การตีความ


การเรียนปริญญาเอกทางปรัชญานั้นไม่ใช่การสนทนาไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จับประเด็นอะไรไม่ได้ แต่เราต้องตั้งประเด็นเป็นเรื่องๆ เป็นหัวข้อไป เช่น เรื่องพหุศาสนา ความแตกต่างหลากหลาย การนับถือศาสนาเดียวกันแต่ทำไมความเข้าใจในการประพฤติ/ปฏิบัติไม่เหมือนกันในแต่ละวัด อาจลงรายละเอียดเช่นนโยบายไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่เรื่องการนั่งสมาธิ คนก็เข้าใจไม่เหมือนกัน เรื่องเหล่านี้ปรัชญาหลังนวยุคไม่ได้เน้นพิสูจน์หาความจริงเที่ยงแท้ แต่เน้นการตีความเป็นสำคัญ

ทำไมต้องตีความ ? เพื่อให้เข้าถึงเจตนารมณ์ของผู้แต่ง เข้าถึงแก่น เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้

การไม่ตีความ แต่กลับมาทะเลาะกัน แทนที่จะมาปฏิบัติ การที่มีผู้บอกว่าเขาไม่ตีความนั้น ก็เป็นการตีความอย่างหนึ่ง

การยึดติดเพียงสำนักเดียว มีปัญหาคือ เราจะทราบได้อย่างไรว่าสำนักนี้สอนตรงตามเจตนารมย์ของศาสดามากที่สุด

แต่ถ้าเป็นนักปรัชญา จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดต่อไปโดยไม่ได้ยึดติดแต่เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น

ถ้าอาจารย์สอนตามที่เรารู้ มันจะไม่แตกฉานอะไร แต่ถ้ามีใครถามมากขึ้นเรื่อย ปัญญาของอาจารย์จะแตกฉานมากขึ้นและสามารถที่จะเสนออะไรที่ใหม่ ๆไปได้เรื่อยๆ ด้วย

การตีความพระไตรปิฏก การตีความคัมภีร์ เป็นทฤษฏีที่ใช้ได้กับทุกศาสนา ศาสนาอื่นๆ ก็น่าจะใช้วิธีการเดียวกันนี้ ถึงแม้จะศึกษาคนละคัมภีร์ เราตีความเพื่อเกิดความเข้าใจ นำไปปฏิบัติเพื่อไปสู่เป้าหมายคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ศาสดามาเปิดเผยให้เรารู้

สิ่งที่สูงสุดของศาสดาคือ หาได้จากในพระไตรปิฏก

ทุกศาสนามีศาสนบุคคลมาอธิบายคัมภีร์ ยกตัวอย่างเช่น การฟังอธิบายนั้น ฟัง 10 ท่านก็อธิบายไม่เหมือนกัน การฟังสำนักเดียวนั้นเราจะได้มั่นใจอย่างไรว่าสอนตามเจตนาของศาสดาดีที่สุด ถามว่าทำไมต้องสงสัย ก็เพราะไม่ได้มีสำนักเดียว ถ้ามีสำนักเดียวก็คงไม่ต้องคิดอะไรมาก

การตีความเพื่อเข้าใจ ปฏิบัติและขยายความจากประสบการณ์ในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป


เคล็ดลับในการตีความเพื่อเพิ่มความเข้าใจและนำไปปฏิบัติ

กระบวนการวิเคราะห์ 3 ขั้นตอนในการตีความพระไตรปิฏก

1.ทำความเข้าใจในคำสอนของศาสดาให้รู้เพื่อปฏิบัติ โดยมีความเข้าใจในพื้นฐานของคัมภีร์-การขยายความ เพราะการเข้าใจเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้ถือว่าบรรลุเป้าหมายสูงสุดของศาสนา แต่ในขณะเดียวกันการรู้และเข้าใจก็เป็นพื้นฐานในการต่อยอดของการปฏิบัติต่อไป ถือว่าเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน และต้องทำควบคู่ด้วยกันไป

2.เลือกทางปฏิบัติ-วางแผนการปฏิบัติและขยายความว่าปฏิบัติได้ผลอย่างไร มีรายละเอียดอย่างไรที่จะให้การปฏิบัติของเรานั้นมีการพัฒนาต่อไป

3.ขยายความจากพระไตรปิฏกและเมื่อนักปฏิบัติที่มีประสบการณ์ก็จะทราบได้ว่ามีข้อดี-ข้อเสีย-อุปสรรค หรือวิธีการอื่นๆอย่างไร

เป้าหมายของการตีความ คือ

1.เพื่อเข้าใจ (Understanding)

2.วางแผนปฏิบัติ (Planning) ซึ่งนำไปสู่ Practice ขยายผล (Explanation) จากประสบการณ์

คำสำคัญ (Tags): #การตีความ#hermeneutics
หมายเลขบันทึก: 607188เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2016 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2016 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท