคัญออกมาให้ได้ กำหนดเวลา 15 นาที
ตลอดระยะเวลาที่อ่านบทความที่กระบวนกรให้มานั้น ผมสังเกตว่าตัวเองหลุดออกจากการจับประเด็นเพราะคิดเรื่องอื่น ๆ ทำให้เสียสมาธิ ผมหยุดอ่านไปพักหนึ่ง หันมามองดูตัวเอง ดูความคิด ดูจิตตัวเอง สักพักผมก็กลับไปอ่านต่อ แต่ผมก็หาประเด็นไม่เจอ จนหมดเวลา 15 นาที

หลังจากอ่านบทความเสร็จกระบวนกรก็ให้จับกลุ่ม 5 คน แล้วทำการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม สรุปประเด็นจากการอ่านบทความแล้วนำเสนอ หลังจากนั้นกระบวนกรก็สรุปหลักเกณฑ์ง่าย ๆ ที่สำคัญจากการจับประเด็นจากการอ่าน ซึ่งผมจับได้ ดังนี้

  • หาคำสำคัญ หรือประโยคที่สำคัญให้เจอ
  • เห็นประเด็นหลักคืออะไรให้เขียนไว้ก่อนหนึ่งประโยค
  • มองให้เห็นเจตนาของผู้เขียน
  • เขียนสรุปประเด็นที่เราจับได้

- ประเด็นหลัก คืออะไร

- ประเด็นรอง คืออะไร

- เนื้อหาที่มาสนับสนุน คืออะไร

- นำไปสู่การแตกประเด็น

กิจกรรมที่ 5 ฝึกจับประเด็นจากการฟัง

กิจกรรมจับประเด็นจากการฟัง / ให้ฟังแล้ววาดรูป

อุประกรณ์ที่ใช้มี 1. กระดาษ A4 2. สีชอล์ค

กระบวนกรได้เปิดเพลงให้ฟังหนึ่ง ชื่อเพลง “HOME” ผลงานเพลงของคุณ ธีร์ ไชยเดช ผมนอนหลับตาแล้วฟังนี้ ด้วยความยาวของเพลง 5 นาที จินตนากรของภาพที่เกิดขึ้นในหัวตอนฟังนั้น มีทุกอย่างที่เพลงได้บอกเล่าเรื่องราวของความเป็นบ้าน ตั้งแต่รั้วบ้าน ดินทราย ดอกไม้ ประตู หน้าต่าง แจกัน ฯลฯ และสุดท้ายเมื่อฟังเพลงนี้จบลง ผมก็ได้วาดรูปผู้หญิงกับผู้ชายจับมือกัน

ผมจับใจความของหลักของเพลงได้บอกเล่าว่า “ที่ไหน ๆ ก็เป็นบ้านได้ ถ้ามีเธออยู่ด้วยกัน” ผมตีความว่า บ้านที่มีความสุขก็คือบ้านที่มีเราอยู่ด้วยกัน หากไม่มีเธอแล้ว ถึงบ้านหลังนั้นจะใหญ่โตหรือสวยงามสักเพียงไร ก็ไม่ใช่บ้านสำหรับเขา

หลักจากฟังเพลงแล้ววาดรูป สิ่งที่กระบวนกรนำมาเป็นหัวข้อของการสนทนาก็ คือ

  • รูปที่ทุกคนวาดมานั้น มีอะไรที่เหมื่อนกัน และที่ไม่เหมื่อนกันมีอะไรบ้าง
  • การตีความ หรือขยาความของเนื้อเพลงของแต่ละคนเป็นอย่างไร ทุกคนก็สะท้อนในมุมมองของตนเอง แต่เมื่อมาถึงบทสรุปสุดท้ายแล้ว ทุกคนก็ตีความออกมาเหมื่อน ๆ กันเกลือบทั้งหมด

โดยส่วนใหญ่ภาพที่เราวาดแล้วเหมื่อนกันนั้นก็คือรูปผู้หญิงกับผู้ชายที่สื่อถึงความรักที่มีต่อกัน ส่วนความแตกต่างนั้นจะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ดอกไม้ แจกัน ทางเดิน ต้นไม้ ผีเสื้อ และรูปบ้าน ซึ่งแต่ละคนมองรายละเอียดปลีกย่อยที่มีความแตกต่างกัน จะเห็นว่าการมองประเด็นของแต่คนนั้นจะเหมื่อนกันในประเด็นหลัก คือ ความรักของชายหญิงคู่หนึ่ง ในส่วนประเด็นลองหรือองค์ประกอบในเนื้อหาของเพลงนั้น แต่ละคนมองแตกต่างกันไป หรือบางคนไม่ได้จับประเด็นลองเลยก็มี

ปัจจัยที่ส่งผลในการจับประเด็นจากการฟัง

  • สติ
  • ความตั้งใจฟัง
  • เสียง
  • จิตนาการ
  • เมโลดี้ของเพลง
  • น้ำเสียงของคนร้อง

ข้อควรระวังในการจับประเด็นจากการฟัง

  • ไม่จมไปกับเนื้อเพลง
  • ห้ามหลับ
  • บ้างครั้งเราอาจจะกลับมาฟังซ้ำไม่ได้
  • จับความรู้สึกด้านอารม

ปัจจัยข้างต้นจะส่งผลให้การจับประเด็นคาดเคลื่อนไปได้ เพราะฉะนั้น ผู้จับประเด็นจะต้องตระหนักถึงขอควรระวังและปัจจัยข้างต้นด้วย ซึ่งเราจะต้องนำไปใช้ในการจับเด็นจากการสนทนาในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การประชุม การสัมมนา การสัมภาษณ์ เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ข้างต้นนี้ผู้จับประเด็นอาจจะพบกับสถานการณ์การพูดที่ติดตลก ดูไม่จริงจัง น้ำเสียงกวน ๆ ถ้าหากเราทำเป็นไม่สนใจในการพูดแบบนี้ก็อาจจะเกิดสถานการณ์ที่ไม่ดีก็เป็นได้ ดังนั้นผู้จับประเด็นจะต้อง

  • วางใจ ถอยความคิด ความรู้สึกของตนออกมา
  • ตระหนักรู้อยู่ตลอดเวลา
  • รู้ถึงอารม ความรู้สึกของผู้พูด
  • มีความมันคงทางอารมของตนเอง ไม่หลงไปกับผู้พูด

กรณีที่เราอาจจะทนไม่ไหวแล้ว ก็อาจแสดงทางสีหน้า หรือไม่ก็ให้เราทำสมาธิ วางตัวเอง จัดการอารมภายในตนเอง ดูใจเรา นิ่งพอหรือยังแล้วกับมาจัดการทบทวน ฟังและสรุปประเด็นต่อไป

กิจกรรมที่ 6 ดูจิต สำรวจตนเอง

กิจกรรมนี้กระบวนกรกำหนดให้เราเดิน หยุดดูลมหายใจ ละลึกรู้ความหลังครั้งยังเด็ก กิจกรรมนี้ทำให้ผมได้ย้อนเวลากลับไปสำรวจความเป็นไปในวัยเด็กของตนเอง มีทั้งสุข ทั้งเศร้าปนเบกันไปหมด ในช่วงแรก ๆ ที่ทำกิจกรรมนี้ผมจับความรู้สึกตนเอง รู้สึกว่าเรื่องราวนั้นสับสนเกินไป ผมค่อย ๆ วางความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ไม่คิดอะไร แล้วค่อย ๆ เล่าเรื่องในความทรงจำสมัยเด็กขึ้นใหม่ ทำให้เกิดเป็นห่วงเวลา หรือลำดับเหตุการณ์เป็น Time Line ขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อจบกิจกรรมนี้แล้วกระบวนกรก็ให้เราจับคู่กันแล้วเปลี่ยนกันเล่าเรื่องราวตอนเด็กให้กันฟังโดยกำหนดเวลาในการเล่าคนละ 5 นาที และคนฟังห้ามถามอะไรทั้งนั้น

หลักจากทำกิจกรรมนี้แล้วเราก็มาสะท้อนกันว่าได้เรียนรู้อะไร จับความรู้สึกตนเองตอนเป็นผู้เล่ารู้สึกอย่างไร ตอนเป็นผู้ฟังรู้สึกอย่างไร และจับความรู้สึกของผู้เล่าในถานะที่เราเป็นผู้ฟัง จับความรู้สึกของผู้ฟังในถานะที่เราเป็นผู้เล่า ว่าเป็นอย่าง และเรื่องที่คนอื่นเล่ามีประเด็นอะไรบ้าง

สำหรับบันทึกนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #การจับประเด็น
หมายเลขบันทึก: 607194เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2016 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2016 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท