ไผ่กับการศึกษา


ไผ่ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ทุกคนรู้จักทั่วโลกและมีอยู่ทุกประเทศแล้วแต่พันธุ์ที่เกิดขึ้นหรือการใช้ประโยชน์จึงมีแพร่หลายทั้งในชนบทในเมืองทั้งในฐานะเป็นไม้ป่าผืนกว้างหรือย่อกอมาสู่สวนหย่อมและกระถางเล็กๆ

เราเคยได้ยินว่าประเทศจีนใช้ไม้ไผ่และทุกส่วนของไผ่มาใช้ในชีวิตของคน ชุมชน มาแต่ดั้งเดิม และไทยเราก็ใช้ไผ่ทั้งที่เป็นส่วนประกอบของบ้าน อาวุธ อุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากินจนแทบจะกล่าวได้ว่าไม้ไผ่กับคนไทยมีความสัมพันธ์ตั้งแต่เกิดจนตาย และเป็นพืชที่มีประโยชน์นานับปการ

สำหรับการศึกษา ไม้ไผ่เกี่ยวข้องกับการใช้เป็นเยื่อกระดาษ อุปกรณ์ผลิตสื่อการเรียนการสอน หน่อไผ่ใช้เป็นอาหารกลางวัน ลำไผ่เป็นงานประดิษฐ์ แม้กระทั่งไม้เรียวที่จะสั่งสอนนักเรียน ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการในอดีตยังต้องระบุว่าต้องเหลากลมไม่เกิน 0.5 ซม. และอื่นๆอีกมากมาย

ไผ่ยังเข้าไปมีส่วนในการจัดการเรียนการสอนในหลายเรื่อง การยกตัวอย่างความสามัคคี ยังเอาเรื่องการหักไม้ไผ่เดี่ยวๆกับหักรวมเป็นมัด จะทนทานได้มากกว่า หรือทำตัวให้เป็นไผ่ลู่ลมเป็นต้น

ดังจะเห็นได้ว่า ไผ่เกี่ยวข้องกับคนอย่างใกล้ชิดทั้งเป็นอาหารและการใช้ประโยชน์ และในมิติของการศึกษาไผ่จะเข้าไปมีส่วนสำคัญในทุกเรื่อง แม้กระทั่งไม้เรียวไว้ลงโทษตักเตือนคน

คำสำคัญ (Tags): #ไผ่กับการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 606927เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม้เรียวไว้ลงโทษ ตักเตือนคน.."โบราณจัง"..สำหรับยุคนี้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท